(0)
พระกริ่งนเรศวรวังจันทร์ องค์นี้หมายเลข 2968 ผิวเดิมครับ สร้างปี 2515








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพระกริ่งนเรศวรวังจันทร์ องค์นี้หมายเลข 2968 ผิวเดิมครับ สร้างปี 2515
รายละเอียดพิธีจักรพรรดิมหาพุทธาภิเษก กระทำพิธีครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ ๑ และได้มีการกระทำพิธีนี้อีก เมื่อวันที่ ๒๐ ม.ค.๒๕๑๕ ในสมัยรัชกาลที่ ๙ หลังนั้นก็ไม่ปรากฏว่ามีการกระทำพิธีฯ นี้อีกเลย ต้องอาศัยฤกษ์ยามเเละเกจิสุดยอดยุคหลังปี ๒๕๐๐ มารวมกัน ประสบการณ์ไม่ต้องพูดถึงเพราะเกจิที่มาร่วมปลุกเสกแต่ละองค์ล้วนเป็นยอดเกจิแห่งยุคพุทธคุณ ดีครบทุกด้าน ทุกทาง

การสร้างพระกริ่งนเรศวรวังจันทร์
"พระกริ่งนเรศวรวังจันทร์" จัดสร้างโดยพุทธสมาคมพิษณุโลก และสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม เพื่อหาทุนใช้ในการสร้างศาลาการเปรียญ วัดบางทราย พิษณุโลก และจัดสร้างพระพุทธชินราชจำลอง เพื่อนำไปประดิษฐานยังวัดในถิ่นทุรกันดาร และสมทบทุนมูลนิธิศูนย์การศึกษาโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ของพุทธสมาคม
พระกริ่งนเรศวรวังจันทร์ เฉลิมพระนามองค์กษัตริย์มหาราชผู้ยิ่งใหญ่ตามสถานที่ประสูติของพระองค์ พุทธลักษณะจำลองแบบพระกริ่งเทพโมฬีของสมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศน์ฯ งานแกะแม่พิมพ์เป็นฝีมือของ "นายช่างเกษม มงคลเจริญ" ช่างเอกฝีมือยอดเยี่ยมแกะพิมพ์ได้งดงามมาก จำนวนสร้างประมาณ 5000 กว่าองค์ พิธีเททองหล่อจัดขึ้น ณ บริเวณพระราชวังเดิม (โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม) เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ.2514 พิธีพุทธาภิเษกจัดขึ้นที่วิหารพระพุทธชินราชภายในวัดพระศรีรัตนมหาธาตุหรือวัดใหญ่ วันที่ 19 - 20 มกราคม พ.ศ.2515 เรียกว่า "พิธีมหาจักรพรรดิพุทธาภิเษก" โดยมีพระปรมาจารย์ผ่อง วัดจักรวรรดิราชาวาส เป็นเจ้าพิธีฝ่ายสงฆ์ อาจารย์เทพย์ สาริกบุตร เป็นเจ้าพิธีฝ่ายฆราวาส พิธีพุทธาภิเษกรวมพระเกจิอาจารย์ 109 รูป ปลุกเสกตลอดคืน
การตระเตรียมชนวนโลหะสำหรับเป็นชนวนศักดิ์สิทธิ์หล่อพระกริ่งนเรศวรวังจันทร์นั้น ได้รวบรวมแผ่นเงินแผ่นทองลงอักขระยันต์โดยพระเกจิอาจารย์ 109 ท่านที่ได้ร่วมในพิธีพุทธาภิเษก โดยมีพระเกจิอาจารย์องค์สำคัญ ได้แก่
หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม, หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ, หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค, หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่, หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี, หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้, หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม, หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่, หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง, พระอาจารย์ผ่อง วัดจักรวรรดิราชาวาส, พระอาจารย์นำ วัดดอนศาลา, หลวงพ่อหอม วัดซากหมาก, หลวงพ่อโอด วัดจันเสน, หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี, หลวงปู่บุญ วัดวังมะนาว, หลวงพ่อกรับ วัดโกรกกราก, หลวงพ่อสงฆ์ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย, หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม, หลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์, หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังวิเวการาม, หลวงพ่อหว่าง วัดท่าพุทรา, หลวงพ่อสุข วัดโพธิ์ทรายทอง, หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลย์, หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยาณมิตร, หลวงพ่อพริ้ง วัดโบสถ์โก่งธนู, หลวงพ่อแจ่ม วัดวังแดงเหนือ, หลวงพ่อเกตุ วัดเกาะหลัก, หลวงพ่อเกตุ วัดศรีเมือง, หลวงพ่อจ้อย วัดศรีอุทุมพร, หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว, หลวงพ่อเผือก วัดสาลีโข, หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง, หลวงพ่อดัด วัดท่าโบสถ์, หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม, หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ, หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช, หลวงพ่อมิ่ง วัดกก, หลวงพ่อลมูล วัดเสด็จ, หลวงพ่อโด่ วัดนามะตูม, หลวงพ่อคง วัดบ้านสวน, หลวงพ่อผาง วัดอุดมคงคาคีรีเขตต์, พระอาจารย์ถนอม วัดนางพญา ฯลฯ
ในการจารอักขระแผ่นเงินแผ่นทองนั้น คณะกรรมการจัดสร้างได้นำแผ่นเงินแผ่นทองขึ้นกราบทูลสมเด็จพระสังฆราชและพระเถระชั้นผู้ใหญ่ เพื่อทรงเจิมและประทานพร รวมทั้งนำไปถวายพระผู้ใหญ่อีกหลายรูปได้ลงเจิมเป็นสิริมงคลอีกด้วย ได้แก่ สมเด็จพระสังฆราช วัดราชบพิธ, สมเด็จมหาธีรวงศ์ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ, สมเด็จพระวันรัต วัดพระเชตุพน, พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ วัดจักรวรรดิ, พระธรรมวิสุทธิวงศาจารย์ วัดสุทัศน์ฯ, พระธรรมวิสุทธาจารย์ วัดพิชัยญาติ, พระเทพเมธี วัดทองนพคุณ, พระเทพโสภณ วัดชนะสงคราม
พระกริ่งนเรศวรวังจันทร์ เป็นพระกริ่งเนื้อสัมฤทธิ์ผิวกลับดำ เมื่อหล่อเสร็จแล้วจะผ่านการตกแต่งอย่างสวยงามทุกองค์ผิวพระเนียนแน่นเกลี้ยงเกลาด้านในบรรจุเม็ดกริ่งใต้ฐานตอกตัวเลขไทยตอดโค้ดทรงกลมรูปธรรมจักรและโค้ดรูปสามเหลี่ยม นอกจากพระกริ่งแล้ว ในพิธีสร้างครั้งนั้นยังได้สร้างพระชัยวัฒน์ด้วย แต่จำนวนน้อยมากเพียง 100 กว่าองค์เท่านั้น

