(0)
วัดใจ...เหรียญพระธรรมธราจารย์(อ่อน)วัดมหาพฤฒารามปี2484






รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องวัดใจ...เหรียญพระธรรมธราจารย์(อ่อน)วัดมหาพฤฒารามปี2484
รายละเอียดเหรียญพระธรรมธราจารย์(อ่อน)วัดมหาพฤฒารามปี2484
พระธรรมธราจารย์ ( อ่อน ปุญณุตฺตโม ) ท่านเป็นอาจารย์อีกองค์หนึ่งของ หลวงปู่เทียน ซึ่งคนส่วนใหญ่ไม่รู้จัก ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญทั้งธรรมวินัย โหราศาสตร์
วัดมหาพฤฒาราม เดิมมีชื่อเรียกในสมัยกรุงธนบุรีว่า วัดท่าเกวียน เนื่องจากในสมัยนั้นมีกองคาราวาน เกวียน เดินทางมาจากหัวเมืองต่างๆ ทางฝั่งตะวันออก เมื่อเข้ามาถึงในเมืองหลวง ต่างมารวมพลพักแรมกันที่บริเวณวัดนี้ จึงเป็นชื่อเรียกกันในเวลาต่อมาว่า วัดท่าเกวียน ปัจจุบันยังมีหลักฐานเป็นรูป เกวียน ติดอยู่ที่บานประตู และหน้าต่างพระอุโบสถทุกๆ บาน กระทั่งถึงต้น รัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อ วัดท่าเกวียน เป็น วัดตะเคียน ซึ่งเป็นชื่อที่ชาวบ้านย่านนั้นเรียกขานกันทั่วไป ต่อมาในตอนปลายรัชกาลที่ ๔ ได้มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อจาก วัดตะเคียน เป็น วัดมหาพฤฒาราม และทรงสถาปนาให้เป็นพระอารามหลวง ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา วัดมหาพฤฒาราม มีเจ้าอาวาสปกครองอย่างต่อเนื่องกันมาอย่างมีระบบระเบียบ โดยเจ้าอาวาสแต่ละท่านก็ได้ดูแลทะนุบำรุงวัดเป็นอย่างดี ในช่วงปี ๒๔๘๔ อันเป็นสมัยที่ พระธรรมธราจารย์ เป็นเจ้าอาวาส ทำหน้าที่ปกครองดูแลวัด ได้มีคณะศิษย์ขออนุญาตจัดงานฉลองอายุครบ ๗ รอบ ถวายเป็นมุทิตาสักการะแด่ท่าน พร้อมกับจัดสร้าง เหรียญที่ระลึก ขึ้นเป็นครั้งแรกของของหลวงพ่อ และเป็นครั้งแรกของวัดแห่งนี้ด้วย เพื่อแจกให้แก่ชาวบ้านที่ได้ร่วมในงานบุญครั้งนั้นด้วย
ประวัติของท่านเจ้าคุณ พระธรรมธราจารย์ มีปรากฏอยู่ในหนังสือของวัด ได้บันทึกไว้ว่า พระธรรมธราจารย์ (อ่อน ปญฺณุตฺตโม) นามเดิม อ่อน บิดาชื่อ โพธิ์ มารดาชื่อ หนู ชาตะเมื่อวันพฤหัสบดี แรม ๓ ค่ำเดือน ๖ ปีมะแม ตรงกับวันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๐๒ ณ ต.แพรกษา อ.เมือง จ.สมุทรปราการ (คำว่า แพรกษา อ่านออกเสียงว่า แพรก-กะ-ษา ชื่อนี้ นายตุ๋ย เหล่าสุนทร อธิบายว่า แต่เดิมที่นั้นมีปลาชุมมาก นกกระสาจึงไปรวมฝูงกินปลา จึงมีชื่อเรียกกันอย่างนั้น ที่ถูกควรเขียนว่า "แพรกกระสา") เมื่ออายุพอสมควร จึงได้เข้าเรียนหนังสือไทย ในสำนักวัดจักรวรรดิราชาวาส กับ พระอาจารย์โพธิ์ ซึ่งอยู่ในปกครองของ ท่านเจ้าคุณพระวรญาณมุนี (เส็ง) เจ้าอาวาส ได้เรียนรู้อักขระสมัย ทั้งหนังสือไทยและหนังสือขอม ต่อมาได้บรรพชาเป็นสามเณรในสำนักวัดจักรวรรดิราชาวาส และเมื่อ อายุย่างเข้า ๒๑ ปี พระอาจารย์โพธิ์ได้ฝากไว้ในสำนัก ท่านพระครูธรรมจริยาภิรมย์ (สอน) เจ้าอาวาสวัดมหาพฤฒาราม โดยได้อุปสมบทเมื่อปี ๒๔๒๒ โดยท่านพระครูธรรมจริยาภิรมย์ (สอน) เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้เริ่มเรียนปริยัติธรรม ในสำนักอาจารย์โพธิ์ และอาจารย์ทรัพย์ (เปรียญ) แต่หาได้เข้าสอบในสนามหลวงไม่ ต่อมาปี ๒๔๒๕ ได้เป็นพระใบฎีกา ฐานานุกรมของพระครูธรรมจริยาภิรมย์ (สอน) และพระครูธรรมจริยาภิรัต (ปาน)

