(0)
สมเด็จพระแก้วมณีโชติ สิ่งวิเศษจากสรวงสวรรค์ พิธีจักรพรรดิ์มหาพุทธาภิเษก ครั้งที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ.2515






รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องสมเด็จพระแก้วมณีโชติ สิ่งวิเศษจากสรวงสวรรค์ พิธีจักรพรรดิ์มหาพุทธาภิเษก ครั้งที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ.2515
รายละเอียดสมเด็จพระแก้วมณีโชติ สิ่งวิเศษจากสรวงสวรรค์

พิธีจักรพรรดิ์มหาพุทธาภิเษก ครั้งที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ.2515
(พิธีจักรพรรดิ์มหาพุทธาภิเษก ครั้งที่ 1 ในสมัยรัชกาลที่ 1 ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร )
สมเด็จพระแก้วมณีโชติ เน้นพุทธคุณในเรื่องแคล้วคลาด อยู่ยงคงกระพัน โชคลาภ ค้าขายดี และเมตตามหานิยม เพราะมวลสารหลักๆ ส่วนใหญ่ คือ ดินก้นกรุและพระนางพญาที่ได้จากใต้ฐานพระนางพญา พิษณุโลก

ประวัติการสร้างพระแก้วมณีโชติ
พระพิมพ์ สมเด็จพระแก้วมณีโชติ เป็นสุดยอดต้นตำรับ “สูตรมหาจักรพรรดิ์” ซึ่งเป็นสูตรที่ผ่านกระบวนการคิดวิเคราะห์โดยท่านพระครูศีลสารสัมบัน (สำรวย สมฺปนฺโน) เป็นผู้คิดค้นไว้เป็นการเฉพาะ ดังนั้นพระเครื่องของวัดสระแก้วปทุมทองจึงเน้นสร้างพระเครื่อง “เนื้อดินผสมผงเก่า” โดยสร้างด้วยกรรมวิธี “การเผา” เช่นเดียวกับพระเครื่องโบราณชนิดต่างๆ เช่น พระคงลำพูน พระรอดลำพูน พระนางพญาพิษณุโลก พระกรุวัดท่ามะปราง และพระกรุสุโขทัย เป็นต้น ...

มวลสารวัสดุที่ใช้สร้างพระเนื้อดินผสมผง ประกอบด้วย
-ผงตะไบพระกริ่งวัดสุทัศน์ รุ่น อินโดจีน พ.ศ.2485
-ชนวนพระโลหะและผง รุ่น 25 พุทธศตวรรษ จากจอมพล ป พิบูลสงคราม
-ผงสมเด็จวัดระฆัง มวลสารเดียวกันกับ 2 ใน 5 เบญจภาคี มวลสารผงสมเด็จจากวัดระฆังหรือสมเด็จที่แตกหักซึ่งได้รับมาก่อนการสร้างสมเด็จวัดระฆัง รุ่น 100ปี ซึ่งก็มีสมญานามว่า “จักรพรรดิแห่งพระเครื่อง”
-ดินที่ขุดจากกรุใต้ฐานสมเด็จพระนางพญา วัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก เป็นมวลสารหลัก ดินบริเวณนั้นมีพระนางพญา อายุ 700– 800 ปี ฝั่งอยู่เป็นมวลสารจากพระนางพญามาด้วย ทั้งยังมีชิ้นส่วนพระนางพญาสมบูรณ์บ้างไม่สมบูรณ์บ้างมาเป็นมวลสาร “ก่อนการบูรณะและแปลงวิหารพระนางพญามาเป็นพระอุโบสถ พ.ศ. 2511 นั้น ได้มีการขุดใต้ฐานพระนางพญา วัดนางพญา หลวงพ่อสำรวย เลยได้ดินก้นกรุใต้ฐานพระนางพญา ที่อยู่ในโอ่งมาเป็นมวลสารเยอะ และได้พระบูชามาด้วย มวลสารไม่ได้มีแค่วัดนางพญาเท่านั้น มีกรุกำแพงเพชร กรุสุโขทัย สุพรรณ ท่านเก็บรวบรวมมาทุกกรุ ทั่วภาคเหนือ”
