(0)
เหรียญอาร์ม รุ่น เบตง2 หลวงปู่ทวด วัดช้างให้ เนื้อทองแดง ปี 2536 สภาพสวย






รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องเหรียญอาร์ม รุ่น เบตง2 หลวงปู่ทวด วัดช้างให้ เนื้อทองแดง ปี 2536 สภาพสวย
รายละเอียดเหรียญอาร์ม รุ่น เบตง2 หลวงปู่ทวด วัดช้างให้ เนื้อทองแดง ปี 2536 สภาพสวย

เหรียญอาร์ม รุ่น เบตง2 เป็นเหรียญแจกในพิธี เนื้อทองแดงบรอนซ์ เจาะรูใส่ห่วง ไม่ตอกโค๊ท สร้างน้อย หายาก

รูปหล่อรุ่นนี้ไปเกิน 30000 ไปแล้วครับ รับรองว่า ตามไปแน่นอนครับผม

ประวัติ การสร้างเบตง 2
ขอขอบคุณข้องมูลดีๆ จาก"คุณเอกจันทรบุรี"ครับผม
เรื่องของเนื้อหามวลสารพิธีกรรมทุกขั้นตอนแต่ผสมเนื้อ พิธีบรรจุผงเนื้อว่านรุ่นแรหลวงปู่ทวด ที่วัดชนะสงคราม จนกระทั่งถึงพิธีกรรมการปลุกเสก ที่วัดช้างให้เมื่อวันพฤหัสที่ 24 มีนาคม 2537 นั้น ส่วนพิธีกรรมต่างๆก่อนที่จะสำเร็จบริบูรณ์ออกมาเป็นองค์พระให้เราๆ ท่านๆ ไว้บูชากราบไหว้เพื่อความเป็นสิริมงคล ไม่ต้องตะขิดตะขวงใจ พระรุ่นนี้นั้นจำนวนสร้างแน่นอน ไม่มีการสร้างเสริมเพิ่มเติม และพระทุกองค์ทุกเนื้อได้นำเข้าพิธีปลุกเสกเดียวกันทั้งหมดที่วัดช้างให้
ท่านสวัสดิ์ โชติพานิช อดีตประธานศาลฎีกา ประธานในการจัดสร้างพระหลวงปู่ทวด ได้กราบทูลขอพระเมตตาจากองค์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ขอประทาน แผ่นยันต์ ซึ่งท่านได้ลงจารอักขระมหามงคล และท่านก็ได้ประทานมาให้นับว่าเป็นสิ่งที่เป็นมงคลอย่างยิ่ง และแผ่นยันต์อีกส่วนหนึ่ง ซึ่งได้จากพระเถราจารย์อาวุโสที่เป็นที่เคารพนับถืออย่างสูงของมหาชนทั่วประเทศ คือ พระราชนิโรธรังสี หรือ หลวงปู่เทศก์ เทศก์รังสี แห่งวัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย พระสุปฏิปัณโณ สายวิปัสสนากรรมฐานของท่านอาจารย์ ภูริทัตตเถระ ซึ่งหลวงปู่เทศก์นี้ ท่านเป็นพระสงฆ์ผู้บริสุทธิ์ มิได้ยึดติดในวัตถุมงคลใดๆ ทั้งสิ้น ท่านมีแต่คำสอนของพระพุทธองค์ กับการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน เฉกเช่น วัตรปฏิบัติแห่งสายพระป่าวัตถุมงคลของหลวงปู่เทศก์นั้นมีเพียงเหรียญรุ่นแรกของท่านที่เป็นรูปเหมือนตัวท่านเองจากนั้นก็ไม่มีการสร้างเป็นรูปเหมือนของท่านอีกเลย จะมีก็แต่รูปพัดยศ หรือเหรียญพระบรมรูป ร.5 เท่านั้นที่ทางจังหวัดขออนุญาตสร้างแล้วขอความเมตตาให้ท่านอธิษฐานจิตให้มีคนไปขอท่านสร้างมากมาย แต่หลวงปู่เทศก์บอกว่า “เท่าไหร่ล่ะถึงจะพอ” ครับก็จริงของท่าน แต่ครั้งนี้หลวงปู่เทศก์ท่านเห็นในเจตนาที่บริสุทธิ์ของการสร้างพระหลวงปู่ทวดของท่านสวัสดิ์ โชติพานิช ท่านจึงเมตตามอบแผ่นยันต์ที่ลงอักขระด้วยตนเอง พร้อมทั้งได้ตั้งจิตอธิษฐานอนุโมทนาในส่วนกุศลผลบุญในครั้งนี้ เพื่อการสร้างพระมหาธาตุเจดีย์ถวายแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสครองราชย์ครบ 50 ปี ในปี 2539 ถ้าท่านผู้อ่านเป็นผู้ที่สนใจและติดตามเกี่ยวกับพระสวยวิปัสสนา ท่านจะรู้ถึงคุณค่าของแผ่นยันต์ในส่วนนี้ดีว่า ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ที่หลวงปู่เทศก์ เทศก์รังสี ท่านจะมอบให้ผู้ใด
