(0)
*** ตำนานสุดยอดพระเครื่องเมืองสยาม *** เหรียญตู้ไปรษณีย์ พิมพ์เล็ก สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์(ชื่น) วัดบวรนิเวศฯ ปี2485 แจกศิษยานุศิษย์เนื่องในวาระพระชนมายุครบ 70 พรรษา








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่อง*** ตำนานสุดยอดพระเครื่องเมืองสยาม *** เหรียญตู้ไปรษณีย์ พิมพ์เล็ก สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์(ชื่น) วัดบวรนิเวศฯ ปี2485 แจกศิษยานุศิษย์เนื่องในวาระพระชนมายุครบ 70 พรรษา
รายละเอียด*** ตำนานสุดยอดพระเครื่องเมืองสยาม *** เหรียญตู้ไปรษณีย์ พิมพ์เล็ก สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์(ชื่น) วัดบวรนิเวศฯ ปี2485 แจกศิษยานุศิษย์เนื่องในวาระพระชนมายุครบ 70 พรรษา ตั้งราคาขั้นต่ำไว้ไม่แพงอย่างที่คิดครับ ทุกๆการเคาะประมูลจะเป็นกำลังใจที่จะทำให้เดินหน้าหาพระที่มีคุณภาพสวยสวยมาเสนอเพื่อนสมาชิกต่อไปครับผม

สมาชิกที่ต้องการเช่าไปเพื่อทำกำไรต่อ กรุณาตรวจสอบราคากลางให้แน่ใจก่อนที่จะลงราคาประมูลไปนะครับ จะได้ไม่ต้องมีปัญหาเรื่องประมูลพระผิดราคา หรือเอาไปแล้วปล่อยต่อไม่ได้ และต้องการขอคืนกันตามมาภายหลัง

รับประกันตามกฏของเวปอย่างเคร่งครัดทุกกรณี หวังว่าจะได้รับการสนับสนุนจากเพื่อนสมาชิกนะครับ

ข้อมูลจากฐานข้อมูล ... ตำนานสุดยอดพระเครื่องเมืองสยาม ...

เหรียญตู้ไปรษณีย์ พิมพ์เล็ก เนื้อฝาบาตร ออกวัดบวรนิเวศวิหาร ปี 2485 จัดสร้างโดยสมเด็จพระสังฆราช กรมวชิรญาณวงค์ สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 13 เนื่องในวโรกาศ ชนมายุ ครบ 70 พรรษา

สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรณาณวงศ์ เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระนามเดิมของพระองค์มีพระนามว่า ม.ร.ว. ชื่นนพวงศ์ เป็นพระโอรสของหม่อมเจ้าถนอมนพวงศ์ ในพระบรมวงศ์เธอชั้น 4 กรมหมื่นมเหศวรสิววิลาศ และหม่อมเอม ทรงประสูติ เมื่อ วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ.2415 เมื่อเยาว์วัยได้อยู่ในความอุปการะของหม่อมราชวงศ์ถนอม เสด็จพ่อ และหม่อมเอม เสด็จแม่
สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรณาณวงศ์ ประทับอยู่ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้าเมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๘ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงดำรงตำแหน่งอยู่ ๑๔ พรรษา สิ้นพระชนม์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๑พระชนมายุ ๘๖ พรรษา
พระองค์เป็นโอรสหม่อมราชวงศ์ถนอม และหม่อม เอมประสูติเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๕ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงเป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กใน สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้าวชิรุณหิศ ฯ สยามมงกุฏราชกุมารในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ได้เป็น คณะเดท ทหารม้าในกรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภ ฯ มีหน้าที่ตามเสด็จรักษาพระองค์
ต่อมาพระองค์ได้บรรพชาเป็นสามเณรณ เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ.2428 พระพรหมมุณี (เหมือน สุมิตโต) แห่งวัดบรมนิวาส เป็นพระอุปัชฌาย์ เหตุที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงงดไม่เป็นพระอุปัชฌาย์ให้นั้น ก็เนื่องจากพระองค์ชราภาพมากแล้ว
จึงได้งดงการเป็นอุปัชฌาย์เสีย เมื่อทรงบรรพชาเป็นสามเณรแล้วก็ได้ทรงศึกษาพระปริยัติธรรมอย่างขะมักเขม้ไม่ เกลียดคร้าน พระองค์เมื่อบรรพชาแล้ว ก็ได้อยู่ที่วัดบวรนิเวศฯ ได้ทรงศึกษาพระปริยัติธรรมกับสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้ทรงเข้าสอบไล่ครั้งแรกเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๓๓ ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม สอบไล่ได้เปรียญ ๕ ประโยค ตั้งแต่ยังเป็นสามเณร
ต่อมาเมื่อพระชนมายุครบ 20 พรรษา ทรงอุปสมบทที่วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๕ ได้รับฉายาว่า “สุจิตโต” มีพระพรหมมุนี (แฟงกิตฺติสาโร) แห่งวัดมกุฏกษัตริยาราม เป็นพระอุปัชฌาย์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส เมื่อครั้งยังทรงสมณศักดิ์เป็นกรมหมื่น ได้ทรงเป็นพระกรรมวาจาจารย์ เมื่อทรงอุปสมบทแล้วต่อมาสอบได้เปรียญ ๗ ประโยค เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๗ ได้รับโปรดเกล้า ฯ ตั้งเป็นพระราชาคณะที่ พระสุคุณคณาภรณ์
พระองค์ได้มีส่วนร่วมกับสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรสมาตั้งแต่ ต้น คือพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ มีพระราชประสงค์บำรุงการศึกษามณฑลหัวเมืองทรงอาราธนาสมเด็จพระมหาสมณเจ้า ให้ทรงเป็นผู้อำนวยการจัดการศึกษา มีการจัดพิมพ์แบบเรียนต่างๆ พระราชทานแก่ พระภิกษุสงฆ์ไปไว้ใช้ฝึกสอนให้ยกโรงเรียนพุทธศาสนิกชนในหัวเมืองทั้งปวงมา รวมขึ้นอยู่ในสมเด็จพระมหาสมณเจ้า เพื่อจะได้เป็นหมวดเดียวกัน พระองค์ขณะที่ดำรงสมณศักดิ์พระสุคุณคุณาภรณ์ ได้เป็นผู้อำนวยการศึกษามณฑลจันทบุรีต่อมาเมื่อปีพ.ศ.๒๔๔๕ ได้มีการออกพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. ๑๒๑ อันเป็นผลเนื่องมาจากการจัดการพระศาสนา และการศึกษาในหัวเมืองพระองค์ก็ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะมณฑลจันทบุรี
พ.ศ. ๒๔๔๖ ได้เลื่อนสมณศักดิ์เสมอพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระญาณวราภรณ์