|-ผงเกสรดอกไม้ 108จากวัดสำคัญทุกภูมิภาค
-ทองคำที่ลอกจากองค์พระสำคัญ เช่น พระพุทธโสธร วัดโสธรวรารามวรวิหาร
-เป็นต้น ว่าน 108 ชนิด ดินจากหน้าพระอุโบสถและพระวิหารประจำจังหวัดต่าง ๆ
-ดินจากสังเวชนียสถาน 4 ตำบล ในประเทศอินเดีย
-ผงจากพระเครื่องโบราณที่ชำรุดแตกหัก เช่น ผงพระสมเด็จวัดระฆัง สมเด็จวัดบางขุนพรหม พระนางพญา พระรอด พระขุนแผน พระผงสุพรรณ
-ผงนวโลหะชนวนพระกริ่งของสมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว)
-ท่านเจ้าคุณศรี (สนธ์) วัดสุทัศน์เทพวราราม นำมาผสมด้วยน้ำอภิเษกสำหรับการบรมราชาภิเษกในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระมหากษัตริย์ไทยและน้ำสรงพระแก้วมรกต…
-ผู้สร้างจะนำผงทั้งหมด ๑๐๘ ชนิดมาตากแดดให้แห้งสนิทแล้วจึงเอามาตำให้เป็นฝุ่นผงเหมือนแป้งสาลีขาวๆ เมื่อกีดด้วยนิ้วผงจะดึงเข้ามารวมกันเองเหมือนแม่เหล็ก แล้วนำมาผสมด้วยน้ำอภิเษก (สำหรับสรงในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก) เพื่อแสดงถึงความเป็นใหญ่ในแว่นแคว้น (พระจักรพรรดิ์) และน้ำศักดิ์สิทธิ์อื่นๆอีกมากมาย เมื่อผสมเสร็จแล้วจึงนำมากดพิมพ์โดยพระภิกษุและสามเณรในพระอุโบสถเท่านั้น จะทำนอกเขตพัทธสีมาไม่ได้ และต้องเป็นพระอุโบสถที่ประดิษฐานสมเด็จพระแก้วมณีโชติเท่านั้น (มีภาพถ่ายเป็นหลักฐาน) ในฤกษ์ยามที่คำนวณไว้แล้วให้เสร็จก่อนเห็นแสงอรุณ แล้วนำไปอบที่โรงหล่อจ่าทวี บูรณเขต ขณะอบต้องเจริญชัยมงคลคาถาจนเสร็จ เมื่อนำพระพิมพ์ออกมาปรากฏว่าพระพิมพ์ที่ไม่มีสี กลับมีสีมากมายถึง ๘ สี ประดุจดังรัตนชาติหรือนพรัตน์ หลากหลายสีสันสวยงาม เป็นที่อัศจรรย์แก่ผู้ประกอบพิธี นี้คือความพิเศษของกระบวนการจัดสร้าง
สมเด็จพระแก้วมณีโชติ มีมวลสารวิเศษรวมไว้ในองค์เดียว ความพิเศษที่หาที่ไหนไม่ได้ จึงได้ชื่อว่า “มหาจักรพรรดิ์”
จากบันทึกการจัดสร้างที่กล่าวมานี้แสดงให้เห็นว่า พระพิมพ์ สมเด็จพระแก้วมณีโชติ เนื้อดินผสมผง มีหลากหลายสีที่เกิดจาก “การเผา” หรือ “ปาฏิหาริย์” ก็เป็นเรื่องตามแต่วิจารณญาณและความศรัทธาของแต่ละคน พระพิมพ์ที่ถูกเผาดังเช่นพระเนื้อดินโบราณนี้จะมีขนาดและสีที่ แตกต่างกันอย่างเช่น พระรอดลำพูน พระคง พระบาง พระเปิม พระนางพญา ฯลฯ และพระบางองค์ที่ผสมผงเกสรหรือว่านมากไปก็จะกลายเป็น สีดำ หรือ สีเทา และบางองค์ที่มี ผงนวโลหะ (ผงตะไบจากวัดสุทัศน์เทพวราราม) ผสมอยู่มากเมื่อถูกความร้อนสูงผงนวโลหะก็จะละลายแผ่ซึมเข้าไปในเนื้อพระทำให้เป็น สีดำ หรือหากถูกความร้อนมากผงนวโลหะที่ละลายก็จะผุดออกมาจับที่ “ผิวพระด้านนอก” เป็นปุ่มสีดำ ที่มีทั้งผิวพระด้านและแวววาว เมื่อสะท้อนแสง โดยพระเนื้อนี้กลับกลายเป็นที่นิยมกันมากโดยเรียกว่า “พระเนื้อแร่ผงตะไบ” ตามแบบฉบับเนื้อพระกริ่งของวัดสุทัศน์เทพวราราม ที่สำคัญพระเนื้อแร่นี้จะมีความ “แข็งและแกร่ง” คือแตกหักหรือชำรุดได้ยากกว่าเนื้ออื่น ๆ ส่วนพระเนื้อที่ผสมผงเกสรหรือผสมผงนวโลหะน้อยก็จะมีสีสันเป็นธรรมชาติของเนื้อดินกรุวัดนางพญา เช่น เนื้อสีแดงแบบอิฐ สีขาวนวลเรียกว่าดอกพิกุล ที่มีจุดสีส้มเรียกว่า เกสรดอกมะขาม สีครีม สีน้ำตาลไหม้ สีช็อกโกแลต เป็นต้น บางองค์ก็ปรากฏพรายน้ำซึ่งก็คือ ซากพืชซากสัตว์ ที่ทับถมอยู่ในดินนับล้าน ๆ ปีนั่นเองและเมื่อมีพระ “เนื้อพิเศษ” ดังกล่าวและมีน้อยกว่าเนื้ออื่น ๆ เช่น “สีดำ” หรือ “สีช็อกโกแลต” กลายเป็นเนื้อยอดนิยมกลายเป็นของหายากจึงทำให้คน คิดนำพระแท้สีเทาไปทาสีเพื่อทำให้เป็น “เนื้อสีดำหรือช็อกโกแลต” พอนำออกขายก็จะได้ราคามากขึ้น แม้จะมีความพยายามเช่นไรแต่ก็มีพิรุธอยู่ดี คือเนื้อพระจะฉ่ำเยิ้มมีรอยแตกระแหงชำรุดง่าย การสร้างพระพิมพ์ทั้งสิ้นทั้งปวงนั้น ไม่มีฆราวาสคนใดได้จับหรือแตะต้อง มีเพียงพระภิกษุและสามเณรที่ปลงอาบัติและต่อศีลจนบริสุทธิ์ครบถ้วนแล้วเท่านั้นที่ช่วยกันบดผงด้วยครกเหล็กและกดพิมพ์พระจนบริบูรณ์
พระพิมพ์ สมเด็จพระแก้วมณีโชติ เนื้อดินผสมผง พิมพ์เล็กและพิมพ์ใหญ่ มีทั้งหมด 8 สี คือ สีดำเงา สีขาว สีอิฐ สีอรุณ สีคราม สีน้ำตาลอ่อน สีเทา และสีน้ำตาล เรียกกันว่า พระอรหันต์ 8 ทิศ
พระพิมพ์ สมเด็จพระแก้วมณีโชติ เนื้อผง พิมพ์เล็กและพิมพ์ใหญ่ สีขาว เป็นเนื้อมวลสารสมเด็จวัดระฆัง และสมเด็จวัดบางขุนพรหม กรุงเทพมหานคร ผสมไว้จำนวนมาก และเป็นมวลสารที่บริสุทธิ์กว่าพระพิมพ์ชนิดอื่นๆ จนมีผู้เล่ากันว่า ท่านพระครูศีลสารสัมบันเป็นผู้กดพิมพ์พระเองเสียด้วยซ้ำ พระพิมพ์ชนิดนี้จัดสร้างไว้จำนวนน้อยคำนวณนับได้ไม่ถึง 100 องค์ เพราะมวลสารสำหรับพิมพ์พระมีน้อย อุปมาดังเช่น พระพุทธเจ้า อันเป็นบุคคลที่หาได้ยากในโลก จึงแทน “พระสัมมาสัมพุทธเจ้า”

ความพิเศษของยันต์หลัง เป็น นะ ประทับหลังพระวิษณุ
ซึ่งมีความพิเศษคือ ยันต์ดังกล่าวปรากฏอยู่ในอกเลา 6 เหลี่ยม พระอุโบสถของวัดสระแก้วปทุมทอง จังหวัดพิษณุโลก ซ่งถูกดัดแปลงมาจาก
