(0)
พระพุทธชินราช อินโดจีน พิมพ์ต้อบัวเล็บช้าง วัดสุทัศน์ ปี2485 สภาพผิวมีคราบจากการเก็บ(ผิวหิ้ง) พร้อมบัตรรับรอง







ชื่อพระเครื่องพระพุทธชินราช อินโดจีน พิมพ์ต้อบัวเล็บช้าง วัดสุทัศน์ ปี2485 สภาพผิวมีคราบจากการเก็บ(ผิวหิ้ง) พร้อมบัตรรับรอง
รายละเอียดประวัติการจัดสร้างพระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีน วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร
ประเทศไทยประสพปัญหาทางด้านการเมืองซึ่งหลังจากปัญหาต่างๆได้กลับคืนสู่สภาวะปกติ แล้วจึงได้มีการก่อตั้งองค์กรหนึ่งขึ้นมาชื่อว่า "พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย" ซึ่งเป็นการรวมตัวระหว่าง พุทธธรรมสมาคม กับยุวพุทธสาสนิกสมาคม
ช่วงนั้นพุทธสมาคมแห่งประเทศไทยมี พลเรือตรีหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์เป็นนายกสมาคมฯ ปรารภที่จะสร้างรูปหล่อพระพุทธชินราชขึ้น แต่ยังติดขัดเรื่องภาวการณ์ความไม่สงบเรียบร้อยภายในประเทศ จึงยังไม่ได้ดำเนินการสร้าง ล่วงถึงปีพุทธศักราช 2485 ภายหลังสถานการณ์กรณีพิพาทกับฝรั่งเศสคลี่คลายลงพร้อมสงครามโลกครั้งที่ 2 กำลังเริ่มขึ้นจึงได้มีโอกาสเริ่มดำเนินการจัดสร้างตามความประสงค์จนสำเร็จลุล่วงลงในที่สุด กระนั้นยังคงนิยมเรียกพระพุทธชินราช รุ่นนี้ว่ารุ่นอินโดจีนอยู่ดี ตามสถานการณ์ช่วงปรารภจัดสร้างจึงเป็นที่มาของชื่อรุ่นไปโดยปริยายกระทั่งปัจจุบัน พระพุทธชินราชรุ่นอินโดจีนนี้เริ่มมีการดำริที่จะจัดสร้างเนื่องจากตอนนั้นมีกรณีพิพาทกับฝรั่งเศสเรื่องสิทธิเหนือดินแดนของอินโดจีน ในราวปีพุทธศักราช 2483-2484 วัตถุประสงค์เพื่อแจกจ่ายให้แก่ทหารที่ไปราชการสงครามและให้ประชาชนโดยทั่วไปได้มีโอกาสเช่าบูชาต่อมาในปีปีพุทธศักราช 2485 สงครามโลกครั้งที่ 2 ก็กำลังก่อตัวขึ้นในภูมิภาคนี้จึงได้มีการจัดสร้างพระพุทธชินราชรุ่นอินโดจีนขึ้น ในตอนแรกมีกำหนดการให้ทำพิธีเททองหล่อพระพุทธชินราชที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุพิษณุโลก
แต่มีเหตุต้องเปลี่ยนสถานที่การเททองให้มาทำพิธีที่วัดสุทัศน์แทนเนื่องจากในขณะนั้นกำลังอยู่ในช่วงสงครามโลก กำลังคุกรุ่นและประเทศไทยได้ประกาศสงครามกับฝ่ายพันธมิตรเมื่อวันที่ 25 มกราคม ปีพุทธศักราช 2485 จึงไม่สะดวกในการเดินทางและทำพิธีจึงจำเป็นต้องเปลี่ยนสถานที่มายังวัดสุทัศน์แทน สถานที่ จัดสร้างพระพุทธชินราช จัดพิธีการสร้างขึ้นที่วัดสุทัศน์และปลุกเสกในพระอุโบสถวัดสุทัศน์ในวันที่ 21 มีนาคม เสาร์ 5 (วันเสาร์ขึ้น 5 ค่ำเดือน 5) ปีพุทธศักราช 2485 ดำเนินการสร้างและออกแบบโดยกรมศิลปากรโดยมีท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช (แพ) เป็นองค์ประธานและท่านเจ้าคุณสัจจญาณมุนี (สนธิ์) เป็นผู้ดำเนินการได้ทำพิธีลงทองถูกต้องตามตำราการสร้างพระกริ่งของวัดสุทัศน์ทุกประการนอกจากนั้นยังมีแผ่นทองจากพระเกจิอาจารย์ที่เข้าร่วมพิธีอีกจำนวนหนึ่งจึงนับได้ว่าเป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่ในสมัยรัตนโกสินทร์พิธีหนึ่งซึ่งเพียบพร้อมไปด้วยคณาจารย์ทั้ง 108 รูป ที่มีชื่อเสียงในยุคนั้นจากทั่วประเทศเลยทีเดียว พระพุทธชินราชอินโดจีนลอยองค์ปีพุทธศักราช 2485 แบบตอกโค๊ด พระชุดนี้ได้พิธีหล่อ และปลุกเสกในพระอุโบสถวัดสุทัศน์ฯ โดยมีท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระสังฆราชแพ (ติสสเทวะ) เป็นองค์ประธานและท่านเจ้าคุณศรี(สนธิ์) เป็นผู้ดำเนินการ ได้ทำพิธีลงทองถูกต้องตามตำหรับของการสร้างพระกริ่งและพระชัยของวัดสุทัศน์นี้แล้วยังมีแผ่นทองจากท่านพระคณาจารย์ที่นิมนต์มาร่วมพิธีปลุกเศกสมทบหล่อหลอมในครั้งนี้อีกด้วย จึงนับได้ว่าพิธีหล่อพระรูปจำลองพระพุทธชินราชเป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่ในสมัยรัตนโกสินทร์พิธีหนึ่ง พระพุทธชินราช อินโดจีน ที่มีสร้อยคำว่า อินโดจีนต่อท้ายนั้นความจริงไม่ได้สร้างเมื่อตอนสงครามอินโดจีนแต่สร้างขึ้น ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองในซีกเอเชียที่กำลังเริ่มต้นแต่เหตุที่เรียกพระพุทธชินราช "อินโดจีน"เพราะขณะที่พุทธสมาคมแห่งประเทศไทยปรารภจะสร้างพระชินราชอยู่ในช่วงที่สถานการณ์บ้านเมืองกำลังตึงเครียดมากเมื่อปี ๒๔๘๓ – ๒๔๘๔ จากกรณีพิพาทกับฝรั่งเศสในเรื่องดินแดนอินโดจีนที่เขายึดเอาของเราไปสถานการณ์คุกรุ่นเรื่อยมาทำให้พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย เลื่อนการสร้างออกไปมาดำเนินการภายหลังสงครามอินโดจีนเสร็จสิ้นลงด้วยการไกล่เกลี่ยของญี่ปุ่น ถึงกระนั้นผู้คนก็ไม่ยอมเปลี่ยนชื่อเรียกพระที่สร้างขึ้นคงเรียกพระพุทธชินราช "อินโดจีน" ตามเดิม ไม่มีใครเรียกขานนามพระพุทธชินราชรุ่น "สงครามโลก" เลย สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทวมหาเถร) ทรงตรัสไว้ว่า“การปลุกเสกพระหรือเครื่องรางของขลังวัดไหน ก็สู้วัดสุทัศน์ไม่ได้”ทั้งนี้เป็นเพราะในพระอุโบสถที่ใช้เป็นปริมณฑลสำหรับพิธีปลุกเสกนั้น พรั่งพร้อมไปด้วยอรหันต์เจ้า (ชั้นผู้ใหญ่) ครบถ้วนถึง ๘๐ พระองค์ ของขลังและวัตถุมงคลจึงมีความขลังและประสิทธิ์ยิ่งนัก เพราะท่านได้ร่ำเรียนและปฏิบัติถูกต้องตามตำราแบบครบสูตร วัตถุมงคลและเครื่องรางของขลังทั้งหลายยิ่งนานวันจึงยิ่งปรากฏชื่อเสียงและเกียรติคุณมากยิ่งขึ้นตลอดมา จนเป็นสิ่งที่ประสงค์จะได้ครอบครองของนักนิยมสะสมพระเครื่องโดยทั่วไป ปัจจุบันสนนราคาก็ทวีค่าสูงขึ้นเป็นลำดับทั้งยังเสาะแสวงหาได้ยากอีกต่างหาก
