(0)
@@@...พระสมเด็จอรหัง หลังลายเซ็นต์ สมเด็จพระญาณสังวรฯ วัดบวรนิเวศฯ บรรจุเส้นพระเกศา (( พิมพ์โต๊ะกัง )) เนื้อผง ปี 2519 ดัานหลังบรรจุเส้นเกศา สภาพสวยสมบูรณ์มาก ไม่มีรอยบิ่น รอยรานหรือกระเทาะครับ...@@@








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่อง@@@...พระสมเด็จอรหัง หลังลายเซ็นต์ สมเด็จพระญาณสังวรฯ วัดบวรนิเวศฯ บรรจุเส้นพระเกศา (( พิมพ์โต๊ะกัง )) เนื้อผง ปี 2519 ดัานหลังบรรจุเส้นเกศา สภาพสวยสมบูรณ์มาก ไม่มีรอยบิ่น รอยรานหรือกระเทาะครับ...@@@
รายละเอียดพระสมเด็จอรหัง หลังลายเซ็นต์ สมเด็จพระญาณสังวรฯ วัดบวรนิเวศฯ บรรจุเส้นพระเกศา (( พิมพ์โต๊ะกัง )) เนื้อผง ปี 2519 ดัานหลังบรรจุเส้นเกศา สภาพสวยสมบูรณ์มาก ไม่มีรอยบิ่น รอยรานหรือกระเทาะครับ...!

พระสมเด็จอรหังหลังลายเซ็นต์ สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศวิหาร จัดสร้างปี พ.ศ. 2519 บรรจุเส้นพระเกศา ยุคเก่า หายาก สภาพสวยสมบูรณ์มากๆ พระสมเด็จอรหังหลังลายเซ็นต์ สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศวิหาร ปี 2519 จัดสร้างเพื่อบูชาพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ) ซึ่งมีพระราชทินนามเดียวกัน และเป็นผู้สร้างพระสมเด็จอรหังรุ่นแรกสมเด็จอรหังรุ่นแรก และเพื่อหาทุนซื้อที่ดินให้กับยุวพุทธสมาคม จ.ชลบุรี พระสมเด็จอรหังรุ่นนี้ถือว่าเป็นพระสมเด็จอรหังรุ่นแรกของสมเด็จพระญาณสังวร สร้างจากเนื้อผงพุทธคุณผสมมวลสารศักดิ์สิทธิ์มากมาย ที่ด้านหลังมีลายเซ็นต์สมเด็จพระญาณสังวรและบรรจุเส้นพระเกศาสมเด็จพระญาณสังวรทุกองค์ พระรุ่นนี้ส่วนใหญ่จะรานทุกองค์ หาที่สวย ๆ ยากมากองค์นี้เป็นพิมพ์ฐานคู่ สภาพสวยสมบูรณ์มากๆ

การกำเนิดพระสมเด็จ อรหัง

นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ทรงโปรดให้พระอาจารย์สุกหรือพระญาณสังวรเถระ มาอยู่ที่วัดราชสิทธารามหรือวัดพลับ ที่ อ. บางกอกใหญ่ นครหลวงฝั่งธนบุรี แล้ว ต่อมาวัดนี้ก็เจริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นลำดับ การทรงผนวชของพระราชวงศ์แต่ละพระองค์นั้น

ภายหลังมักจะเสด็จไปศึกษาวิปัสสนา ที่สำนักพระญาณสังวร ณ วัดราชสิทธารามอยู่เสมอ เช่นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย, พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว, และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นั้น พระญาณสังวร สุก ไก่เถื่อน ก็ได้เป็นพระบรมราชาจารย์ของพระมหากษัตริย์ทั้ง 3 พระองค์นี้ด้วย