1. ยันต์เฑาว์พุทธะ ในสมัย หลวงพ่อปาน ออกธุดงค์ ประมาณปี พ.ศ. 2446 ท่านพบลายแทงฉบับหนึ่งบ่งบอกว่า มีขุมทรัพย์และพระคาถามหายันต์อันศักดิ์สิทธิ์บรรจุอยู่ภายในพระปรางค์ร้าง วัดพระศรีมหาธาตุ สุพรรณบุรี หลวงพ่อปาน มีความสนใจในพระคาถามหายันต์นั้นเป็นอย่างมาก ท่านจึงออกธุดงค์ดั้นด้นค้นหาพระปรางค์ร้างจนพบและทำ การขุดเจาะรงตำแหน่งลายแทง ก็พบทรัพย์สมบัติและพระพิมพ์ต่างๆ มากมายบรรจุอยู่ในพระปรางค์ แต่ท่านก็ไม่มีความสนใจในทรัพย์สมบัติอันล้ำค่าต่างๆ เหล่านั้นเลย นอกจากผอบทองคำใบหนึ่งซึ่งภายในมีแผ่นลานทอง จารึกพระคาถาและอุปเท่ห์วิธีใช้ที่พระฤๅษี 108 ตน ร่วมกันชักยันต์ขึ้นมาเป็นพิเศษ เพื่อมอบแด่ผู้มีบุญต่อไปในภายภาคหน้า เมื่อ หลวงพ่อปาน ได้พระคาถามหายันต์ไปใช้แล้วก็นำมาท่องจนขึ้นใจสามารถชักยันต์ได้จนมีความ ชำนาญ จึงนำแผ่นลานทองเก็บไว้ในผอบทองคำตามเดิมแล้วนำมาบรรจุที่ใต้ฐานพระพุทธรูป องค์หนึ่ง จาก นั้นหลวงพ่อปานก็นำพระคาถามหายันต์นั้นมาใช้ได้บัง เกิดผลอันศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่น่าอัศจรรย์ ต่อมาเมื่อหลวงพ่อปานพิมพ์รูปของท่านออกแจก จึงประทับมหายันต์นั้นไว้บนศีรษะมหายันต์ดังกล่าวนั้นคือ “ยันต์เฑาว์พุทธะ”นั่นเอง...
ยันต์เฑาว์พุทธะ นี้มีอานุภาพความศักดิ์สิทธิ์สูงส่ง เพราะพระฤๅษีผู้ทรง อภิญญาร่วมกันชักยันต์ขึ้นถึง 108 ตน นอกจากจะใช้ป้องกันภูตผีปีศาจแล้ว ยังใช้แก้โรคภัยไข้เจ็บทั้งภายในและภายนอกได้ดี โดยพิมพ์ยันต์ลงบนผ้า ปิดตามร่างกายที่ปวดเช่น ปวดศีรษะ ปวดบวมตามร่างกาย หรือจะสูญฝีก็ได้ให้ใช้นิ้วจุ่มน้ำลายใต้ลิ้น เขียนยันต์สูญรอบๆฝีหรือจะลงแก้มแก้คางทูมก็ได้ดียิ่งนัก ให้ระลึกถึงคุณพระศรีรัตนตรัย พระฤๅษี 108 ตน และหลวงพ่อปานเท่านั้นก็หายสิ้นแล
2. ยันต์นะมหาอุด หรือ นะซ่อนหาง หากพิจารณา ผิวเผินแล้ว ยันต์ตัวนี้เขียนง่าย แต่การเรียก สูตรนั้นยาก ขึ้นอยู่กับเฉพาะตัวว่าพระเกจิอาจารย์รูปใด จะใช้คาถาใด ในการเรียกสูตรยันต์ บางรูปก็ใช้คาถา หัวใจอิติปิโส หรือหัวใจพระเจ้า 16 พระองค์ คือ นะ มะ นะ อะ กอ กอ นะ กะ กอ ออ นอ อะ นะ อะ กะ อัง แต่ถ้าเรียกสูตร นะมหาอุด ตัวเดียวให้บริกรรม ระหว่างเขียนว่า นะ อุด ตะ รัง อุด ตะ รัง มิ จะ นะ อย่า อย่า นะ วิ หา รัง ปิด อุท ธัง อัท โธ ของหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก จ.พระนครศรีอยุธยา
นะ ประทับหลังพระวิษณุ คือ การรวมกันระหว่าง ยันต์เฑาว์พุทธะ และ ยันต์นะมหาอุด หรือ นะซ่อนหาง ซึ่งปรากฏอยู่ด้านหลังพระพิมพ์ สมเด็จพระแก้วมณีโชติ และพระพิมพ์รูปเหมือนพระครูศีลสารสัมบัน ทุกองค์นั้น เป็นการนำเอาอานุภาพของยันต์ทั้งสองผสานด้วยกัน กล่าวคือ
