(0)
เหรียญพระยาพิชัยดาบหัก รุ่นแรก ปี13 สวย ไม่แพง








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องเหรียญพระยาพิชัยดาบหัก รุ่นแรก ปี13 สวย ไม่แพง
รายละเอียดเหรียญพระยาพิชัยดาบหัก รุ่นแรก ปี13 บล็อกไหล่มีจุด บ ไม่ขาด สภาพยังสวย เลี่ยมอย่างดีพร้อมใช้ เคาะเดียวถึงขั้นต่ำครับ
<b>รับประกันความแท้ตามกฏทุกประการครับ</b>

เหรียญรุ่นแรก พระยาพิชัยดาบหัก ปี๑๓

พิธีมหาพุทธาภิเษกมหาจักรพรรดิ์ พิธียิ่งใหญ่รองจาก พิธี 25 พุทธศตวรรษเลยทีเดียว จากระยะนั้นถึงเวลานี้ได้มีวัตถุมงคลอุบัติขึ้นหลายแบบ หลายประเภท และบางแบบ บางชนิด ได้ถูกมองข้ามไปอย่างน่าเสียดาย ซึ่งจะเป็นด้วยเหตุใดก็ไม่อาจทราบ หรือบางทีอาจจะเป็นเพราะธุรกิจในเชิงพุทธพาณิชย์ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยก็ได้ ทั้ง ๆ ที่จัดว่าเป็นของดีมีองค์ประกอบอยู่หลายประการคือ เจตนาการสร้างดี พิธีกรรมดี คณาจารย์ปลุกเสกดี และประสบการณ์ดี วัตถุมงคลประเภทหรือชนิดหนึ่งที่จะได้กล่าวถึงต่อไปนี้คือ เหรียญพระยาพิชัยดาบหัก จังหวัดอุตรดิตถ์
เหรียญนี้เริ่มสร้างขึ้นภายหลังจาก ที่ได้มีการสร้างอนุสาวรีย์พระยาพิชัย ดาบหัก ครบ 1 ปี เรื่องอนุสาวรีย์นี้ ชาวจังหวัดอุตรดิตถ์ได้เรียกร้องปรารถนาให้มีขึ้นนานแล้วแต่ไม่สำเร็จ ต่อมาถึงสมัยนายเวทย์ นิจถาวร เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด โดยมีพ่อค้า ประชาชน ร่วมกันบริจาคทรัพย์เป็นทุนก่อสร้าง โดยไม่มีงบประมาณแผ่นดินของทางหน่วยงานราชการ มาเกี่ยวข้องเลย เป็นการเกิดจากกำลังศรัทธาอันแรงกล้า ของชาว จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ต้องการเทิดทูนเกียรติประวัติยอดวีรบุรุษผู้กล้าหาญ และเป็นเทพเจ้าแห่งความซื่อสัตย์ กตัญญูต่อผู้มีพระคุณ ของชาวจังหวัดอุตรดิตถ์และประชาชนชาวไทย ซึ่งเก่งกล้าสามารถทั้งชั้นเชิงแม้ไม้มวยไทย และ ชั้นเชิงทางเพลงดาบ และเป็นกำลังสำคัญอย่างยิ่ง ท่านเป็นทัพหน้าในการออกศึกโจมตีข้าศึกทุกครั้ง คือ”ท่านพ่อพระยาพิชัยดาบหัก “ ท่านเป็นทหารเอกของพระเจ้าตากสิน มหาราช ในการกอบกู้เอกราช ของชาติไทย ปราบชุมนุมต่างๆ รวบรวมเป็นประเทศชาติไทย และปกป้องอธิปไตยให้พ้นจากข้าศึกศัตรู มาได้จนเป็นประเทศไทยกระทั่งถึงทุกวันนี้

อนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก ออกแบบและหล่อด้วยทองเหลืองและโลหะผสม โดยกรมศิลปากร ขนาดใหญ่กว่าคนในยุคปัจจุบันจริง 3 เท่า ในชุดนายทหารสมัยอยุธยาตอนปลาย ในลักษณะยืนถือดาบ 2 ข้าง มีผ้ามัดมือที่ถือด้ามดาบติดกับด้ามดาบ เพื่อป้องกันดาบหลุดจากมือ และดาบอีกข้างหนึ่งหักข้างขวา มีการวางศิลาฤกษอนุสาวรีย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ. ศ. 2511 จนก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดอย่างป็นทางการ เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ. ศ 2512 และทางคณะกรรมการซึ่งมีพลโทสำราญ แพทย์กุล แม่ทัพภาคที่ 3 (ยศและตำแหน่งขณะนั้น) เป็นประธาน นายเวทย์ นิจถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ขณะนั้นป็นรองประธาน พร้อมด้วยที่ปรึกษาอันทรงเกียรติอีกหลายท่าน ได้ร่วมดำเนินงานการสร้างเหรียญพระยาพิชัยดาบหักขึ้น ออกแบบเหรียญโดยกองกษาปณ์ กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง โดยจำลองแบบมาจากอนุสาวรีย์

จากนั้นจึงจัดพิธีมหาพุทธาภิเษกขึ้น เป็นพิธีมหาจักรพรรดิ์ครั้งยิ่งใหญ่ ฃึ่งรองจาก พิธี 25 พุทธศตวรรษเลยทีเดียว โดยกราบทูลอาราธนา สมเด็จพระสังฆราช วัดมกุฎกษัตริย์ กรุงเทพฯ เสด็จมาเป็นองค์ประธานจุดเทียนชัย พร้อมกันนี้ ทางคณะกรรมการผู้จัดสร้าง ได้กราบอาราธนา นิมนต์พระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณร่วมสมัย ซึ่งมีชื่อเสียงทรงวิทยาคุณ เป็นที่รู้จักกันดีจากจังหวัด ต่างๆ ทั่วประเทศ เช่น

1.สมเด็จ พระสังฆราช วัดมกุฏกษัตริย์ กรุงเทพฯ ทรงเสด็จมาเป็นองค์ประธานจุดเทียนชัย

2.หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ระยอง

3.หลวงพ่อจันทร์ วัดหาดสองแคว อุตรดิตถ์ (ท่านเก่งทุกด้าน ที่ลือลั่นไปถึง ต่างประเทศนั่นคือ กิเลนเงิน-กิเลนทอง นำโชค)

4.หลวงปู่ทองดำ วัดท่าทอง อุตรดิตถ์

5.หลวงพ่อปี้ วัดลานหอย สุโขทัย

6.หลวงพ่อเกตุ วัดศรีเมือง สุโขทัย (ท่านดัง ด้านตะกรุดมหาสะท้อน )

