(0)
เคาะเดียว พระกริ่งเจ้าสัวเยาวราช รุ่น1 ปี2559 สมเด็จพระเทพฯเสด็จเททอง สวยมาก กล่องเดิม








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องเคาะเดียว พระกริ่งเจ้าสัวเยาวราช รุ่น1 ปี2559 สมเด็จพระเทพฯเสด็จเททอง สวยมาก กล่องเดิม
รายละเอียดการสร้าง “พระกริ่ง” มีมาแต่โบราณ ประวัติพระกริ่ง เริ่มขึ้นที่ประเทศทิเบต และจีน จึงเรียกติดปากว่า พระกริ่งทิเบต และพระกริ่งหนองแส พระกริ่งเป็นพระพุทธเจ้าปางมาช่วยโปรดสัตว์โลก หรือเรียกกันว่า “พระไภษัชยคุรุ” เป็นพระพุทธเจ้าปางหนึ่งของลัทธิมหายาน ซึ่งหมายความว่า ทรงเป็นครูในด้านเภสัช คือการรักษาพยาบาล ต่อมาได้แพร่หลายมาก นิยมสร้างในเขมร เรียกว่า พระกริ่งอุบาเก็ง หรือพระกริ่งพนมบาเก็ง และพระกริ่งพระปทุมสุริยวงศ์

พระกริ่งจึงได้เข้ามาในประเทศในสมัยนั้น และโดยทั่วไปจะมีความเชื่อว่า พระกริ่งนั้นเป็นวัตถุมงคลที่สูงสุด หาค่ามิได้ และมีความศักดิ์สิทธิ์มาก พร้อมทั้งเชื่อว่า หากผู้ใดมีไว้ครอบครองจะพันภัยพิบัติ เกิดโชคลาภ เป็นวาสนาอันสูงส่ง และสามารถรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้ด้วย ยกตัวอย่างเช่น ในครั้งสมเด็จพระวันรัต (แดง) อาพาธเป็นอหิวาตกโรค สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงอาราธนาพระกริ่งลงในน้ำ ทำเป็นน้ำพระพุทธมนต์ ประทานแก่สมเด็จพระวันรัต (แดง) เมื่อท่านฉันน้ำพระพุทธมนต์นั้นแล้วก็บรรเทาหายอาพาธเป็นปกติ

อย่างไรก็ตาม ใน พ.ศ.๒๕๕๙ เป็นโอกาสที่สำคัญอย่างยิ่ง สมเด็จพระพุฒาจารย์ เจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยาราม ได้เมตตาจัดสร้างพระกริ่งและพระชัยวัฒน์ขึ้น เพื่อมอบเป็นที่ระลึกแก่พุทธศาสนิกชนที่บริจาคทุนทรัพย์สมทบทุนการศึกษาพระปริยัติธรรมของพระภิกษุสามเณร

พระกริ่งเจ้าสัว (เยาวราช) คำว่า เจ้าสัว นี้ มาจากภาษาจีน สำเนียงแต้จิ๋วว่า จ่อซัว (座山 - จีนกลางว่า จว้อซาน) จ๋อ 座 เป็นคำเดียวกับที่แปลว่าที่นั่ง แต่ในที่นี้ในความหมายว่า เป็นปึกแผ่นมั่นคง ซัว 山 แปลว่าภูเขา รวมความ จ่อซัว (เสียงจ๋อ กลายเป็นจ่อ เมื่อตามหลังด้วยเสียงสามัญตามหลักการออกเสียงจีนแต้จิ๋ว) แปลได้ว่า ขุนเขาอันมั่นคง หรือหมายถึงคหบดีร่ำรวยมั่งคั่งนั่นเอง ส่วนคำว่า เยาวราช นั้น เป็นชื่อถนนที่มีคนจีนอยู่หนาแน่น และเป็นแหล่งเศรษฐกิจแห่งหนึ่งที่มีร้านทอง มีการค้าขาย มีอาชีพมากมาย และมีเจ้าสัวอยู่จำนวนมาก

