(0)
พระบรมรูปล็อกเก็ต ในหลวง พิมพ์ใหญ่ ฉากทอง ฉลอง 25 ปี มูลนิธิศรีรัตนโกสินทร์ วัดสุทธาราม กรุงเทพมหานคร ปี 2550 ด้านหลังสแตนแลส บรรจุมวลสารจิตรลดาพระยอดธง กล่องเดิม








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพระบรมรูปล็อกเก็ต ในหลวง พิมพ์ใหญ่ ฉากทอง ฉลอง 25 ปี มูลนิธิศรีรัตนโกสินทร์ วัดสุทธาราม กรุงเทพมหานคร ปี 2550 ด้านหลังสแตนแลส บรรจุมวลสารจิตรลดาพระยอดธง กล่องเดิม
รายละเอียดพระบรมรูปล็อกเก็ต ในหลวง พิมพ์ใหญ่ ฉากทอง ฉลอง 25 ปี มูลนิธิศรีรัตนโกสินทร์ วัดสุทธาราม กรุงเทพมหานคร ปี 2550 ด้านหลังสแตนแลส บรรจุมวลสารจิตรลดาพระยอดธง กล่องเดิม

พระบรมรูปล็อกเก็ตในหลวง โดยปกติ จะไม่มีการได้รับพระบรมราชานุญาต บ่อยนัก ในการทำล็อกเก็ตรุ่นนี้ ได้จัดสร้างเพื่อหาทุนให้มูลนิธิศรีรัตนโกสินทร์ เพื่อใช้ในการช่วยเหลือผู้ป่วยโรคไต

ด้านหน้าของล็อกเก็ตจะเป็นพระบรมรูปที่ทรงสูทแบบสากล

จัดสร้างและออกให้บูชาที่วัดสุทธาราม ในวันที่ 9 มิถุนายน 2550

ทำพิธีมังคลาภิเษก ที่วัดพระแก้ว

จัดทำจำนวนสองหมื่นกว่าองค์ ซึ่งได้หมดไปจากวัดสุทธารามในเวลาไม่กี่ชั่วโมง

-จุดเด่นของล็อกเก็ต
1. ทรงแย้มพระโอษฐ์ (ทรงยิ้ม) อิ่มเอิบปีติโสมนัสยิ่งนัก
2. ด้านหลังบรรจุมวลสารมหามงคลผงจิตรลดา หมายถึงชัยชนะทั้งปวง
3. ด้านหลังปิดด้วย แผ่นทองคำ เงิน โลหะ
4. น้ำพระพุทธมนต์ผสมมวลสารนำมาจากสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ 581 แห่ง
5. ประกอบพิธียิ่งใหญ่สมพระเกียรติในปีมหามงคล 80 พรรษา
6. การสร้างพระบรมรูปล็อกเก็ตมีไม่บ่อยนักที่ได้รับพระบรมราชานุญาต
7. เพื่อเป็นที่ตั้งแห่งสติของการสร้างความดี ความเสียสละเพื่อส่วนรวม

รูปแบบของล็อกเก็ตรุ่นนี้ นับว่ามีความงดงามลงตัวอย่างที่สุด

ด้านหน้าเป็นพระบรมฉายาลักษณ์ในหลวงทรงแย้มพระโอษฐ์ (ทรงยิ้ม)

ด้านหลัง บรรจุพระยอดธง

-มวลสาร มีส่วนประกอบผงจิตรลดา บรรจุด้านหลังล็อกเก็ตด้วยแผ่นทองคำ แผ่นนาคแจกกรรมการ จำนวน 999 องค์ แผ่นเงิน,ทองเหลือง ,ทองแดง,สแตนแลส

(บรรจุผงจิตรลดาด้านหลังล็อคเก็ตทุกแบบ)

นอกจากรูปทรงการออกแบบที่ว่าคลาสสิคแล้ว ยังทรงความเข้มขลังด้วยพิธีชัยมังคลาภิเษกรวม 7 วาระด้วยกันคือ

ครั้งที่ 1 ณ วัดพระธาตุหริภุญชัย จ.ลำพูน
ครั้งที่ 2 วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร จ.เชียงใหม่
ครั้งที่ 3 วัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร จ.สกลนคร
ครั้งที่ 4 วัดพระธาตุพนม จ.นครพนม
ครั้งที่ 5 วัดพลับ (บางกะจะ) จ.จันทบุรี
ครั้งที่ 6 วัดพระมหาธาตุฯ จ.นครศรีธรรมราช และ
ครั้งที่ 7 ภายในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) เมื่อวันที่ 8 เม.ย.2550 (เสาร์ 5) สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ ทรงโปรดให้ พล.ร.ท. ม.จ.ปุสาน สวัสดิวัตน์ เสด็จแทนพระองค์ประกอบพิธี