7.หลวงปู่คำมี ถ้ำคูหาสวรรค์ ลพบุรี

8.หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ

9.หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค นครสวรรค์

10.หลวงปู่สี วัดถ้ำเขาบุญนาค นครสวรรค์

11.หลวงปู่ดู่ วัดสะแก อยุธยา

12.หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ เพชรบุรี

13.หลวงพ่อสงฆ์ วัดเจ้าศาลาลอย ชุมพร

14.หลวงปู่เม้า วัดสี่เหลี่ยม บุรีรัมย์

15.หลวงพ่อชื่น วัดมาบข่า ระยอง

16.หลวงพ่อหอม วัดชากหมาก ระยอง

17.หลวงพ่อคร่ำ วัดวังหว้า ระยอง

18.หลวงพ่อคง วัดวังสรรพรส จันทบุรี

19.หลวงพ่อทบ วัดชนแดน เพชรบูรณ์

20.พระอาจารย์นำ แก้วจันทร์ วัดดอนศาลา นครศรีธรรมราช

21.หลวงพ่อทิพย์ วัดโพธิ์ทอง บุรีรัมย์

22.หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม นครปฐม

23.หลวงพ่อมุม วัดปราสาทเยอเหนือ ศรีสะเกษ

24.หลวงพ่อแก้ว วัดช่องลม สมุทรสาคร

25.หลวงพ่อสิม วัดถ้ำผาปล่อง เชียงใหม่

26.พระอาจารย์วัน วัดถ้ำอภัยดำรงค์ธรรม สกลนคร

27.หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี

28.หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลย์ สุพรรณบุรี

29.หลวงปู่พริ้ง วัดโบสถ์โก่งธนู ลพบุรี

30.หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม นครปฐม

31.หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง สมุทรสาคร

32.หลวงพ่อเอีย วัดบ้านด่าน ปราจีนบุรี

33.หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง นนทบุรี

34.หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยาณมิตร กรุงเทพน

35.หลวงพ่อทอง วัดก้อนแก้ว ฉะเชิงเทรา

36.หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม นครปฐม

37.หลวงปู่จันทร์ วัดศรีเทพฯ นครพนม

38.หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว นครปฐม

39.หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี สมุทรสาคร

40.หลวงปู่ธูป วัดแคนางเลิ้ง กรุงเทพฯ

41.หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว สุพรรณบุรี

42.หลวงพ่อคลิ้ง วัดถลุงทอง นครศรีธรรมราช

43.หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ นครปฐม

44.หลวงพ่อพรหม วัดขนอนเหนือ อยุธยา

45.หลวงพ่อจันทร์ วัดทุ่งเฟื้อ นครศรีธรรมราช

46.หลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง เชียงใหม่ (อธิษฐานส่งจิตมา)

47.หลวงปู่ขาว วัดถ้ำกลองเพล อุดรธานี

48.หลวงปู่หนู วัดทุ่งแหลม ราชบุรี

49.หลวงพ่อนารถ วัดศรีโลหะราษฎร์บำรุง กาญจนบุรี

50.หลวงพ่อมี วัดซำป่างาม ฉะเชิงเทรา

51.หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ อยุธยา

52.ครูบาธรรมชัย วัดทุ่งหลวง เชียงใหม่

53.หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง อยุธยา

54.หลวงพ่อผาง วัดอุดมคงคาคีรีเขต ขอนแก่น

55.ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี เชียงใหม่

56.หลวงพ่อโอด วัดจันเสน นครสวรรค์

57.หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ สุพรรณบุรี

58.หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ นครราชสีมา

59.หลวงพ่อเส็ง วัดบางนา ปทุมธานี

60.หลวงปู่เครื่อง วัดเทพสิงห์หาร อุดรธานี

61.หลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง สระบุรี

62.พระครูเมตยานุรักษ์ วัดวชิราลงกรณ์ นครราชสีมา

63.พระครูสัมฤทธิ์ วัดอู่ทอง สุพรรณบุรี

64.พระวิบูลเมธาจารย์ (เก็บ) วัดดอนเจดีย์ สุพรรณบุรี

65.หลวงพ่อเที่ยง วัดม่วงชุม กาญจนบุรี

66.พระครูกาญจโนปมคุณ (ลำไย) วัดลาดหญ้า กาญจนบุรี

67.หลวงพ่อเจริญ วัดทองนพคุณ เพชรบุรี

68.พระครูไพศาลคณารักษ์ วัดไร่ขิง นครปฐม

69.หลวงพ่อสนิท วัดลำบัวลอย นครนายก

70.หลวงพ่อสีหมอก วัดเขาวังตะโก ชลบุรี

71.พระครูศรีสัตตคุณ วัดสัตหีบ ชลบุรี

72.หลวงปู่บุญทัน วัดประดู่ศรี ปราจีนบุรี

73.พระวิสุทธาจารคุณ วัดเกาะหลัก ประจวบคีรีขันธ์

74.พระอาจารย์สุบิน วัดถ้ำไก่แก้ว นครราชสีมา

75.หลวงพ่อมิ วัดสะพาน ธนบุรี

76.พระครูพิชัยณรงค์ฤทธิ์ วัดคอกหมู กทม.

77.พระอาจารย์บำเรอ วัดปากน้ำภาษีเจริญ กทม.

78.พระญาณวิริยาจารย์ วัดธรรมมงคล กทม.

79.พระครูพิทักษ์เขมากร วัดท่าเกวียน ฉะเชิงเทรา

80.หลวงพ่อสุด วัดกาหลง สมุทรสาคร

81.หลวงพ่ออินเทวดา วัดลาดท่าใหม่ จันทบุรี

82.หลวงพ่ออินทร์ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กทม.

83.หลวงพ่อกลั่น วัดอินทาราม อ่างทอง

84.หลวงพ่อสาย วัดจันทรเจริญสุข

85.หลวงพ่อไปล่ วัดดาวเรือง ปทุมธานี

86.หลวงพ่อแดง วัดดอนยอ นครปฐม

87.หลวงพ่อเพชร วัดดงยาง

88.หลวงปู่สี วัดสะแก

89.หลวงพ่อคง วัดบ้านสวน

90.หลวงพ่อเขียว วัดหรงบล

91.หลวงพ่อคล้าย วัดสวนขัน

92.หลวงพ่อเกตุ วัดเกาะหลัก

93.หลวงพ่อโด่ วัดนาตูม

94.หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้

95.หลวงพ่อ อุตมะ วัดวังวิเวการาม

96.หลวงพ่อหว่าง วัดท่าพุทรา (ท่านดังเรื่องตะกรุด)