จากการที่สมเด็จฯ ท่านยิ่งใหญ่ด้านอาคมขลังจนเป็นที่เลื่องลือกันไปทั่วนั้นจะเป็นด้วยทนการวิงวอนจากบรรดาสานุศิษย์หรือผู้คนที่นับถือท่านมากราย อยากจะได้พระเครื่องของท่านไว้คุ้มครองบ้างก็ได้ ด้วยเหตุนี้เอง, พระเครื่องพิมพ์สี่เหลี่ยมผืนผ้าแบบชิ้นฟัก ซึ่งสร้างด้วยผงวิเศษสีขาวนั้น สมเด็จพระสังฆราชองค์นี้ จึงได้ให้กำเนิดพระสมเด็จดังกล่าวนี้ขึ้นมาเป็นครั้งแรก เมื่อประมาณ พ.ศ. 2360

เล่ากันว่า พระสมเด็จอรหัง ที่สมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อนได้เริ่มสร้างเป็นครั้งแรกนั้น ท่านยังดำรงตำแหน่งเป็นพระราชาคณะอยู่ที่วัดพลับ พระเครื่องพิมพ์สมเด็จฯส่วนหนึ่งเมื่อได้รับการปลุกเสกแล้ว ท่านก็แจกจ่ายให้ไปบูชากันโดยถ้วนทั่วและเป็นที่เข้าใจกันว่า พระสมเด็จอรหัง พิมพ์ปฐมฤกษ์นั้นก็คือ พิมพ์ เกศเปลวเพลิง ซึ่งด้านหลังจะไม่ปรากฏมีอักขระคำว่า อรหัง จารึกลงไว้เลย

พุทธลักษณะ, เนื้อ,และพิมพ์

พระสมเด็จอรหัง ของสมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อนนี้ เท่านี้ปรากฏอยู่ในวงการพระเมื่อ 10 กว่าปีมาแล้ว จะแยกแบบออกได้ถึง 5 พิมพ์ ด้วยกันดังนี้.-

1.สมเด็จอรหัง พิมพ์สังฆาฏิ เป็นพระเนื้อผงสีขาวที่นิยมกันมากมีขนาดกว้าง 2 ซ.ม. สูง 3 ซ.ม. ครึ่ง พุทธลักษณะเป็นพระปางสมาธิประทับนั่งบนฐาน 3 ชั้น เห็นชายสังฆาฏิห้อยชัดเจนทุกองค์ ด้านขอบข้างองค์พระจะถูกอัดออกมาตามแบบแม่พิมพ์โดยไม่มีการตัดด้วยเส้นตอกเลย และโปรดสังเกตการประทับนั่ง เข่าจะแคบและตรง ส่วนด้านหลังจะปรากฏอักขระคำว่า อรหัง จารึกไว้ด้วย พระสมเด็จพิมพ์นี้แยกออกเป็น 2 แบบ คือ 1.1 แบบเศียรโต และ
1.2 แบบเศียรเล็ก

2. พระสมเด็จอรหัง พิมพ์ฐานคู่ เป็นพระเนื้อผงสีขาว เข่ากว้างและโค้งกว่าพระพิมพ์สังฆาฏิ โดยเฉพาะฐานสร้างเป็นเส้นเล็กคู่ นอกจากนั้นทั้งขนาด, ขอบด้านข้าง, และหลัง คงเหมือนกับ พิมพ์สังฆาฏิ ทุกอย่าง

3. พระสมเด็จอรหัง พิมพ์เกศเปลวเพลิง นี่เป็นอีกพิมพ์หนึ่งซึ่งนอกจากจะมีน้อยแล้ว แม้จะหาชมก็ยากนัก พระพิมพ์นี้ทั้งความงามและขนาดจะเหมือนกับ พิมพ์สังฆาฏิ มีเพี้ยนอยู่บ้างก็ตรงที่มีเกศขมวดม้วนเป็นตัว อุ และรูปทรงค่อนข้างชะลูด ส่วนฐานประทับถึงแม้จะเป็นแบบ 3 ชั้น แต่ก็หนาวกว่ากันมาก พระพิมพ์นี้เป็นพระเนื้อผงสีขาว ด้านหลังเป็นแบบราบโดยไม่มีอักขระขอมปรากฏให้เห็นเลย ส่วนขนาดจะเท่ากับพิมพ์แรก ๆ

