(0)
เหรียญพอดีหนึ่งศตวรรษ เนื้อทองแดง หลวงปู่บุดดา ถาวโร วัดกลางชูศรีเจริญสุข สิงห์บุรี หายากหลวงปู่ดู่ วัดสะแกยังยกย่อว่าท่านเป็นพระอรหันต์






รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องเหรียญพอดีหนึ่งศตวรรษ เนื้อทองแดง หลวงปู่บุดดา ถาวโร วัดกลางชูศรีเจริญสุข สิงห์บุรี หายากหลวงปู่ดู่ วัดสะแกยังยกย่อว่าท่านเป็นพระอรหันต์
รายละเอียดเหรียญพอดีหนึ่งศตวรรษ เนื้อทองแดง หลวงปู่บุดดา ถาวโร วัดกลางชูศรีเจริญสุข สิงห์บุรี หายากหลวงปู่ดู่ วัดสะแกยังยกย่อว่าท่านเป็นพระอรหันต์

ประวัติหลวงปู่บุดดา
“หลวงปู่บุดดา ถาวโร” แห่งวัดกลางชูศรีเจริญสุข ตำบลพักทัน อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี ท่านเป็นพระเถระชื่อดังที่ได้รับความเลื่อมใสศรัทธา มีนามเดิมว่า “มุกดา” หรือ “บุดดา” นามสกุล มงคลทอง ชาติกำเนิด : วันเสาร์ขึ้น 10 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะเมีย ตรงกับวันที่ 5 มกราคม พ.ศ.2437 บิดาชื่อนายย้อย มารดาชื่อ นางอ่ำ มงคลทอง มีพี่น้องรวมกัน 7 คน ภูมิลำเนา : เกิดที่บ้านหนองเกวียนหัก ต.พุคา อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี การศึกษา : สมัยเด็กไม่มีโอกาสได้เรียนหนังสือ เพราะบริเวณใกล้บ้านไม่มีโรงเรียน จนเติบใหญ่จึงเป็นที่พึ่งพาช่วยบิดามารดาทำนาเลี้ยงชีพ รับราชการ :ถูกเกณฑ์ทหารเมื่ออายุได้ 20 ปี พ.ศ.2458 (ตรงกับรัชกาลที่ 6)ในกองทัพที่ 3 ศูนย์ราชการทหารปืนใหญ่ อ.โคกกระเทียม จ.ลพบุรี หลักฐานการเกณฑ์ทหารรับราชการอยู่ 2 ปี หลังพ้นราชการทหาร ช่วยครอบครัวทำงานบ้านเรื่อยมา อุปสมบท :พ้นราชการเกณฑ์ทหารช่วยบิดามารดาทำนาอยู่อีก 4 ปี จึงขอลาอุปสมบท เมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ.2465 ที่วัดเนินยาว ต.โพนทอง อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี มี… “พระครูขันสุนทร” (ม.ร.ว.เอี่ยม อิศรางกูร ณ อยุธยา) เป็นพระอุปัชฌาย์ “พระครูเรื่อง” เป็นพระกรรมวาจาจารย์ “เจ้าอธิการไหล” เป็นอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “ถาวโร”

แสวงหาโมกขธรรม : จำพรรษาอยู่กับพระอุปชฌาย์ 1 พรรษา จึงออกจาริกแสวงหาวิเวก บำเพ็ญสมณธรรม ธุดงค์ทั่วเมืองไทย เป็นเวลากว่า 40 ปี จนถึงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2523 หลวงปู่บุดดาจึงได้ย้ายมาพำนักประจำอยู่ที่ วัดกลางชูศรีเจริญสุข ต.พักทัน อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี โดยได้รับนิมนต์จาก “หลวงปู่เย็น”

หลวงปู่บุดดากล่าวเสมอว่า ถือพระอุปัชฌาย์และพระสงฆ์ 25 รูป เป็นครูบาอาจารย์ อุปัชฌาย์ทุกองค์ สอนปัญจกัมมัฏฐานให้แล้วในวันอุปสมบท คือ เกศา โลมา นะขา ทันตา ตโจ หรือผม ขน เล็บ ฟัน หนัง โดยพิจารณาเรียงไปตามลำดับแล้วย้อนกลับจนเห็นชัดเจน

สมัยนั้นการศึกษาปริยัติธรรมบาลียังไม่แพร่หลาย อาศัยการหัดอ่าน ท่องบทสวดมนต์ ทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็นอยู่ภายในวัด รวมทั้งได้รับการสอนกัมมัฏฐานเบื้องต้นจากพระอุปัชฌาย์ด้วยจิตมุ่งมั่น แสวงหาโมกขธรรม เพียงพรรษาแรกออกจาริกธุดงค์ไปตามภาคต่างๆ ข้ามฝั่งไทยไปสู่ประเทศลาวอย่างกล้าหาญชาญชัย เป็นการธุดงค์เดี่ยวไม่มีครูผู้ชี้แนะ มีแต่ร่มเก่า บาตรหนึ่งใบ และข้าวของเครื่องใช้ที่จำเป็นเท่านั้น แต่ละเส้นทางธุดงค์หลวงปู่บุดดา ท่านได้พบปะสหธรรมหลายรูป ทั้งพระกัมมัฌฐานที่เก่งทางปฏิบัติ พระเกจิเรื่องจิตยาคม และพระเถระชั้นผู้ใหญ่ อาทิ พระอุบาลีคุณุปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) วัดบรมนิวาส, สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์, หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต, พระสุพรหมยาน วัดพระบาทตากผ้า, หลวงปู่สิม วัดถ้ำผาปล่อง, หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค, หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย, หลวงพ่อฤาษีลิงดำ, หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ฯลฯ