นะ ประทับหลังพระวิษณุ เป็นยันต์หนึ่งใน 108 ยันต์ที่ลงในผ้าประเจียด เป็นมงคลแคล้วคลาด และเป็นเมตตามหานิยม สารพัดจะใช้ได้ทุกประการ และเป็นหัวใจของยันต์พระเจ้าห้ามทุกข์ ป้องกันการถูกกระทำไสยศาสตร์ใส่มนต์ดำ และเป็นยอดยันต์ประทับหลัง ยันต์พิชัยสงคราม ต้องปลุกด้วย อิติปิโสรัตนมาลา จึงจะขลัง โบราณท่านว่ามีค่าควรเมือง สุดท้ายเป็นยอดยันต์ธงมหาอุด ปลุกเสกด้วยพระคาถาภควัม 108 จบ จึงจะทรงกฤษดาอภินิหารยิ่ง
ท่านพระครูศีลสารสัมบัน เลือกยันต์นี้ เพราะพุทธคุณเหลือคณานับ ของยันต์ทั้งหมด รวมกันแล้วกะทัดรัดลง หลังพระเครื่อง จะเป็นยันต์ที่ดีที่สุด เหตุผลของการเลือกยันต์ นะประทับหลังพระวิษณุ ไว้หลังองค์พระพิมพ์…

พิธีพุทธาภิเษก จัดขึ้น ณ พระวิหารพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (วัดใหญ่) จังหวัดพิษณุโลก วันพฤหัสบดี ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2515 ในพิธีนี้ พระอาจารย์ผ่อง จินดา วัดจักรวรรดิราชาวาส กทม. และ อาจารย์เทพย์ สาริกบุตร ซึ่งเป็นเจ้าพิธีได้กำหนด และควบคุมดำเนินการประกอบพิธี "จักรพรรดิมหาพุทธาภิเษก" ครบถ้วนตามแบบฉบับของโบราณพิธีทุกประการ คณะกรรมการพิธีจักรพรรดิมหาพุทธาภิเษก
- ประธานฝ่ายสงฆ์ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน) ทรงเป็นประธานจุดเทียนชัย
- ประธานฝ่ายฆราวาส ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ นายกพุทธสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นประธานในพิธีจุดเทียนบูชาพระรัตนตรัย
- ประธานบริกรรมปลุกเสก พระครูศรีพรหมโสภิต (หลวงพ่อแพ) วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี
พระคณาจารย์นั่งปรกปลุกเสก 109 รูป ดังนี้
1. หลวงพ่อทอง (พระครูวิริยะโสภิต) วัดพระปรางค์ จ.สิงห์บุรี
2. หลวงพ่อเงิน (พระราชธรรมมาภรณ์) วัดดอนยาหอม จ.นครปฐม
3. หลวงพ่อนาค (พระครูจันทรโสภณ) วัดนรนาถสุนทริการาม กรุงเทพฯ
4. หลวงพ่อแดง (พระครูญาณวิลาศ) วัดเขาบันไดอิฐ จ.เพชรบุรี
5. หลวงพ่อหอม (พระครูภาวนาณุโยค) วัดซากหมากป่าเรไร จ.ระยอง
6. หลวงพ่อสุข วัดโพธิ์ทรายทอง จ.บุรีรัมย์
7. หลวงพ่อสด (พระครูวิจิตนชัยการ) วัดหางน้ำ จ.ชัยนาท
8. หลวงพ่อชื่น (พระครูนนทกิจวิมล) วัดตำหนักเหนือ จ.นนทบุรี
9. หลวงพ่อบุญ (พระครูประดิษฐ์นวการ) วัดวังมะนาว จ.ราชบุรี
