(0)
พระบัณฑูรย์ เศียรโล้น กรุวังหน้า ยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น สภาพสวยมากรักทองเต็มเดิมๆไม่ผ่านการใช้






รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพระบัณฑูรย์ เศียรโล้น กรุวังหน้า ยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น สภาพสวยมากรักทองเต็มเดิมๆไม่ผ่านการใช้
รายละเอียดพระในตำนานอมตะพระกรุหนึ่งที่หาพบได้ทั่วไปในสมัยก่อนแต่ปัจจุบันไม่ค่อยพบเห็นแล้วสันนิษฐานได้ว่าพระบัณฑูรย์ กรุวังหน้า มีศิลปะแบบรัตนโกสินทร์ ยุคต้น และ ไม่เกินยุคอยุธยาตอนปลายเป็นอย่างสูง ดูจากงานปิดทองล่องชาดหรือลงรักแดงไว้ทำให้ดูงดงามเข้มขลังมีเสน่ห์ ด้วยคงจะเป็นฝีมือช่างหลวง จัดเป็นพระบูชาขนาดเล็ก น่าจะมีการสร้างในยุคใกล้เคียงกับ "พระโคนสมอ" ซึ่งแคกกรุออกมาก่อนหน้า ที่มีพระจำนวนมากมายหลายสิบพิมพ์ โดยพระโคนสมอนั้นเรียกขานเรียกตามสถานที่ ๆ พบ คือ โคนต้นสมอพิเภก ที่ในบริเวณเขควังหน้า หรือ "พระราชวังบวรสถานมงคล"เมื่อประมาณ พ.ศ. 2475 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทั้งนี้ต่อมาภายหลังสงครามมหาเอเซียบูรพา สิ้นสุดลง (พ.ศ.2488)เมื่องสงครามโลกสงบใหม่ ๆ เศรษฐกิจฝืดเคืองข้าวยากหมากแพง มักมีขโมยลักลอบเข้าไปขุดสมบัติที่ในบริเวณอาณาเขตของวังหน้าที่ค้นพบกรุในครั้งแรก จนลักลอบนำออกมาขายในตลาดมืดจำนวนไม่น้อย ก่อนที่กรมศิลปากรจะได้ขึ้นบัญชี ณ สถานที่นี้ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน เพื่อจัดเตรียมสถานที่ทำเป็นพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติต่อไป จนกระทั่งปี พ.ศ. 2507 เมื่อได้รับอนุมัติงบบูรณะวังหน้าโดยเฉพาะ จึงได้เริ่มทำการบูรณะว่อมแซมวัดพระแก้ววังหน้า ซึ่งในครั้งนี้ทางกรมศิลปากรได้มุ่งทำการบูรณะครั้งใหญ่ในบริเวณที่เป็นอุโบสถวัดพระแก้ววังหน้าซึ่งเคยเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตและพระพุทธสิหิงค์มาก่อน จากการสำรวจพบว่าฐานชุกชีเดิมที่เป็นปูนและโครงด้านในหมดอายุการใช้งานบูรณะไม่ได้จึงทำเรื่องขอทุบทิ้งทั้งหมดเพื่อก่อสร้างใหม่ตามแบบเดิม หลังจากได้อนุมัติแล้วจึงลงมือทันที
ในครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นการเปิดกรุของ "พระกรุวังหน้า" อย่างเป็นทางการทั้งๆ ที่ก่อนน้านี้มีผู้ลักลอยเข้าไปขุดหาสมบัติมาหลายสิบปี จากบันทึกของกรมศิลปากร ที่เข้าไปสำรวจระบุหลักฐานไว้ดังนี้
"การขุดฐานชุกชีหลังจากได้ทุบฐานไปแล้วพบกรุสมบัติอยู่ใต้ฐานชุกชี พบกรุพระซ้อนกันอยู่โดยเริ่มแต่ชั้นบนสุดลงไปจนถึงล่างสุด ลักษณะของกรุมีฝาผนึกทุกกรุและอยู่สลับกันไม่ทับซ้อนกัน ต้องใช้การทดสอบและประมาณการจากหลักโบราณคดีไทยจึงสามารถเปิดกรุได้ทั้พระพิมพ์ในกรุที่พบมีทั้งพระบูชา, พระพิมพ์เนื้อชินแบบโคนสมอ พระพิมพ์เนื้อดินเผาของสมัยต่าง ๆ และ พระพิมพ์เนื้อดินเผาอีกแบบที่มีจำนวนน้อยกว่ากันมาก ได้แก่พระพิมพ์เนื้อดินเผาแบบที่มีลงรักปิดทองล่องชาดทุกองค์ ซึ่งก็คือ"พระกรุวังหน้า" นั่นเอง
พระที่พบในกรุที่เป็นพระบูชาที่ไม่ชำรุดได้รับการนำเข้าไปไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ส่วนพระโคนสมอ เนื้อดิน และเนื้อชิน ที่ส่วนใหญ่ ชำรุด ผุระเบิดไปตามกาลเวลานำออกให้ประชาชนเช่าบูชา ส่วนพระวังหน้าสามพิมพ์นี้บันทึกของกรมศิลปากรระบุชัดว่า
"เนื่องจากเห็นว่าพระมีจำนวนน้อยจึงมิได้นำออกให้บูชาเหมือนกับพระอื่นๆ ที่พบในกรุเดียวกัน"
ซึ่งต่อมาหลังการก่อสร้าง พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ แล้วเสร็จสมบูรณ์ กรมศิลปากรจึงได้นำสิ่งของทั้งหมดมาจัดตั้งแสดงโบราณวัตถุไว้จนปัจจุบัน
จากการบันทึกของกรมศิลปากร ในครั้งนั้นพระกรุนี้มีอยู่ด้วยกันสามพิมพ์คือ
1. พิมพ์เศียรแหลม

