(0)
เคาะเดียว ...................... พระกริ่งภปร. วัดบวร ปี08 พระดีพิธีใหญ่ เนื้อสัมฤทธิ์กระไหล่ทองเดิม แจกกรรมการ ตะไบหยาบ นิยม พร้อมบัตรรับรองท่าพระจันทร์








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องเคาะเดียว ...................... พระกริ่งภปร. วัดบวร ปี08 พระดีพิธีใหญ่ เนื้อสัมฤทธิ์กระไหล่ทองเดิม แจกกรรมการ ตะไบหยาบ นิยม พร้อมบัตรรับรองท่าพระจันทร์
รายละเอียดพระกริ่ง ภปร วัดบวรนิเวศวิหารปี พ.ศ. 2508 ซึ่งสร้างพร้อมกับพระพุทธรูป ภปร ของวัดบวรนิเวศวิหาร เนื่องจากในปี พ.ศ. 2506 ทางวัดเทวสังฆาราม จังหวัดกาญจนบุรี ได้รับพระบรมราชนุญาตสร้างพระพุทธรูป ปางประทานพร ภปร ในครั้งนั้นเป็นที่ชื่นชอบของประชาชนที่ต้องการไว้สักการบูชาเป็นอย่างมาก จนพระพุทธรูป ภปร ไม่เพียงพอแก่ประชาชนผู้ประสงค์อยากได้ไว้สักการบูชา ต่อมาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้ทรงทราบ จึงได้พระราชทานพระราชดำริว่า น่าจะได้มีการสร้างพระพุทธรูป ภปร นี้ขึ้นอีกที่วัดบวรนิเวศวิหาร เพื่อให้เพียงพอในการพระราชทานแก่หน่วยงานราชการ ทหาร ตำรวจ เมื่อทางวัดเทวสังฆารามได้รับพระราชทานพระดำริดังนี้ จึงได้ดำเนินการขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตสร้างพระพุทธรูป ภปร ขึ้นเป็นครั้งที่ 2 โดยจักนำรายได้ทูลเกล้าฯถวายเพื่อพระราชทานบูรณะพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร และเพื่อพระราชทานองค์การสาธารณกุศลตามพระราชประสงค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาต และทรงพระราชทานพระราชดำริให้ช่างศิลป์ กรมศิลปากรปั้นหุ่นขึ้นใหม่ อีกทั้งได้ทรงพระราชทานภาษิตสำหรับจารึกที่ฐานพระพุทธรูปว่า "ทยฺยชาติยา สามคฺคิยํ สติสญฺชานเนน โภชิสิยํ รกฺขนฺติ" แปลความว่า "คนชาติไทย จะรักษาความเป็นไทยอยู่ได้ ด้วยมีสติสำนึกอยู่ในความสามัคคี"
พระพุทธรูป และพระกริ่ง ภปร ได้จัดสร้างโดยในวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2508 ได้มีพิธีพุทธาภิเษก โดยคณาจารย์ทำการปลุกเสกโลหะต่างๆ เริ่มพิธีตั้งแต่เวลา 14.00 น. ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร เวลา 16.20 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินเข้าพระอุโบสถทรงประเคนผ้าไตร แก่พระราชาคณะ จากนั้นพระสงฆ์ได้เจริญพระพุทธมนต์ และลงจารแผ่นโลหะที่จะผสมหล่อพระพุทธรูปและพระกริ่ง ภปร วันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2508 เวลา 16.30 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินมายังปะรำพิธีมณฑล และทรงหย่อนทองสำหรับหล่อพระพุทธรูป และพระกริ่ง ภปร ในเตาตลอดจนครบ 32 เตา พระสงฆ์รอบพิธีมณฑลทั้ง 8 ทิศ และพระสงฆ์ในวิหารเจริญชัยมงคลคาถา ชาวพนักงานประโคมฆ้องชัย สังข์แตร ดุริยางค์
พระพุทธรูป ภปร ในครั้งนี้ได้จัดสร้างเป็น 3 ขนาดคือ พระพุทธรูปบูชาขนาดหน้าตัก 9 นิ้ว พระพุทธรูปบูชาขนาดหน้าตัก 5 นิ้ว ผิวโลหะรมดำ และพระกริ่ง ภปร เนื้อโลหะผสม ผิวรมดำ
ปัจจุบันนี้พระบูชาและพระกริ่ง มีประชาชนสนใจหาเช่าไว้บูชากันเป็นจำนวนมาก พระบูชา ภปร สนนราคาหลักหมื่นต้นๆ ถึงกลางๆ ครับ แต่ก็ค่อนข้างหายากหน่อยเพราะมีจำนวนน้อย และเจ้าของมักหวง ส่วนพระกริ่ง ภปร นั้นยังพอหาเช่าได้อยู่ เพราะมีจำนวนมาก สนนราคาก็อยู่ที่หลักพันกลางๆ ถึงปลายๆ ครับ วันนี้ก็นำรูปพระกริ่ง ภปร ปี 2508 วัดบวรนิเวศวิหารมาให้ชมกันครับ
โดยส่วนตัวชอบพระกริ่งรุ่นนี้มากขอรับ สร้างในช่วงปีใกล้เคียงกับสมเด็จจิตรลดาซึ่งหายากและราคาสูงมาก กระผมจึงหารุ่นนี้มาใช้แทน
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
พระกริ่ง ภปร. ปี08 วัดบวรฯ พิมพ์นิยมสุด(ก้นตะไบหยาบ,ข้างเลื่อย,น้ำยาชุบสีอ่อน)
พระกริ่ง ภปร ปี08 (ในหลวงทรงเสด็จเททอง)
พระกริ่ง-ประจำรัชกาล สร้างพิธีเดียวกันกับ พระพุทธรูปบูชา พระปรมาภิไธยย่อ ภปร.
ซึ่งเป็นที่แสวงหาในปัจจุบัน สมควรเก็บไว้เป็นอย่างยิ่ง แรงด้วยคุณค่าของพระเอง
พระกริ่ง ภปร ปี08 ทางกองกษาปณ์ มีนำแม่พิมพ์กลับมาสร้างใหม่ในปี14 ด้วยนะครับ
พระที่สร้างปี14 ก็เป็นพระแท้ครับ วงการยอมรับ ข้อแตกต่างของปี14 คือ
1.น้ำยาชุบสีดำเข้มและหนา
2.ตรงก้นจะไม่มีรอยตะไบเนื่องจากทางกองกษาปณ์ใช้เครื่องขัดที่บริเวณก้นครับ
3.ด้านข้างขององค์พระจะไม่มีคลองเลื่อยครับ(งานจะออกมาเรียบร้อยกว่า ปี08)
องค์ที่บริเวณหน้ามีรอยยุบ เกิดจากการหล่อไม่เต็ม
รับประกันตามกฏของเวปครับ
ราคาเปิดประมูล1,400 บาท
ราคาปัจจุบัน1,800 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 26 ก.ค. 2561 - 17:12:38 น.
วันปิดประมูล - 27 ก.ค. 2561 - 21:27:03 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลPHLOI (3.5K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 26 ก.ค. 2561 - 17:13:24 น.



คลิกที่ค้อนมีรายการวัดใจให้เลือกอีกเยอะครับ


 
ราคาปัจจุบัน :     1,800 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Jubwatin (287)

 

Copyright ©G-PRA.COM
www1