10. หลวงปู่ทองอยู่ (พระครูสุตาธิการี) วัดใหม่หนองพระองค์ จ.สมุทรสาคร
11. หลวงพ่อกรับ (พระครูธรรมสาคร) วัดโกรกกราก จ.สมุทรสาคร
12. หลวงพ่อเจริญ (พระครูปัญญาโชติ) วัดทองนพคุณ จ.เพชรบุรี
13. หลวงพ่อพริ้ง วัดโบสถ์โก่งธนู จ.ลพบุรี
14. หลวงพ่อชื่น วัดคุ้งท่าเลา จ.ลพบุรี
15. พระครูสนิทวิทยการ วัดท่าโขลง จ.ลพบุรี
16. พระครูปิยะธรรมโสภิณ (หลวงพ่อคำ) วัดบำรุงธรรม จ.สระบุรี
17. พระครูกิตพิจารณ์ (หลวงพ่อผัน) วัดราฎร์เจริญ จ.สระบุรี
18. พระครูพุทธฉายาภิบาล วัดพระพุทธฉาย จ.สระบุรี
19. พระครูสุวรรณวุฒาจารย์ (หลวงพ่อมุ่ย) วัดดอนไร่ จ.สุพรรณบุรี
20. พระวินัยรักขิตาวันมุนี (หลวงพ่อถิร) วัดป่าเลไลย์ จ.สุพรรณบุรี
21. พระวิบูลเมธาจารย์ วัดดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี
22. หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว จ.สุพรรณบุรี
23. หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง จ.นนทบุรี
24. หลวงพ่อเผือก วัดสาลีโข จ.นนทบุรี
25. พระครูประกาศสมาธิคุณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ฯกรุงเทพฯ
27. พระเทพโสภณ (สมเด็จพระมหาธีราจารย์) (นิยม ฐานิสฺสโร) วัดชนะสงคราม กรุงเทพฯ
28. หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม จ.นครปฐม
29. พระครูสาธุกิจวิมล (หลวงพ่อเล็ก) วัดหนองดินแดง จ.นครปฐม
30. หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้ จ.กาญจนบุรี
31. พระครูอุดมสิทธาจารย์ (หลวงพ่ออุตตมะ) วัดวังก์วิเวการาม จ.กาญจนบุรี
32. พระครูจันทสโรภาส (หลวงพ่อเที่ยง) วัดม่วงชุม จ.กาญจนบุรี
33. พระครูโกวิทยาสมุทคุณ (หลวงพ่อเนื่อง) วัดจุฬามณี จ.สมุทรสงคราม
34. พระครูศรีพรหมโสภิต (หลวงพ่อแพ) วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี
35. พระอาจารย์ผ่อง (จินดา) วัดจักรวรรคิ์ราชาวาส กรุงเทพฯ
36. พระครูศรีปริยานุรักษี วัดพันอ้น จ.เชียงใหม่
37. พระครูวิรุฬห์ธรรมโกวิทย์ วัดเจดีย์สถาน จ.เชียงใหม่
38. พระครูมงคลคุณาธร วัดหม้อตองคำ จ.เชียงใหม่
39. หลวงพ่อบุญมี วัดท่าสต๋อย จ.เชียงใหม่
40. หลวงพ่อแสน วัดท่าแหน จ.ลำปาง
41. หลวงพ่อเมือง วัดท่าแหน จ.ลำปาง
42. หลวงพ่อชุบ วัดเกาะวาลุการาม จ.ลำปาง
43. หลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ จ.ลำปาง
44. หลวงพ่อเงิน วัดเขาสาก จ.ลำปาง
45. หลวงพ่อบุญสม วัดหัวข่วง จ.ลำปาง
46. พระวิบูลวชิรธรรม วัดท่าพุทรา จ.กำแพงเพชร
47. หลวงพ่อจ้อย วัดศรีอุทุมพร จ.นครสวรรค์
