(0)
เคาะเดียววัดใจ....พระกรุท้ายตลาด พิมพ์สมาธิเล็กข้างเส้น เนื้อผงใบลาน ขึ้นกรุวัดตะล่อม สวยเดิมๆ






รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องเคาะเดียววัดใจ....พระกรุท้ายตลาด พิมพ์สมาธิเล็กข้างเส้น เนื้อผงใบลาน ขึ้นกรุวัดตะล่อม สวยเดิมๆ
รายละเอียดท้ายตลาด หรือ วัดโมลีโลกยาราม เป็นวัดหนึ่งที่ค้นพบพระเครื่องบรรจุไว้ในฐานพระเจดีย์จำนวนมาก เมื่อประมาณ พ.ศ. 2480 แต่ขาดหลักฐานที่กล่าวถึงผู้สร้างพระเครื่องกรุวัดท้ายตลาด ซึ่งปัจจุบันแพร่กระจายไปอยู่ในมือนักสะสมและผู้ที่ศรัทธาเชื่อมั่นจนหมด สิ้น วัดท้ายตลาด เป็นวัดโบราณตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ในสมัยกรุงธนบุรีนั้นบริเวณอาณาเขตวัดอยู่ติดกับพระราชวังของสมเด็จพระเจ้า ตากสินมหาราช เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2325 วัดท้ายตลาดถูกเปลี่ยนชื่อเป็นวัดโมลีโลกยาราม ตามบันทึกตัวอักษรไว้ใต้ฐานรูปหล่อสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน) ดังนี้ "ศุภมัสดุ พระพุทธศักราชล่วงแล้วสองพันสามร้อยแปดสิบหกพระวสา วันจันทร์ ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 8 ปีเถาะ เบ็ญจศก พระบาทสมเด็จบรมธรรมมฤกมหาราชาธิราชรามาธิบดี บรมนาถ บรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัวมีพระราชโองการมา ณ พระบัณฑูรสุรสีหนาทดำรัสสั่ง หลวงกัลมาวิจิตร เจ้ากรมช่างปั้นขวาและอาจารย์ฉิม กรมราชบัณฑิตย์ ให้จำลองหล่อพระพุทธรูปสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ญาณอดุลย์สุนทรนายคดิปิฎกธรา มหาคณฤษร บวรสังฆาราม คามวาสีบพิธ อันสถิต ณ พระไธยศวรรยาวาสวรวิหาร ไว้เป็นที่สักการบูชาแก่สานุศิษย์ทั้งปวงสืบไป ภายหลังทรงพระราชศรัทธาปฏิสังขรณ์พระอารามนี้ให้บริบูรณ์ยิ่งขึ้นกว่าเก่า สิ้นพระราชทรัพย์ห้าร้อยเก้าสิบหกชั่ง แปดตำลึง จึงทรงขนานนามเปลี่ยนใหม่ ชื่อวัดโมลีโลกย์สุธาราม อาวาศวรวิหาร พระอารามหลวง" พระกรุวัดท้ายตลาดนี้ ตามประวัติแล้วเป็นพระที่สร้างโดยพระวิเชียรมุนี อดีตเจ้าอาวาสองค์ก่อนท่านเจ้าคุณสนิท พร้อมทั้งหลวงพ่อแย้ม และหลวงพ่อกลิ่น พระอาจารย์สายกรรมฐานผู้ทรงกิตติคุณของพระอารามแห่งนี้ ได้สร้างบรรจุไว้ในสมัยแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ประมาณปี พ.ศ.2431 ล่วงอายุถึงปัจจุบันได้ 125 ปี มาแล้ว พระกรุวัดท้ายตลาดนี้ก็เหมือนกับพระกรุตามวัดเก่าๆทั่วๆไป คือมีคนร้ายเข้ามาลักลอบขุดฐานพระเจดีย์รายในวัดเรื่อยๆ จนกระทั่งเมื่อ ปี พ.ศ. 2485 ประเทศไทยเกิดกรณีพิพาทกับประเทศฝรั่งเศสในเรื่องอินโดจีน กระทรวงกลาโหมทำหนังสือราชการการขอพระเครื่องมาที่วัดโมลีโลกยาราม เพื่อแจกแก่ทหารตำรวจเป็นการเสริมสร้างขวัญกำลังใจ เจ้าอาวาสวัดโมลีโลกยารามคือพระประสิทธิ์ศีลคุณจึงดำเนินการขุดเจดีย์ราย ทั้ง 4 องค์ ปรากฎว่าพบพระเครื่องจำนวนมาก นอกจากนั้นยังพบพระเครื่องอีกจำนวนหนึ่งอยู่บนเพดานพระอุโบสถ และหอสมเด็จด้วย พระเครื่องวัดท้ายตลาดเป็นพระเนื้อผงผสมผงใบลาน สีของพระเครื่องส่วนใหญ่จึงเป็นสีเทาเข้ม จนถึงเกือบดำตามส่วนผสมของใบลาน มีเม็ดผงพุทธคุณสีขาวแทรกอยู่ในเนื้อกระจายกันอยู่ทุกองค์ พื้นผิวของพระแทบทุกองค์มีคราบไขหินปูน หรือที่นิยมเรียกว่า "คราบกรุ" จับอยู่มากบ้าง น้อยบ้างไม่เท่ากัน ช่างผู้ออกแบบ และแกะแม่พิมพ์พระเครื่องวัดท้ายตลาด สันนิษฐานว่าคงจะเป็นช่างหลวงในยุคนั้น เพราะรูปแบบขององค์พระแต่ละพิมพ์ล้วนมีความงดงาม ประณีต เป็นที่ตั้ง ลวดลายและส่วนประกอบองค์พระมีความอ่อนช้อย และคมชัด บ่งบอกถึงทักษะ และประสบการณ์เชิงช่างผู้ออกแบบได้อย่างชัดเจน เป็นการรังสรรค์งานด้วยจิตใจบริสุทธิ์ เป็นกุศลจิต อุทิศให้กับบวรพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง เช่นเดียวกันกับงานช่างแขนงอื่นๆในสมัยโบราณ รูปแบบของพระเครื่องวัดท้ายตลาดนั้นมีมากพิมพ์มากแบบ ผู้รู้ในวงการพระเครื่องบางคนกล่าวว่ามีประมาณ 50 กว่าพิมพ์ บางคนว่ามี 100 กว่าพิมพ์เสียด้วยซ้ำ จนปัจจุบันยังหาข้อยุติข้อสรุปที่แน่นอนไม่ได้ พระกรุวัดท้ายตลาด หรือวัดโมลีโลกยารามในปัจจุบัน เป็นพระเครื่องที่สมบูรณ์แบบทุกๆด้าน นักสะสมในแวดวงการพระเครื่องของไทยให้ความนิยม และยกย่องไม่เสื่อมคลายนับแต่เปิดกรุมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้เพราะเหตุผล 4 ประการ ดังนี้ ประการแรก "เจตนาในการสร้างดี" เป็นที่เชื่อมั่นว่าผู้สร้างพระเครื่องชุดนี้ มุ่งเน้นไว้เพื่อสืบทอดอายุพระพุทธศาสนา จึงบรรจุลงกรุใต้ฐานเจดีย์ราย โดยมิได้หวังผลตอบแทนเป็นอามิสสินจ้าง ถือว่าเป็นเจตนาที่บริสุทธิ์สูงสุดในการสร้างสรรค์พระเครื่องให้แก่บวรพระ พุทธศาสนา ประการที่สอง "ออกแบบสวย" พระเครื่องชุดนี้ได้รับการออกแบบจากช่างหลวงในยุคนั้น รูปแบบจึงประณีตงดงาม สมบูรณ์ด้วยเนื้อหา ตลอดจนมีมากมายหลายแบบพิมพ์ มากกว่าพระกรุอื่นๆ ที่เคยค้นพบและบันทึกเอาไว้ ประการที่สาม "มวลสารเยี่ยม" ท่านผู้รู้และผู้เชี่ยวชาญในวงการพระเครื่องให้ความเห็นว่ามวลสารหลักของพระ เครื่องชุดนี้ คือ ผงใบลานเก่าแก่ รวมกันกับผงพุทธคุณต่างๆ มากมาย โดยจะเห็นเนื้อในได้อย่างชัดเจนจากองค์พระที่ชำรุดแตกหัก ประการสุดท้าย "พิธีกรรมยิ่งใหญ่" โดยที่วัดท้ายตลาดเป็นพระอารามหลวง ฉะนั้นเมื่อจัดสร้างพระเครื่องขึ้นอย่างสมบูรณ์แบบด้วยเจตนาที่ดี การออกแบบดี มวลสารดี การจัดพิธีกรรมปลุกเสกก่อนบรรจุพระเครื่องลงกรุ จะต้องยิ่งใหญ่ ถูกต้อง ครบถ้วนตามโบราณราชประเพณีที่สืบทอดกันมาอย่างต่อเนื่อง พระเครื่องวัดกรุท้ายตลาดจึงเป็นที่นิยม ชื่นชมและยกย่องไม่เคยเสื่อมคลาย ความประณีต งดงามอย่างสมบูรณ์แบบ ถือได้ว่าเป็นความอลังการแห่งพระเครื่องอย่างแท้จริงในยุครัตนโกสินทร์ ที่เหลือเป็นมรดกให้อนุชนรุ่นหลังได้สักการะบูชาสมบัติสมบัติชาติ สมบัติพุทธ ได้อย่างกลายๆ
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน860 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ20 บาท
วันเปิดประมูล - 03 ก.พ. 2561 - 16:55:52 น.
วันปิดประมูล - 04 ก.พ. 2561 - 19:11:06 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลtoopronchai (2.4K)(1)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     860 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     20 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    atavit (2.4K)

 

Copyright ©G-PRA.COM