(0)
^^^ ปรอทกรอเปียกทอง ของดีเมืองล้านนา ลูกเล็กจิ่วตัวเมีย หายากสุดๆ








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่อง^^^ ปรอทกรอเปียกทอง ของดีเมืองล้านนา ลูกเล็กจิ่วตัวเมีย หายากสุดๆ
รายละเอียดปรอทกรอเปียกทอง ตัวเมีย เสียงเพราะมาก เก่าถึงยุคล้านนา เป็นของเมืองฮอดโบราณ เสียงขอบอกเลยว่าวางบนมือลมหน่อยๆยังดังครับ
ประวัติความเป็นมาและการสร้าง ปรอทกรอ : คนยุคโบราณได้มีคติความเชื่อเรื่อง สิ่งศักดิ์สิทธิ์สิ่งลี้ลับ และในเรืองของความศัทธาความเชื่อศาสนาพุทธก่อนโบราณ เมืองโบราณ ณ หนึ่งเมือง เช่น จ.เชียงใหม่มีอำเภอแบ่งเป็น 24 อำเภอ แต่ละอำเภอก็มีตำบล บ้าน แบ่งย่อยออกมา คนโบราณก็แบ่งเป็น เมือง เมือง เช่น เมือง หอดโบราณ อำเภอ ฮอด ในปัจจุบัน ในเมืองหนึ่งก็สร้างวัด หลายๆวัด คนโบราณ เชื่อกันว่าหนึ่งวัดได้บรรจุของวิเศษ แทนคนรักษาวัดวาอาราม ก็สร้างของวิเศษ ชื่อว่า ปรอทกรอ ไว้ ใต้ฐานวิหาร หรือ อุโบสถ "วัดใดละหนึ่งลูกเท่านั้น"จะสร้างไม่เกินนี้ คนสมัยโบราณเชื่อกันว่า มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ปกป้องวัด จึงให้หญิงสาวบริสุทธิ์และชายโสด มาร่วมพิธีกรรมฝังวิญณาญพร้อมกันกับปรอทกรอไปพร้อมกัน คนโบราณจึงเชื่อกันว่ามีสิ่งวิเศษของดีปกป้องภัย ยกตัวอย่าง เช่น กันภูตผีปีศาจร้าย กันขโมย สร้างความร่มเย็นเป็นสุจแก่ศัทธาลูกวัด ตามคติความเชื่อคนโบราณ และ มีผู้รู้บอกว่า "ของบก"ก็มีเหมือนกัน เช่น บ้าน ตลาด วัด เป็นต้น สันนิฐานว่าน่าเป็น "ของวิเศษใช้ปกป้องคุ้มครองภัย"อายุราว100ปี-200กว่าปี ปรอทกรอแบ่งเป็นชนิดๆ เช่น 1. ปรอทกรอทองคำ 2.ปรอทกรอเนื้อสำริด 3. ปรอทกรอสำริดแก่ทองคำ 4. ปรอทกรอดินเผา (พบน้อยมาก ส่วนมากบรรจุอุโบสถวัดที่ห่างใกล้) นอกเหนือจากนี้ไม่ขอกล่าวถึง ครับ และ แบ่งเป็นขนาดๆ ที่พบเห็นตามมาตรฐานสากล คือ 1. เส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 2เซนติเมตร 2. เส้นผ่าศูนย์กลางขนาด1นิ้ว 3. เส้นผ่าศูนย์กลางขนาด1นิ้วครึ่ง 4. เส้นผ่าศูนย์กลางขนาด2นิ้ว(พบเห็นน้อยมาก) การสร้างปรอทกรอได้มีผู้พิสูตรลองผ่าดู พบว่ามีแผ่นเรียกว่าแผ่นสำริดบางเฉียบวางซ้อนๆกันเป็นซั้นๆสลับๆกันและบาง ลูกพบว่าสร้างเป็นขดลวดสำริดสร้างเป็นกลไกที่ซับซ้อน มีลูกในที่ทำให้เกิดเสียงสันนิฐานว่าเป็นลูกเหล็ก(คนโบราณเชื่อว่าเป็นเหล็ก ไหล)แล้วแต่ความเชื่อส่วนบุคคล เป็นศิลปะความคิดคนโบราณที่สร้างกลไกที่สุดยอดที่คนปัจจุบันสร้างทำเรียนแบบ ไม่ได้ ปรอทกรอที่ดัง คือ ปรอทกรอที่ไม่ตายจะมีเสียงดังดีไหลลื่นตลอดเป็นเวลานานๆ ส่วนมากแผ่นการเวลามานานบวกกับสภาพผิวของเมืองหรือวัดบางที่อาจสร้างอยู่ ลุ่มน้ำ ทำให้แช่น้ำเป็นเวลานานๆ หรือขึ้นอยู่กับสภาพผิวดินในแต่ละที่ๆเสียงดังไม่ดี เมืองที่มีความเจริญมาก เช่น "วัดหัวเมือง" ก็จะสร้างปรอกรอ เช่น ปรอทกรอทองคำ รองมาเป็นระดับๆจนถึงปรอทกรอดินเผาซึ่งพบเห็นน้อยที่สุดมีก็ไม่สมบูรณ์ ส่วนมาตรฐานสากลนิยมผมไม่ขอกล่าวมานะครับ ข้อมูลจริง จาก แหล่งความรู้หอสมุดแห่งชาติ หอสมุดพิพิธภัฑสถานแห่งชาติ แหล่งความรู้จากชาวบ้านคนสมัยเก่า (ผู้เฒ่า) ความรู้จากนักสะสมของเก่ารุ่นเก่าและนักวิชาการเรื่องเมืองโบราณล้านนา ชมรมนักสมของเก่าศิลปะวัฒนธรรมและชมรมเครื่องรางแดนล้านนา หวังว่า ข้อมูลนี้คงเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาและคู่มือการสะสมได้เป็นอย่างดี
ปรอทกรอ เท่าที่พบแบ่งได้เป็นสามยุค คือ
1. ยุคลพบุรี
2. ยุคเชียงแสน (มักจะเป็นทองสัมฤทธิ์แล้วเปียกทอง)
3. ยุคอยุธยา (เนื้อหาจะเป็นทองสัมฤทธิ์คล้ายทางเหนือแต่ดูอายุเนื้อโลหะน้อยกว่า แต่ตะเข็บจะทำไม่ค่อยเนียนเท่ายุคเชียงแสน)