48. หลวงพ่อพรหม ถาวโร วัดช่องแค จ.นครสวรรค์
49. หลวงพ่อโอด (พระครูนิสัยจริยคุณ) วัดจันเสน จ.นครสวรรค์
50. หลวงพ่อคัด วัดท่าโบสถ์ จ.ชัยนาท
51. หลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม จ.ชัยนาท
52. หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม จ.สิงห์บุรี
53. หลวงพ่อดวง วัดทอง จ.สิงห์บุรี
54. พระครูอาทรสิกขการ (หลวงพ่อโต๊ะ) วัดเกศไชโย จ.อ่างทอง
55. พระครูสันทัดธรรมคุณ (หลวงพ่อออด) วัดท่าช้าง จ.อยุธยา
56. พระครูประภาสธรรมคุณ (หลวงพ่อแจ่ม) วัดวังแดง จ.อยุธยา
57. พระครูประสาทวิทยาคม (หลวงพ่อนอ) วัดกลางท่าเรือ จ.อยุธยา
58. พระครูพิพิธวิหารการ (หลวงพ่อเทียม) วัดกษัตราธิราช จ.อยุธยา
59. พระครูสาธรพัฒนกิจ (หลวงพ่อลมูล) วัดเสด็จ จ.ปทุมธานี
60. พระครูวิเศษมงคลกิจ (หลวงพ่อมิ่ง) วัดกก กรุงเทพฯ
61. พระครูอนุกูลวิทยา (หลวงพ่อเส็ง) วัดน้อยนางหงษ์ กรุงเทพฯ
62. พระครูพิริยกิจติ (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ
63. พระครูภาวณาภิรมย์ วัดปากน้ำภาษีเจริญ กรุงเทพฯ
64. พระครูโสภณกัลป์ยานุวัฒน์ (หลวงพ่อเส่ง) วัดกัลยาณ์ กรุงเทพฯ
65. พระครูพินิจสมาจารย์ (หลวงพ่อโด่) วัดนามะตูม จ.ชลบุรี
66. หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ จ.ระยอง
67. พระครูวชิรรังษี วัดมฤคทายวัน จ.ประจวบคีรีขันธ์
68. พระครูวชิรคุณาญาณ วัดในกลาง จ.ประจวบคีรีขันธ์
69. หลวงพ่อเกตุ วัดเกาะหลัก จ.ประจวบคีรีขันธ์
70. พระครูอุดมศีลจารย์ (พ่อท่านเย็น) วัดโคกสะท้อน จ.พัทลุง
71. พระครูพิศาลพัฒนกิจ (พ่อท่านพระครูปลัดบุญรอด) วัดประดู่พัฒนาราม จ.พัทลุง
72. พระอาจารย์นำ แก้วจันทร์ วัดดอนศาลา จ.พัทลุง
73. หลวงพ่อคง วัดบ้านสวน จ.พัทลุง
74. หลวงพ่อสงฆ์ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย จ.ชุมพร
75. หลวงพ่อผาง วัดอุดมคงคาคีรีเขต จ.ขอนแก่น
76. หลวงปู่จันทร์ วัดสำราญ จ.อุบลราชธานี
77. หลวงพ่ออ่อน วัดประชานิยม จ.กาฬสินธุ์
78. หลวงพ่อครูบาวัง วัดบ้านเด่น จ.ตาก
79. หลวงพ่อครูบาตัน วัดเชียงทอง จ.ตาก
80. หลวงพ่อเกตุ วัดศรีเมือง จ.สุโขทัย
81. หลวงพ่อปี้ วัดบ้านด้านลานหอย จ.สุโขทัย
82. พระครูคีรีมาสธรรมคุณ วัดวาลุการาม จ.สุโขทัย
83. พระครูพิลาศธรรมคุณ วัดธรรมปัญญาราม จ.สุโขทัย
84. พระครูไกรลาศสมานคุณ วัดกงไกรลาศ จ.สุโขทัย
85. พระอาจารย์พวง วัดสว่างอารมณ์ จ.สุโขทัย
86. พระอาจารย์ฉลอง วัดสว่างอารมณ์ จ.สุโขทัย
