(0)
พระปางปาฏิหาริย์ 6.5 ซม. เนื้อไม้ตะเคียนอินภาณีตะกรุดทองคู่ หมายเลข 965 รุ่น ไตรภาคีศรีนคร วัดนางตรา ปี 48 กรรมการ จัดสร้าง 999 องค์ พร้อมกล่องเดิม เจ้าของเดิมเลี่ยมกันน้ำถักเชือกถักเชือกเทียนพร้อมใช้








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพระปางปาฏิหาริย์ 6.5 ซม. เนื้อไม้ตะเคียนอินภาณีตะกรุดทองคู่ หมายเลข 965 รุ่น ไตรภาคีศรีนคร วัดนางตรา ปี 48 กรรมการ จัดสร้าง 999 องค์ พร้อมกล่องเดิม เจ้าของเดิมเลี่ยมกันน้ำถักเชือกถักเชือกเทียนพร้อมใช้
รายละเอียดพระปางปาฏิหาริย์ 6.5 ซม. เนื้อไม้ตะเคียนอินภาณีตะกรุดทองคู่ รุ่น ไตรภาคีศรีนคร วัดนางตรา ปี 48 กรรมการ เป็นวัตถุมงคลที่จัดสร้างชุดจตุคามรามเทพ รุ่นไตรภาคีศรีนคร ปี 48 ซึ่งมีพล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช เป็นที่ปรึกษาฝ่ายจัดสร้างและพิธีกรรม ที่จัดสร้างขึ้นในครั้งนี้ได้นำเอาพระกรุไตรภาคี ที่โดดเด่นที่สุดสามพิมพ์คือ พิมพ์ปรกโพธิ์ วัดท่าเรือ, พิมพ์นาคปรกวัดนางตรา และพิมพ์ยอดขุนพลวัดนาสน มาประยุกต์จัดสร้างขึ้นใหม่โดยเน้นทุกรูปแบบพิมพ์ทรงให้มีความ คมชัดและสวยงามตามสมัยนิยมโดยยังคงไว้ ซึ่งเอกลักษณ์ของพระกรุดั้งเดิมนอกจากนี้ยังได้จัดสร้างวัตถุมงคลยอดนิยมรูปแบบอื่นอีกสองพิมพ์ ทรงอันสวยงาม ในด้านเนื้อหาชนวนมวลสารอันศักดิ์สิทธิ์และในด้านพิธีกรรมมหามงคล อันเข้มขลัง ซึ่งกำหนดขึ้นสามวาระครบ ไตรภาคีศรีนคร คือ

