(0)
พระเมตตา พิมพ์ขี่สิงห์ หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค กรุหลวงพ่อผาด วัดดงตาล (วัดสามัคคีธรรม) สร้างปี 2470








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพระเมตตา พิมพ์ขี่สิงห์ หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค กรุหลวงพ่อผาด วัดดงตาล (วัดสามัคคีธรรม) สร้างปี 2470
รายละเอียด*** ใช้แทน พระหลวงพ่อปาน ราคาหลักแสน หลักล้าน ได้เลย ค่ะ ***

*** สร้างปี 2470 หลวงพ่อปาน วัด​บาง​น​มโค​ ปลุกเสก ***

*** พระเมตตา พิมพ์ขี่สิงห์ หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค กรุหลวงพ่อผาด วัดดงตาล (วัดสามัคคีธรรม) ตำบลหัวสำโรง อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี เนื้อดินขุยปูผสมแร่ เจาะรูบรรจุผงวิเศษ ดำเนินการจัดสร้างเมื่อราวปี พ.ศ. 2470 โดยหลวงพ่อผาด วัดดงตาล ได้รับความเมตตาจาก หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ให้เป็นผู้จัดสร้าง และเมตตาปลุกเสก ตามสูตรโบราณเดียวกับการสร้างพระของท่าน ณ วัดบางนมโค จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ลักษณะพุทธพิมพ์

ลักษณะเป็น พระเนื้อดินขุยปูเผา มีเม็ดแร่กระจายอยู่ทั้งองค์ ทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าเหมือนกับพระเครื่องของหลวงพ่อปานพิมพ์อื่นๆ มีขนาดกว้างประมาณ 1.5 เซนติเมตร สูงประมาณ 2.5 เซนติเมตร ความหนาบางของพระไม่แน่นอน ด้านหน้าเป็นรูปพระปางสมาธิมีเส้นซุ้มล้อมรอบ คล้ายกับพระพิมพ์ประภามณฑลของ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ยุคต้นๆ ประทับอยู่บนฐานเขียงชั้นเดียว เบื้องล่างเป็นรูปสัตว์มีอยู่สองชนิดคือ ทรงเสือ และทรงสิงห์ ด้านบนขององค์พระมีรูเจาะ และอุดผงพุทธคุณ ปิดด้วยซีเมนต์อีกชั้นหนึ่ง คล้ายกับพระพิมพ์ของหลวงพ่อปาน บางองค์จะมีการทาชาดแดงทับ ก่อนปิดด้วยซีเมนต์อีกชั้นหนึ่งก็มี ด้านหลัง และขอบด้านข้างส่วนใหญ่จะมีรอยปาด รอยตัดเข้ารูป หรือบางองค์ด้านหลังก็มีรอยนิ้วมือของผู้กดพิมพ์ปรากฏอยู่ ส่วนผงที่อุดรูผงนั้น เป็นผงที่ได้จากการเขียนยันต์ และบริกรรมคาถากำกับแต่ละบทที่มีพุทธานุภาพอันทรงประโยชน์ เช่น ยันต์เกราะเพชร แล้วลบออก แล้วเขียนซ้ำใหม่แบบนี้หลายๆ ครั้งจนได้ผงวิเศษออกมาโดย หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค

