(0)
เหรียญรุ่น"ทำบุญอายุ๘๐ปี" ลป.ด๊วด วัดกลางคลองสี่ ปทุมธานี (อาจารย์ของท่านลพ.ทองใบ วัดสายไหม,ลป.ทองอินทร์ วัดกลางคลองสี่








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องเหรียญรุ่น"ทำบุญอายุ๘๐ปี" ลป.ด๊วด วัดกลางคลองสี่ ปทุมธานี (อาจารย์ของท่านลพ.ทองใบ วัดสายไหม,ลป.ทองอินทร์ วัดกลางคลองสี่
รายละเอียดเหรียญรุ่น"ทำบุญอายุ๘๐ปี" ลป.ด๊วด วัดกลางคลองสี่ ปทุมธานี (อาจารย์ของท่านลพ.ทองใบ วัดสายไหม,ลป.ทองอินทร์ วัดกลางคลองสี่
เหรียญรุ่น"ทำบุญอายุครบ๘๐ปี" ลป.ด๊วด วัดกลางคลองสี่ ปี๒๕๐๗พระเกจิที่โด่งดังในยุคสงครามอินโดจีนอีกองค์หนึ่งของจ.ปทุมธานี ท่านเป็นอาจารย์ของท่านลพ.ทองใบ วัดสายไหม และ ลป.ทองอินทร์ วัดกลางคลองสี่ เกจิที่เป็นสหายธรรมกับหลวงปู่กาหลง ที่กำลังโด่งดังเป็นพลุแตกอยู่ในขณะนี้นั่นเอง

เหรียญรุ่นนี้ไม่แน่ใจว่าเป็นเหรียญรุ่น3 หรือรุ่น4กันแน่ แต่สร้างในปี๒๕๐๗ แน่นอน (เพื่อนสมาชิกบาง่ทาน ลงเป็นเหรียญรุ่น2)
เนื้อทองแดงผิวไฟ สภาพสวยเดิม ดูง่าย ผิวไฟแดงๆยังอยู่ตามพื้นเหรียญ
(รูปถ่ายไม่ค่อยชัด เหรียญจริงสวยกว่าในรูปพอสมควร)
รับประกันความแท้และความพอใจ

***ประวัติโดยย่อของท่าน ลป.ด๊วด วัดกลางคลองสี่***
หลวงปู่ด๊วด ญาณวโร หรือ พระครูวิเศษธัญญโศภิต เป็นพระสุปฏิปันโน ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบอยู่ในศีลาจารวัตรงดงามยิ่งนัก ท่านเป็นเจ้าอาวาสองค์แรกของ วัดกลางคลองสี่ อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี สมัยเมื่อแรกเริ่มก่อสร้างวัดใหม่ๆ สภาพโดยทั่วไปย่านวัดกลางคลองสี่มีสภาพเป็นท้องทุ่งนาโล่ง วัดกลางคลองสี่สร้างขึ้นเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2453 ตรงกับปีจอ วันพุธ ขึ้น 9 ค่ำเดือน 4 ค.ศ.1911 ร.ศ.129 จ.ศ.1272
เดิมทีย่านวัดกลางคลองสี่มีบ้านอยู่ไม่กี่หลัง โดยรอบเป็นทุ่งนาโล่ง นางวัน แกมเงิน, นายลับ นางแนะ สังวาลย์เล็ก, และนายโต๊ด กระดาษทอง ได้พร้อมใจกันอุทิศที่ดินส่วนหนึ่ง ตั้งเป็นวัดขึ้นมาเพื่อให้ผู้ที่อยู่อาศัยในละแวกบ้านไม่ต้อง้เดินทางไปทำบุญกันไกลๆ การคมนาคมสมัยนั้นใช้ทางคลองเป็นหลัก หรือไม่ก็เดินลัดทุ่งกัน การสร้างวัดแต่แรกเริ่มต่างก็ระดมกำลังชาวบ้านมาช่วยกันสร้างกุฏิพอให้พระสงฆ์จำวัดได้ กุฏิก็ใช้จากมุงหลังคา เมื่อสร้างเสร็จก็ตั้งชื่อว่า “วัดใหม่คลองสี่” ต่อมาเปลี่ยนชื่อวัดเป็น “วัดกลางคลองสี่” เมื่อปี พ.ศ.2483
ครั้นเมื่อสร้างวัดเสร็จ ชาวบ้านก็พร้อมใจกันไปนิมนต์หลวงปู่ด๊วด ญาณวโร มาเป็นเจ้าอาวาสปกครองรูปแรกขณะนั้น หลวงปู่ด๊วดท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดสายไหม เมื่อมาอยู่ที่วัดกลางคลองสี่ใหม่ๆ แทบไม่มีอะไรเลย หลวงปู่ก็เริ่มพัฒนาวัดก่อสร้างเสนาสนะต่างๆ จนกระทั่งวัดเจริญรุ่งเรืองขึ้นมา



