พยานหลักฐานที่ชี้ว่าหลวงปู่หมุนไปร่วมเสกวัตถุมงคลรุ่น 214 ปีชาตกาล ที่วัดระฆังฯ เมื่อปี2545
สืบเนื่องมาจากกรณีที่ผมเคยประกาศว่า พระกริ่งพรหมรังสี และ พระสมเด็จหล่อโบราญ เข้าพิธีมหาสมปรารถนา ณ พระวิหารสมเด็จโตวัดระฆังโฆษิตารามเมื่อปี2543 ที่มีหลวงปู่หมุนเป็นองค์ประธานเสก และได้กล่าวต่ออีกว่า พระกริ่งพรหมรังสี และพระสมเด็จหล่อโบราญ หลวงปู่หมุนได้มาปลุกเสกอีกครั้ง ร่วมกับวัตถุมงคลรุ่น 214 ปีเกิดสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี) เมื่อปี2545 .........ส่งผลให้มีเสียงสนับสนุนและเสียงคัดค้านจากบุคคลบางฝ่าย "เป็นท๊อกอ๊อฟเดอะทาวน์ดังระดับประเทศ" จึงเป็นเรื่องถึงท่านนายกสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย ท่านจึงให้มีการพิสูจน์กัน จนเป็นที่ยอมรับ และกำหนดให้พระกริ่งพรหมรังสี และพระสมเด็จหล่อโบราญ เป็นรายการประกวดถาวรพระหลวงปู่หมุน ในโต๊ะพระยอดนิยมของสมาคมฯ โดยบรรจุเป็นปฐมฤกษ์ในงานประกวดวันที่ 5 มิถุนายน2559 นี้ ซึ่งเป็นการเปิดตัวในงานประกวดที่ทรงเกียรติและยิ่งใหญ่ที่สุดในรอบทศวรรษ เพราะครั้งนี้ สมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทยเป็นเจ้าภาพด้วยตนเอง ดังนั้นใบประกาศพระติดรางวัลงานนี้ จะลงนามโดย ป๋าพยัพ คำพันธ์ นายกสมาคมฯและป๋าต้อย เมืองนนท์ รองนายกสมาคมฯ เป็นครั้งแรกในรอบทศวรรษเช่นกัน(ตามเอกสารหมายเลข10)
เมื่อพระกริ่งพรหมรังสี และพระสมเด็จหล่อโบราญ เป็นที่ยอมรับ แต่มีจำนวนจำกัด และมีราคาสูงมาก คนจึงหันไปหาเช่าวัตถุมงคลรุ่น 214 ปีเกิดสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี)แทน เพราะอ่านจากข้อมูลที่ผมนำมาเปิดเผยว่าวัตถุมงคลรุ่นนี้ มีหลวงปู่หมุนไปร่วมเสกด้วย จึงทำให้เกิดคลื่นพุทธศาสนิกชน ทั่วสารทิศ หลั่งไหลกันแห่เข้าไป บูชาวัตถุมงคลรุ่นนี้กันอย่างทล่มทลาย แบบชนิดที่ไม่เคยเกิดขึ้นกับเกจิอาจารย์องค์ใดมาก่อนในประวัติศาสตร์ ถึงขนาดที่วัตถุมงคลหลายแสนองค์ที่เหลือตกค้างอยู่ภายในวัดมาเป็นเวลาถึง15ปี หมดเกลี้ยงวัดภายใน 2 เดือนราวกับปาฏิหาริย์.........ในส่วนนี้ ก็มีกระแสวิพากษ์วิจารณ์อีกครั้ง ว่าหลวงปู่หมุนไม่ได้ไปร่วมปลุกเสกวัตถุมงคลรุ่น 214 ปีชาตกาล โดยไร้ซึ่งพยานหลักฐานที่จะมาหักล้าง เพียงแต่อ้างว่า ไม่เห็นมีภาพถ่ายหลวงปู่หมุนอยู่ในพิธี และกล่าวว่าปี2545 หลวงปู่หมุนไม่สบายทั้งปี ไปไหนมาไหมไม่ได้
