(0)
พระกริ่งนวโลหะเต็มสูตร กับ พระกริ่งเจ้าสัว วัดบวรนิเวศวิหาร






รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพระกริ่งนวโลหะเต็มสูตร กับ พระกริ่งเจ้าสัว วัดบวรนิเวศวิหาร
รายละเอียดพระกริ่งเจ้าสัว เททอง ณ วัดบวรนิเวศวิหาร
จัดสร้างขึ้นเพื่อมอบแกผู้มีศัรทธาบริจาค โดยดำริของกรรมการจัดสร้างอาคารเรียนพระปริยัติธรรมและหาทุนส่งเสริมการศึกษา วัดเวฬุวัน ตั้งอยู่ ณ เลขที่ ๑๑๑ หมู่ที่ ๘ ต.ชุมภูพร อ.ศรีวิไล จ.หนองคาย ในพระสังฆราชชูปถัมภ์ ซึ่งปัจจุบัน (พ.ศ. ๒๕๓๗) มีสมาเณรอยู่ศึกษาพระปริยัติธรรมจำนวน ๒๕๐ รูปก
พระกริ่งเจ้าสัว ที่จัดสร้างขึ้นมีพุทธลักษณ์ตามแบบพระกริ่งใหญ่ (กริ่งจีนนอก) จึงได้ถวายมงคลนามว่า “พระกริ่งเจ้าสัว”
การจัดสร้าง เจ้าพระคุณสมเด็จญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหามงคลปริณายก ประธานพระเมตตาลงอักขระแผ่นทองคำ เงิน ทองแดง และมีคณาจารย์อื่นอีกหลายรูป เช่น ท่านพระครูสิริวัฒน์ (อาจารย์ศรีเงิน) วัดดอนศาลา ลงแผ่นยันต์นะโภคทรัพย์ตำรับวัดเขาอ้อโบราณ อาจารย์ทอง สำนักป่ากอ อ.นาหม่อม จ.สงขลา ลพ.แก้ว วัดโคนโดน พัทลุง ลพ.คล้อย วัดภูเขาทอง หลวงพ่อกลั่น วัดเขาอ้อ ท่านพระครูกาชาด วัดดอนศาลา ท่านพระอาจารย์มหาพรหม วัดบ้านสวน ท่านพระครูพลับ วัดชายคลอง ลพ.เขียว วัดห้วยเงาะ จ.ปัตตานี เป็นต้น นอกจากนี้ ยังผสมชนวนพระกริ่งของวัดบวรนิเวศวิหาร ตั้งแต่โบราณ เช่น พระกริ่งปวเรศ พระกริ่งบวรรังสี พระกริ่งโภคทรัพย์ พระกริ่งไพรีพินาศ เป็นต้น
วันเททองมีคณาจารย์บริกรรมสี่ทิศ ๑. พระอาจารย์ศรีเงิน วัดดอนศาลา ๒.ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี ๓.ท่านพระอาจารย์มหาโพธิ์ วัดคลองมอญ ชัยนาท ๔.ลพ.หยอด วัดแก้วเจริญ ได้ขอประทานเมตตาเจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ทรงอธิษฐานจิตเป็นการส่วนพระองค์
เนื้อนวโลหะ องค์ในรูป จำนวนการสร้าง เพียง ๑๑๐๘ องค์ เท่านั้น ประธานเททองฝ่ายสงฆ์ พระเทกวี วัดบวรนิเวศวิหาร กรรมการดำเนินการสร้าง ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาบางลำพู คุณเจษฎน์ อิศรางกูร ณ อยุธยา
สรุป เป็นหน่อเนื้อพระกริ่งสายวัดบวรฯ โดยแท้ เพราะการเททอง การพุทธภิเษกล้วนจัดทำกันในวัดฯ ทั้งสิ้น และยังได้รับพระเมตตา จากองค์สมเด็จญาณฯ ทรงอธิษฐานจิตเป็นการส่วนพระองค์ พระมีหมายเลขกำกับทุกองค์ องค์ในรูป หมายเลขที่ ๓๔๗ พร้อมตอกโค๊ต เจ้าสัว ที่ใต้ฐาน และที่สะโพกด้านหลังองค์พระกริ่ง ในการเททองครั้งนั้น ได้มีการใช้ทองคำจำนวนหลายสิบบาท ผสมลงเป็นในเนื้อพระกริ่ง ทำให้พระรุ่นนี้มีส่วนผสมทองคำเยอะมาก ราคาทำบุญสมัยนั้น ฯ ไม่ถูกเลยกับองค์พระกริ่งเนื้อนวโลหะ ในราคา ๒๐๐๐ บาท แต่ปัจจุบันถือว่าไม่แพง เพราะถ้าสร้างอีกที ต้องออกให้ทำบุญอย่างต่ำองค์ละ ๕๐๐๐ บาท สุดยอดอีกอย่าง คือ แผ่นยันต์ต่าง ๆ โดยส่วนใหญ่ ได้มาจากพระเกจิสายเขาอ้อ ทำให้พระกริ่งชุดนี้มีความเข้มขลังด้านพุทธกฤติยาคม เพิ่มขึ้นอีกพอควร ถือเป็นกริ่งที่น่าสะสมอีกรุ่น ของ สายพระกริ่งวัดบวรฯ
ราคาเปิดประมูล2,050 บาท
ราคาปัจจุบัน4,150 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 12 ต.ค. 2549 - 07:38:39 น.
วันปิดประมูล - 13 ต.ค. 2549 - 13:09:39 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลสัจจะ (356)(2)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 12 ต.ค. 2549 - 07:39:04 น.
.


ข้อมูล 1


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 12 ต.ค. 2549 - 07:39:42 น.
.


ข้อมูล ๒


ข้อมูลเพิ่มเติม 3 - 12 ต.ค. 2549 - 07:41:31 น.
.


ข้อมูล ๓


 
ราคาปัจจุบัน :     4,150 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    nakrapong (1.2K)

 

Copyright ©G-PRA.COM