(1)
ตะโพน หลวงพ่อภักตร์ วัดโบสถ์ อ่างทอง สุดยอดเครื่องราง สภาพสวยหายากครับ








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องตะโพน หลวงพ่อภักตร์ วัดโบสถ์ อ่างทอง สุดยอดเครื่องราง สภาพสวยหายากครับ
รายละเอียดตะโพนในตำนาน สุดยอดแห่งมหานิยมยุคโบราณที่เล่าขานมาจนวันนี้ครับ หาชมยากมากๆครับปัจจุบันนี้ หลวงพ่อพักตร์ จณฺทสุวณฺโณ วัดโบสถ์ เจ้าของเบี้ยแก้แพงอันดับ 1 ของอ่างทอง เหรียญแพงอันดับ 1 ของอ่างทอง ความหายากของเหรียญท่านนั้นเอาเป็นว่าชี้ตัวคนมีกันได้เลยทีเดียวครับ ไม่ว่าจะคนพื้นที่ และคนเล่นพระในวงการ ทำไมถึงแพง แพงประสบการณ์และบารมีความศักดิ์สิทธิ์ ของหลวงพ่อ วิชานิ้วเพชรท่านก็เป็นต้นวิชาที่แลกเปลี่ยนกับ หลวงพ่อเต่า วัดน้ำพุ ตะโพนงาแกะ กระดกแกะต้นตำรับดั้งเดิม ก็หลวงพ่อพักตร์นี่หละครับ เขี้ยวเสือแกะ มีพยานและคนที่ทันหลวงพ่อหลายท่านเล่าตรงกันว่าท่านต้องเสกจนกระโดดกัดก้อนเนื้อ ถึงจะใช้ได้ ผมได้รวบรวมประวัติท่านไว้และยังไม่เคยมีใครเขียนที่ไหนในมุมลึก ผมสืบจากหลานของลูกบุญธรรม หลวงพ่อพัก วัดโบสถ์ ข้อมูลจึงแน่น และสมควรแล้วที่เหรียญท่านแพงที่สุดในจังหวัดนี้ครับ...........เอาประวัติท่านคร่าวๆไปก่อน เหรียญท่านสร้างโดย พระยาท่านหนึ่งในกรุงเทพมหานครสมัยนั้นจำนวน 3000 เหรียญ ถือเป็นเหรียญรูปเหมือนที่ทันท่านเสก รุ่นเดียวเท่านั้นครับ..........สร้างราวปี 2470ปลายๆถึงแปดนิดๆครับ เกจิผู้เรืองเวทย์ในดินแดนอำเภอสามโก้ หลวงพ่อพัก จนฺทสุวณฺโณ (จริงๆแล้วชื่อที่ถุกต้องของท่าน ต้องเขียนว่า ภักตร์ แบบนี้น่ะครับ ในใบสูจิบัตรพระของหลวงพ่อกร่าย วัดโพธิ์ศรี หลวงพ่อภักตร์ ท่านลงชื่อรับรองในนามพระอุปัชฌาย์ไว้แบบนี้ครับ) วัดโบสถ์ ตำบลโพธิ์ม่วงพัน อำเภอสามโก้ จังหวัดอ่างทอง หลวงพ่อพัก จนฺทสุวณฺโณ อดีตเจ้าอาวาสวัดโบสถ์(วัดโพธิ์) หรือบางท่านเรียกวัดโบสถ์หัวกะบัง ท่านเป็นเจ้าคณะหมวดโพธิ์ม่วงพัน (เจ้าคณะตำบล) ท่านเป็นพระคณาจารย์ดัง เป็นที่รู้จักกัน แพร่หลายทั้งในอดีตและปัจจุบัน เปรียบเสมือนเพชรน้ำเอกอีกเม็ดหนึ่ง ของชาวจังหวัดอ่างทอง วัตถุมงคลของท่านไม่ว่าจะเป็นเขี้ยวเสือแกะ สิงห์งาแกะ ตะโพนงาแกะ ตะกรุดโทนเบี้ยแก้ผ้ายันต์แดงเหรียญรูปเหมือนพิมพ์เสมาหลังยันต์ ล้วนเป็นที่เสาะแสวงหาของบรรดาลูกศิษย์และบุคคลเลื่อมใสศรัทธาโดยทั่วไป หลวงพ่อพัก จนฺทสุวณฺโณ ท่านมีนามเดิมว่า พัก บุญรอด เกิดตรงกับวันอังคาร เดือน11 ปีมะเมีย ปีพ.