(0)
เคาะเดียว...(แบบลืมทุน...**พร้อมบัตรรับรองของแท้**)...หลวงปู่สุข ธัมมโชโต (พระครูภาวนาภิมณฑ์) วัดโพธิ์ทรายทอง จ.บุรีรัมย์ รุ่น 4 ปี 12 เนื้อทองแดงผิวไฟ สวยแดงแปร๊ดๆ








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องเคาะเดียว...(แบบลืมทุน...**พร้อมบัตรรับรองของแท้**)...หลวงปู่สุข ธัมมโชโต (พระครูภาวนาภิมณฑ์) วัดโพธิ์ทรายทอง จ.บุรีรัมย์ รุ่น 4 ปี 12 เนื้อทองแดงผิวไฟ สวยแดงแปร๊ดๆ
รายละเอียดประวัติหลวงปู่สุข ธมฺมโชโต วัดโพธิ์ทรายทอง

พระครูภาวนาภิมณฑ์
(หลวงปู่สุข ธมฺมโชโต)
วัดโพธิ์ทรายทอง ตำบลละหานทราย อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์

ชาติกำเนิด
พระครูภาวนาภิมณฑ์ หรือหลวงปู่สุข ธมฺมโชโต เดิมชื่อ สุข นามสกุล ยอดเยี่ยมแกร เป็นบุตรของ นายโฮ และนางแฮม ยอดเยี่ยมแกร อาชีพทำนา ท่านเป็นบุตรคนที่ ๔ เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๕ เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๒๑ แรม ๕ ค่ำ ปีเถาะ เกิดที่บ้านละหานทราย หมู่ที่ ๒ อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ มีพี่น้องร่วมสายโลหิตจำนวน ๖ คน หลวงปู่สุขเป็นคน ที่ ๔ มีรายนามดังต่อไปนี้
๑.นายหีบ ยอดเยี่ยมแกร เสียชีวิต
๒.นายเต็บ ยอดเยี่ยมแกร เสียชีวิต
๓.นายเกต ยอมเยี่ยมแกร เสียชีวิต
๔.หลวงปู่สุข มรณภาพ ๓๑ธ.ค.๒๕๑๕
๕.นายแป๊ะ ยอดเยี่ยมแกร เสียชีวิต
๖.นางอ้ม ยอดเยียมแกร เสียชีวิต

การศึกษา

ในสมัยนั้นการเรียนหนังสือต้องอาศัยวัด อำเภอละหานทราย ยังเป็นเมืองเล็ก ๆ อยู่ในป่าดงพงพี ถนนหนทางก็ไม่สะดวก เด็กชายสุข เรียนหนังสือขอมที่วัดโพธิ์ทรายทอง จนสามารถ อ่านออกเขียนได้ เมื่ออายุ ๑๗ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดโพธิ์ทรายทอง บรรพชาอยู่ได้ ๕ พรรษา

การอุปสมบท
เมื่ออายุได้ ๒๑ ปี จึงอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดโพธิ์ทรายทองตำบลละหานทราย อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ ในวันพุธที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๒ ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๗ ปีกุน มีเจ้าอธิการนิ่ม วัดสายน้ำไหล เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการกลิ่น เป็นพระกรรมวาจารย์ พระอธิการเกิดเป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “ธมฺมโชโต” แปลว่า แสงสว่างแห่งธรรม เมื่อหลวงปู่สุขท่านอุปสมบทท่านก็ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดโพธิ์ทรายทอง ซึ่งในสมัยนั้นยังไม่มีโรงเรียนปริยัติธรรมแต่ท่านก็ได้ศึกษาพระธรรมวินัย ซึ่งเป็นภาษาขอม จนมีความรู้ แตกฉานสามารถอ่านออกเขียนได้เป็นอย่างดี ท่านศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยที่วัดโพธิ์ทรายทองจนแตกฉานดีแล้ว ท่านก็ตั้งใจที่จะออกธุดงค์เพื่อปลีกวิเวก เพราะหลวงปู่เห็นว่า การที่เล่าเรียนเฉพาะพระธรรมวินัยภายในวัดแต่เพียงอย่างเดียว มันเป็นเพียงแค่เปลือกนอก ไม่ก่อประโยชน์แก่ตัวเองมากนัก ท่านจึงตัดสินใจออกเดินธุดงค์ไปกลายแห่ง ด้านวิปัสสนากัมมัฏฐาน ท่านได้เรียนกับ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต และด้านพระเวทย์วิทยาคมต่าง ๆ ท่านได้ศึกษากับ พระอาจารย์อินทร์ ภิกษุชาวเขมรซึ่งได้ธุดงค์มาจาก เมืองศรีโสภณ และได้มาสร้าง วัดหนองติม อยู่ในเขต อ.ตาพระยา ซึ่งเดิมขึ้นอยู่กับ จังหวัดปราจีนบุรี หลวงปู่สุขท่านได้เจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานและก็สมถภาวนาอยู่เป็นประจำ ปฏิบัติธรรมด้วยความเคร่งครัดจนชาวบ้านกล่าวขานกันว่า ท่านสำเร็จถึงขั้น “อภิญญา” ด้วยวัตรปฏิบัติที่ดีงาม ความสำเร็จทั้งหลายเหล่านี้ ทำให้ขาวบ้านเล่ากันปากต่อปาก ถึงกับมีผู้เสื่อมใสหลวงปู่ ในหลายจังหวัดเดินทางมากราบมนัสการและสนทนาธรรมอยู่อย่างเนืองนิตย์ถนนหนทาง ในสมัยนั้น การคมนาคมยังไม่เจริญเท่าทุกวันนี้ บางคน บางคณะอาจต้องค้างแรมกันหลายคืนทั้งยังบุกป่าฝ่าดงเผชิญกับสัตว์ป่าดุร้าย มากมาย แต่กลุ่มผู้ศรัทธาก็ไม่ยอมย่อท้อ ต่อความยากลำบาก เดินทางมาจนถึงตัวท่านให้ท่านเป่ากระหม่อมบ้าง รดน้ำมนต์บาง เพื่อความเป็นสิริมงคล