พระพุทธชินราชอินโดจีนถือว่า เป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่ในสมัยรัตนโกสินทร์พิธีหนึ่ง โดยมีราชนามพระเกจิอาจารย์ชื่อดังร่วมนั่งปรกปลุกเสก 108 องค์ ดังมีรายนามดังต่อไปนี้
1.สมเด็จพระสังฆราช แพ วัดสุทัศน์
2.ท่านเจ้าคุณศรี สนธิ์
3. หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา
4.หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก
5.หลวงปู่นาค วัดระฆัง
6.หลวงปู่จันทร์ วัดนางหนู
7.หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว
8. หลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง
9.หลวงพ่อแช่ม วัดตากล้อง
10. หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว
11.หลวงพ่อโอภาสี อาศรมบางมด
12.หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ
13.หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง
14.หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ
15.หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา
16.หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ
17. หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก
18.พระพุทธโฆษาจารย์เจริญ วัดเทพศิรินทร์
19.หลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่
20.หลวงพ่อติสโสอ้วน วัดบรมนิวาส
21.สมเด็จพระสังฆราชชื่น วัดบวรนิเวศ
22.พระพุฒาจารย์นวม วัดอนงค์
23.หลวงพ่อเส็ง วัดกัลยา
24.หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้
25.หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ
26.หลวงพ่อเล็ก วัดบางนมโค
27.หลวงพ่อแจ่ม วัดวังแดงเหนือ
28.หลวงพ่อช่วง วัดบางแพรกใต้
29.หลวงพ่ออาจ วัดดอนไก่ดี
30.หลวงพ่อกลิ่น วัดสพานสูง
31.สมเด็จพระสังฆราชอยู่ วัดสระเกศ
32.หลวงพ่อเชย วัดเจษฎาราม
33.หลวงพ่อปาน วัดเทพธิดาราม
34.หลวงพ่อเซ็ก วัดทองธรรมชาติ
35.หลวงพ่อเจีย วัดพระเชตุพน
36. หลวงพ่อเผื่อน วัดพระเชตุพน
37.หลวงพ่อหลิม วัดทุ่งบางมด
38. หลวงพ่อแพ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก
39.หลวงพ่อสอน วัดพลับ
40.หลวงพ่อเฟื่อง วัดสัมพันธวงศ์
41.หลวงพ่อบัว วัดอรุณ
42. หลวงพ่อนาค วัดอรุณ
43.หลวงพ่อปลั่ง วัดคูยาง
44.หลวงพ่อชุ่ม วัดพระประโทน
45.หลวงพ่อสนิท วัดราษฎร์บูรณะ
46.หลวงพ่อเจิม วัดราษฎร์บูรณะ
47.หลวงพ่อสุข วัดราษฎร์บูรณะ
48.หลวงพ่ออาคม สุนทรมา วัดราษฎร์บูรณะ
49.หลวงพ่อดี วัดเทวสังฆาราม
50.หลวงพ่อประหยัด วัดสุทัศน์
51.หลวงพ่อปลอด วัดหลวงสุวรรณ