สีของวรณะองค์พระ แตกต่างในกรรมวิธีการเผาเท่านั้น โดยจะสังเกตได้ว่าพระของหลวงพ่อปานส่วนใหญ่ จะมีวรรณะเป็นสีดินหม้อใหม่ หรือสีแดงดินเผา เนื่องมาจากการเผาพระนั้นใชปี๊ปสังกะสีทำการบรรจุพระพิมพ์แล้วสุมไฟเผา ด้วยลักษณะของโลหะสังกะสีที่นำความร้อนได้ดี ความร้อนจึงแพร่กะจายไปทั่วปี๊ป ทำให้พระที่เผาสุกในเวลาใกล้เคียงกัน สีจึงออกมาใกล้เคียงกันเป็นส่วนใหญ่ ส่วนพระชุดหลวงพ่อผาด จะมีความแตกต่างกัน คือ มีวรรณะของสีพระหลากหลาย มีทั้งสีขาวนวล สีพิกุล สีแดงอิฐ สีเขียว สีเทาและดำ ซึ่งสันนิษฐานว่า เมื่อกดพระพิมพ์เสร็จแล้ว คงจะนำไปบรรจุลงในไห หรือโอ่งดินเผา แล้วนำไปสุมไฟเช่นเดียวกับการเผาพระสกุลลำพูนแบบโบราณกาล ด้วยลักษณะของภาชนะดินเผา ซึ่งนำความร้อนได้ช้า และส่วนล่างที่ถูกไฟสุมพระจะสุกก่อนพระจะมีวรรณะออกดำ ส่วนด้านบนพระจะสุกทีหลังจึงมีวรรณะออกขาวนวล

ประวัติโดยสังเขป พระกรุหลวงพ่อผาด วัดดงตาล

พระกรุหลวงพ่อผาด อายุการสร้างราวปี พ.ศ. 2470 เป็นพระเครื่องที่สร้างขึ้นเพื่อบรรจุอยู่ใต้ฐานพระประธานในพระอุโบสถตามธรรมเนียม แห่งการสร้างพระอุโบสถมาแต่โบราณ ดำเนินการจัดสร้างโดย หมอผาด เกษตรง เจ้าของร้านขายยาพระอาทิตย์เวชโอสถ ผู้เป็นแม่งานในการส้รางพระอุโบสถ (หลวงพ่อผาด ขณะเป็นฆราวาส) ซึ่งมีความคุ้นเคยกับหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นอย่างดียิ่ง หลวงพ่อปานมีเมตตาสร้างเป็นพระพิมพ์ ประทับสิงห์ และเสือ ซึ่งมีความแตกต่างจากบรรดาสัตว์ 6 ประเภท (ทรงไก่ ครุฑ หนุมาน ปลา เม่น และนก) ที่หลวงพ่อปานท่านสร้างที่วัดบางนมโค ก็เนื่องจาก หมอผาดท่านเกิดปีขาล สัญลักษณ์ คือ เสือ ซึ่งเป็นสัตว์ที่แสดงถึงพลังอำนาจเป็นที่น่าเกรงขาม ส่วน ทรงสิงห์ คงเป็นด้วยอุปเท่ห์ด้านความมีอำนาจวาสนา ความเป็นผู้นำผู้ยิ่งใหญ่ เป็นเจ้าป่าเจ้าแห่งสัตว์ทั้งปวง ลักษณะของพระเป็นเนื้อดินเผาขนาดเล็ก ตัดขอบ เจาะบรรจุผงวิเศษ โดยหลวงพ่อปาน ได้ทำการสร้าง และปลุกเสกที่วัดบางนมโค เมื่อแล้วเสร็จจึงได้มอบให้หมอผาด นำใส่กล่องไม้ ลงเรือล่องมาตามแม่น้ำน้อย และแม่น้ำเจ้าพระยา มาขึ้นที่คลองหลังวัดดงตาล เมื่อท่านสร้างอุโบสถวัดดงตาลแล้วเสร็จ จึงได้นำพระพิมพ์ประทับหลังสิงห์ และเสือ บรรจุไว้บนฐานชุกชี แล้วอัญเชิญพระประธาน ซึ่งหล่อด้วยโลหะขึ้นประดิษฐานครอบไว้ จึงก่ออิฐถือปูนเป็นบัวคว่ำบัวหงายเปิดไว้ เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2474 มีการเปิดกรุออกมาเมื่อปี 2543 เมื่อครั้งทำการบูรณะปฏิสังขรณ์พระอุโบสถเก่า แบบก่ออิฐถือปูน เครื่องบนหลังคา เป็นไม้สัก ซึ่งสร้างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 7 ได้ทรุดโทรม ไปตามกาลเวลา จึงได้ซ่อมใหม่โดยการสกัดเจาะฐานหลังชุกชีปูนปั้นเป็นช่อง เพื่อยกองค์พระประธานประจำอุโบสถ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปโลหะลงรักปิดทอง ปางสมาธิ หน้าตัก 2 ศอก ให้สูงขึ้นกว่าพระพุทธรูปองค์รอง ที่ประดิษฐานอยู่ที่หน้าพระประธานบนฐานเดี่ยว เพื่อให้พระประธานเด่นเป็นสง่ากลางอุโบสถ ระหว่างที่บูรณะอยู่นี้ ได้พบพระพิมพ์สี่เหลี่ยม เนื้อดินประทับสิงห์ และเสือ ตกลงมาจากโพรงใต้ฐานบัวพระประธานจำนวนหนึ่ง คณะกรรมการวัดจึงยุติการเจาะฐาน แล้วตรวจสอบนับจำนวนพระที่พบ จึงทราบจากคำบอกเล่าของ นายตี๋ ชิงช่วง อายุ 75 ปี อดีตผู้ใหญ่บ้าน และผู้อาวุโสประจำหมู่บ้าน อีกหลายท่านว่า วัดดงตาล เดิมเป็นวัดร้าง มาบูรณะขึ้นใหม่ประมาณสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ พระที่พบออกมา มีจำนวนประมาณสี่หมื่นองค์