ตำแหน่ง และสมณศักดิ์ (ประวัติการปกครอง)
พ.ศ. ๒๕๘๒ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ทรายทอง(เป็นเจ้าอาวาส ๓๓ ปี)
พ.ศ. ๒๕๙๘ เป็นเจ้าคณะตำบลละหานทราย
พ.ศ. ๒๔๙๙ เป็นพระอุปัชฌาย์
พ.ศ. ๒๕๑๓ ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูภาวนาภิมณฑ์
พ.ศ. ๒๕๑๕ มรณภาพ (๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๕) รวมสิริอายุได้ ๙๕ ปี
วัดโพธิ์ทรายทองเป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งที่มีมาตั้งแต่ สมัยยุคต้นรัตนโกสินทร์

วัตรปฏิบัติ หลวงปู่สุข ธมฺมโชโต
วัตรปฏิบัติ หลวงปู่สุข ธมฺมโชโต ศึกษาพระธรรมวินัย จากคัมภีร์ตำราตัวอักษรขอมและบาลีมีความรู้แตกฉานเชี่ยวชาญ หลวงปู่สุขได้ศึกษาเล่าเรียนการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานจาก หลวงปู่มั่นภูริทัตโต พระอริยสงฆ์ ผู้นำกองทัพธรรมฝ่ายวิปัสสนากัมมัฏฐานแห่งภาคอีสาน ซึ่งกล่าวกันว่าหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ท่านสำเร็จอรหันต์ เป็นอาจารย์ใหญ่ของพระป่า สายธรรมยุติ
กิจวัตรประจำที่หลวงปู่สุข ธมฺมโชโต ถือปฏิบัติเป็นนิจ(ปฏิปทาพิเศษ)

๑. เจริญสมถกัมมัฏฐาน และวิปัสสนากัมมัฏฐานเป็นวัตรปฏิบัติประจำเนื่องนิจ โดยกำหนดองค์ “ภาวนา” ทุกลมหายใจเข้าออก และทุกอิริยาบถ อาทิเช่น
๑.๑ การสวดมนต์ภาวนา และลงพระอุโบสถไม่เคยขาด
๑.๒ ทุกอิริยาบถ ไม่ว่าจะฉันอาหาร ห่มจีวร สรงน้ำ เดิน นั่ง นอนจะต้องสวดภาวนากำหนดสมาธิ มีสติกำกับก่อนทุกครั้ง
๑.๓ เจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน เป็นระยะเวลานาน ๆ ๑๐ – ๑๕ วัน โดยไม่ฉันอาหาร เว้นน้ำดื่มและห้ามไม่ให้ใครรบกวน

๒. ท่านอยู่อย่างสันโดษ คือ เรียบง่าย เจริญตามแนวทางพระธรรมวินัย ละกิเลส เจริญปัญญา รู้แจ้ง เห็นจริง ในเรื่องกายและจิตอาทิเช่น
๒.๑ การอยู่อย่างสมถะฉันง่าย ไม่ยินดีในเรื่องรสชาติของอาหารบิณฑบาต ได้อะไรมาก็ฉันอย่างนั้นอยู่ง่าย ไม่สนใจในเรื่องความสะดวกสบาย อดทนต่อสภาพแวดล้อม ไม่ว่าจะร้อน จะหนาว ไม่เคยใช้รองเท้า และสบู่ฟอกตัว
๒.๒ ไม่สนใจในทรัพย์สิน และไทยทาน เงินทองหรือปิยภัณฑ์ใด ๆ ที่ได้รับมอบถวาย ไม่เคยเก็บสะสมเอาไว้เป็นสมบัติส่วนตัว และไม่เคยสนใจว่าใครจะหยิบฉวยเอาไป ใครอยากได้ก็ยินดีมอบให้เสมอไม่เคยหวงไม่เคยนับและถือจ่ายเงินเลย
๒.๓ ไม่สนใจในลาภยศ ท่านเป็นพระป่าบ้านนอก เคร่งในพระธรรมวินัย มุ่งปฏิบัติเจริญ วิปัสสนากัมมัฏฐาน มีสมาธิจิตสูงยิ่ง ไม่ยินดีในลาภยศสรรเสริญ ไม่แสวงหายศถาบรรดาศักดิ์เป็นพระสงฆ์สุปัฏิปันโน มักน้อย รักสันโดษ ถึงแม้ในปี พ.ศ. ๒๕๑๓ ท่านจะได้รับการแต่งตั้งเป็นพระครูภาวนาภิมณฑ์ ท่านก็ไม่สนใจ ท่านเพียงแต่กล่าวว่า “ก็ข้าเป็นพระแล้วจะให้ข้าเป็นอะไรอีก”

๓. มีเมตตากรุณาต่อชนทุกชั้นรับนิมนต์โดยไม่เคยรังเกียจเดียดฉันท์ให้ความเสมอ ภาคเท่าเทียมกันหมด ไม่ว่าจะมีฐานะอย่างไร ระยะทางจะไกลหรือใกล้

๔. มีขันติ และวิริยะสูง ท่านเคร่งในวัตรปฏิบัติตามพระธรรมวินัย มีความเพียรพยายาม อุตสาหะ อดทนในการฝึกจิต สำรวจกายทุกลมหายใจเข้าออก นั่งวิปัสสนากัมมัฏฐานเป็นระยะเวลานาน ๆ บางครั้งนั่งวิปัสสนากัมมัฎฐานถึง ๑๕ วัน โดยไม่ฉัน ท่านมีสมาธิจิตขั้นสูงสำเร็จ “อภิญญา”

๕. ท่านมีความอดทนเป็นเลิศ แม้ยามเจ็บป่วย (อาพาธ) ไม่เคยปริปาก หรือบ่นให้ใครรู้ท่านล่วงรู้กาลมรณภาพล่วงหน้า ในวันสารท แรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ปี พ.ศ. ๒๕๑๕ อายุล่วงได้ ๙๕ ปี หลวงปู่ได้หกล้ม ทำให้กระดูกต้นขาของท่านหลุดจากสะโพก ท่านทราบว่ากาลมรณสังขารใกล้สิ้นสุดแล้ว ท่านก็ไม่ปริปากบอกใครให้ทราบถึงอาการ เจ็บป่วยของท่านนั้นรักษาไม่หายหรอก มันเป็นเรื่องของสังขารเพราะท่านจะมรณภาพแล้ว ตลอดเวลาที่ท่านเจ็บป่วย ท่านไม่เคยโอดครวญหรือแสดงกิริยาอาการเจ็บปวดให้ใครเห็น ท่านใช้ขันติ และพิจารณาสังขารของท่านในช่วงวาระสุดท้ายของชีวิต

