(0)
เหรียญหล่อโบราณ หลวงปู่เพิ่ม วัดแค จ.อยุธยา พิมพ์เปิดโลก เนื้อตะกั่ว






รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องเหรียญหล่อโบราณ หลวงปู่เพิ่ม วัดแค จ.อยุธยา พิมพ์เปิดโลก เนื้อตะกั่ว
รายละเอียดเหรียญหล่อโบราณ หลวงปู่เพิ่ม วัดแค จ.อยุธยา พิมพ์เปิดโลก เนื้อตะกั่ว

หลวงพ่อเพิ่ม วัดแค วัดราชานุวาสหรือที่ชาวบ้านเรียกว่าวัดแค ตั้งอยู่ตรงข้ามกับตลาดหัวรอใกล้ๆกับวัดมณฑป ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นวัดโบราณสันนิษฐานว่า สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้น มีประวัติเกี่ยวพันกับสมเด็จเจ้าพะโค๊ะเหยียบน้ำทะเลจืด หรือหลวงปู่ทวดวัดช้างไห้จังหวัดปัตตานีว่า ได้เคยเดินทางมาศึกษาพระปริยัติธรรมและจำพรรษาอยู่ ณ ที่วัดนี้ ยังปรากฏซากกองอิฐกับโคกดินซึ่งมีต้นไม้ขึ้นคลุมอยู่หนาแน่นกล่าวกันว่าเป็นวิหารของหลวงปู่ทวดหลังจากเสียกรุงแก่พม่าครั้งที่สองนั้น วัดแคก็ได้กลายเป็นวัดร้าง ถึงสมัยรัตนโกสินทร์จึงได้ถูกฟื้นฟูบูรณะขึ้นอีกครั้ง และมีเจ้าอาวาสปกครองดูแลต่อๆกันมา จนถึงระยะที่หลววงปู่เพิ่ม มาดำรงตำแหน่ง หลวงปู่เพิ่มท่านเป็นพระที่เคร่งครัดในระเบียบวินัย ข้อวัตรปฏิบัติเป็นอย่างยิ่งเนื่องด้วยจุดประสงค์ที่เข้ามาอุปสมบทในบวรพระพุทธศาสนาก็เพราะต้องการจะหลุดพ้นจากสังสารวัฏ จึงมุ่งแต่บำเพ็ญเพียรทางจิตเจริญวิปัสนากรรมฐานอย่างจริงจังทุกวัน มีความเป็นอยู่อย่างสมถะและสันโดษ การขบฉันอาหารก็ฉันสำรวมในบาตร เพียงวันละมื้อเดียว ไม่นิยมการสรางและสะสมทำให้สภาพของวัดไม่เจริญกลับแต่จะทรุดโทรมและรกร้างเต็มไปด้วยต้นไม้นานาพรรณ ที่ขึ้นมืดครื้มไปหมดจนจะกลายสภาพเป็นป่าทำให้ไม่ค่อยจะมีใครอยากจะเข้าไปในเขตวัดนักแม้แต่พระก็ยังไม่อยากจะอยู่ ทั้งวัดจึงมีพระสงฆ์นับรวมหลวงปู่เพียง ๕ รูป แต่บรรยากาศแห่งความวิเวกและเงียบสงัดนี้ได้เป็นที่พอใจของท่านมากพระอธิการเพิ่ม ฐิติญาโณ ถือกำเนิดเมื่อปี พ.ศ.๒๔๒๖ ในครอบครัวที่มีฐานะดีโยมบิดาของท่านคือพระชัยปริญญา ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลมณฑลอยุธยา โยมมารดาชื่อเต่า เนื่องจากท่านเป็นบุตรคนเดียวจึงได้รับการอบรมสั่งสอนมาอย่างดี อุปนิสัยเงียบๆไม่ชอบสุงสิง เที่ยวเตร่เหมือนกับผู้ที่อยู่ในวัยเดียวกัน ภายหลังที่ได้รับราชการทหารอยู่นานถึง ๗ ปีก็ปลงตกมองเห็นแก่นแท้ของชีวิต เลยเลือกทางเดินใหม่คือ การออกบวช โดยอุปสมบทเมื่อปี ๒๔๕๖ ณ วัดสระเกศ จำพรรษาอยู่ ณ พระอารามดังกล่าวระยะหนึ่ง เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรม และแนวทางการปฏิบัติกับได้ออกแสวงหาพระอาจารย์เพื่อเล่าเรียนสมถะและวิปัสนากรรมฐาน รวมทั้งวิทยาคมจนมีความรู้ความสามารถดีแล้วก็ออกธุดงค์เพื่อฝึกฝนวิชาการต่างๆ กระทั่งมาถึงยังท้องที่อันเป็นถิ่นเดิมของท่านและได้แลเห็นว่าวัดแคนั้นสงบเงียบ ปราศจากส่งรบกวนจึงจำพรรษาอยู่ ต่อมาก็ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส จวบจนถึงแก่มรณภาพด้วยโรคชรา เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๔ ขณะมีอายุได้ ๗๘ ปี ดังที่กล่าวมาแล้วในตอนต้นว่า หลวงปู่เพิ่ม ท่านมุ่งแต่การเจริญวิปัสสนาธุระ ทั้งไม่นิยมสร้างและสะสมสิ่งใด ภายในกุฏิจึงไม่ปรากฏของมีค่าอื่น นอกจากอัฐบริขารอันเป็นสิ่งจำเป็นแก่สมณะ กับเสื่ออีกหนึ่งผืนและหมอนหนึ่งใบโดยไม่มีมุ้งทั้งท่านก็ไม่เคยใช้แต่ที่แปลกคือยุง ไม่ไปรบกวน ถึงจะมีบ้างส่วนน้อย ท่านก็สละเลือดให้เป็นทาน มิได้ปัดขับไล่แต่อย่างใด หลังจากสวดมนต์ทำวัตรเช้าแล้ว ก็กลับเข้าห้องปิดประตูบำเพ็ญภาวนา จะออกจากห้องอีกครั้ง ก็ตอนลงโบสถ์ทำวัตรเย็น เสร็จแล้วก็กลับปิดประตูห้องเจริญสมาธิต่อไป ระยะหลังท่านจะใช้ช่วงเวลาหลังทำวัตร รับแขกที่มาหา จากการปฏิบัติบำเพ็ญเพียรทางจิต โดยสม่ำเสมอและมุ่งมั่นอย่างจริงจัง เป็นเหตุให้บังเกิดจิตตานุภาพแก่กล้า ชำนาญในญาณสมาบัติสามารถกำหนดรู้เหตุการณ์ต่างๆได้ มีเรื่องเล่าถึงความอัศจรรย์ซึ่งพบเห็นกันอยู่หลายต่อหลายเรื่องเช่น การไปปรากฏตัวอีกสถานที่หนึ่ง(กายทิพย์)ย่นหนทางได้ฯลฯ คุณธรรมของท่านอีกอย่างก็คือ ความเปี่ยมล้นไปด้วยเมตตา ที่เผื่อแผ่รวมตลอดถึงสัตว์ด้วย ไม่ว่าใครจะถวายอะไรมา ท่านจะแจกจ่ายจนหมดไม่เหลือเก็บไว้ จึงเป็นที่ชื่นชอบของบรรดาขี้เหล้าขี้ยา และวณิพกทั้งหลายแหล่ ซึ่งจะพากันแวะเวียนเข้ามาขอเงินทองอยู่เสมอ แต่ความเป็นเมตตาธรรมของหลวงปู่นั้นได้ก่อให้เกิดปัญหา เพราะชาวบ้านบางคนรู้สึกไม่พอใจ หาว่าท่านเลี้ยงคนเหล่านี้โดยเฉพาะพวกขอทานที่เป็นขี้ทูดกุดถังหรือโรคเรื้อน ซึ่งเวลานั้นหากใครเป็นแล้วรักษาไม่หาย สังคมจึงพากันรังเกียจ พวกนี้ไม่มีหลักแหล่งที่จะไป หรือถูกขับไล่ไสส่งออกมาเร่ร่อนอยู่ จะทำมาหากินก็ไม่ได้เมื่อมาพบกับหลวงปู่เข้า เห็นว่าท่านไม่ว่าไม่แสดงความรังเกียจ ก็เลยมาอาศัยพักพิงในวัด หลวงปู่ก็ให้ข้าวปลาอาหารเลี้ยงดูด้วยความเวทนา และพวกนี้ก็ไม่ได้นั่งกินนอนกินอยู่เฉยๆบางคนช่วยเป็นธุระให้หลวงปู่ พายเรือออกบิณฑบาต ซึ่งแทนที่จะไม่มีคนทำบุญ อาหารกับเต็มเพียบทุกวัน ถึงจะมีคนมากกว่าพระ แต่ข้าวปลาก็เพียงพอ สัตว์ภายในวัดก็พลอยอิ่มไปด้วย นับเป็นเรื่องที่แปลก หลวงปู่แม้จะมุ่งเน้นในทางปฏิบัติ ก็มีการสร้างวัตถุมงคลขึ้น ตามแบบอย่างโบราณคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงอย่างอื่นเช่นกัน เริ่มราวปี พ.ศ.๒๔๘๙-๒๔๙๐ พระเครื่องที่สร้างขึ้นมีทั้งประเภทเนื้อดินและเนื้อโลหะ รวมทั้งเหรียญปั้มรูปเหมือนน ซึ่งมีเพียงรุ่นเดียว
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน750 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 28 ก.ค. 2561 - 18:39:46 น.
วันปิดประมูล - 02 ส.ค. 2561 - 16:11:48 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลkritk (843)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     750 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Monsterpop (125)(3)

 

Copyright ©G-PRA.COM