นับเป็นเวลาเกือบ 70 ปี ที่พระเครื่องชุดนี้ได้บรรจุอยู่ในองค์พระประธาน ในอุโบสถวัดดงตาล ซึ่งพระสงฆ์ได้ทำวัตรสวดมนต์ และทำสังฆกรรมในอุโบสถมาเป็นเวลาอันยาวนาน พระกรุหลวงพ่อผาดชุดนี้ เริ่มเป็นที่รู้จักกันมากขึ้นก็เมื่อครั้งที่ทางวัดมีการบูรณะอุโบสถวัดดงตาลในปี 2543 ซึ่งใช้งบประมาณ 3,000,000 ล้านบาท ทางวัดดงตาลจึงนำพระเครื่องที่ขุดเจาะได้มอบให้แก่เจ้าภาพผู้ร่วมทอดผ้าป่าสมทบทุนบูรณะอุโบสถ และเปิดให้ประชาชนทั่วไปได้บูชาในราคาเริ่มต้นองค์ละ 500 บาท และจะนำพระพิมพ์ส่วนที่เหลือจากการมอบให้เจ้าภาพผ้าป่า และเปิดให้เช่าบูชาแล้ว บรรจุกรุใต้ฐานพระประธานเป็นพุทธบูชาอีกครั้งหนึ่ง หลังจากทำการบูรณะปฏิสังขรณ์เป็นที่เรียบร้อย ซึ่งในครั้งนั้นเมื่อเรื่องราวการเปิดให้ร่วมกันทำบุญ และเช่าบูชาพระหลวงพ่อผาดแพร่กระจายออกไป ได้มีผู้สนใจจัดตั้งกองผ้าป่า และร่วมเช่าพระที่วัดเป็นจำนวนมาก

*ผู้ชนะการประมูล โอนเงินแล้วรบกวนเมล์แจ้งด้วยค่ะ
*ยอดประมูลเกิน 400 จัดส่งแบบ EMS
*ยอดประมูลไม่ถึง 400 จัดส่งแบบลงทะเบียน ถ้าต้องการให้จัดส่ง EMS เพิ่ม 30 บาท
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน800 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 04 ก.ย. 2561 - 09:37:29 น.
วันปิดประมูล - 06 ก.ย. 2561 - 17:12:43 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลPat029 (4.3K)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     800 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    sutin_boons (353)(2)

 

Copyright ©G-PRA.COM