๖. การถือธุดงค์วัตร เมื่อยามที่ท่านยังแข็งแรงอายุยังไม่สูงวัย ท่านถือธุดงค์วัตรเป็นนิจโดยท่านจะเดินธุดงค์หลังจากออกพรรษาแล้ว ไปประเทศเขมรผ่านทางวัดหนองติม อำเภอตาพระยา จังหวัดปราจีนบุรี เพื่อบำเพ็ญจิตและศึกษาวิชาเพิ่มเติม การเดินทางของท่านเป็นที่น่าอัศจรรย์ เพราะท่านเดินทางได้เร็วมาก มีผู้กล่าวว่าท่านสำเร็จวิชาย่นระยะทางไป – กลับ ได้ภายในวันเดียว

๗. การสอนวิปัสสนากัมมัฏฐาน ในด้านสืบสานพระพุทะศาสนา ท่านจะเคร่งในวัตรปฏิบัติจะนำพุทธศาสนิกชนทำบุญและถืออุโบสถศีลทุกวันพระ อบรมธรรม และฝึกฝนจิตด้านสมถกัมมัฏฐานให้กับพุทธบริษัท หลวงปู่สุข ธมฺมโชโต ท่านนิยมสอนสมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐานให้กับบุคคลโดยทั่วไป ผู้ถือศีล สามเณร และพระภิกษุ โดยท่านจะให้ผู้ขอขึ้นกัมฏฐานกับท่านใช้องค์ภาวนาและใช้คาถา “อะ อา แอ๊ก ไอ นะ นู เน นิ นัง” ซึ่งเป็นภาษาเขมร

การรับกิจนิมนต์ไปพุทธาภิเษกวัตถุมงคล

เพื่อหาเงินสร้างวัดของ วัดป่าธรรมธีราราม (วัดป่าหลังโรงเลื่อย) ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ และเคยเดินทางเข้ากรุงเทพฯ โดยรับนิมนต์ พระปลัดมานพ ทุลฺลโภ วัดชิโนรสารามแขวงบางกอกน้อยกรุงเทพฯ ปลุกเสกวัตถุมงคลรูปหล่อบูชารุ่นแรก และพระรูปเหมือนขนาด ๑ เซนติเมตร ณ หอสมุดกรมหลวงพระปรมานุชิตชิโนรส วัดชิโนรสาราม ในปี พ.ศ.๒๕๑๒ ก่อนท่านมรณภาพ
หลวงปู่สุข ธมฺมโชโต เป็นพระอริยสงฆ์ สุปฏิปันโน มีวัตรปฏิบัติที่งดงามสมเป็น “พระแท้” อย่างแท้งจริงสมควรค่าแก่การกราบไหว้บูชา ท่านเคร่งในพระธรรมวินัยถือการปฏิบัติ เจริญวิปัสสนากัมมัฎฐาน เจริญรอยตามคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กำหนดองค์ภาวนาทุกลมหายใจเข้า ออก ท่านสำเร็จญาณสมาบัติขั้นสูงเรียกว่า “อภิญญา”
อภิญญา คือ ความรู้ชั้นสูงในพุทธศาสนา ซึ่งได้จากการปฏิบัติทางด้านวิปัสสนาธุระ มีอยู่ ๖ ประการด้วยกันคือ
๑. อิทธิวิธี แสดงฤทธิ์ได้
๒. ทิพยโสต หูทิพย์
๓. เจโตปริยญาณ รู้จักกำหนด รู้ใจผู้อื่น
๔. ปุพเพนิวาสานุสติ ระลึกชาติได้
๕. ทิพจักขุ ตาทิพย์
๖. อาสวักขยญาณ รู้จักทำอาสวะให้สิ้น

ด้วยเหตุและผลดังกล่าวจึงไม่น่าแปลกแต่อย่างใดเลยที่หลวงพ่อสุข ธมฺมโชโต จักทรงคุณวิเศษและแสดงให้แจ้งประจักษ์แก่สาธุชน
ท่านยังสำเร็จ วิชาสรตโสฬร คือ สามารถกำหนดรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า ความศักดิ์สิทธิ์ ความแม่นยำในการทำนายทายทักเหตุการณ์ต่าง ๆ ไว้ล่วงหน้าได้จริงเหมือนตาเห็น สามารถที่จะแสดงอิทธิฤทธิ์ตลอดจนคุณวิเศษต่าง ๆ ได้นานัปการ เช่น การล่วงรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า การบอกใบ้หวย การรู้วาระจิตบุคคลอื่น เป็นต้น วิชาดังกล่าว เป็นวิชาที่มีจริง จะบังเกิดเฉพาะท่านที่ปฏิบัติทางวิปัสสนาธุระ จนกระทั่งได้ญาณสมาบัติขั้นสูงเท่านั้น