วัดต่างๆ ที่ไปจำพรรษา ประกอบด้วย จ.เพชรบุรี 20 พรรษา, จังหวัดลพบุรี 14 พรรษา, กรุงเทพฯ 8 พรรษา, จ.ระยอง 7 พรรษา, จ.ชัยนาท 4 พรรษา ยังไม่นับวัดที่จำพรรษาระยะสั้นๆ อาทิ วัดหนองหลวง จ.นครสวรรค์, วัดเนรัญชราราม จ.เพชรบุรี, วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี, วัดเหนือสน จ.ราชบุรี เป็นต้น

จนกระทั่งหลวงปู่บุดดามีอายุได้ 80 ปี จึงยุติการธุดงค์ด้วยสังขารไม่เอื้ออำนวย ก่อนมาจำพรรษาที่วัดกลางชูศรีเจริญสุข ต.พักทัน อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี เป็นจังหวัดสุดท้ายกว่า 40 ปี

ปฏิปทาจริยวัตรเคร่งครัดในระเบียบวินัยสงฆ์ ถือครองผ้าสามผืนเป็นวัตร บิณฑบาตและถวายสังฆทานทุกวัน ฉันเพียงมื้อเดียววันเว้นวัน และฉันเฉพาะในบาตร สิ่งที่ไม่อาจขาดคือ หาโอกาสพิจารณากัมมัฏฐาน 5 ตามอุบายที่ครูบาอาจารย์สั่งสอนมา พร้อมเร่งทำความเพียรด้วยความมานะอดทนเป็นเลิศไม่เคยสอนให้ชาวบ้านงมงายในวัตถุมงคล หรือเครื่องรางของขลัง แต่ท่านมีวิธีอบรมใจตัวเองได้อย่างแยบคาย แม้ในยามเผชิญอยู่กับภยันตรายเฉพาะหน้า ท่านก็จะยกสิ่งที่เผชิญอยู่นั้นเป็นอุบายในการอบรมจิตใจตนเองเสมอ

เวลากว่า 40 ปี ที่หลวงปู่ใช้ชีวิตอยู่ในป่าเขา อบรมจิตใจของท่านจนสามารถแยกแยะ กำหนด และตัดสังโยชน์ได้อย่างเป็นขั้นตอน

เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ หลวงปู่บุดดาได้ร่วมพิธีทำบุญ 100 วัน พระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษี) วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี หลังจากกลับถึงวัดแล้วประมาณ ตี 1 หลวงปู่บุดดามีอาการป่วยโดยเฉียบพลันเกี่ยวกับเส้นเลือดสมอง “พระครูโสภณ จารุวัฒน์” (พระอาจารย์มหาทอง) จึงได้นำส่งโรงพยาบาลสิงห์บุรี นพ.วิศิษฐ์ ถนัดสร้าง ได้นำหลวงปู่เข้าเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่โรงพยาบาล เพื่อตรวจดูระบบสมอง พบว่าเส้นเลือดสมองด้านซ้ายอุดตันและปอดอักเสบ หลวงปู่มีอาการหอบมาก ไม่สามารถหายใจได้เอง เสมหะตกค้างในปอดเป็นจำนวนมาก แพทย์จึงได้ตัดสินใจใส่ท่อช่วยหายใจทางปาก

วันที่ 9 กุมภาพันธ์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับเป็นคนไข้ในพระบรมราชูปถัมภ์ คณะแพทย์ รพ.สิงห์บุรี จึงนำหลวงปู่ส่งโรงพยาบาลศิริราช ณ ห้องไอซียู ตึกสยามมินทร์ ชั้น 6 โดยมี นพ.วัฒนะ ฐิตะดิลก เป็นผู้ติดต่ออำนวยความสะดวก ศ.พญ.นันทนา นะมาตร์ เป็นแพทย์เจ้าของไข้ เนื่องจากหลวงปู่ ท่านเป็นผู้สูงอายุ อาการอาพาธเกิดหลายระบบ คือ สมองฝ่อ ไตเสื่อม โรคปอด และระบบหัวใจ อวัยวะต่างๆ เสื่อมตามอายุ แพทย์ได้บำบัดเยียวยารักษาอย่างดีที่สุดเท่าที่จะทำถวายได้

