(0)
พระระฆังหลังค้อน เนื้อทองเหลือง วัดระฆังฯ จ.กรุงเทพฯ ปี2453 สวยน่ารัก บัตรรับรอง GPRA ค่ะ







ชื่อพระเครื่องพระระฆังหลังค้อน เนื้อทองเหลือง วัดระฆังฯ จ.กรุงเทพฯ ปี2453 สวยน่ารัก บัตรรับรอง GPRA ค่ะ
รายละเอียดพระระฆังหลังค้อน วัดระฆังฯ ปี2453 เนื้อทองเหลือง จ.กรุงเทพฯ องค์นี้ รอยตัดด้านบน-ท้าย กระแสเนื้อโลหะ สีทองเหลืองสุก(ทองดอกบวบ) อยู่ต้น สร้างครั้งแรกดูง่ายสบายตา สภาพยังน่ารักน่าใช้ค่ะ
*ปิดไม่แพงพิจารณาชอบเชิญค่า...*

พระวัดระฆังหลังค้อน ปี2453 เนื้อทองเหลือง จ.กรุงเทพฯ
เมื่อกล่าวถึงวัดระฆังโฆสิตาราม ทุกคนจะต้องนึกถึงพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม จักรพรรดิแห่งพระเครื่องอันเลื่องลือ ของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) พระเก่าที่มีค่านิยมสูงลิ่วจนแทบแตะไม่ถึง
ความจริงแล้วยังมีการสืบทอดการสร้างพระเครื่องของวัดระฆังฯ ในรุ่นต่อๆ มาอีกมากมาย โดยเฉพาะพระรุ่นเก่าที่มีชื่อเสียงและพุทธคุณเป็นที่ปรากฏ คือพระวัดระฆังหลังค้อน ของ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ม.ร.ว.เจริญ อิศรางกูร)
ซึ่งเป็นที่นิยมสะสมและแสวงหากันอย่างกว้างขวางในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องและเหรียญคณาจารย์ รวมทั้งพุทธศาสนิกชนทั่วไปเช่นกัน แต่ถ้ากล่าวถึงสนนราคาที่ยังพอจับต้องได้ต้องยกให้ “พระวัดระฆังหลังค้อน”

พระวัดระฆังหลังค้อน เป็นพระเนื้อโลหะทองผสม มีขนาดเล็ก เริ่มวิธีการด้วย การส่งแผ่นทองเหลืองไปถวายพระเกจิอาจารย์สำนักต่างๆ จำนวนหลายสำนัก เพื่อให้ท่านลงจารอักขระเลขยันต์ แล้วส่งคืนกลับมา เมื่อรวมแผ่นทองเหลืองที่ลงเลขยันต์เสร็จแล้ว จึงอาราธนาพระเถรานุเถระผู้ทรงวิทยาคุณ
ทำพิธีปลุกเสกแผ่นทองเหลืองที่จะหล่อหลอมเทเป็นองค์พระ เมื่อเททองเป็นองค์พระแล้ว จึงเลื่อยออกเป็นกิ่งๆ จากแกนชนวน จากนั้นเลื่อยตัดออกเป็นแท่งๆพระวัดระฆังหลังค้อน เป็นพระเนื้อโลหะทองผสม มีขนาดเล็กลักษณะของแท่งพระที่เลื่อยออกมานั้น เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
พุทธลักษณะ เป็นพระพุทธรูปนั่งสมาธิ บนบัลลังก์บัว ๒ ชั้น ในซุ้มปรกโพธิ์เม็ด องค์เล็กกะทัดรัด กว้างประมาณ ๑.๕ ซม. สูงประมาณ ๒.๐ ซม. เนื้อทองผสมที่ใช้ในการหล่อนั้น มีชนวนรูปหล่อพระพุทธชินราช (จำลอง) วัดเบญจมบพิตร และชนวนรูปหล่อ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆัง ผสมอยู่เป็นจำนวนมาก
กรรมวิธีการหล่อพระ ในวาระแรก พ.ศ.๒๔๕๓ เป็นการหล่อแบบเป็นเส้นยาวๆ (๑ เส้นมีพระหลายองค์เป็นแนวยาว) เมื่อนำพิมพ์พระเข้าหุ่นดินแล้ววางบนรางโลหะ เสร็จแล้วทุบหุ่นดินออก และเคาะพระออกจากรางโลหะ โดยใช้สิ่ว หรือเครื่องมือมีคมตัดพระด้านบน และด้านล่าง ออกเป็นองค์ๆ
จากการเคาะพระออกจากรางโลหะ โดยใช้ค้อนนี้เอง จึงเป็นที่มาของคำว่า หลังค้อน หรืออาจเป็นเพราะว่า มีพระส่วนหนึ่งซึ่งด้านหลังองค์พระมีรอยบุบยุบลงไป เหมือนโดนค้อนทุบก็เป็นได้ และพระส่วนใหญ่ด้านหลังจะเรียบ ไม่มีอักขระเลขยันต์ใดๆ