ผลงานด้านการปกครองด้านการพัฒนาและสืบสานพระพุทธศาสนา
ท่านบำบัดทุกข์ บำรุงสุข ให้กับประชาชนในพื้นที่อำเภอละหานทราย และอำเภอใกล้เคียงในเรื่องความเดือนร้อนของชาวบ้าน เช่น เรื่องแหล่งน้ำ การประสานกับลูกศิษย์ และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่สร้างความเจริญให้กับพื้นที่อำเภอละหานทรายเป็น อย่างมากท่านได้พัฒนาวัดโพธิ์ทรายทอง และไปสร้างวัดอีก ๓-๔ วัด กล่าวคือ
พ.ศ. ๒๔๗๙ หลวงปู่ก่อสร้างกุฏิสงฆ์วัดโพธิ์ทรายทอง ๑ หลัง กว้าง ๑๘ เมตร ยาว ๓๙ เมตร สร้างด้วยไม้ มุงไม้สิ้นค่าก่อสร้างประมาณ ๑๒,๐๐๐บาท
พ.ศ. ๒๔๘๔ หลวงปู่สร้างวัดบ้านโคกว่าน อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์
พ.ศ. ๒๔๙๔ หลวงปู่ช่วยในการย้ายวัดหนองติม ต.ทัพราช อ.ตาพระยา จ.สระแก้ว โดยย้ายจากในหมู่บ้านไปยังนอกหมู่บ้าน (สถานที่ปัจจุบัน)
พ.ศ. ๒๔๙o หลวงปู่สร้างวัดหนองหมี ที่บ้านหนองหมี ตำบลโคกว่าน อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์
พ.ศ. ๒๔๙๐ หลวงปู่ได้สร้างศาลาการเปรียญวัดโพธิ์ทรายทอง ๑หลัง กว้าง ๑๖ เมตร ยาว ๒๕ เมตร สร้างด้วยไม้ มุงไม้ สิ้นค่าก่อสร้าง ประมาณ ๑,๕๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๐๐ หลวงปู่สร้างวัดไม้แดงที่บ้านโคกไม้แดง
พ.ศ. ๒๕๑๑ สร้างกุฏิสงฆ์วัดโพธิ์ทรายทอง ๑ หลัง เสาคอนกรีตต่อไม้ มุงสังกะสี ๑ หลังกว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๒๕ เมตร lสิ้นค่าก่อสร้างประมาณ ๒๑๕,๐๐๐บาท
พ.ศ. ๒๕๑๒ สร้างกุฎิสงฆ์ วัดโพธิ์ทรายทอง ๑ หลัง สร้างกุฏิเสาไม้สร้างด้วยไม้ มุงสังกะสี ๑ หลัง กว้าง ๙ เมตรสิ้นค่าก่อสร้างประมาณ ๑๒,๐๐๐ บาทและได้ไปพัฒนาวัดต่าง ๆ ในอำเภอใกล้เคียงและต่างจังหวัดที่ได้รับนิมนต์ อาทิวัดทับเสด็จ อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว

วัตถุมงคลที่ท่านไปร่วมพิธีพุทธาภิเษกหรือ ปลุกเสกโดยไม่ใช่รูปเหมือนท่าน((วัตถุมงคลหลวงปู่สุข ))

- พ.ศ. ๒๔๙๘ ปลุกเสกเหรียญหลวงพ่อเพียร วัดศรีวิสุทธาราม บ้านถนนหัก ตำบลถนนหักอำเภอ นางรองกับหลวงปู่สอน วัดเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา
- พ.ศ.๒๔๙๙ ปลุกเสกเหรียญ หลวงพ่อเทิ่ง วัดอัมภาราม ตำบลตาเป็ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติร่วมกับหลวงพ่อเป็น วัดเจริญนิมิต อำเภอละหานทราย
- พ.ศ.๒๕๐๐ ร่วมพิธีมหาพุทธาภิเษก ที่ท้องสนามหลวง ในงานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ
- มกราคม ๒๕๑๕ ร่วมพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคล ในพิธีมหาจักพรรดิ์ “กริ่งนเรศวรวังจันทร์” จังหวัดพิษณุโลก
- เมษายน ๒๕๑๕ ร่วมพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลของวัดโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
พระ ปลัดมานพ ทุลฺลโภ ท่านเกิดในปี พ.ศ. ๒๔๗๓ ที่บ้านหนองปรือ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ พออายุได้ ๒๒ ปี ในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ ได้อุปสมบทที่วัดโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา อยู่ที่วัดโพธิ์ได้ระยะหนึ่งก็เดินทางไปศึกษาพระธรรมวินัยที่ วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพมหานคร และประมาณปี พ.ศ. ๒๔๙๗ ได้มาอยู่วัดชิโนรสาราม อยู่จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๑๔ ได้ไปอยู่วัดโพธิ์ จังหวัดนครราชสีมา และได้มรณภาพในปลายปี พ.ศ.๒๕๑๕
ช่วงอยู่ วัดชิโนรสาราม ได้สร้างถาวรวัตถุต่าง ๆ ไว้มากมาย อาทิ ซ่อมพระอุโบสถ ซ่อมตำหนักหอสมุด สร้างกุฎิ สร้างถนน สร้างฌาปนสถาน สิ้นงบประมาณดำเนินการ ๗๔๘,๐๐๐ บาท และได้ดำรงตำแหน่งรักษาการเจ้าอาวาส วัดชิโนรสาราม ท่านสนใจในเรื่องพุทธาคม และเลื่อมใสในองค์สมเด็จพุฒาจารย์โตพรหฺมรังสี มาก ได้สร้างพระเครื่องและพระบูชา ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๕ – ๒๕๑๒ ณ วัดชิโนรสาราม เป็นพระผงสมเด็จ พระกริ่งปรมา พระพุทธชินราชจำลอง ขันน้ำมนต์จารึกพระคาถาชินบัญชร และพระคาถาพาหุง ๘ บท ขันนิมันต์พระปริตร และพระกริ่งสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พิมพ์เล็ก รุ่นแรก ของวัดชิโนรสาราม

การสร้างวัตถุมงคลหลวงปู่สุข ธมฺมโชโต ได้ร่วมกับ พระอาจารย์พิชัย รตฺนญาโณ จัดสร้างในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ ประมาณเดือนสิงหาคม พระปลัดมานพ ทุลฺลโภ ได้นิมนต์ หลวงปู่สุข ธมฺมโชโต มาร่วมในพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลของวัดชิโนรสาราม และได้หล่อรูปเหมือนบูชา เนื้อโลหะ ขนาดหน้าตัก ๓ นิ้ว เป็นรุ่นแรกรูปเหมือนลอยองค์ พิมพ์หน้าบาก เนื้อทองผสม และรูปถ่ายอัดกระจก
ในปี พ.ศ. ๒๕๑๓ มาจำพรรษาที่ วัดโพธิ์ทรายทอง ได้สร้างรูปหล่อลอยองค์เนื้อตะกั่วเถื่อนเป็นช่อจำนวน ๑๐๘ องค์ และได้สร้างพระผงรูปสี่เหลี่ยม ตะกรุดสามกษัตริย์
ในปี พ.ศ. ๒๕๑๔ ได้สร้างรูปหล่อลอยองค์ พิมพ์หน้าบากเล็ก เนื้อทองแดง
ในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ได้จัดสร้างรูปหล่อรูปองค์เนื้อตะกั่วเถื่อนผสมจ้าวน้ำเงินให้กับวัดโพธิ์ อำเภอเมืองนครราชสีมาในพิธีพุทธาภิเษกรุ่น “อยู่ เย็น เป็น สุข”