หลังจากได้แผ่นยันต์มาแล้ว จึงได้ประกอบพิธีผสมเนื้อโลหะหลอมรวมเข้าด้วยกัน เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2536 ตรงกับวันรัฐธรรมนูญ การหล่อหลอมเนื้อโลหะนั้นได้กระทำพิธีตามแบบโบราณทุกประการคือ มีการตั้งราชวัตรฉัตรธง เครื่องเซ่นสังเวยเทพยดา มีพระสงฆ์เจริญพระชัยมงคลคาถาตลอดพิธี รวมทั้งมีพระเถระชั้นผู้ใหญ่ควบคุมการหลอมแผ่นธาตุ ในครั้งนี้ได้นิมนต์ท่านเจ้าคุณวัดราชโอรสเป็นผู้คุมพิธี เริ่มประกอบพิธีกรรมเมื่อเวลา 15.09 น. ซึ่งตามฤกษ์ถือว่าเป็นมหัธโนฤกษ์ ราศีเมษ ขณะที่เริ่มประกอบพิธีนั้นมีเหตุการณ์ที่เป็นมงคลคือ พระอาทิตย์ทรงกลด และที่น่าประหลาดใจก็คือในช่วงเดือนธันวาคมนั้นเป็นฤดูหนาว แต่ขณะประกอบพิธีหลอมเนื้อโลหะมีฝนตกปรอยๆ เหมือนดั่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ได้รับรู้ในครั้งนี้ด้วยซึ่งผู้ที่อยู่ในพิธีก็ได้เห็นกันทุกคน การหล่อหลอมเนื้อโลหะนี้ก็ทำในลักษณะเดียวกับพระหลวงปู่ทวดเลขใต้ฐานรุ่นแรกเมื่อปี 2505 แต่ในครั้งนั้นมีหลวงปู่โต๊ะเป็นประธานในการนั่งปรกคุมแผ่นธาตุ
เนื้อโลหะที่ผสมในครั้งนี้ โดยเฉพาะเนื้อนวะโลหะเป็นเนื้อนวะโลหะที่ครบสูตรตามแบบโบราณทุกอย่างคือ นวะโลหะ 9 อย่าง มี 1. ทองคำ 2. เงิน 3. ทองแดง 4. ปรอท 5. สังกะสี 6. บริสุทธิ์ 7. เหล็กละลายตัว 8. ง้าวน้ำเงิน 9. ชินสังขวานร รวมกับชนวนพระกริ่งวัดสุทัศน์ ปี 83 ซึ่งหาได้ยากมาก นำใส่รวมในครั้งนี้ด้วย
ท่านจะเห็นได้ว่า เนื้อพระที่ออกมานั้นกลับดำสวยงามก็เนื่องมาจากสูตรการผสมเนื้อที่ครบถ้วน ทั้ง 9 อย่างจริงๆ ทั้งยังได้ผสมทองคำลงไปเป็นจำนวนถึง 20 กิโลกรัม พระเนื้อนวะโลหะบางองค์จะมีลักษณะผิวออกสีทองเหลืองอร่าม ซึ่งเกิดจากทองคำนั่นเอง หลังจากได้ผสมเนื้อหลอมจนดีแล้ว จึงได้นำเนื้อโลหะไปหล่อเป็นองค์พระหลวงปู่ทวด ซึ่งการหล่อนั้นก็มีข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ระดับหัวหน้าคณะผู้พิพากษาศาลอุธรณ์ เป็นผู้ควบคุมจำนวนให้ครบถ้วนตามน้ำหนักของเนื้อโลหะพร้อมทั้งยังคัดองค์ที่ไม่สวยหรือชำรุดกลับเข้าไปหลอมใหม่ จึงทำให้พระทุกองค์ที่ออกมาอยู่ในสภาพที่สวยงามใกล้เคียงกันได้พระเนื้อนวะโลหะทั้งหมด 3,764 องค์ เนื้อทองคำ 279 องค์ และเนื้อนาค 279 องค์ ขั้นตอนการตอกโค๊ดและหมายเลขก็ควบคุมและนับกันอย่างถ้วนถี่ จนกว่าจะแล้วเสร็จ ประเภทที่เรียกว่าไม่ให้คลาดสายตาทุกขั้นตอนเลยทีเดียว โค๊ดกับหมายเลขขณะนี้ได้ทำลายทิ้งไปหมดแล้ว
การที่นำมาประกอบพิธีบรรจุผงพระหลวงปู่ทวดที่นี่นั้นก็เพราะว่าเพื่อความเป็นสิริมงคล และนิมิตหมายอันดีของนามวัดชนะสงคราม ที่มีประวัติความเป็นมาอันยาวนานตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ และพระอุโบสถของวัดชนะสงครามแห่งนี้ได้ใช้ประกอบพิธีทำน้ำพระพุทธมนต์สำหรับราชพิธีมาตั้งแต่รัชกาลที่ 1 จนกระทั่งถึงรัชกาปัจจุบัน การประกอบพิธีบรรจุผงหลวงปู่ทวดที่ใต้ฐาน กำหนดฤกษ์ 19.59 น. ของวันเสาร์ที่ 29 มกราคม 2537 มีการตั้งวัตรฉัตรธง มีองค์หลวงปู่ทวดตั้งเป็นประธาน มีการโยงสายสิญจน์จากพระประธานในพระอุโบสถมายังองค์หลวงปู่ทวด และวนไปรอบปะรำพิธี ท่านสวัสดิ์ โชติพานิช เป็นประธานฝ่ายฆราวาส จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย สมเด็จพระมหาธีราจารย์เป็นประธานเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ทั้งยังเป็นผู้บรรจุผงหลวงปู่ทวดด้วยตัวเอง ระหว่างที่ท่านบรรจุนั้นก็ได้บริกรรมคาถาอยู่ตลอด พร้อมทั้งพระสงฆ์ผู้ทรงสมณศักดิ์ 9 รูป เจริญพระพุทธมนต์กำกับตลอดเวลา
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน500 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 15 ธ.ค. 2563 - 11:16:01 น.
วันปิดประมูล - 17 ธ.ค. 2563 - 18:14:02 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลปืนใหญ่ (4.7K)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     500 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    warothai (670)

 

Copyright ©G-PRA.COM
www1