หลวงปู่ด๊วด ญาณวโร หรือ พระครูวิเศษธัญญโศภิต นามเดิมว่า ด๊วด นามสกุล ลิ้มทองน้อย เกิดเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ.2427 เป็นชาวตำบลท่าทราย อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี เป็นบุตรคนสุดท้องของนายลิ้ม-นางทองน้อย ลิ้มทองน้อย มีพี่ 3 คน หลวงปู่ด๊วดเกิดขึ้นในครอบครัวชาวนา ทางบ้านทำนาเป็นอาชีพหลัก ครั้นถึงวัยศึกษาเล่าเรียนบิดามารดาก็พาเด็กชายด๊วดไปศึกษาเล่าเรียนอยู่ที่วัดเชิงท่า เขตอำเภอเมืองนนทบุรี ไม่ห่างไกลจากบ้านเท่าไรนักศึกษาเล่าเรียนพออ่านออกเขียนได้เด็กชายด๊วดก็ลาออกจากวัดมาช่วยทางบ้านทำนา
จนกระทั่งอายุย่างเข้าเบญจเพส 25 ปี บิดามารดาจึงให้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดออเงิน ตำบลออเงิน เขตบางเขน จังหวัดพระนคร(สมัยก่อนโน้น) โดยมรพระอธิการนุ่ม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูราชปริต(ลับแล) วัดบวรมงคล เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการญัติ อุตตฺโม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “ญาณวโร” เมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ.2451 หลังจากบวชท่านก็ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมอยู่กับพระอธิการญัติ หรือ หลวงปู่ญัติ ที่วัดสายไหม ท่านตั้งศึกษาเล่าเรียนจนเป็นที่ชื่นชอบของหลวงปู่ญัติ ครั้นสิ้นพรรษาหลวงปู่ด๊วดก็ออกธุดงค์ ท่านได้รับการถ่ายทอดการเดินธุดงค์จากหลวงปู่ญัติพอสมควร
การธุดงค์ของหลวงปู่ด๊วดท่านธุดงค์เข้าไปถึงประเทศพม่าเลยทีเดียว ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดทอง เมืองย่างกุ้ง ได้ 2 ปี ท่านก็เดินทางกลับประเทศไทยมาจำพรรษอยู่ที่วัดสนามเหนือ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี และในปีนั้นเอง ชาวบ้านย่านคลองสี่ก็พร้อมใจกันมานิมนต์ท่าน ให้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดกลางคลองสี่ ซึ่งเป็นวัดที่สร้างขึ้นใหม่ หลวงปู่ก็ตกลงใจเดินทางมาอยู่ที่วัดแล้วก็เริ่มงานการสร้างวัดเป็นการถาวรต่อไป
ท่านเริ่มสร้างกุฏิสงฆ์ สร้างหอสวดมนต์ ศาลาการเปรียญ และเสนาสนะต่างๆ จนแล้วเสร็จ ที่สำคัญคือท่านสร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรมให้พระเณรได้ศึกษาเล่าเรียน นอกจากนี้ท่านยังสร้างโรงเรียนประชาบาลให้บุตรหลานละแวกวัดได้ศึกษาเล่าเรียนหนังสือ ในสมัยนั้นพระเณรที่อยู่วัดย่านคลองสาม คลองสี่ และคลองห้า ต่างก็มาเรียนนักธรรมที่วัดกลางคลองสี่กัน ปี พ.ศ.2472 หลวงปู่ด๊วดท่านเป็นกรรมการตวจข้อสอบนักธรรมตรี ต่อมาปี พ.ศ.2473 ท่านได้เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับตราตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลลาดสวาย
ในปี พ.ศ.2481 เป็นองค์การเผยแพร่ประจำอำเภอลำลูกกา ปี พ.ศ.2496 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น “พระครูวิเศษโศภิต” และในปี พ.ศ.2507 ท่านได้เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโทเกียรติคุณที่จารึกมาตราบจนทุกวันนี้ก็คือ ท่านได้เปิดโรงเรียนประชาบาล ขึ้นเป็นแห่งแรกของอำเภอลำลูกกา ในปี พ.ศ. 2466 และเปิดโรงเรียนพระปริยัติเป็นแห่งแรกของอำเภอลำลูกกาเช่นกัน
หลวงปู่ด๊วดท่านเป็นพระที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย เป้นที่น่าเลื่อมใสศรัทธาแก่ผู้ที่พบเห็นเป็นอย่างยิ่ง พระรูปไหนที่ชอบทำนอกรีตนอกรอย ท่านจะไล่ไม่ให้อยู่ในวัดเลย พระเณรที่บวชอยู่กับท่านต้องศึกษาเล่าเรียน เมื่อบวชแล้วจะมานั่งๆ นอนๆ เช้าเอน เพลฉัน กลางวันนอนไม่ได้ ท่านมีลูกศิษย์เอกอยู่รูปหนึ่งคือ หลวงพ่อทองอินทร์ เตชวุฑโฒ มาบวชอยู่กับท่านเมื่อยังเป็นสามเณรจนกระทั่งบวชเป็นพระก็ศึกษาเล่าเรียนอยู่ช่วยงานวัดกับท่าน
สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งก็คือ หลวงปู่ด๊วดท่านจะไม่ยอมจับเงินเป็นอันขาด เพราะถือว่าผิดวินัยและพระที่บวชที่วัดสมัยท่านๆ จะไม่ให้จับเงินด้วย เวลาไปไหนมาไหนต้องขึ้นรถโดยสารหรือต้องใช้เงินซื้อของใช้จำเป็นท่านก็จะสั่งให้พระรูปนั้นเอาลูกศิษย์ไปด้วย แล้วให้ลูกศิษย์คอยจ่ายเงินให้เป็นอย่างนี้มาตลอด
หลวงปู่ด๊วดท่านเป็นนักเผยแพร่ธรรมที่เก่งมาก ประกอบกับการที่ท่านเคร่งครัดในพระธรรมวินัย การอบรมเผยแพร่ธรรมจึงได้ผลดี เป็นที่เชื่อถือของท่านเจ้าคณะผู้บังคับบัญชาทางคณะสงฆ์ จึงแต่งคั้งให้ท่านเป็นองค์เผยแพร่ของอำเภอลำลูกกา ซึ่งท่านมักใช้วีการเผยแพร่แบบอุปนิสินกถา(นั่งสนทนาอย่างใกล้ชิด) มากกว่าขึ้นธรรมาสน์เทศน์ หรือแบบปาฐากถาธรรม
หลวงปู่ด๊วดอยู่ปกครองดูแลวัดจนกระทั่งวถึงแก่มรณภาพ เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ.2513 ด้วยอาการสงบท่ามกลางศิษยานุศิษย์ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ที่คอยเฝ้าพยาบาลท่านอยู่ ท่านจากโลกนี้ไปอย่างไม่มีวันกลับท่ามกลางความโศกเศร้าเสียใจให้แก่พระเณร และชาวบ้านย่านคลองสี่เป็นอันมาก รวมอายุได้ 86 ปี หลังจากที่หลวงปู่ด๊วดมรณภาพลงไป พระอาจารย์ทองอินทร์ หรือหลวงพ่อทองอินทร์ก็ได้เป็นเจ้าอาวาสแทน ต่อมาได้รับแต่งตั้งสมณศักดิ์เป็น “พระครูธัญศีลคุณ” อยู่เป็นเจ้าอาวาสสืบมาจนทุกวันนี้
ราคาเปิดประมูล300 บาท
ราคาปัจจุบัน550 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 18 ก.พ. 2562 - 08:25:05 น.
วันปิดประมูล - 19 ก.พ. 2562 - 11:43:55 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลรัตน์บอกอ (3K)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     550 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Amornpintong (76)

 

Copyright ©G-PRA.COM