พระกริ่งสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พิมพ์เล็ก รุ่นแรก ของวัดชิโนรสาราม เป็นพระกริ่งที่สร้างถูกต้องตามคติโบราณกาล ตามตำรับการสร้างพระกริ่งของสมเด็จเมธี (เจีย ป.๙) ได้รับตำราเป็นมรดกทอดและได้เมตตา ลงยันต์การสร้างต่าง ๆ ให้ ซึ่งประกอบด้วยยันต์ร้อยแปด กับ นะปัตถมัง ๑๔ นะ มีพระเกจิอาจารย์โด่งดังยุคนั้น ร่วมปลุกเสกนับเป็นพระเครื่องที่โงดังของวัดชิโนรสาราม และหาได้ยากในปัจจุบัน
จากตำนานการสร้างพระกริ่งสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) ดังกล่าว คือ ที่มาของการจัดสร้างรูปหล่อลอยองค์ หลวงปู่สุข ธมฺมโชโต วัดโพธิ์ทรายทอง ที่โด่งดังในยุคปัจจุบัน นับว่าพระปลัดมานพ ทุลฺลโภ และพระอาจารย์พิชัย รตฺญาโณ คือ ผู้สร้างสรรค์และเผยแพร่เกียรติคุณให้กับหลวงปู่สุข ธมฺมโชโต ให้มีชื่อเสียงขจรขจายโดยเฉพาะในด้าน วัตถุมงคลของของหลวงปู่สุขซึ่งเป็นที่เสาะแสวงหาของลูกศิษย์และพุทธศาสนิกชน โดยทั่วไป ราคาเช่าหากในปัจจุบัน จึงมีราคาแพง เพราะเสาะหาได้ยากยิ่ง

พระอาจารย์พิชัย รตฺญาโณ หรือ พิชัย โสมศรีแก้ว ปัจจุบันได้ลาสิกขาบทและประกอบอาชีพส่วนตัวเปิดโรงพิมพ์อยู่ที่อำเภอละหาน ทราย จังหวัดบุรัมย์ ได้กล่าวถึงพระอาจารย์หลวงปู่สุข ธมฺมโชโต ดังนี้
พระอาจารย์พิชัย รตฺญาโณ ในขณะนั้นดำรงคำแหน่งรองเจ้าอาวาส ได้หลวงปู่พัฒนาและถาวรวัตถุอาทิ เช่น ศาลาการเปรียญ โบสถ์ โดยท่านได้ขออนุญาตหลวงปู่สุข จัดสร้างวัตถุมงคลตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๒ จนกระทั่งหลวงปู่มรณภาพ ได้ร่วมกับ พระปลัดมานพ ทุลฺลโภ วัดชิโนรสาราม กรุงเทพมหานครซึ่งพระปลัดมานพ ท่านเป็นชาวนางรอง นับถือเลื่อมใสหลวงปู่สุขมาก

อภินิหาร พุทธาคม และความศักดิ์สิทธิ์
พระครูภาวนาภิมณฑ์ (หลวงปู่สุข ธมฺมโชโต)

1.วัดหลวงปู่คงกระพัน
ในสมัย หลวงปู่สุข ธมฺมโชโต มีชีวิตอยู่ มีผู้นำวัวมาถวายเพื่อต่อชะตาชีวิต โดยผู้ถวายได้ซื้อวัวจากผู้นำวัวไปฆ่า เพื่อถ่ายชีวิตให้แก่มัน หลวงปู่รับไว้และเลี้ยงวัวไว้ภายในวัด บางครั้งวัวก็ไปแทะเล็มหญ้า และเข้าไป ในสวนหรือนาของชาวบ้าน ก็ถูกทำร้ายกลับมาอยู่เนือง ๆ หลวงปู่สงสารวัวจึงได้ลงอักขระยันต์คงกระพันที่ตรงใบหูวัว ปรากฏว่าวัวหลวงปู่ไม่มีใครทำอันตรายมันได้ เคยมีคนมาขโมยวัวของหลวงปู่ไปฆ่า แต่ไม่สามารถฟันหรือแทงมันเข้า จำต้องนำวัวมาคืนหลวงปู่ จวบจนวันตัวนี้ถึงแก่อายุขัยได้มีการเผา ปรากฏว่าเนื้อบริเวณที่หลวงปู่ลงอักขระไว้ไม่ไหม้ เป็นที่อัศจรรย์นัก และเป็นเรื่องเล่ากันต่อ ๆ มาจนถึงปัจจุบัน

--------------------------------------------------------------------------------

2.บ่อน้ำหลวงปู่สุข
ละหานทรายในอดีตยังไม่เจริญ ไม่มีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ น้ำจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญ ในฤดูร้อนลำบากมาก ชาวบ้านต้องขุดบ่อเพื่อหาน้ำไว้อุปโภคบริโภค เนื่องจากดินเป็นที่ดอนและลูกรัง จึงไม่ค่อยพบแหล่งน้ำ ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนจึงขอให้หลวงปู่ช่วย ท่านนั่งสมาธิแล้วเดินลงมาจากกุฎิไปข้างวัด ยืนสมาธิพักใหญ่ แล้วท่านก็ลืมตาบอก ให้ชาวบ้านขุดตรงนี้แล้วจะเจอตาน้ำ มีน้ำใช้ตลอดปี ชาวบ้านได้ช่วยกันขุดก็พบตาน้ำจริง ๆ มีน้ำไหลพุ่งจนเต็มบ่อ มีน้ำใช้ไม่รู้เหือดแห้ง ชาวบ้านจึงขนานนามบ่อน้ำนี้ว่า “บ่อน้ำหลวงปูสุข”

