(0)
๑๑๑ กริ่งทิเบต วัดสุทัศน์เทพวราราม รุ่นเจริญผลมหาลาภ ปีพ.ศ. 2536 - ผิวพรรณวรรณะเป็นเอกลักษณ์ ดีนอกและดีใน ๑๑๑








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่อง๑๑๑ กริ่งทิเบต วัดสุทัศน์เทพวราราม รุ่นเจริญผลมหาลาภ ปีพ.ศ. 2536 - ผิวพรรณวรรณะเป็นเอกลักษณ์ ดีนอกและดีใน ๑๑๑
รายละเอียดพระกริ่งทิเบต รุ่นเจริญผลมหาลาภ ปีพ.ศ. 2536
วัดสุทัศน์เทพวนาราม กรุงเทพฯ


มูลเหตุที่สมเด็จพระสังฆราช(แพ) ทรงสร้างพระกริ่งนั้น ทรงเล่าว่าเมื่อพระองค์ดำรงสมณศักดิ์เป็นพระศรีสมโพธิ ครั้งนั้นสมเด็จพระวันรัต (แดง) อาพาธเป็นอหิวาตกโรค สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ครั้งยังทรงเป็นกรมหมื่นฯ เสด็จมาเยี่ยม เมื่อรับสั่งถามถึงอาการของโรคเป็นที่เข้าพระทัยแล้ว รับสั่งว่า เคยเห็นกรมพระยาปวเรศฯ พระอุปัชฌาย์ของพระองค์อาราธนาพระกริ่งแช่น้ำอธิษฐาน ขอน้ำพระพุทธมนต์แล้วให้คนไข้เป็นอหิวาตกโรคกินหายเป็นปกติ

พระองค์จึงรับสั่งให้มหาดเล็กที่ตามเสด็จไปนำพระกริ่งที่วัดบวรนิเวศ แต่สมเด็จฯ ทูลว่า พระกริ่งที่กุฏิมี สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ จึงรับสั่งให้นำมา แล้วอาราธนาพระกริ่งแช่น้ำอธิษฐานขอน้ำพระพุทธมนต์แล้วนำไปถวายสมเด็จพระวันรัต (แดง) เมื่อท่านฉันน้ำพระพุทธมนต์แล้ว โรคอหิวาต์ก็บรรเทาหายเป็นปกติ

สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทว) วัดสุทัศนเทพวรารามได้ทอดพระเนตรเห็นคุณวิเศษน่าอัศจรรย์ของพระกริ่งในขณะนั้นแล้ว จึงเกิดความสนพระทัย และทรงเริ่มศึกษาค้นคว้าตำราที่จะสร้างพระกริ่งเรื่อยมา จนมีความรู้ความเชี่ยวชาญในการสร้างจนเจนจบ เมื่อจะมีการสร้างพระกริ่งขึ้นครั้งใด พระองค์จะถูกขอร้องให้เป็นผู้ชี้แจงการสร้าง และการหล่อ ในฐานะประธานการหล่อพระกริ่งเสมอมา

-------------------------------------------------------

สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทว) เคยรับสั่งเสมอว่า คำว่า "กริ่ง" นี้ มาจากคำถามที่ว่า "กึ กุสโล" (กิง กุสะโล) คือ เมื่อพระโยคาวจรบำเพ็ญสมณธรรมมีจิตผ่านกุศลธรรมทั้งปวงเป็นลำดับไปแล้ว

การสร้างพระกริ่งตำรับวัดสุทัศน์นั้น สมเด็จพระสังฆราช (แพ) ท่านได้ตรัสว่า “ดีในและดีนอก” หมายถึงเมื่อสร้างพระกริ่งออกมาแล้ว จะต้องมีเสียงเขย่าดังของเม็ดกริ่งที่ดังกังวาน และไม่เห็นรูเจาะ รูคว้านให้เห็น ซึ่งจะต้องทำให้เป็นเนื้อเดียวกับองค์พระ ซึ่งคือ “ดีใน”

สำหรับ “ดีนอก” คือมวลสารแห่งเนื้อพระต้องตามสูตรอย่างโบราณประกอบไปด้วย
1. ชิน น้ำหนัก 1 บาท
2. จ้าวน้ำเงิน น้ำหนัก 2 บาท
3. เหล็กละลายตัว น้ำหนัก 3 บาท
4. ทองแดงบริสุทธิ์ น้ำหนัก 4 บาท
5. ปรอท น้ำหนัก 5 บาท
6. สังกะสี น้ำหนัก 6 บาท
7. ทองแดง น้ำหนัก 7 บาท
8. เงิน น้ำหนัก 8 บาท
9. ทองคำ น้ำหนัก 9 บาท

มาหล่อหลอมให้กินกันดีแล้ว นำมาตีเป็นแผ่นแล้วจารยันต์ 108 กับ นะ ปถมัง 14 จึงได้เนื้อนวโลหะออกมาสีอย่างนาคสุก เมื่อปล่อยไว้นานเข้าจะกินอากาศ เป็นผิวกลับดำ มีพรายเงิน พรายทองแล้วแต่กระแสโลหะ และผิวดำมันวาวอย่างสีปีกแมลงทับ ซึ่งเรียกว่า “ดีนอก”

หลังจากการสิ้นพระชมน์ของพระสมเด็จพระสังฆราช (แพ) การสร้างพระกริ่งสายวัดสุทัศน์ยังคงสืบทอดกันอย่างต่อเนื่อง ทำให้การสร้างพระกริ่งยังคงได้รับการพัฒนาและต่อยอดมาจนทุกวันนี้
ราคาเปิดประมูล950 บาท
ราคาปัจจุบัน1,000 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 23 ต.ค. 2557 - 23:29:43 น.
วันปิดประมูล - 25 ต.ค. 2557 - 13:38:11 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลsudjarit (4.3K)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     1,000 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    deknon51 (262)(1)

 

Copyright ©G-PRA.COM
www1