4. พระสมเด็จอรหัง พิมพ์โต๊ะกัง ขนาดพระพิมพ์นี้จะเท่ากับ 3 พิมพ์แรกสัญลักษณ์ที่ควรจดจำกับพระสมเด็จพิมพ์โต๊ะกัง นี้ได้ง่าย ๆ ก็คือ เป็นพระผงผสมว่านเนื้อออกสีแดงคล้าย ปูนแห้ง แม้ค่อนข้างหย่อนงามไปบ้าง แต่ก็เป็นอีกพิมพ์หนึ่งที่หาชมได้ยาก ด้านหลังของพระพิมพ์นี้จะถูกปั๊มลึก ปรากฏเป็นอักขระคำว่า อรหัง นูนขึ้นมา ผิดกับ 3 พิมพ์แรกซึ่งถูกจารึกบุ๋มลงไปด้วยการจารึกเส้นเล็ก ๆ ด้วยมือตอนเนื้อพระยังไม่แห้ง

5. พระสมเด็จอรหัง พิมพ์เล็ก พระพิมพ์นี้จะมีขนาดสูงเพียง 2.3 ซ.ม. เท่านั้น เป็นพระเนื้อผงสีขาว ซึ่งมีพุทธลักษณะเหมือนเช่นกับทุก ๆ พิมพ์ที่กล่าวไปแล้ว หากแต่ได้เพิ่มประภามณฑลล้อมรอบเศียรขึ้นมาอีกแบบเท่านั้นเอง นับว่าเป็นพระอีกพิมพ์หนึ่งที่หาชมได้ยากพอ ๆ กับพิมพ์เกศเปลวเพลิงทีเดียวสำหรับด้านหลังจะลงจารึกคำว่า อะระหัง ไว้ด้วยเช่นกัน

พุทธคุณของพระสมเด็จอรหัง

สำหรับเรื่องพุทธคุณการใช้จากผู้ได้ประสบการณ์กับพระสมเด็จพิมพ์นี้มาแล้วนั้นถึงแม้ว่าจะไม่ดังกระฉ่อนเช่นพระสมเด็จวัดระฆังฯ หรือสมเด็จบางขุนพรหมก็ตาม ได้มีนักเผชิญโชคผู้ได้มีประสบการณ์อันมหัศจรรย์จากพระสมเด็จอรหังมาแล้ว ถึงกับตื่นตะลึงและหวงแหนกันยิ่งนัก เพราะพระสมเด็จพิมพ์นี้ดี ทางเมตตามหานิยม และแคล้วคลาดเหมือนเช่นพระสมเด็จวัดระฆังฯทุกอย่าง ยกเว้นพระสมเด็จอรหังสีแดงเท่านั้น ซึ่งนอกจากจะมีมหานิยมแล้วยังเพิ่มด้านกระพันชาตรีไว้อีกทางหนึ่งด้วย...
ราคาเปิดประมูล300 บาท
ราคาปัจจุบัน1,040 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ20 บาท
วันเปิดประมูล - 13 ก.พ. 2560 - 16:41:53 น.
วันปิดประมูล - 16 ก.พ. 2560 - 10:45:53 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลอาชาเหล็ก (6.3K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 13 ก.พ. 2560 - 16:50:05 น.



*** พระสมเด็จอรหัง หลังลายเซ็นต์ สมเด็จพระญาณสังวรฯ วัดบวรนิเวศฯ บรรจุเส้นพระเกศา (( พิมพ์โต๊ะกัง )) เนื้อผง ปี 2519 ***


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 13 ก.พ. 2560 - 16:50:21 น.



*** พระสมเด็จอรหัง หลังลายเซ็นต์ สมเด็จพระญาณสังวรฯ วัดบวรนิเวศฯ บรรจุเส้นพระเกศา (( พิมพ์โต๊ะกัง )) เนื้อผง ปี 2519 ***


ข้อมูลเพิ่มเติม 3 - 13 ก.พ. 2560 - 16:50:41 น.



*** พระสมเด็จอรหัง หลังลายเซ็นต์ สมเด็จพระญาณสังวรฯ วัดบวรนิเวศฯ บรรจุเส้นพระเกศา (( พิมพ์โต๊ะกัง )) เนื้อผง ปี 2519 ***


 
ราคาปัจจุบัน :     1,040 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     20 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Apirapol (33)(9)

 

Copyright ©G-PRA.COM