ปี ๒๔๓๐ ได้เป็นพระสมุห์ และได้เลื่อนขึ้นเป็นพระปลัด และพระครูปลัด ในเวลาต่อมาตามลำดับ

ปี ๒๔๕๘ เป็นผู้รักษาการในหน้าที่เจ้าอาวาส วัดมหาพฤฒาราม และเป็นเจ้าคณะหมวดบางรักด้วย

ครั้นถึง ปี ๒๔๕๙ ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรสมณศักดิ์ที่ พระครูสังวรยุตินทรีย์ ตำแหน่งพระครู เจ้าอาวาสโท และได้เลื่อนขึ้นเป็นพระครูชั้นเอกในปี ๒๔๖๓

ปี ๒๔๖๖ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ขึ้นเป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระธรรมธราจารย์

ปี ๒๔๖๗ ได้รับตราตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์

พระธรรมธราจารย์ (อ่อน) เป็นผู้มีความรอบรู้ในพระพุทธศาสนาอย่างแตกฉานในทุกด้าน รวมทั้งทางฝ่ายรามัญนิกาย ก็พูดได้และสวดได้ด้วย จนเป็นที่เคารพศรัทธานับถือของชาวพุทธเชื้อสายรามัญ (มอญ) อย่างกว้างขวาง นอกจากภาษารามัญอันเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว ภาษามคธ ท่านก็สามารถพูดโต้ตอบกับพระสงฆ์ชาวลังกาสิงหล ที่เคยมาพำนักอยู่ที่วัดมหาพฤฒาราม ได้อย่างคล่องแคล่วชำนิชำนาญมาก พระธรรมธราจารย์ มรณภาพเมื่อวันที่ ๕ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๘๔ ตรงกับวันอังคาร ขึ้น๑๓ ค่ำ เดือน ๙ ปีมะเส็ง เวลา ๑๐.๐๐ น. สิริชนมายุได้ ๘๒ ปีเศษ ๒ เดือน ๒๐ วัน ปัจจุบัน...มีรูปหล่ออยู่ที่วัดมหาพฤฒาราม ส่วนอัฐิอยู่ที่วัดแพรกษา ชาติภูมิเดิมของท่าน
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน370 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ30 บาท
วันเปิดประมูล - 14 เม.ย. 2564 - 21:30:50 น.
วันปิดประมูล - 15 เม.ย. 2564 - 21:38:50 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลนครเมืองเก่า (1.4K)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     370 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     30 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    pinits (497)

 

Copyright ©G-PRA.COM
www1