--------------------------------------------------------------------------------

3.ชุบชีวิตนก
คุณตาเมอะ ศิษย์ก้นกุฎิหลวงปู่สุข ได้เล่าให้ฟังว่า ครั้งหนึ่งหลวงปู่ได้รับกิจนิมนต์ไปยังต่างอำเภอต้องเดินตามทางเกวียน ขณะเดินทางผ่านป่าละเมาะก็ได้พบนกประปูดตัวหนึ่ง นอนดิ้นทุรนทุรายอยู่ข้างทางหลวงปู่จึงให้ตาเมอะไปอุ้มนกกระปูด และถามว่านกมันเป็นอะไร ตาเมอะก้มลงอุ้มนกมาตรวจสอบพบว่ามันถูกยิง ใกล้จะสิ้นใจ หลวงปู่จับนกกระปูดมาไว้ในอุ้งมือ แล้วบริกรรมคาถาพึมพำ เมื่อภาวนาคาถาจบท่านเอามือจับ ขานกแล้วดึงให้ตึงแล้วท่านก็โยนนกขึ้นฟ้า นกตัวนี้ก็สามารถบินได้ และบินจากไปอย่างไม่น่าเชื่อ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อหน้าต่อตาคุณตาเมอะ นับเป็นเหตุการณ์มหัศจรรย์ที่น่าพิศวง งง งวยไม่น่าจะเป็นไปได้ และคุณตาเมอะก็จดจำเรื่องดังกล่าวไว้ติดตาตรึงใจเล่าขานกันต่อมา

--------------------------------------------------------------------------------

4.ย่นระยะทาง
กิติศัพท์ของหลวงปู่เลื่องลือไปไกล ศิษย์ยานุศิษย์ที่อยู่ห่างไกลต่างดั้นด้นเดินทางมากราบนมัสการขอพร รดน้ำมนต์ และนิมนต์หลวงปู่ไปฉันเพล รดน้ำมนต์บ้านเรือนให้เป็นสิริมงคล มีเรื่องหนึ่งที่เล่าขานถึงความ มหัศจรรย์ในการย่นระยะทางหลวงปู่ กล่าวคือ ร้านอาหารศรแดง มุมอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยถนนราชดำเนิน กรุงเทพมหานคร ได้นิมนต์หลวงปู่ให้เดินทางไปกรุงเทพฯ เพื่อทำบุญร้านอาหาร โดยจะนำรถยนต์มารับหลวงปู่สุข และนิมนต์หลวงปู่สุขขึ้นรถเพื่อเดินทาวัดหลวงปู่คงกระพัน

--------------------------------------------------------------------------------

5.ลองของ
ครูแถม เกาแกกูล มีบ้านพักอยู่ใกล้วัดโพธิ์ทรายทอง เป็นคนที่ชอบอวดของขลังที่หลวงปู่มอบให้และมักจะคุยโอ้อวดถึงความศักดิ์ สิทธ์อยู่เป็นประจำ และชอบท้าให้ลองของ ครั้งหนึ่งหลวงปู่ได้มอบให้และมักจะคุยโอ้อวดถึงความศักดิ์สิทธิ์อยู่เป็น ประจำ และชอบท้าลองของ ครั้งหนึ่งหลวงปู่ได้มอบห่อผ้ารากยา และขี้ผึ้งร้อยแปด แก่ครูแถม เกาแกกูล ครูแถมก็จะเที่ยวไปอวดเพื่อบ้านอยู่เป็นนิจ ในงานโกนจุกลูกชายครูลอย หมู่ที่ ๗ บ้านตากรอง ตำบลหนองสำโรงใหม่ จ.ส.ต.สง่า นรารมย์ จึงขอทดลองยิงด้วยปืน ๓๘ ปรากฏว่ายิงไม่ออก นัดทีสอง ดังแชะ ไม่ออกอีก จ.ส.ต.สง่า จึงยิ่งนักที่สาม ปรากฏเสียงดังโป้ง ปืนของ จ.ส.ต.สง่า นรารมย์ กระบอกแตก เลือดไหลอาบมือ กระสุนไม่ถูกห่อผ้า ปฐมพยาบาลอย่างไร เลือดก็ไหลไม่หยุด ชาวบ้านต้องนำ จ.ส.ต.สง่า นรารมย์ ไปหาหลวงปู่สุข หลวงปู่สุขท่านเป่าคาถาห้ามเลือดให้หยุดไหล แผลแห้งหายสนิท หลวงปู่สุข เปรยว่า “กูไม่ให้กระสุน เข้าท้องก็บุญแล้ว” จ.ส.ต.สง่า นรารมย์ จึงกราบขอขมา และลากลับบ้าน

--------------------------------------------------------------------------------

6.ขโมยของเอาไปไม่ได้
คุณยอน ยอดเยื่ยมแกร อยู่บ้านโคกงื้ว เล่าให้ฟังว่ามีหญิงสาวมาจากอำเภอตาพระยามาช่วยงานบุญที่ วัดโพธิ์ทรายทอง ได้เก็บกระเป๋าเสื้อผ้าพร้อมของมีค่าไว้บนกุฎิ ตกเย็นพากันไปอาบน้ำที่บ่อใกล้วัดเมื่อเสร็จจากอาบน้ำมาที่กุฏิเพื่อเปลี่ยน เสื้อผ้า ปรากฏว่ากระเป๋าและของมีค่าหายไปต่างร้องไห้ตกใจ ความทราบถึงหลวงปู่ ท่านเสียใจมากที่มีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นภายในวัด ท่านนั่งนิ่งอยู่ครู่หนึ่งแล้วเดินไปเอามือทุบพื้นกระดานเบา ๆ ๓ ครั้ง บริเวณที่เคยวางกระเป๋าของกลุ่มสตรีชาวตาพระยาแล้วท่านก็พูดว่า “กระเป๋าไม่หาย เดี๋ยวก็ได้คืน” เช้าวันรุ่งขึ้นมีคนเห็น นายห่วง กว้างสนิท ชาวบ้านหมู่ที่ ๒ นั่งกอดกระเป๋าอยู่ใต้กุฏิด้วยอาการเหม่อลอยขาดสติ เดินวกไปวนมาอยู่อย่างนั้น หาทางกลับบ้านไม่ถูก เหนื่อยอ่อนหมดแรก ชาวบ้านจึงช่วยกันจับนายห่วง ได้ของกลางคืนเจ้าของ หลังจากวันนั้นมีผู้ถามนายห่วง ขโมยของเขาแล้วทำไม่ไม่หนีกลับบ้าน นายห่วงได้บอกว่าก็ได้เดินหนีกลับบ้านแต่เดินเท่าไหร่ก็ไม่ถึงบ้าน และหาทางกลับบ้านไม่เจอ นับเป็นเรื่องแปล