52. หลวงพ่ออิ่ม วัดชัยพฤกษ์มาลา
53.หลวงพ่อเปี่ยม วัดเกาะหลัก
54. หลวงพ่อทอง วัดดอนสะท้อน
55.หลวงพ่อครุฑ วัดท่อฬ่อ
56.หลวงพ่อกลีบ วัดตลิ่งชัน
57.หลวงพ่อทรัพย์ วัดสังฆราชาวาส
58.หลวงพ่อแม้น วัดเสาธงทอง
59.หลวงปู่รอด วัดวังน้ำว
60.หลวงพ่อสาย วัดพยัคฆาราม
61.หลวงพ่อเส็ง วัดประจันตาคาม
62.หลวงพ่อพิศ วัดฆะมัง
63.หลวงพ่ออ่ำ วัดหนองกระบอก
64.หลวงพ่อหมา วัดน้ำคือ
65. หลวงปู่จันทร์ วัดบ้านยาง
66.หลวงปู่เหมือน วัดโรงหีบ
67.หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว
68.หลวงพ่อฉาย วัดพนัญเชิง
69.หลวงพ่อปลื้ม วัดปากคลองมะขามเฒ่า
70.หลวงพ่อแนบ วัดระฆัง
71.หลวงพ่อเลียบ วัดเลา
72.หลวงพ่อพักตร์ วัดบึงทองหลาง
73.หลวงพ่อสอน วัดลาดหญ้า
74.หลวงปู่เผือก วัดโมรี
75.หลวงพ่อผิน วัดบวรนิเวศ
76. หลวงพ่อเจียง วัดเจริญธรรมาราม
77.หลวงพ่อทองอยู่ วัดประชาโฆษิตาราม
78.หลวงพ่อไวย์ วัดดาวดึงส์
79.หลวงพ่อกลึง วัดสวนแก้ว
80. หลวงพ่ออ่ำ วัดวงฆ้อง
81.หลวงปู่จันทร์ วัดคลองระนง
82.หลวงพ่ออ๋อย วัดไทร
83.หลวงพ่อศรี วัดพลับ
84.พระอาจารย์เชื้อ วัดพลับ
85. หลวงพ่อพริ้ง วัดบางประกอก
86.หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ
87.หลวงพ่อพริ้ง วัดราชนัดดา
88.หลวงพ่อขำ วัดตรีทศเทพ
89.หลวงพ่อหนู วัดปทุมวนาราม
90.หลวงพ่อทองคำ วัดปทุมคงคา
91.หลวงพ่อเจียง วัดเจริญสุธาราม
92.หลวงพ่อกรอง วัดสว่างอารมณ์
93.หลวงพ่อเนียม วัดเสาธงทอง
94.หลวงพ่อบุญ วัดอินทราราม
95.หลวงพ่อเปลี่ยน วัดบึง
96. หลวงพ่อฉ่ำ วัดท้องคุ้ง
97.หลวงพ่อพรหมสรรอด วัดบ้านไพร
98. หลวงปู่จันทร์ วัดโสมนัสวิหาร
99.หลวงพ่อโสม วัดราษฎร์บูรณะ
100. หลวงพ่อบุตร วัดบางปลากด
101.หลวงพ่อโต วัดบ้านกล้วย
102. หลวงพ่อทองอยู่ วัดบางหัวเสือ
103.หลวงพ่อวงศ์ วัดสระเกศ
104. พระอาจารย์พงษ์ วัดกำแพง
105.พระอธิการชัย วัดเปรมประชา
106. หลวงปู่รอด วัดเกริ่น
107.หลวงพ่อเที่ยง วัดบางหัวเสือ
108.หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ (ตัวท่านไม่ได้มาร่วมปลุกเสก แต่จารแผ่นทองเหลือง ทองแดงมาร่วมพิธี)
ราคาเปิดประมูล1,000 บาท
ราคาปัจจุบัน12,100 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 11 ม.ค. 2564 - 17:40:00 น.
วันปิดประมูล - 21 ม.ค. 2564 - 19:43:40 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลjouicepeam (1.1K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 11 ม.ค. 2564 - 22:09:50 น.



ภาพเพิ่มเติม


 
ราคาปัจจุบัน :     12,100 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Phanin (379)(2)

 

Copyright ©G-PRA.COM