* พิธีมหามงคลบวงสรวง ณ. วิทยาลัยนาฏศิลป์นครศรีธรรมราช (วัดท่าเรือ) ในวันที่ 12 มีนาคม 2548
* พิธีมหามงคลพุทธาภิเษก ณ. ศาลาการเปรียญพันธรักษ์ราชเดช วัดนาสน ในวันที่ 17 มีนาคม 2548
* พิธีสมโภชพุทธาภิเษก ณ. วัดนางตรา ในวันที่ 19 มีนาคม 2548
-พระนาคปรกนางตรา
ลักษณะเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมทรงสูงขอบมนขนาด 5.9 ซม. ด้านหน้าเป็นองค์พระสมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับ
นั่งสมาธิบนบัลลังค์นาคมุจลินทร์เจ็ดเศียร ด้านล่างบนฐานนาคประทับไว้ด้วยพระพิมพ์นางพญา เพื่อเทิดพระคุณของพระนาง
สุพัตรานางพญาผู้สร้างวัดนางตรา ด้านหลังกึ่งกลางเป็นองค์พระพุทธเจ้าปางประทานพรในซุ้มประตู (เป็นรูปแบบพระกรุ
พิมพ์ หนึ่งของวัดนางตรา) ด้านบนเป็นองค์พญาราหู ด้านซ้ายเป็นยันต์นอโม ด้านขวาเป็นยันต์นะราหู
-พระปรกโพธิ์ท่าเรือ
ลักษณะเป็นพิมพ์ทรงสี่เหลี่ยมขอบลายไทย ขนาด 5.9 ซม. กึ่งกลางเป็นรูปทรงเดิมของพระปรกโพธิ์ท่าเรือ ด้านบน
ซ้ายเป็นองค์ท้าวจตุคามขวาเป็นองค์ท้าวรามเทพ ซึ่งเป็นพระเสื้อเมืองและพระทรงเมือง เทพยดารักษาเมืองนครศรีธรรมราช
ด้านหลังเป็นองค์พระพิฆเนศวร เทพเจ้าแห่งศิลป์และความสำเร็จทั้งปวง (ปัจจุบันวัดท่าเรือเดิมเป็นวิทยาลัยนาฏศิลป์ นครศรี
ธรรมราช)
-พระยอดขุนพลนาสน
ลักษณะเป็นรูปทรงกลมขนาด 5 ซม. กึ่งกลางเป็นองค์พระพุทธเจ้าประทับนั่งปางมารวิชัยบนฐานบัวในซุ้มเรือนแก้ว
ด้านข้างซ้ายขวาเป็นรูปสถูปเจดีย์ ด้านหลังกึ่งกลางเป็นพระพิมพ์ซุ้มประตูกรุวัดนางตรา
-พระผงท้าวจตุคาม-ท้าวรามเทพ
ลักษณะเป็นทรงรูปไข่ขนาด 5.7 ซม. ด้านหน้าเป็นองค์ ท้าวจตุคามประทับนั่งในท่ามหาราชลีลาประทานพรบน
บังลังค์ดอกบัวบาน มีความคมชัดนูนสูงสวยงามที่สุดเท่าที่เคยพบเห็นมา ด้านหลังกึ่งกลางประทับไว้ด้วยองค์ท้าวรามเทพ
กษัตริย์ผู้น้อง รอบนอกประทับไว้ด้วยองค์พญาราหูสี่ทิศและลวดลายไทยพุ่มข้าวบิณฑ์โดยด้านบนเป็นองค์ท้าวจตุคาม ด้านล่าง
เป็นองค์ท้าวรามเทพ ด้านซ้ายเป็นองค์เจ้าแม่อินทภาณี รุกขเทวดาผู้สถิตย์อยู่ในต้นตะเคียนเสาหลักเมือง ซึ่งเคยแสดงปาฏิหาริย์
-พระปางปาฏิหาริย์
ลักษณะเป็นทรงสี่เหลี่ยมขอบมนขนาด 6.5 ซม. ด้านหน้าเป็นรูปองค์พระพุทธเจ้าประทับนั่งห้อยพระบาทในซุ้มเรือน
แก้ว ด้านซ้ายและขวาเป็นรูปองค์เทพยดา พระพิมพ์นี้อาศัยแบบจากพระยอดขุนพล วัดพระมหาธาตุฯ ปี 2497 ซึ่ง พล.ต.ต.
ขุนพันธรักษ์ราชเดช เป็นผู้ออกแบบลักษณะพิมพ์ทรงและสร้างร่วมกับอาจารย์ชุม ไชยคีรี ด้านหลังนับได้ว่า มีความพิเศษที่สุด
เพราะพล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช ได้มอบคำอวยพรและรอยนิ้วหัวแม่มือพร้อมทั้งลายเซ็นต์ให้จารึกไว้เป็น อนุสรณ์ด้วยจัด
สร้างขึ้นเพียงเนื้อเดียวคือ เนื้อไม้ตะเคียนอินทภาณี จำนวน 999 องค์ สืบต่อไปจะเป็นวัตถุมงคลอันทรงคุณค่า ที่หาได้ยากยิ่ง
ราคาเปิดประมูล1,450 บาท
ราคาปัจจุบัน1,600 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 29 ส.ค. 2563 - 17:08:56 น.
วันปิดประมูล - 31 ส.ค. 2563 - 13:00:18 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลbhin_pornmongkol (4.2K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 29 ส.ค. 2563 - 17:09:25 น.



เพิ่มเติม


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 29 ส.ค. 2563 - 17:09:48 น.



เพิ่มเติม


ข้อมูลเพิ่มเติม 3 - 29 ส.ค. 2563 - 17:10:36 น.



กล่องเดิม


 
ราคาปัจจุบัน :     1,600 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Aonzazxc555 (2.5K)(5)

 

Copyright ©G-PRA.COM