ในพิธีนี้ พระอาจารย์ผ่อง จินดา วัดจักรวรรดิราชาวาส กทม. และ อาจารย์เทพย์ สาริกบุตร ซึ่งเป็นเจ้าพิธีได้กำหนด และควบคุมดำเนินการประกอบพิธี "จักรพรรดิมหาพุทธาภิเษก" ครบถ้วนตามแบบฉบับของโบราณพิธีทุกประการ
คณะกรรมการพิธีฯ สมเด็จพระสังฆราช ทรงเป็นประธานจุดเทียนชัย ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ นายกพุทธสมาคมแห่งประเทศไทยฯ เป็นประธานในพิธีจุดเทียนบูชาพระรัตนตรัย พระครูศรีพรหมโสภิต (หลวงพ่อแพ) วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี เป็นประธานบริกรรมปลุกเสก
กรรมการฝ่ายเจ้าพิธี พระอาจารย์ผ่อง จินดา วัดจักรวรรดิราชาวาส อาจารย์เทพย์ สาริกบุตร อาจารย์มาโนช มาโสภาศ
กรรมการอุปถัมป์ฝ่ายสงฆ์ พระสุวรรณวิสุทธิคุณ เจ้าคณะจังหวัดพิษณุโลก พระพิษณุบูราจารย์ เจ้าอาวาส วัดพระศรีรัตนมหาธาตุฯ จ.พิษณุโลก ฯลฯ
กรรมการอุปถัมภ์ฝ่ายฆราวาส นายพ่วง สุวรรณรัฐ ปลัดกระทรวงมหาดไทย พล.ท.สำราญ แพทยกุล แม่ทัพภาคที่ ๓ สมาคมนักเรียนเก่าพิษณุโลกพิทยาคม ฯลฯ
กรรมการดำเนินงาน คณะกรรมการพุทธสมาคม จ.พิษณุโลก
กรรมการที่ปรึกษา นายประชุม กาญจนวัน์ นายสุฉันท์ โพธิสุวรรณ ฯลฯ

๙ เม.ย.๒๕๑๔ คณะกรรมการพุทธสมาคมจังหวัดพิษณุโลก ได้ตกลงให้ นายช่่างสวน จามรมาน ธนบุรี เป็นผู้ออกแบบพระพุทธลักษณะ พระกริ่ง และดำเนินการสร้าง โ่ดยให้ทำตามแบบโบราณพิธีทุกประการ และอยู่ในความควบคุมของคณะกรรมการพุทธสมาคม จ.พิษณุโลก ตลอดเวลา ทุกขั้นตอน
๑๕ เม.ย.๒๕๑๔ คณะกรรมการฯ นำแผ่นเงิน แผ่นทอง เข้านมัสการขอบารมีพระคุณเจ้าผู้ทรงวิทยาคุณ ทั่วประเทศ รวม ๑๐๙ ท่าน ลงอักขระ คาถายันต์ และอธิษฐานจิตปลุกเสกแผ่นทองเงิน จนครบ ๗ เสาร์ ๗ อังคาร
๒๐ ก.ค.๒๕๑๔ คณะกรรมการฯ ได้นำแผ่นทองเงิน ที่พระคณาจารย์ ๑๐๙ รูป ลงและปลุกเสกแล้ว ขึ้นกราบทูลสมเด็จพระสังฆราช ทรงเจิม และประทานพร แล้วนำแผ่นทองเงินไปถวาย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดราชบพิธ, สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุฯ, สมเด็จพระวันรัต วัดพระเชตุพนฯ, พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ วัดจักรวรรดิฯ, พระธรรมวิสุทธิ์วงศาจารย์ วัดสุทัศนฯ, พระธรรมวิสุทธาจารย์ วัดพิชัยญาติฯ, พระเทพเมธี วัดทองนพคุณ, พระเทพโสภณ วัดชนะสงคราม เจิมอีกครั้ง และให้พรแห่งความสำเร็จในการสร้าง
ประกาศสังเวยเทวดา
๘.๑๙ น. ๑ ส.ค.๒๕๑๔ บวงสรวงดวงพระวิญญาณ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช นายกพุทธสมาคมฯ เป็นประธาน นายโปฏก โหรหลวง กล่าวบวงสรวง
๑๐.๑๙ น. นายกพุทธสมาคมฯ จุดธูปเทียนบูชาครู โดย อาจารย์เทพย์ สาริกบุตรเป็นเจ้าพิธีฯ