--------------------------------------------------------------------------------

7.เจ้าพ่ออีสานใต้รอดชีวิต
คุณไพโรจน์ ติยวนิช หรือที่รู้จักในนาม เสี่ยไซ เจ้าของสัมปทานป่าไม้ในเขตอำเภอละหานทราย มีกิจการโรงเลื่อยขนาดใหญ่เป็นที่รู้จักกันดีในเขตอีสาน เสี่ยไซเป็นศิษย์ผู้ใกล้ชิดหลวงปู่สุขและเป็นอุปถัมภ์วัดโพธิ์ทรายทองมาโดย ตลอด ครั้งหนึ่งเสี่ยไซต้องการที่จะนำรถจักรยานยนต์ที่เสียไปซ่อมที่จังหวัด นครราชสีมา ได้สั่งการให้ลูกน้องนำรถจักรยานยนต์ที่เสียทั้งหมดใส่รถชักลากซุง แล้วเดินทางร่วมไปด้วย ถนนในสมัยก่อนเป็นเส้นทางชักลากไม้ระยะทางร้อยกว่ากิโลเมตร บังเอิญคนขับดื่มสุรามาก่อน ขณะขับรถถึงลำน้ำจังหัน ซึ่งเป็นถนนในสมัยก่อนเป็นเส้นทางชักลากไม้ระยะทางร้อยกว่ากิโลเมตร ซึ่งเป็นถนนโค้ง คนขับรถได้หักพวงมาลัยหลบรถที่วิ่งสวนทางเสียหลัก รถพุ่งลงไปในลำน้ำจังหัน และจมดิ่งลงอย่างรวดเร็ว เสี่ยไซได้ดิ้นรนช่วยเหลือตนเอง เพื่อให้ออกจากตัวรถก่อนหมดสติ และได้ระลึกถึงหลวงปู่สุข ในความรู้สึกของเสี่ยไซได้กล่าวว่าเหมือนมีใครมาฉุดกระชากแขน ดึงให้ออกจากตัวรถ แล้วจึงถีบตัวเองพุ่งขึ้นสู่ผิวน้ำ ผู้เห็นเหตุการณ์ได้เข้าช่วยเหลือและปฐมพยาบาลทำให้รอดชีวิต ส่วนคนขับรถนั้นเสียชีวิต จากการรอดชีวิตในเหตุการณ์ครั้งนี้ เนื่องจากเสี่ยไซมีวัตถุมงคลของหลวงปู่สุขติดตัว และด้วยผลบุญที่ชอบทำบุญและอุปถัมภ์หลวงปู่สุข จึงส่งผลให้รอดชีวิตและปลอดภัย