พ.ศ. ๒๔๕๕ ได้เลื่อนสมณศักดิ์เสมอพระราชาคณะชั้นธรรมในพระราชทินนามเดิม
พ.ศ. ๒๔๖๔ ได้รับสถาปนาสมณศักดิ์เสมอพระราชาคณะชั้นธรรมพิเศษในพระราชทินนามเดิม
พ.ศ. ๒๔๖๗ ได้เป็นเจ้าคณะมณฑลอยุธยา
พ.ศ. ๒๔๗๑ โปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะในพระราชทินนามพิเศษว่า สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์
พ.ศ. ๒๔๗๖ ทรงเป็นประธานมหาเถรสมาคม บัญชาการคณะสงฆ์แทนองค์สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
พ.ศ. ๒๔๘๕ ทรงเป็นประธานคณะวินัยธร ตามพ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๔๘๔
ครั้นเมื่อสมเด็จพระสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงประชวรหนัก พระองค์ก็ต้องรับภาระหน้าที่พระอุปัชฌาย์แทน และปกครองคณะสงฆ์ของวัดบวรตอนนั้นด้วย เมื่อสมเด็จพระมหาสมณเจ้าทรงสิ้นพระชนม์แล้ว พระองคืได้ดำรงตำแหน่งอธิบดีสงฆ์วัดบวรนิเวศน์วิหารสืบแทนต่อไปตั้งแต่ พ.ศ.2468
เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ขึ้นเสวยราชแล้ว เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ.2471 พระองค์ก็ได้รับเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นสมเด็จวชิรญาณวงศ์ เจ้าคณะใหญ่ฝ่ายธรรมยุตินิกาย
ครั้นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 ทรงสละราชสมบัติ และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อานันทมหิดล ขึ้นเถลิงราชสมบัติแทนตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช พระประมุขของสงฆ์ก็ยังว่างอยู่ สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ก็ทรงรักษาการในตำแหน่งนี้เรื่อยมา
หน้าที่สำคัญ ๆ ของพระองค์ในระหว่างนั้นก็คือ พระองค์ทรงเป็นแม่กองสอบไล่ มณฑลปัตตานี เป็นแม่กองสอบธรรมสนามหลวง และเป็นแม่กองบาลีเป็นเจ้าคณะมณฑลอยุธยา เป็นประธานคณะวินัยธร และเป็นกรรมการมหามกุฏราชวิทยาลัย ที่สำคัญยิ่งอีกก็คือทรงชำระอรรตกถาชาดก และพระไตรปิฎกฉบับพิมพ์เมื่อ พ.ศ.2470 และเป็นนายกมหามกุฏราชวิทยาลัยอีกด้วย
เมื่อสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงชินวร ฯ ชราและอาพาธ ก็ได้ทรงมอบหน้าที่เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุติ ให้ทรงบัญชาการแทน เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๗ และเมื่อสมเด็จพระสังฆราชเจ้า ฯ สิ้นพระชนม์เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๐ พระองค์ก็ได้ทรงเป็น เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุติสืบต่อมา และให้ทรงจัดการปกครองคณะธรรมยุติ ที่สำคัญหลายประการ
เมื่อทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้าแล้ว ได้ทรงปรับปรุงการปกครองคณะสงฆ์ให้ดียิ่งขึ้น โดยจัดการปกครองคณะสงฆ์ทั้งสองนิกายคือ มหานิกายและธรรมยุติกนิกาย เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๔ ดังนี้
การปกครองส่วนกลาง คณะสังฆมนตรีคงบริหารรวมกัน แต่การปกครองบังคับบัญชาให้เป็นไปตามนิกาย
การปกครองส่วนภูมิภาคให้แยกตามนิกาย
ครั้งต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2493 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงกระทำการพระราชพิธีราชาภิเษกเมื่อ วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ.2493 เวลา 10.00 น. สมเด็จพระสังฆราชก็ได้ทรงเป็นพระประธานพิธีฝ่ายสงฆ์ในครั้งนั้นด้วย
ต่อมาเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ.2493 เวลา 17.00 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็ได้ทรงพระราชทานพระนามสมเด็จพระสังฆราชด้วยคำขึ้นต้นว่า “สมเด็จพระวชิรญาณ”
เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๙ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้สถาปนาสมณศักดิ์ และฐานันดรศักดิ์พระองค์ ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ฯ