พระวัดระฆังหลังค้อน ที่สร้างวาระแรก พ.ศ.๒๔๕๓ มีข้อสังเกต คือ องค์พระจะมีรอยตัดด้านบนและด้านล่าง หรือที่เซียนพระทั้งหลายเรียกกันติดปากว่า ตัดหัวตัดท้าย ลักษณะพิมพ์พระ เป็นรูปองค์พระปฏิมา ประทับนั่งปางสมาธิ บนอาสนะบัว ๒ ชั้น อยู่ภายในซุ้มครอบแก้ว
พื้นภายในเส้นครอบแก้วด้านหลังองค์พระเป็นปรกโพธิ์เหมือนกันหมด ลักษณะเป็น เม็ดกลมรายรอบเหนือพระเศียร เหมือนพระพิมพ์ปรกโพธิ์ แบ่งออกหลักๆ เป็น พิมพ์ล่ำและพิมพ์ชลูด สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ม.ร.ว.เจริญ อิศรางกูร) จัดสร้าง “พระวัดระฆังหลังค้อน” ในช่วงบั้นปลายของชีวิต เพื่อแจกแก่ลูกศิษย์ลูกหาไว้สักการบูชา
โดยทำการสร้างถึง ๒ ครั้ง ครั้งแรก สร้างและปลุกเสกในพระอุโบสถ วัดระฆังโฆสิตาราม และ ครั้งที่สอง สร้างและปลุกเสกที่หอกลางสระริมแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งทั้งสองครั้งนี้ จะมีลักษณะแม่พิมพ์เหมือนกัน ถ้าจะพิจารณากันว่าเป็นการสร้างครั้งใดให้ดูกระแสเนื้อของโลหะ
ในการหล่อครั้งแรกกระแสเนื้อจะออกสีเหลืองคล้ายทองดอกบวบ ส่วนในการหล่อครั้งที่ ๒ กระแสเนื้อจะออกสีเหลืองอ่อนและให้สังเกตุดินขึ้เบ้าที่เกาะแทรกอยู่ในพื้นผิวและรอยตอกด้านข้าง แต่ไม่ว่าจะเป็นการสร้างครั้งไหนก็ล้วนเป็นที่นิยมสะสมทั้งนั้นครับผม.

พุทธคุณ ของพระวัดระฆังหลังค้อน มีมากมาย เพราะเป็นพระที่มีอายุการสร้างมายาวนาน โดยเฉพาะพระที่สร้างในวาระแรก ถ้านับถึงปีนี้ อายุความเก่าของพระ ประมาณ ๑๐๐ กว่าปีขึ้นไปแล้ว
ประสบการณ์ที่เด่นมาก คือ คงกระพันชาตรี และแคล้วคลาดจากภัยพิบัติทั้งปวง เรื่องคงกระพันชาตรีนั้น สมัยก่อนถึงกับมีคำกล่าวกันว่า “ลงน้ำปลิงไม่เกาะ” ย่อมรับประกันได้ว่า เหนียวจริงๆ
ราคาเปิดประมูล550 บาท
ราคาปัจจุบัน7,050 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 03 ก.ค. 2565 - 20:50:58 น.
วันปิดประมูล - 04 ก.ค. 2565 - 21:07:32 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลaomm35 (412)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 03 ก.ค. 2565 - 20:51:44 น.



กระแสเนื้อของโลหะ เนื้อจะออกสีเหลืองคล้ายทองดอกบวบ ตัดหัวตัดท้าย ยุคต้น นิยม.


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 03 ก.ค. 2565 - 20:51:55 น.



กระแสเนื้อของโลหะ เนื้อจะออกสีเหลืองคล้ายทองดอกบวบ ตัดหัวตัดท้าย ยุคต้น นิยม


ข้อมูลเพิ่มเติม 3 - 03 ก.ค. 2565 - 20:52:33 น.



ยังมีพระที่น่าสนใจอีกนะค่ะ คลิกที่ฆ้อนได้เลยค่า.. เผื่อเป็นพระที่ท่านสมาชิกตามหา และ สะสมค่ะ.


 
ราคาปัจจุบัน :     7,050 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Berm_07 (859)

 

Copyright ©G-PRA.COM