(0)
พระกริ่งปวเรศ วัดบวรนิเวศวิหาร ปี 2530 เนื้อนวะ พร้อมทองหนาๆ








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพระกริ่งปวเรศ วัดบวรนิเวศวิหาร ปี 2530 เนื้อนวะ พร้อมทองหนาๆ
รายละเอียดพระกริ่งปวเรศ วัดบวรนิเวศวิหาร ปี 2530 เนื้อนวะ พร้อมทองหนาๆ

ประวัติคร่าวๆในการจัดสร้าง
พระกริ่ง ปวเรศ ปี 2530 วัดบวรนิเวศวิหาร
เนื้อนวะโลหะผสมแก่ทองคำ
แบบพิมพ์ นายช่าง สำเนา จากองค์พระกริ่งปวเรศ องค์เดิมที่ประดิษฐานในวัดบวรฯ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน เททองชนวน ณ. วัดบวรฯ ในวันศุกร์ ที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๒๘ ด้วยพระองค์เอง
พระกริ่ง ปวเรศ พ.ศ. ๒๕๓๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน ทรงพระชนม์ครบ ๕ รอบ ทางวัดบวรฯ ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จำลองแบบสร้างพระกริ่งปวเรศ เพื่อเฉลิมฉลองศุภมงคลสมัยและเทิดพระเกียรติในวโรกาสนี้ การสร้างนั้นเททองภายในวัด และตกแต่งพระก็ทำภายในวัด การอุดผงพระและแต่งพระทำโดยช่างถนอม ช่างประสิทธิ์ ช่างหมู ทุกคนต้องรักษาศีลอุโบสถ และทำด้วยใจจงรักภักดี อุดพระนั้นทำสองชั้น โดยคราวแรกนำผงจิตลดาที่พระราชทานมาบรรจุไปก่อนกับเส้นพระเจ้า(เส้นผม) ของพระองค์ท่าน ทำอย่างนี้ทุกองค์ โดยมีเจ้าพนักงานในวังดูแลอย่างใกล้ชิด จากนั้นเมื่อบรรจุผงจิตลดาและเส้นพระเจ้าแล้วจึงปิดด้วยโลหะชั้นหนึ่งแล้วบรรจุเม็ดกริ่ง แล้วจึงปิดก้นพระ ตอกโค๊ต ๕ ไทยและอุณาโลมข้างบัวหลัง เป็นพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ ที่เปี่ยมด้วยการสร้างดี มีผงจิตรลดาบรรจุทุกองค์ พร้อมเส้นพระเจ้า

พระกริ่ง ปวเรศ 30
พระกริ่งปวเรศ เป็นสมัญญานามของพระกริ่งที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงสร้างขึ้นทราบกันมาว่า ทรงสร้างขึ้นเพื่อประทานแก่เจ้านายที่ทรงค้นเคยสนินสนมและเจ้านายที่ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ มีจำนวนน้อยมาก ไม่เกิน 30 องค์ทรงสร้างด้วยเนื้อนวโลหะ พุทธลักษณะพระกริ่งปวเรศนั้นสันนิษฐานว่าทรงสร้างขึ้นโดยอาศัยเค้าจากพระกริ่งจีนที่นิยมเรียกกันว่า *** พระกริ่งใหญ่ *** ในปัจจุบัน พระองค์ท่านจะทรงสร้างขึ้นในปีใดนั้นปัจจุบันไม่มีผู้ใดทราบ ภายหลังหลวงชำนาญเลขา ( หุ่น ) สมุห์บุญชีในกรมของพระองค์ ได้ขอประทานอนุญาตนำแบบพิมพ์ไปสร้างขึ้นอีกเท่าไรไม่ปรากฏ โดยที่พระกริ่งนี้สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงสร้างขึ้นจึงนิยมเรียกว่า พระกริ่งปวเรศ ในอาณาจักรพระเครื่องนับว่าพระกริ่งปวเรสเป็นพระโลหะที่มีค่านิยมสูงและหายากยิ่งที่จะเสาะแสวงหาไว้สักการะบูชา จึงเป็ฯปูชนียวัตถุที่มีค่าทางพุทธศิลป์และทางจิตใจ กล่าวได้ว่า พระกริ่งปวเรศเป็นพระกริ่งรุ่นแรกที่สร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ อีกทั้งยังมีส่วนส่งเสริมให้เกิดความนิยมสร้างพระพุทธปฏิมาในลักษณะเดียวกันนี้ในเวลาต่อมาอย่างแพร่หลาย

พระกริ่ง ปวเรศ
เนื่องในมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เจริญพระชนมพรรษา 5 รอบนักษัตร ในปี 2530 วัดบวรนิเวศวิหารทรงได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จำลองแบบ พระกริ่ง ปวเรศ ขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองสุภมงคลสมัยและเทิดพระเกียรติในมหามงคลวโรกาสนี้ พร้อมทั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานผงจิตรลดา เพื่อบรรจุในองค์พระกริ่งปวเรศที่สร้างใหม่นี้ทุกองค์

มวลสาร ทองชนวน โลหะต่างๆ และแผ่นยันต์หล่อพระ
พระกริ่ง ปวเรศ วัดบวรนิเวศวิหาร สร้างขึ้นด้วยเนื้อนวโลหะ ซึ่งประกอบด้วย ทองคำ เงิน ทองแดง สังกะสี ชิน เจ้าน้ำเงิน เหล็กละลายตัวบริสุทธิ์ และปรอทสะตุ ซึ่งนับเป็นโลหะธาตุต่างๆ ที่สำคัญและหายากตามตำรับวิธีการหล่อพระกริ่งแต่โบราณ เมื่อได้อายุตามควรแล้วผิวองค์พระกริ่งจะมีสีดำ ที่นิยมเรียกว่า *** เนื้อกลับดำ ***
ทองชนวนหล่อพระประกอบด้วย
- ทองชนวนพระกริ่งรุ่นเก่าที่สำคัญๆ ของวัดบวรนิเวศวิหาร
- ทองชนวนหล่อพระพุทธรูป ภปร. วัดบวรนิเวศ
- ทองชนวนหลวงพ่อมงคลบพิตร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ( ที่ยังคงเหลืออยู่ )
- ทองชนวนรุ่นเก่าของวัดสุทัศน์เทพวราราม
- ทองชนวนพระกริ่ง พระชัยวัฒน์ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
- ทองชนวนพระกริ่ง พระชัยวัฒน์ ภปร. ที่ระลึก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ทองชนวนอื่นๆ ที่ผู้มีจิตศรัทธาบริจาค
แผ่นยันต์พระอาจารย์จำนวนมาก ซึ่งกระทรวงมหาไทยและคณะศิษย์ในสมเด็จพระญาณสังวร รวบรวมจากวัดต่างๆ ของประเทศประกอบด้วยพระอาจารย์ในปี 2528 จำนวนมากกว่า 108 รูป และพระอาจารย์ที่มีชื่อเสียงที่มรณภาพไปก่อนแล้วอีกหลายสิบรูป

จำนวนพระ พระกริ่ง ปวเรศ 30 ที่จัดสร้าง
ตามโครงการสร้างพระกริ่ง - พระชัยวัฒน์ ปวเรศ 30 วัดบวรนิเวศวิหาร กำหนดให้สร้างพระกริ่ง - พระชัยวัฒน์ ปวเรศ จำนวน 25000 ชุด แต่ เนื่องจากำหนดให้ช่างเททองหล่อพระกริ่งทุกองค์ในพิธี ณ วัดบวรนิเวศวิหาร จึงทำการเททองหล่อพระตามกรรมวิธีแบบโบราณของไทย ซึ่งเป้นวิธีที่เหมาะสมที่สุดต่อการเททองหล่อพระในกำหนดพิธี ดังนั้น ช่างจึงต้องทำหุ่นองค์พระเพิ่มขึ้นเผื่อเสียไว้ตั้งแต่แรกเริ่ม เพื่อจะได้ทำการเททองหล่อพระทั้งหมดอย่างต่อเนื่องในพิธี การเททองหล่อพระครั้งนี้ได้พระกริ่ง - พระชัยวัฒน์ เป็นองค์พระครบทุกองค์ตามจำนวนหุ่นพระที่เตรียมไว้ปรากฏเป็นอัศจรรย์ประการหนึ่งที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ พระที่เห็นสมควรคงไว้เป็นช่อ มีดังนี้
พระกริ่งปวเรศ จำนวน 15 ช่อ
พระชัยวัฒน์ปวเรศ จำนวน 32 ช่อ

พิธีเททองหล่อพระกริ่ง ปวเรศ 30
พระบาทสมเด็๗พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเป็นพ้นล้นหาที่สุดมืได้ โปรดเกล้าฯ ทรงรับเชิญเสด็จพระราชดำเนินเททองหล่อพระกริ่ง - พระชัยวัฒน์ ปวเรศ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันศุกร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ .2528 เป็นปฐมมหามงคลฤกษ์ของพิธีเททองหล่อพระ ทองชนวนจากปฐมพิธีนี้จักเป็นชนวนในการหล่อพระสืบต่อไป ซึ่งสมเด็จพระญาณสังวรเป็นประธานพิธีการเททองหล่อพระ ณ วัดบวรนิเวศวิหารทั้งหมดก่อนประกอบพิธีพุทธาภิเษก

พิธีพุทธาภิเษก
การประกอบพิธีพุทธาภิเษกพระกริ่ง- พระชัยวัฒน์ ปวเรศ วัดบวรนิเวศวิหาร ได้ประกอบพิธีรวม 3 ครั้ง ดังนี้
ครั้งที่ 1 พิธีพุทธาภิเษกในคืนวันเสาร์ที่ 12 เมษายน 2529 ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมาร ทรงเป็นองค์ประธานประกอบพิธี
สมเด็จพระญาณสังวร ประธานพิธีอธิฐานจิต
ครั้งที่ 2 พิธีวันวิสาขบูชา วันพุธ - พฤหัสบดีที่ 21-22 พฤษภาคม 2529 ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร
สมเด็จพระญาณสังวร ประธานประกอบพิธี
ครั้งที่ 3 พิธีพุทธาภิเษก พระกริ่ง ปวเรศ วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน 2530 ณ พระอุโบสวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธี
สมเด็จพระสังฆราช ทรงจุดเทียนชัย
สมเด็จพระญาณสังวร ประกอบพิธีอธิษฐานจิต
พิธีครั้งนี้นับเป็นพิธีพุทธาภิเษก พระกริ่ง ปวเรศ 30 ที่เป็นทางการครั้งแรก ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ราคาเปิดประมูล5,000 บาท
ราคาปัจจุบัน33,600 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 11 ต.ค. 2564 - 10:01:34 น.
วันปิดประมูล - 13 ต.ค. 2564 - 20:58:40 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลBank2014 (136)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 12 ต.ค. 2564 - 08:59:16 น.



ทองทำมา15,000ครับได้ไปคุ้มสุดๆครับ


 
ราคาปัจจุบัน :     33,600 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    กุศลสร้าง (372)(2)

 

Copyright ©G-PRA.COM