พุทธลักษณะ พระกริ่งเจ้าสัว (เยาวราช) รุ่น ๑ นี้ ได้พิมพ์มาจากพระกริ่งเบตง รุ่น ๑ ที่ช่างพิศาล วณิชชัยอาภรณ์ ผู้ออกแบบ สรรค์สร้าง มีพุทธลักษณะงดงาม เป็นรูปหล่อลอยองค์ ประทับนั่งขัดสมาธิ เหนือบัลลังก์บัวคว่ำบัวหงาย ๒ ชั้น ชั้นละ ๗ กลีบ พระเกศแบบบัวตูม ฐานพระเมาลีด้านหน้าปรากฏรูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว พระศกตูมก้นหอย พระหัตถ์ขวาวางที่พระชานุ ปางมารวิชัย พระหัตถ์ซ้ายถือวชิราวุธ ใต้ฐานปะก้น สำหรับบรรจุลูกกริ่ง ตอกโค้ดด้วยช่างมืออาชีพเป็นภาษาจีน ว่า 座山 และภาษาไทยว่า เยาวราช พร้อมกับเบอร์กำกับองค์พระ

ส่วนพระชัยวัฒน์ หรือพระกริ่งเยาวราช (เจ้าสัวน้อย) นั้น เป็นการย่อพิมพ์จากพระกริ่งที่มีขนาดหน้าตัก ๒ ซม. สูง ๔ ซม. ให้เหลือแค่ขนาด ๑ ซม. ส่วนพุทธลักษณะคล้ายกับพระกริ่งทุกประการ โดยได้นำช่อพระกริ่งมาหล่อเป็นองค์พระชัยวัฒน์ เพื่อเหมาะสำหรับเด็กหรือสตรีไว้แขวนติดตัว

ทั้งนี้ เมื่อวันตรุษจีนที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ ที่ผ่านมา ถือเป็นมหามงคลอย่างหาที่สุดมิได้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ มาทรงเททองหล่อพระกริ่งเจ้าสัว (เยาวราช) และทรงเปิดงานเทศกาลตรุษจีนเยาวราช โดยมีการประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดไตรมิตรวิทยาราม ในวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๙ เวลา ๑๔.๔๙ น. หลังเสร็จพิธีแจกวัตถุมงคลพระกริ่ง และพระกริ่งเยาวราช (เจ้าสัวน้อย) สำหรับผู้ร่วมพิธี
ราคาเปิดประมูล780 บาท
ราคาปัจจุบัน800 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ20 บาท
วันเปิดประมูล - 28 มี.ค. 2565 - 15:16:33 น.
วันปิดประมูล - 30 มี.ค. 2565 - 11:36:48 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลสรยุทธ (6.7K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 28 มี.ค. 2565 - 15:18:08 น.



สวยมาก กล่องเดิมครับ


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 28 มี.ค. 2565 - 15:23:24 น.



พิธีพุทธาภิเษก “พระกริ่งเจ้าสัวเยาวราช” และ พระชัยวัฒน์ (พระกริ่งเจ้าสัวน้อย) รุ่นเจ้าสัว เยาวราช ณ พระอุโบสถวัดไตรมิตรวิทยาราม เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานครเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2559 เวลา 19.19 น. สมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดไตรมิตรวิทยาราม จุดเทียนชัย พระพรหมมังคลาจารย์ (เจ้าคุณธงชัย ผ้ายันต์เลสเตอร์ หรือผ้ายันต์แพ้ไม่เป็น) วัดไตรมิตรฯ กรุงเทพมหานคร ดับเทียนชัย พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง 29 รูป ร่วมพิธีกรรมอันเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์ พร้อมนั่งปรกอธิษฐานจิตปลุกเสก อาทิ หลวงปู่ทอง วัดปลดสัตว์ หลวงพ่อชาญ วัดบางบ่อ หลวงพ่อแขก วัดสุนทรประดิษฐ์ หลวงปู่ฟู วัดบางสมัคร หลวงพ่อคง วัดเขากลิ้ง หลวงปู่เพิ่ม วัดป้อมแก้ว หลวงพ่อหล่ำ วัดสามัคคีธรรม หลวงปู่พูน วัดบ้านแพน หลวงพ่อหวั่น วัดคลองคูณ หลวงพ่อตี๋ วัดหูช้าง หลวงพ่อแม้น วัดหน้าต่างนอก หลวงพ่อเอื้อน วัดวังแดงใต้ หลวงพ่อเชย วัดละหารไร่ หลวงพ่อแถม วัดช้างแทงกระจาด หลวงพ่อสุรศักดิ์ วัดประดู่ หลวงพ่อติ๋ว วัดมณีชลขันธ์ หลวงพ่อชำนาญ วัดบางกุฎีทอง หลวงพ่อจักษ์ วัดซุ้ง หลวงพ่ออิฐ วัดจุฬามณี หลวงพ่อสูติ วัดในเตา เป็นต้น


 
ราคาปัจจุบัน :     800 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     20 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    serene (275)

 

Copyright ©G-PRA.COM
www1