ศ.2425 ณ หมู่บ้านท่ามะขาม ตำบลดอนปรูุ อำเภอวิเศษชัยชาญ(ปัจจุบันเป็นอำเภอศรีประจันต์) บิดาชื่อ ถมยา เป็นชาวบ้านอบทม มารดาชื่อพุก ท้องถิ่นแถบปทุมธานี(เป็นชาวรามัญ) มีพี่น้องทั้งหมด 8 คน ท่านเป็นบุตรคนที่ 3 เมื่อย่างเข้าวัยหนุ่ม่บิดามารดาได้นำไปฝากไว้กับ หลวงปู่เถื่อนเจ้าอาวาส วัดหลวง อ่างทอง เพื่อเรียนหนังสือกระทั่งปีพ.ศ.2445อายุครบ 20 ปี จึงได้อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดอ้อย โดยมีหลวงปู่เถื่อนวัดหลวงเป็นอุปัชฌาย์ เมื่ออุปสมบทแล้วได้ติดตามพระพี่ชายคือท่านเจ้าคุณรัตนมุนี ไปจำพรรษาที่วัดหงษ์รัตนารามซึ่งเป็นตักศิลาที่สำคัญมากของฝ่ายมหานิกาย ฝั่งธนบุรีซึ่งเป็นวัดที่สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงทำนุบำรุง หลวงพ่อพักท่านศึกษาทางคันธุระและวิปัสสนาธุระ อยู่ในสำนักพระอาจาร์อูฐ เพียง 9 พรรษาท่านก็มีความชำนาญและเจนจัดเป็นอย่างยิ่งดียิ่ง กระทั่งถึงปีพ.ศ.2454 หลวงปู่เนตร เจ้าอาวาสวัดโบสถ์ได้มรณภาพ่ลงชาวบ้านจึงมานิมนต์ให้ท่านกลับไปจำพรรษา ณ วัดโบสถ์ปี พ.ศ.2455 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดโบสถ์อย่างเป็นทางการ การศึกษาพระเวทย์วิทยาคมนั้น เริ่มแรกท่านได้ศึกษาาจากอาจารย์วาตหรือครูวาต ซึ่งเป็นคฤหัสถ์และเป็นลูกผู้พี่ของท่านเอง โดยพื้นเพของครูวาตเป็นชาวบ้านท่ามะขามอดีตเคยเป็นมหาโจรอยู่แถวชานเมืองอ่างทองและสุพรรณบุรีเมื่ออายุย่างเข้าสู่วัยชรา จึงได้เลิกลาจากการเป็นโจรสรรพวิชาต่างๆ ที่ได้เรียนมาท่านถ่ายทอดให้หลวงพ่อภักตร์ทั้งหมดเช่น วิชาการทำเบี้ยแก้ ทำตะกรุดโทน ทำผ้ายันต์แดง เป็นต้น อาจารย์คนต่อมาคือครูบุญ วิชาที่ได้รับการถ่ายทอดมา ได้แก่วิชาการปลุกเสกเขี้ยวเสือแกะ งาช้างแกะ เป็นวัตถุมงคลชนิดต่างๆ หลวงพ่อพักตร์ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์เมื่อปี พ.ศ.2461เป็นเจ้าคณะตำบล พ.ศ.2462 และได้ถึงแก่มรณภาพเมื่อปี พ.ศ.2485 ตรงกับปีจอ รวมสิริอายุได้ 60 ปี40 พรรษา เป้นต้นตำรับในการสร้างตะโพน ในเมืองไทย และรูปแบบทั้งหมดในอ่างทอง ประกันแท้ตลอดชาตินี้
ราคาเปิดประมูล4,000 บาท
ราคาปัจจุบัน5,250 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 02 มิ.ย. 2559 - 13:17:34 น.
วันปิดประมูล - 03 มิ.ย. 2559 - 14:19:24 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลแทนม้าทอง (524)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     5,250 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Klinmann (362)(1)

 

Copyright ©G-PRA.COM
www1