ละสังขาร : เช้าวันที่ 12 มกราคม 2537 ท้องฟ้าสลัวดูหม่นหมองเศร้าสร้อย สายตาหลายคู่เมียงมองเข้าไปในห้องไอซียูที่หลวงปู่นอนอยู่ ใจจดใจจ่ออยู่กับกาลเวลาขณะนั้นช่วงบ่ายบรรยากาศขมุกขมัวมีฝนโปรยปลายลงมาโรงพยาบาลศิริราช ประหนึ่งน้ำพระพุทธมนต์อันศักดิ์สิทธิ์ ทุกคนขนลุกและแล้วเวลาที่รอคอยก็มาถึง เมื่อเวลา 19.10 น.341 วัน ของการอาพาธยุติลง มรณภาพอย่างสงบ เมื่อวันพุธที่12 มกราคม 2537 สิริรวมอายุ 100 ปี 7 วัน 72 พรรษา

ธรรมะหลวงปู่
ธรรมะคำสอน : ตั้งใจน้อมนมัสการคุณพระรัตนตรัยด้วยกายพระนาม วจีพระนาม มโนพระนาม โดยสัจจะเคารพแล้ว น้อมพระธรรมเทศนาคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้ามาแสดง เพิ่มพูนปัญญาบารมีชาวพุทธทั้งหลาย ได้มาเจริญคุณพระพุทธคุณ คุณพระธรรมคุณ คุณพระสงฆ์ สั่งสมให้ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มีญาณมีวิชชาให้รู้ปริยัติธรรม ปฏิบัติธรรม ปฏิบัติเวชธรรม โดยฉับพลัน ขออำนาจแห่งคุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์ จูงจิตใจของพี่น้องชาวพุทธให้เข้าสู่ธรรมวินัยของพระผู้มีพระภาคเจ้า ให้เห็นความเกิดและความเป็นโทษ ให้เห็นความไม่เกิดไม่ตายเป็นคุณธรรมทั้งหลาย ให้เห็นว่าตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี้เป็นเครื่องอาศัย ขอให้ศีลรักษาจิตไว้ อย่าให้หลง อย่างให้ลืม

ธรรมเป็นอย่างไร? ธรรมะ ก็…“หนังแผ่นเดียว” “จิตเดียว” ซิ กิเลสมันเป็นเจ้าของ “อวิชชา” ตัณหา อุปทาน มันนึกว่าหนังของมัน เนื้อของมัน

ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ของมันที่ไหน มันมาอาศัยเขา เกิดยังว่าของมันอีก พ้นเกิด แก่ เจ็บ ตาย พ้นในปัจจุบันนี้แหละ ให้พ้นเกิด พ้นตาย จะได้ทำงานให้ศาสนา

ต้องพูดอย่างธรรม พูดอย่างคนจะขัดคอคนนะซิ ไม่มีใครเกิด ไม่มีใครแก่ ไม่มีใครเจ็บ ไม่มีใครตาย นั่นแหละเป็นแก่นศาสนา เราเกิดที่ใด เราเกิดกับผู้หญิงทุกที เราจะใคร่ประมาทพวกผู้หญิง ผู้หญิงมาเกะกะ เราก็ไม่เอา เพราะแม่เราก็เป็นผู้หญิง ไอ้พวกผู้ชายมาชวนให้เป็นพวกปล้นสดมภ์ เราก็ไม่เอา เพราะพ่อเราเป็นผู้ชาย

“มีหนังแผ่นเดียว มีจิตดวงเดียวเท่านั้น” ก็หนังแผ่นเดียวมันหุ้มอยู่ทั้งหมดกับทะลุ 9 ช่วง นะวะทะวารัง ทะลุทางตา 2 หู 2 จมูก 2 ปาก ทวารหนัก ทวารเบา อิริยาบถของกาย 24 ชม.ต้องยืน เดิน นั่ง นอน ต้องอาบน้ำ ห่มผ้า ดื่ม อาหาร ถ่ายมูตร ถ่ายออกมางามเมื่อไร ไม่งามหรอก

อาหารทุกอย่างเป็น “ยา” เลี้ยงเขาไป ตา ก็ไม่ได้ถือเป็นของเขา หู ก็ไม่ได้ถือเป็นเจ้าของ ลิ้น ไม่ได้ยึดถือเป็นลิ้น เขาทำตามธรรมชาติไปอย่างนั้นเอง ธรรมชาติเขาก็ทำหน้าที่ธรรมชาติของเขา คือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป อย่างนั้นเอง


ศาสนาธรรม ถืออยู่ที่ตาธรรม หูธรรม จมูกธรรม ลิ้นธรรม วาจาธรรม ใจธรรม ศาสนาอยู่ที่กาย วา หนา คืบ กว้าง ศอกนี้เอง เห็นเป็นกลางทั่วไปทั้งภายในและภายนอก ผู้ปฏิบัติต้องเห็นอย่างนี้เรียกว่าเห็นธรรม

พระดีนอก ดีใน เชิญบูชา
ราคาเปิดประมูล90 บาท
ราคาปัจจุบัน100 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ10 บาท
วันเปิดประมูล - 17 ม.ค. 2564 - 23:08:57 น.
วันปิดประมูล - 21 ม.ค. 2564 - 10:02:16 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลphicha (427)(1)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     100 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     10 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Tong_2516 (636)(1)

 

Copyright ©G-PRA.COM
www1