97.ครูบาวัง วัดบ้านเด่น

98.หลวงพ่อทองสุข วัดโพธิ์ทรายทอง

99.หลวงพ่อจ้อย วัดศรีอุทุมพร

100.หลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม

101.หลวงพ่อเกษม เขมโก

102.หลวงพ่อแจ่ม วัดวังแดงเหนือ

103.หลวงพ่อกลั่น วัดเขาอ้อ

104.หลวงปู่ม่น วัดเนินตามาก

105.หลวงปู่บุญทอง พัทลุง

106.หลวงพ่อหรั่ง พิษณุโลก

107.หลวงปู่อ่อน พิษณุโลก

108.หลวงพ่อรอด พิษณุโลก

109.หลวงพ่อทา วัดดอนตัน จ.น่าน

110.พระอาจารย์ฝั้น วัดป่าอุดมสมพร สกลนคร

111.พ่อท่านบุญรอด วัดประดู่พัฒนาราม นครศรีธรรมราช

112.หลวงพ่อแดง วัดทุ่งคอก สุพรรณบุรี

113.หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช อยุธยา

และคณาจารย์ต่างๆที่ไม่ได้กล่าวนามอีกหลายท่าน มานั่งปรกอธิษฐานจิตมหาพุทธาภิเษกในพิธีครั้งนี้ ตามหมายกำหนดซึ่งมีขึ้นเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2513 ดังนี้ มีการรำมวยชกมวยไทย รำดาบและฟันดาบจากสำนักดาบพุทธไธสวรรค์ ต่อหน้าอนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก เวลา 14.30 น. พระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคมทั้งหมดพร้อมที่ ปะรำมลฑลพิธี เวลา 15.00 น. พระราชครูวามเทพมุณี ฝ่ายพราหมณ์ ได้ทำพิธีบวงสรวงสักการะดวงวิญญาณพระยาพิชัยดาบหัก กับบวงสรวงสักการะเทพยาดาทั่วจักรวาล อนันตจักรวาล และบูชาฤกษ์ เป่าสังข์ เคาะบัณเฑาะว์ และลั่นฆ้องชัย เวลา 15.27 น. สมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ทำพิธีจุดเทียนชัย พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ แล้วสมเด็จพระสังฆราชทรงประพรมน้ำพระพุทธมนต์ ในมลฑลพิธี ขณะเดียวกันก็เกิดปรากฏการณ์ พระอาทิตย์ทรงกลดและมีฝนตกเป็นละอองเบาบาง ทั้งๆที่เป็นฤดูหนาวและไม่มีเค้าว่าฝนจะตกเป็นอัศจรรย์ ประหนึ่งว่าเหล่าเทพยาดาทั่วจักรวาล อนันตจักรวาล ได้รับรู้ ในพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์นี้ ได้ประพรมประสาทพรด้วยน้ำทิพย์อันศักดิ์สิทธิ์ บรรดาผู้ร่วมพิธีต่างปิติยินดี ในปรากฏการณ์ในครั้งนี้เป็นอย่างยิ่ง

เมื่อถึงเวลา 19.30 น. เริ่มพิธีมหาพุทธาภิเศก พระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคมทั้งหมด เข้านั่งปรกอธิษฐานจิต ในมลฑลพิธีมหาพุทธาภิเษก สลับกับ การสวดมหาจักรพรรดิ์ราชาธิราช โดยพระพิธีธรรมจาก สำนักวัดราชนัดดารามวรวิหาร กรุงเทพฯ จำนวนสองชุดละ 8 รูป จนตลอดรุ่ง จนถึงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2513 เวลา 06.10 น. กระทำพิธีดับเทียนชัย
ราคาเปิดประมูล1,180 บาท
ราคาปัจจุบัน1,420 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ20 บาท
วันเปิดประมูล - 02 ก.ย. 2551 - 16:19:07 น.
วันปิดประมูล - 04 ก.ย. 2551 - 13:20:17 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลlovebudda (477)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 02 ก.ย. 2551 - 20:12:42 น.
.


..


 
ราคาปัจจุบัน :     1,420 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     20 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    เมฆินทร์ (2K)

 

Copyright ©G-PRA.COM