87. พระครูพินิจธรรมภาณ วัดวังแดง จ.พิจิตร
88. พระครูธรรมมานิสิทธิ์ วัดบ้านไร่ จ.พิจิตร
89. พระอาจารย์ชัย วัดกลาง จ.อุตรดิตถ์
90. หลวงพ่อบุญ วัดน้ำใส จ.อุตรดิตถ์
91. หลวงพ่อจันทร์ วัดหาดสองแคว จ.อุตรดิตถ์
92. พระพิษณุบุราจารย์ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก
93. พระสมุห์ละมัย (พระวรญาณมุนีวัดอรัญญิก) วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก
94. พระครูศีลสารสัมบัน (สำรวย สัมปันโน) วัดสระแก้วปทุมทอง จ.พิษณุโลก
95. พระครูอภัยจริยาภรณ์ วัดใหม่อภัยยาราม จ.พิษณุโลก
96. พระครูวินัยธรสุเทพ วัดแสงดาว จ.พิษณุโลก
97. พระอาจารย์ถนอม วัดนางพญา จ.พิษณุโลก
98. พระครูประภาสธรรมมาภรณ์ (หลวงปู่แขก) วัดสุนทรประดิษฐ์ จ.พิษณุโลก
99. พระครูศรีรัตนาภรณ์ (หลวงพ่อไช่) วัดศรีรัตนาราม จ.พิษณุโลก
100. หลวงพ่อเปรื่อง วัดคูหาสวรรค์ จ.พิษณุโลก
101. พระอาจารย์พิมพ์ วัดคูหาสวรรค์ จ.พิษณุโลก
102. หลวงพ่อเฉลิม วัดโพธิญาณ จ.พิษณุโลก
103. หลวงพ่อเปรื้อง วัดโพธิญาณ จ.พิษณุโลก
104. พระอาจารย์ชุ่ม วัดกรมธรรม์ จ.พิษณุโลก
105. พระอาจารย์โต วัดสมอแข จ.พิษณุโลก
106. พระครูประพันธ์ (หลวงพ่อพัน) วัดบางสะพาน จ.พิษณุโลก
107. พระครูวิจารณ์ศุภกิจ (อาจารย์ทองม้วน) วัดวังทอง จ.พิษณุโลก
108. พระอาจารย์นวล วัดนิมิตธรรมาราม จ.พิษณุโลก
109. พระอาจารย์ธงชัย วัดวชิรธรรมราชา จ.พิษณุโลก

สำหรับน้ำพระพุทธมนต์ที่แช่พระกริ่งเพื่อเข้าพิธี ใช้น้ำจากวัดตูม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นน้ำที่ออกจากพระเศียรพระพุทธรูป ที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เคยใช้ในพิธีชุบพระแสงและเครื่องศัตราวุธ รวมกับน้ำในบ่อน้ำพระพุทธมนต์ วัดพระพายหลวง (บ่อพระร่วง) เมืองเก่าสุโขทัย เป็นต้น

ของดีแบบนี้ พุทธคุณเกินล้าน แบบนี้ ประสบการณ์ดีๆแบบมากมาย...กับราคาแบบนี้...
ราคาเปิดประมูล320 บาท
ราคาปัจจุบัน480 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ20 บาท
วันเปิดประมูล - 12 ก.ย. 2560 - 08:59:18 น.
วันปิดประมูล - 14 ก.ย. 2560 - 21:52:26 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลjackky23 (466)(3)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     480 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     20 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Thammapol880 (2.7K)(3)

 

Copyright ©G-PRA.COM
www1