ผลงานพระนิพนธ์มีอยู่เป็นจำนวนมาก พอประมวลได้ดังนี้
เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๐ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ฯ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ชำระพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ พระองค์ได้ทรงชำระ ๒ เล่ม คือ เล่ม ๒๕ และเล่ม ๒๖
เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๗ ทรงชำระอรรถกถาชาดก ภาคที่ ๓ จากจำนวน ๑๐ ภาคที่สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวสาอัยยิกาเจ้าโปรดให้ชำระพิมพ์
หนังสือที่ทรงรจนา ได้แก่ ศาสนาโดยประสงค์ พระโอวาทธรรมบรรยาย ตายเกิด ตายสูญ ทศพิธราชธรรม พร้อมทั้งเทวตาทิสนอนุโมทนากถา สังคหวัตถุ จักรวรรดิวัตร และขัตติยพละ พุทธศาสนคติ บทความต่าง ๆ รวมเล่ม ชื่อว่า ความรู้เรื่องพระพุทธศาสนาตั้งแต่เบื้องต้น ทีฆาวุคำฉันท์ และพระธรรมเทศนาที่สำคัญได้แก่ ธรรมเทศนาทศพิธราชธรรม ในการพระราชพิธีธรรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช พระธรรมเทศนาวชิรญาณวงศ์เทศนา ๕๕ กัณฑ์
เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 มีพระประสงค์จะทรงผนวช ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ.2499 สมเด็จพระสังฆราชเจ้าองค์นี้ได้ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ และทรงเป็นผู้ถวายศีลให้ พร้อมให้ฉายาว่า “ภูมิพโล” พระศาสนโสภณ (อุฏฐายี จวน ปธ.9) เป็นพระกรรมวาจาจารย์
ต่อมาเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2499 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้ทรงสถาปนา องค์สมเด็จพระสังฆราชเป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ฯ ในคราวที่กรุงเทพมหานคร ได้ทำการเฉลิมฉลอง 25 พุทธศตวรรษในวันที่ 12.18 พฤษภาคม พ.ศ.2500 ที่ท้องสนามหลวง ซึ่งนับว่าเป็นงานใหญ่โตมโหฬารมากนั้นทางสหภาพพม่า โดย ฯพณฯ อนุ นายกรัฐมนตรี ได้มาร่วมงานในครั้งนี้ด้วย ก็ได้ถวายสมณศักดิ์ของพม่าแด่สมเด็จพระสังฆราชเจ้าองค์นี้ว่า “อภิธชมหารัฏฐคุรุ” อันเป็นตำแหน่งสมณศักดิ์ที่สูงสุดของพม่า และพร้อมกันนั้นก็ได้ถวายธงประจำตำแหน่งให้แก่พระองค์ด้วย
ต่อมาเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2501 เวลา 01.08 น. สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ก็ได้สิ้นพระชนม์ ณ ตึกสามัคคีโรงพยาบาลจุฬาฯ ต่อหน้าพระพักตร์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ที่ทรงเสด็จไปประทับหน้าแท่นพระบรรทมด้วยพระอาการสงบ
สิริรวมพระชนมายุของพระสมเด็จพระสังฆราชได้ 85 พรรษา 11 เดือน กับอีก 9 วัน จึงนับเป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของพระประมุขสงฆ์ไทย แห่งกรุงรัตนโกสินทร์อีกพระองค์หนึ่ง
เรื่องวัตถุมงคลของสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ มีปรากฏสร้างอยู่นั่นก็คือ พระบูชาพุทธชินสีห์ ปี 2499, เหรียญพระพุทธชินสีห์ ปี 2499 ,พระกริ่งไพรีพินาศ บัวเหลี่ยม และบัวแหลม ปี 2495, เหรียญไพรีพินาศ ปี 2495 ,พระกริ่ง 7 รอบ วัดบวรฯ ปี 2499 และ เหรียญตู้ไปรษณีย์ เป็นต้น
ในเรื่องของพุทธคุณ ดีครบทุกประการ ไม่ว่าจะเป็น แคล้วคลาดปลอดภัย อยู่ยงคงกระพัน เมตตามหานิยม เพิ่มบารมี ตบะ เดช สยบสิ่งที่เป็นอัปมงคลใดใดทั้งปวง
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน900 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 08 เม.ย. 2559 - 23:53:06 น.
วันปิดประมูล - 11 เม.ย. 2559 - 18:23:01 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลwuaface (1.4K)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     900 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Vuttichai2121 (1.1K)(5)

 

Copyright ©G-PRA.COM
www1