(0)
***วัดใจ 20.-*** พระนิรันตราย วัดนิเวศธรรมประวัติวรวิหาร จ.อยุธยา (โค๊ดใต้ฐาน) + (พิธีใหญ่) หลวงพ่อท่านศักดิ์สิทธิ์มากๆ ควรมีไว้บูชาเป็นที่สุดครับ + สภาพสวยมาก พร้อมกล่องเดิมจากวัดครับ








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่อง***วัดใจ 20.-*** พระนิรันตราย วัดนิเวศธรรมประวัติวรวิหาร จ.อยุธยา (โค๊ดใต้ฐาน) + (พิธีใหญ่) หลวงพ่อท่านศักดิ์สิทธิ์มากๆ ควรมีไว้บูชาเป็นที่สุดครับ + สภาพสวยมาก พร้อมกล่องเดิมจากวัดครับ
รายละเอียดกล่าวถึงพระนิรันตราย (องค์ใน) เป็นพระพุทธรูปที่กำนันอินและนายยังบุตรชาย ขุดพบเมื่อปีมะโรง พ.ศ. 2399 ที่ชายป่าแขวงเมืองปราจีนบุรี ห่างจากดงศรีมหาโพธิ์ประมาณสามเส้น ในขณะที่กำลังขุดมันนกกันอยู่ โดยก่อนหน้านั้น ฝันว่าจับช้างเผือกได้ บริเวณดงศรีมหาโพธิ์เคยเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณที่เจริญรุ่งเรืองมาแต่สมัยทวารวดี นักโบราณคดีเคยขุดพบเทวสถานและเชิงเทินเมืองโบราณ รูปศิลาที่สลักเป็นพระปางนาคปรก และรูปสัมฤทธิ์ที่หล่อเป็นรูปพระแม่ธรณีบีบมวยผม โบราณวัตถุที่ขุดค้นพบนี้ เป็นฝีมือช่างสมัยเดียวกันกับทวารวดีหรืออู่ทอง

จารึกหลักนี้ นายประสาร บุญประคอง เป็นผู้อ่าน โดยมีการตีพิมพ์ลงใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ ๖ ตอนที่ ๑ ในพ.ศ. ๒๕๑๗ โดยเรียกว่า "หลักที่ ๑๗๙ จารึกที่ผนังพระอุโบสถวัดนิเวศธรรมประวัติ" วัดนิเวศธรรมประวัติ ตั้งอยู่ตรงข้ามกับพระราชวังบางปะอิน ร. ๕ โปรดให้สร้างพระอุโบสถตามแบบโบสถ์คริสต์ ในศิลปะโกธิค (Gothic) ยุคกลางของยุโรป ประตู, หน้าต่างประดับด้วยกระจกสี เหนือประตูพระอุโบสถมีพระบรมรูป ร. ๕ ทรงเครื่องต้นทำจากกระจกสีเช่นเดียวกัน วัดแห่งนี้สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๑ ร. ๕ โปรดให้เป็นวัดฝ่ายธรรมยุติกนิกาย

การอัญเชิญพระนิรันตรายประดิษฐานไว้บนหิ้งหน้าเรือนแก้ว ภายในพระอุโบสถวัดนิเวศธรรมประวัติ ใน พ.ศ. ๒๔๒๑ (สมัยรัชกาลที่ ๕) โดยมีการกล่าวประวัติของพระนิรันตรายอย่างละเอียด กล่าวคือ ใน พ.ศ. ๒๓๙๙ กำนันอินและนายยังพบพระพุทธรูปองค์นี้ที่ชายป่าแขวงเมืองปราจีนบุรี จึงนำเข้าถวายรัชกาลที่ ๔ พระองค์ทรงอัญเชิญไปเก็บไว้ที่หอเสถียรธรรมปริตกับพระกริ่งทองคำซึ่งองค์ เล็กกว่า แต่เมื่อมีผู้ร้ายลักลอบเข้าไป กลับไม่ถูกขโมยทั้งที่เป็นทองคำและองค์ใหญ่กว่าพระกริ่ง จึงเป็นที่น่าอัศจรรย์อันเป็นมูลเหตุของการพระราชทานนาม "นิรันตราย" (ปราศจากอันตราย) นอกจากนี้ยังมีการหล่อพระพุทธรูปทองคำสวมพระนิรันตรายองค์ดังกล่าวอีกชั้น หนึ่ง และหล่อพระพุทธรูปเงินไว้คู่กัน ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๑๑ รัชกาลที่ ๔ โปรดให้หล่อพระพุทธรูปพิมพ์เดียวกับพระนิรันตรายด้วยทองเหลืองแล้วกะไหล่ ด้วยทองคำ ๑๘ องค์ เท่ากับจำนวนปีที่ทรงครองราชสมบัติแล้วดำริว่าจะทรงหล่อปีละ ๑ องค์โดยถวายพระนามพระพุทธรูปว่าพระนิรันตรายทั้งสิ้น แต่ยังดำเนินการไม่เสร็จ พระองค์ก็สวรรคต รัชกาลที่ ๕ จึงโปรดให้ช่างดำเนินการกะไหล่ทองพระพุทธรูปทั้งหมดจนเสร็จแล้วพระราชทานแด่ วัดฝ่ายธรรมยุติกนิกายตามพระราชประสงค์ของรัชกาลที่ ๔
ราคาเปิดประมูล20 บาท
ราคาปัจจุบัน40 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ20 บาท
วันเปิดประมูล - 10 ต.ค. 2562 - 21:44:57 น.
วันปิดประมูล - 11 ต.ค. 2562 - 22:52:59 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลnatthawat14 (14.3K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 11 ต.ค. 2562 - 20:29:39 น.



.


 
ราคาปัจจุบัน :     40 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     20 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    archigram (121)

 

Copyright ©G-PRA.COM
www1