ก่อนนำเข้าพิธีปลุกเสกวัดพระแก้ว กลางปี 2550 ยังได้นำพระยอดธง และครุฑทั้งหมด เดินทางไปให้เกจิหลายท่านปลุกเสกเดี่ยว เช่น ครูบาน้อย วัดศรีดอนมูล พ่อท่านอุท้ย วัดดอนศาลา พ่อท่านเงิน วัดโพรงงู หลวงพ่อวัดสระแก้ว พัทลุง พ่อท่านพรหม พัทลุง เป็นต้น ได้นำครุฑและพระยอดธงเดินสายปลุกทั่วประเทศ

พระยอดธงพระชัยออกศีก

พระยอดธงที่พอทราบก็จะเห็นพระยอดธงที่ขี้นชื่อลือนามคือพระยอดธงวัดพลับหรือวัดบางกะจะ จันทบุรี กล่าวกันว่าเมื่อสมเด็จพระจ้าตากสิน จะยกทัพเข้าตีเมืองจันทบุรี ได้สร้างพระยอดธงเอาฤกษ์ เอาชัย ฝังไว้ที่เจดีย์วัดแห่งนี้ พอย่ำรุ่งก็ให้ทหารเตรียมพร้อมทุบหม้อข้าวหม้อแกงบุกเข้าเมืองจันทบุรีได้ชัยชนะ การสร้างพระยอดธงนั้นเท่าที่เห็นมาพระราชา เป็นผู้สร้างและเชิญพระยอดธงนี้ติดอยู่บนยอดธงจริงๆ ที่เรียกกันว่าพระราชพิธีตรืงหมุด พระราชาต้องทรงศีลก่อนประกอบพิธี ขณะพิธีเริ่มพระสงฆ์สวดเจริญพระคาถาตามเนติแบบที่กำหนดไว้ ปัจจุบันเรียกกันว่า ธงชัยเฉลิมพล ซึ่งพระเจ้าแผ่นดินเป็นผู้พระราชทาน ให้เป็นขวัญกำลังใจสำหรับกองทัพนั้นๆ เคยได้สดับมาว่าผู้ที่เป็นทหารที่เชิญธงชัยนี้แม้ตัวจะถูกอาวุธมีคมสิ้นชีพในสนามตัวจะล้มตายแต่ธงชัยล้มไม่ได้จะต้องมีทหารมารับช่วงเชิญธงชัยเฉลิมพลต่อไปจีงจะหมดหน้าที่ของผู้ที่เชิญธงชัยนั้น ในรัชกาลที่ ๑ พระองค์ ให้อัญเชิญพระชัยองค์หนื่งหน้าตักกว้างประมาณ ๑๕ ฃม หล่อด้วยเงิน พระพุทธรูปองค์นี้ถือพัดยศ ชื่งนับเป็นพัดสมณศักดิ์อย่างหนี่งที่พระมหากษัตริย์ทรงโปรดถวายพระสงฆ์ ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๑ ให้อัญเชิญพระพุทธรูปองค์นี้ ขี้นประทับบนหลังช้างจืงเรียกกันว่า พระชัยหลังช้าง เพื่อเป็นมิ่งขวัญกำลังใจ ในกองทัพหรือใช้กระทำการสาบานถือสัตย์ปฎิญาณในกองทัพ ปัจจุบันก็ยังมีพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาบัน หรือที่เรียกกันว่า ดื่มน้ำสาบานตน พระพุทธรูปพระชัยหลังช้างนี้ ได้สร้างจำลองออกมากเป็นเหรียญพระชัยหลังช้าง ๒ วาระแล้ว สำหรับพระยอดธงนั้นนิยมสร้าง เป็นพระพุทธรูปปางชนะมาร หรือชนะศึก จากฐานองค์พระพุทธรูปจะมีเดือยเล็กน้อยเพื่อติดบนยอดธง ฃี่งต่างกันกับพระหูไห ที่ทหารคาดติดไว้กับตัวเอง การสร้างพระยอดธงวัดสุทธาราม ครั้งนี้ได้ใช้ ทองชนวนพระกริ่งปวเรศ และ เหรียญพระเกจิอาจารย์จำนวนมาก เหรียญดังกล่าวมานี้ได้เข้าพิธีพุทธาภิเษกหลายวาระโดยเฉพาะพิธีของสำนักวัดสุทธาราม แล้วนำเหรียญทั้งปวงมาผสมผสานกับทองชนวนพระกริ่งพระเจ้าตากสิน เนื้อทองแดงนำมาสร้างพระยอดธงในครั้งนี้เพื่อเป็นมงคลขวัญกำลัวใจ ให้พื่น้องชาวพุทธลุกขี้นต่อสู้ กับข้าศีกศัตรูให้ได้ชัยชนะเหมือนสมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลเป็นอย่างยิ่ง
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน3,850 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 02 พ.ย. 2559 - 17:06:34 น.
วันปิดประมูล - 03 พ.ย. 2559 - 21:16:33 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลต้นพีเซ็นเตอร์ (8.4K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 02 พ.ย. 2559 - 17:07:06 น.



-


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 02 พ.ย. 2559 - 17:07:31 น.



หลังกล่อง


 
ราคาปัจจุบัน :     3,850 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    gnopkur (543)

 

Copyright ©G-PRA.COM