๑๒.๐๐ น. เจ้าคุณพระพิษณุบุราจารย์ เจ้าอาวาส วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จุดเทียนชัย พระคณาจารย์ ๙ รูป นั่งบริกรรมปลุกเสกแผ่นทองคำ แผ่นเงิน แผ่นทองแดง ซึ่งได้ลงอักขระคาถา เลขยันต์ พร้อมทั้งโลหะ ๙ อย่าง ที่จะหล่อพระกริ่งนเรศวรวังจันทน์ คือ ทองคำเงิน ทองแดง ชิน เจ้าน้ำเงินเหล็กละลายตัว ตะกั่วน้ำนม ปรอท สังกะสี ซึ่งได้คำนวณน้ำหนักให้เป็นส่วนผสมเนื้อนวโลหะ
พระคณาจารย์ ๙ รูป ที่นั่งปรกบริกรรมปลุกเสก คือพระเทพโสภณ (นิยม) วัดชนะสงคราม, พระพ่อกรับ วัดโกรกกราก สมุุทรสาคร, หลวงพ่อละมูล วัดเสด็จ ปทุมธานี, หลวงพ่อชื่น วัดตำหนักเหนือ นนทบุรี, หลวงพ่อลำยอง วัดสนุทรประดิษฐ์ บางระกำ พิษณุโลก, หลวงพ่อม้วน วัดตลาดชุม วังทอง พิษณุโลก, หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง นนทบุรี, หลวงพ่อธงชัย วัดพุทธมงคลนิมิต นครสวรรค์ และ หลวงพ่อเกตุ วัดศรีเมือง จ.สุโขทัย
๑๘.๓๒ น. พิธีเททอง หล่อพระกริ่ง พระชัยวัฒน์ "นเรศวรวังจันทน์"
ระหว่างพิธีเททองพระคณาจารย์ ๘ รูป ใน ๙ รูป นั่งล้อมโรงพิธีฯ หันหน้าไปทิศทั้ง ๘
อนึ่ง ก้อนเส้ารองรับเบ้าและดินสุมหุ่น ใช้ดินกลางเมืองอันเป็นมงคลแข็ง ๕ แห่ง คือ เมืองพิชัย จ.อุตรดิตถ, เมืองชัยบาดาล จ.ลพบุรี, เมืองชัยนาท จ.ชัยนาท, เมืองหริภุญชัย จ.ลำพูน, เมืองท่าชัย จ.สุโขทัย
น้ำพระพุทธมนต์ ใช้น้ำจากทะเลแก้ว เมืองโอฆะบุรี, ทะเลชุบศร เมืองละโว้
ถ่านและฟืนเชื้อเพลิงหลอมโลหะใช้ถ่านไม้ราชพฤกษ์ ๙ กระสอบ ฟืนไม้ราชพฤกษ์ ๙ ลบ.ม.
ตั้งแต่วันที่ ๒ ส.ค.๒๕๑๔ ช่างสวน จามรมาน ได้ตกแต่งพระกริ่งนเรศวรวังจันทน์ อยู่ในโรงงานภายในบริเวณบ้านพักของนายกพุทธสมาคมฯ เพื่อเป็นการควบคุมมิให้ช่างมีโอกาสสร้างพระเสริมนอกพิธีหรืออื่่น ๆ อันเป็นการไม่สมควร
เมื่อพระกริ่งนเรศวรวังจันทน์ ตกแต่งจนคบหมดแล้ว รวมทั้งพระบูชาและวัตถุมงคลทุกอย่างสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว คณะกรรมการฯ ได้นำวัตถุมงคลทั้งหมดประกอบพิธีจักรพรรดิมหาพุทธาภิเษก ณ พระวิหารหลวงพ่อพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก เมื่อวันที่ ๒๐ ม.ค.๒๕๑๕ โดยมีพระอาจารย์ผ่อง จินดา วัดจกรวรรดิฯ และ อาจารย์เทพย์ สาริกบุตร เป็นเจ้าพิธี
ราคาเปิดประมูล5,999 บาท
ราคาปัจจุบัน50,177 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ199 บาท
วันเปิดประมูล - 08 ธ.ค. 2558 - 12:13:04 น.
วันปิดประมูล - 12 ธ.ค. 2558 - 14:49:11 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลhussum (576)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     50,177 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     199 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    panu_pdd (665)

 

Copyright ©G-PRA.COM
www1