เป็นพระเนื้อดินเผาลงรักปิดทองล่องชาดขนาดเขื่องใหญ่โตไล่เลี่ยงกับพระโคนสมอ เป็นพระพุทธรูปประทับนั่งสมาธิอยู่บนฐานผ้าทิพย์ ฐานขาสิงห์ลดหลั่นกันมาอย่างงดงาม
หากดูกันตามศิลปะและสกุลช่างแล้วน่าจะเป็นรัตนโกสินทร์ยุคต้น เหตุว่าพระกรุที่เป็นของอยุธยาแล้วจะไม่ปรากฏฐานผ้าทิพย์เช่นเดียวกับพระบูชา และจากการพบพระวัดสามปลื้มก็พบว่ามีพิมพ์เศียรแหลมและเศียรโล้นคล้ายกับพระกรุวังหน้าเสมือนว่าล้อพิมพ์หรือสร้างด้วยคติความนิยมที่คล้ายกัน

2. พิมพ์เศียรโล้น
เป็นพระเนื้อดินเผาเช่นเดียวกัน ลักษณะการประทับนั่งสมาธิและฐานเป็นศิลปะเดียวกับพิมพ์เศียรแหลม เพียงแต่ว่าไม่มีพระเกศเมาลีด้านบนคล้ายกับว่าเป็นพระพุทธสาวกแต่มีจำนวนน้อยกว่าพระพิมพ์แรกมาก ทำให้ในภายหลังค่านิยมในการสะสมสูงกว่า

3. พิมพ์สี่เหลี่ยมไม่มีฐานผ้าทิพย์
เป็นพระเนื้อดินเผาทรงกรอบสี่เหลี่ยมปลายพระเศียรโผล่พ้นเส้นกรอบด้านบนขึ้นไปพระพักตร์ (หน้า) ใหญ่ ประทับนั่งสมาธิไม่มีบัวและฐานผ้าทิพย์รองรับ สำหรับพิมพ์นี้มีจำนวนน้อยมากนาน ๆ จะได้พบสักองค์จะเรียกว่า "พระคะแนน" ก็เห็นจะไม่ผิดนักนอกจากนี้ยังมีผู้พบพระปิดตาเนื้อครั่งจำนวนหนึ่ง ที่เรียกกันว่า " พระปิดตากรุวังหน้า" อีกด้วย
มีความสวยงามทั้งคุณค่าในทางศิลปะและพุทธคุณมหาอุดแคล้วคลาดคงกะพันชาตรี นักเล่นสมัยคุณปู่นิยมชื่นชอบบูชาถักลวดแขวนคอเพราะใช้แล้วมีประสบการณ์ สภาพองค์ที่ลงมางดงามระดับประกวดได้สบายๆไม่มีชำรุดอุดซ่อมใดๆคัดจากรังเก่าที่เก็บอนุรักษ์ไว้ รับประกันความแท้และหายากและความพอใจตามกฎจีทุกประการ
ราคาเปิดประมูล3,000 บาท
ราคาปัจจุบัน3,600 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 09 ก.พ. 2558 - 21:08:41 น.
วันปิดประมูล - 12 ก.พ. 2558 - 21:20:10 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลธัญสักปฐมาธนสรร (397)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     3,600 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    non109 (545)

 

Copyright ©G-PRA.COM
www1