--------------------------------------------------------------------------------

8.พิสูจน์พระอริยสงฆ์

คุณสุรินทร์ นันทเกียรติวงษา ซึ่งปัจจุบันประกอบอาชีพส่วนตัว อยู่ที่อำเภอเมืองบุรีรัมย์ ได้กรุณาเล่าให้ฟังว่าเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๕๐๘ เห็นจะได้ คุณสุรินทร์ ได้ยินกิตติศัพท์เล่าลือถึงความเป็นพระแท้ซึ่งมีวัตรปฏิบัติอันงดงามและความ ศักดิ์สิทธิ์บางประการของหลวงปู่สุข ก็เกิดความสนใจและอยากพิสูจน์ว่าเป็นความจริงดังที่เขาเล่าลือกันหรือไม่ จึงได้เดินทางไปที่วัดโพธิ์ทรายทอง เพื่อการพิสูจน์ดังกล่าว
ได้พบหลวงปู่สุขในขณะนั้น ท่านก็เป็นพระที่มีอายุมากแล้ว และท่านมิได้จำวัดอยู่ภายในกุฏิเหมือนดังเช่นพระภิกษุรูปอื่น ๆ หากแต่ท่านยึดเอามุมหนึ่งของชานศาลาหรือกุฏิราม ซึ่งปัจจุบันได้รื้อไปแล้วเป็นที่จำวัดตลอดจนเป็นที่รับแขกเบ็ดเสร็จในที่ เดียวกันนั้น ที่จำวัดและรับแขกของท่านก็ไม่มีอะไรมาก นอกจากผ้านวมเก่า ๆ ผืนหนึ่งซึ่งปูแทนเสื่อมีหมอนใบหนึ่ง และมีผ้าขนหนูขนาดใหญ่ผืนหนึ่งซึ่งเก่าคร่ำคร่าจนแลดูไม่อออกว่ามีสีอะไร ใช้แทนผ้าห่มเท่านั้น ส่วนมุ้งนั้นไม่มี หลวงปู่ท่านจำวัดโดยไม่ต้องการมุ้ง ก็เป็นความแปลกประหลาดอย่างหนึ่งที่คุณสุรินทร์พบเห็นจากการที่ไปนั่งเฝ้า นอนเฝ้าเพื่อพิสูจน์ความเป็นพระแท้ของหลวงปู่สุขอยู่ถึงสามวัน ที่หลวงปู่ท่านจำวัดโดยไม่ต้องการมุ้งแต่ก็กลับไม่ได้รับการรบกวนจากยุงเลย ตรงกันข้ามกับคุณสุรินทร์ซึ่งนอนอยู่ใกล้ ๆ ไม่ห่างจากที่จำวัดของหลวงปู่เท่าไรนักกลับถูกยุงกัดเสียย่ำแย่ จากการเฝ้าสังเกตการณ์หลวงปู่สุขอยู่ถึงสามวัน คุณสุรินทร์เล่าว่าได้พบเห็นวัตรปฏิบัติของหลวงปู่สุข ดังนี้
- การฉันอาหารหลวงปู่สุขท่านจะฉันเอกาเพียงวันละมื้อ และฉันแบบสำรวมในบาตร
- ไม่ว่าใครจะเอาอะไรมาถวายให้ ท่านจะรับไว้ และกองไว้บนหัวนอน อย่างไม่สนใจไยดี และแทบไม่เคยดูเสียด้วยว่าเป็นอะไรบ้าง มีค่าหรือไม่มีค่า ได้ทราบต่อมาภายหลังว่า บรรดาข้าวของที่มีผู้ถวายเมื่อมีจำนวนมากพอสมควร ก็จะมีเณรภายในวัด ตลอดจนฆราวาสที่อาศัยอยู่ในวัดมานำเอาไปใช้ประโยชน์ทีหนึ่ง โดยที่หลวงปู่สุขก็ไม่เคยหวงห้าม ใครอยากได้ท่านก็บริจาคต่อให้หมดไม่มีการหวงแหนเก็บไว้เป็นสมบัติส่วนตัว
- เวลามีผู้ขออนุเคราะห์ให้ช่วยทำน้ำมนต์ให้ ท่านก็จะให้ผู้ซึ่งต้องการอย่างได้นิมนต์ ไปตักน้ำใส่ขันมา แล้วท่านก็จะเอาแท่งดินสอหรือแท่งวัตถุอะไรก็ได้ที่ท่านสามารถหยิบฉวยได้ใน ขณะนั้นขึ้นมาเคาะ ๆ ที่ปากขันน้ำมนต์ เพียงครูเดียวก็เสร็จพิธี โดยที่ท่านมิได้มีการหลับตาทำสมาธิหรือเสกเป่ามนตราใด ๆ ทั้งสิ้น ตลอดจนการจุดเทียนเพื่อหยดน้ำตาเทียนลงไปในน้ำมนต์ก็ไม่มี ซึ่งก็ได้ทราบในกาลต่อมาเหมือนกันว่าน้ำมนต์ของท่านที่เกิดจากการเพียงเอา แท่งดินสอ หรือแท่งวัตถุเคาะที่ปากขันน้ำเท่านั้น มีผู้คนไปใช้ในเรื่อสะเดาะเคราะห์ ตลอดจนอธิษฐานใช้ในสิ่งที่ไม่เกินไปกว่ามนุษย์จะพึงมีได้ ส่วนใหญ่แล้วประสบผลสมตามมุ่งหมายได้อย่างน่าอัศจรรย์ เรื่องการปลุกเสกของดีหรือมงคลวัตถุก็เช่นกัน เท่าที่ทราบจากการบอกเล่าของหลาย ๆ ท่าน ต่างกล่าวตรงกันว่าหลวงปู่สุขท่านไม่เหมือนใคร คือเวลามีใครเอามงคลวัตถุให้ท่านช่วยปลุกเสกให้ท่านก็จะพียงจับ ๆ แตะ ๆ หรือ หยิบมงคลวัตถุเหมือนดังเช่นพระเกจิอาจารย์ส่วนใหญ่โดยทั่วไป จะมีก็แต่เพียงในระหว่างที่หยิบหรือแตะวัตถุมงคลนั้น หลวงปู่สุขจะภาวนาคาถาซึ่งก็ฟังไม่ถนัดนัก เพราะท่านว่าของท่านแต่เพียงเบา ๆ แบบในใจเสียมากว่า ท่านทำของท่านดังที่ว่านี้อยู่เพียงแต่ท่านหยิบ ๆ แตะ ๆ และภาวนาคาถาโดยที่ตาของท่านยังลืมมองของที่อยู่ตรงหน้า ว่าจะมีความศักดิ์สิทธิ์ มีอนุภาพคุ้มครองป้องกันอันตรายได้ แต่ก็ปรากฏว่ามีผู้คนจำนวนไม่น้อย ได้พบประสบความศักดิ์สิทธิ์ในมงคลวัตถุของท่านและหลายคน ในขณะนี้ยังมีชีวิตอยู่สามารถยืนยันเรื่องดังกล่าวได้
วันทั้งวันหลวงปู่ท่านแทบไม่เคยลุกจากที่จำวัดไปไหนเลย ตลอดระยะเวลาสามวันที่ นั่งเฝ้าดูท่านท่านไม่เคยเข้าห้องสุขาและไม่สรงน้ำให้เห็นเลย ย่างเข้าวันที่สามก็เลยเกิดอยากจะพิสูจน์ขึ้นมาว่า หลวงปู่ท่านไม่อาบน้ำท่านจะมีกลิ่นตัวหรือไม จึงถือวิสาสะคว้าแขนท่านมาดมเอาดื้อ ๆ คุณสุรินทร์ก็ต้องแปลกใจที่หลวงปู่สุขท่านไม่มีกลิ่นตัวเลย และเมื่อได้เห็นผิวเนื้อของท่านอย่างใกล้ชิดก็พบว่า ผิดแปลกจากคนชราโดยทั่วไปตรงที่ว่าผิวของท่านผ่องใสเป็นยองใย
ตลอดเวลาที่นั่งสังเกตการณ์คล้ายดั่งหนึ่ง หลวงปู่จะหยั่งรู้ว่าคุณสุรินทร์จะมาพิสูจน์และลองดีท่าน
ราคาเปิดประมูล979 บาท
ราคาปัจจุบัน2,619 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ20 บาท
วันเปิดประมูล - 16 ธ.ค. 2562 - 17:50:49 น.
วันปิดประมูล - 18 ธ.ค. 2562 - 02:00:42 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลจงเจริญ2557 (9K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 16 ธ.ค. 2562 - 17:52:38 น.

แก้ไขข้อมูลเป็นปี 14 ครับ...เนื้อทองแดงผิวไฟ สวยแดงแปร๊ดๆ

แก้ไขข้อมูลเป็นปี 14 ครับ...เนื้อทองแดงผิวไฟ สวยแดงแปร๊ดๆ

แก้ไขข้อมูลเป็นปี 14 ครับ...เนื้อทองแดงผิวไฟ สวยแดงแปร๊ดๆ

แก้ไขข้อมูลเป็นปี 14 ครับ...เนื้อทองแดงผิวไฟ สวยแดงแปร๊ดๆ

แก้ไขข้อมูลเป็นปี 14 ครับ...เนื้อทองแดงผิวไฟ สวยแดงแปร๊ดๆ


 
ราคาปัจจุบัน :     2,619 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     20 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    apongsawad (697)

 

Copyright ©G-PRA.COM