ผมขอยืนยันตรงนี้อีกครั้งว่า "ข้อมูลที่ผมประกาศนั้นเป็นความจริงทุกประการ" เพราะการที่ผมจะประกาศรับรองพระเครื่ององค์ใดนั้น ไม่ได้ประกาศรับรองตามคำบอกเล่า หรือ การมโนขึ้นเอาเอง แต่ เป็นวิธีการสืบค้นหาความจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ในหลักของกระบวนการยุติธรรมไทย ที่จะต้องมีองค์ประกอบในพยานหลัก4 ประเภทคือ พยานบุคคล, พยานเอกสาร,พยานวัตถุและพยานผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์สูงสุด
ซึ่งกรณี214 นั้น ถึงแม้จะไม่พบภาพถ่ายหลวงปู่หมุนอยู่ในพิธี แต่ผมมีพยานหลักฐานอื่นที่มีน้ำหนักมากกว่าครบถ้วนสมบูรณ์100% ตามหลักของกระบวนการยุติธรรมไทย ที่ระบุชี้ชัดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ว่า หลวงปู่หมุนไปร่วมปลุกเสกวัตถุมงคลรุ่นนี้แน่นอนตามพยานหลักฐานดังนี้(ดูแผนภาพด้านบนประกอบ)
1.พยานบุคคล
1.1.พยานจากฝ่ายลูกศิษย์ที่ใกล้ชิดหลวงปู่หมุน
1.) -นายอำนวย เขียวอ่อน ยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรว่า เห็นพระจากวัดระฆัง3รูปไปนิมนต์หลวงปู่หมุนที่วัดบ้านจานก่อนวันพิธี(ตามเอกสารหมายเลข1)
-และกล่าวต่ออีกว่าในช่วงต้นปี-กลางปี 2545 หลวงปู่หมุนยังแข็งแรงไม่ได้ไปไหนมาไหนไม่ได้ตามที่มีผู้กล่าวหาโดยมีภาพถ่ายยืนยัน (ตามเอกสารหมายเลข2)
2.) -เถ้าแก่เชียร(นายวิเชียร จำนงค์รักษ์) ยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรว่าเป็นคนขับรถพาหลวงปู่หมุนไปปลุกเสกวัตถุมงคลรุ่น 214 ชาตกาลที่วัดระฆังโฆษิตาราม(ตามเอกสารหมายเลข3)
-โดยเถ้าแก่เซียร ได้กล่าวว่าหลวงปู่หมุนได้เขียนจดหมายถึงเถ้าแก่เชียรให้ไปหาที่วัดบ้านจานในช่วงต้นปี 2545 จึงได้มีโอกาสพาหลวงปู่ไปปลุกเสกวัตถุมงคลรุ่น 214 ชาตกาลอีกครั้งเพราะก่อนหน้านั้นเถ้าแก่เชียรได้น้อยใจหลวงปู่ตอนไปวัดศรัทธาธรรม(ตามเอกสารหมายเลข4)
3.)แม่ชีต้อย วัดป่าหนองหล่ม(แม่ชี ยุพาภรณ์ ลัทธิโสภณกุล) ยืนยันว่าหลวงปู่หมุนไปปลุกเสกวัตถุมงคลรุ่น 214 โดยกล่าวว่าขณะนั้นแม่ชีเป็นคนขับรถอีกคันตามรถหลวงปู่หมุนไปวัดระฆังโฆษิตารามด้วย(ตามเอกสารหมายเลข5)
4.)คุณณรงค์ ดีใจ(ตู๋) ลูกศิษย์ผู้ใกล้ชิดพระอาจารย์ตั้ว ยืนยันว่าได้พบหลวงปู่หมุนมาร่วมปลุกเสกวัตถุมงคลรุ่น 214 ชาตกาลโดยคุณตู๋ ได้เป็นคนขับรถพาพระอาจารย์ตั้วไปร่วมปลุกเสกและรอรับหลวงปู่หมุนโดยโพสต์ Facebook ไว้เป็นหลักฐาน(ตามเอกสารหมายเลข6)
-โดยมีภาพพระอาจารย์ตั้วนั่งปลุกเสกในพิธี 214 ชาตกาลอย่างชัดเจน(ตามเอกสารหมายเลข7)
5.)ป๋าหวัด(อดีต ด.ต.สวัสดิ์ เอมระดี) ยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรว่าเป็นผู้ไปช่วยงานในวันพิธีด้วยและเป็นผู้ไปรอรับหลวงปู่หมุนลงจากรถที่เถ้าแก่เชียรเป็นคนขับมาส่ง(ตามเอกสารหมายเลข8)