สำหรับการสร้างปรอทกรอขึ้นมาด้วยวัตถุประสงค์อะไรนั้น ก็ได้แต่สันนิษฐานกันไป
บ้างก็ว่าใช้สำหรับเตือนภัยเวลามีข้าศึกสงครามมา ม้าวิ่ง หรือมีเสียงสะเทือน ปรอทนี้ก็จะดังตามเสียงสะเทือน เป็นสัญญาณเตือนภัยให้รู้
บ้างก็ว่าเพื่อป้องกันสิ่งชั่วร้ายและสิ่งอัปมงคลทั้งปวงที่เข้ามา รวมทั้งโจรผู้ร้าย เมื่อมีเหตุปรอทก็จะส่งเสียงดังเตือนให้รู้

ปรอทกรอ มีลักษณะเป็นโลหะทรงกลมกลวง มีหลายขนาดทั้งลูกใหญ่และเล็ก
ส่วนใหญ่จะมีขนาด 1-2 นิ้ว และมักจะไม่ค่อยพบเห็นรอยเชื่อม(ตะเข็บ) หรือถ้าเห็นก็จะเป็นเส้นขีดเล็กๆ
ซึ่งเป็นที่น่าอัศจรรย์ในการสร้างมากๆ ที่สมัยโบราณสามารถประกบโลหะได้สนิทถึงเพียงนี้
และที่สำคัญ คือ น้ำหนัก และการไหลของโลหะภายในปรอทกรอที่ทำให้เกิดเสียง
เชื่อกันว่า สามารถบอกเหตุร้าย และ ป้องกันเสนียดจัญไร ให้แก่เจ้าของได้

ภายในลูกปรอทกรอนั้นว่ากันว่าเป็นของวิเศษกายสิทธิ์จำพวกเหล็กไหล หรือ ปรอทกายสิทธิ์
ที่เกิดจากการเล่นแร่แปรธาตุของพระอาจารย์ผู้เรืองวิทยาคมได้เอามาใส่ไว้ โดยนำเอามาหุงและหลอมเป็นปรอทกายสิทธิ์
ฉะนั้นเวลาเขย่าจะคล้ายมีกริ่งอยู่ข้างใน
เคยมีคนผ่าดูข้างในปรากฏว่ามีความซับซ้อนมาก
ภายในจะเป็นกลไกทรงกลมซ้อนกันหลายๆ ชั้นและมีซี่ๆ คล้ายสายยูของนาฬิกาหรือหวีที่ใช้หวีผมสับเข้าหากันเวลาเขย่า
และมีลูกกลมๆ ที่มีสามสิบแปดเหลี่ยมเป็นของวิเศษอยู่ภายใน
เมื่อเวลาเขย่าลูกกลมๆที่มีเหลี่ยมนี้ก็จะไปทำให้ทรงกลมแต่ละชั้นหมุนตามลำดับ
จึงมีเสียงดังอึงอล บางลูกแม้เพียงจับปรอทภายในก็วิ่งเองได้
นับได้ว่าเป็นภูมิปัญญาโบราณที่สาบสูญการถ่ายทอดไปแล้ว

ปรอทกรอจะมี 2 ชนิดคือ ตัวเมียและตัวผู้ แยกกันโดยเสียง
- ตัวเมีย เสียงจะดังใสกังวานเหมือนกระดิ่ง หายากมากเพราะจะมีแค่อันเดียวคล้ายๆ เป็นตัวศูนย์กลาง
- ตัวผู้ เสียงดังคล้ายจักจั่น จับดูจะรู้สึกถึงการไหลภายใน และมีเสียงดังคล้ายจักจั่นร้องพบได้ง่ายกว่า เป็นตัวบริวาร
ราคาเปิดประมูล1,000 บาท
ราคาปัจจุบัน4,000 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 11 ก.พ. 2561 - 20:48:32 น.
วันปิดประมูล - 15 ก.พ. 2561 - 14:01:56 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลchanapai (5.8K)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     4,000 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    DOT666 (767)

 

Copyright ©G-PRA.COM