-ซึ่งป๋าหวัด เป็นผู้มีบทบาทสำคัญอีกท่านหนึ่งในการสร้างวัตถุมงคลของวัดซับลำไยให้หลวงปู่หมุนปลุกเสกหลายรุ่น หลายพิมพ์ อาทิ พระขุนแผนทรงพลเล็กฝังเม็ดยา,พระผงนั่งเมฆ,พระสมเด็จปรกโพธิ์เล็กหลังพระแม่ธรณี,ลูกอมชมพูนุช,พระปิดตาเงินไหลมา เป็นต้น
1.2.พยายบุคคลจากฝ่ายวัดระฆัง
-พระชั้นผู้ใหญ่ของพระวัดระฆังทุกรูป (บางรูปเป็นถึงระดับเจ้าคุณ) และผู้เกี่ยวข้องได้ยืนยันว่าหลวงปู่หมุนมาร่วมเสก วัตถุมงคลรุ่น 214 ชาตกาล (ทุกท่านทราบเป็นที่ประจักษ์อยู่แล้ว)
1.3.พยานจากบุคคลภายนอกผู้มีชื่อเสียง ที่มาช่วยงานในวันพิธีพุทธาภิเษก
-อ.ขวัญทอง สอนศิริ ได้โพสต์เฟสบุ๊คยืนยันว่า พบหลวงปู่หมุน ไปร่วมปลุกเสกวัตถุมงคลรุ่น214ปีชาตกาล ที่วัดระฆัง(ตามเอกสารหมายเลข9)
-อ.ขวัญทอง สอนศิริ เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการจัดพิธีและร่วมนิมนต์พระเกจิอาจารย์ในพิธิพุทธาภิเษก วัตถุมงคลรุ่น 214 ชาตกาลและอีกหลายๆพิธีที่หลวงปู่หมุนไปร่วมปลุกเสก เช่น พิธีพุทธาภิเษกพระพุทธชินราช ญสส. และพิธีพุทธาภิเษกหลวงพ่อเงินรุ่นพระพิจิตรปี 2543
2.พยานเอกสาร
2.1 ใบฎีกานิมนต์ ที่มีชื่อหลวงปู่หมุนอยู่ในลำดับที่ 31
2.2 หนังสือนายอำนวย เขียวอ่อน(เอกสารหมายเลข1)
2.3 ภาพถ่ายหลวงปู่หมุน ที่ระบุว่าถ่ายเมื่อวันที่18-7-02 ซึ่งตรงกับวันที่ 18 กรกฎาคม 2545 ซึ่งแปลว่าตอนนั้นหลวงปู่ก็ยังดูแข็งแรงดี(เอกสารหมายเลข2)
2.4 หนังสือนายวิเชียร จำนงค์รักษ์(เอกสารหมายเลข3)
2.5 ส่วนหนึ่งของจดหมายหลวงปู่หมุนที่เขียนถึงเถ้าแก่เชียร(เอกสารหมายเลข4)
2.6 หนังสือแม่ชีต้อย วัดป่าหนองหล่ม(เอกสารหมายเลข5)
2.7 หลักฐานการโพสต์ Facebook ของคุณณรงค์ดีใจ(ตู๋)(เอกสารหมายเลข6)
2.8 ภาพพระอาจารย์ตั้ว นั่งปลุกเสกในพิธี 214(เอกสารหมายเลข7)
2.9 หนังสือป๋าหวัด(อดีต ด.ต.สวัสดิ์ เอมระดี(เอกสารหมายเลข8)
2.10 หลักฐานการโพสต์ Facebook ของอาจารย์ขวัญทอง สอนศิริ(เอกสารหมายเลข9)
ด้วยความชัดเจนของพยานหลักฐาน สมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย จึงได้กำหนดให้วัตถุมงคลรุ่น 214 ปีชาตกาลสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี) ปี2545 เป็นรายการประกวดถาวรของสมาคมฯ ในโต๊ะทั่วไป ของสายวัดระฆัง และบรรจุเปิดตัวเป็นปฐมฤกษ์ในงานประกวดวันที่ 5 มิถุนายน2559 นี้เช่นกัน(ตามเอกสารหมายเลข11)
ข้อมูลอ้างอิง
http://uauction4.uamulet.com/AuctionDetail.aspx?bid=438&qid=112136 |
|