(0)
พระงบน้ำอ้อย กรุลานทุ่ง- เศรษฐี จ.กำแพงเพชร พร้อมบัตรรับรองค่ะ







ชื่อพระเครื่องพระงบน้ำอ้อย กรุลานทุ่ง- เศรษฐี จ.กำแพงเพชร พร้อมบัตรรับรองค่ะ
รายละเอียดพระงบน้ำอ้อย กรุลานทุ่ง- เศรษฐี กำแพงเพชร อีก ๑ พิมพ์พระ หายากสุดๆ ของ พระกรุเมืองกำแพงเพชร ที่มีเอกลักษณ์ครบเครื่อง ทั้งเนื้อดินละเอียด แกร่ง ผิวเนื้อมีคราบกรุฝ้าขาว ราดำ เกาะแน่นบอกอายุความเก่า.....

พิมพ์พระปฏิมา ๑๐ พระองค์เรียงรายล้อมเป็นวงกลม หลังเรียบอูมนูนอย่าง งบน้ำอ้อย กับอีกชื่อที่พระเกจิฯยุคเก่าเรียกว่า พระบารมี ๑๐ ทิศ ที่มีพระคาถาเสกกำกับว่า “อิติปาระมิตตาตรึงสา อิติสัพพัญญมาค ตา อิติโพธิมะนุม ปัตโต อิติปิโสจะเตนะโม”.....

พระงบน้ำอ้อย กรุลานทุ่ง- เศรษฐี นี้เป็นอีกพระพิมพ์สำคัญที่มีน้อยพอๆกับพระชั้นนำของกรุทุ่ง–เศรษฐี ใช้แทนพระกำแพงซุ้มกอ กรุลานทุ่ง- เศรษฐี ได้เลยค่ะ นอนกรุขึ้นมากรุเดียวกัน พร้อมกัน.



พระงบน้ำอ้อย กรุลานทุ่ง- เศรษฐี กำแพงเพชร องค์นี้เส้นสายลายพิมพ์ ติดชัดครบถ้วน หลักฐานเนื้อนุ่มนวล ว่านดอกมะขาม ฝ้า ราดำ แลกลมกลืน เป็นพระดูง่าย ตามมาตราฐานสากล

"ใครมีกูไว้ไม่จน" เนื้อดินกรุบรมธาตุ แท้หายากและราคาไปไกลแล้ว ประวัติชัดเจนมีอยู่ในงานประกวด
ตำนานพระกรุทุ่งเศรษฐีที่ทำให้ได้รับความนิยมมากกว่ากรุอื่นๆก็คือเรื่องประวัติการสร้างพระ คนส่วนใหญ่เคยได้ยินเรื่องราวของแผ่นลานเงินที่จารึกประวัติการสร้างพระซุ้มกอกรุบรมธาตุ ที่มีบทความตอนหนึ่งว่า " ใครมีกูไว้ไม่จน " ซึ่งมีตำนานเล่าขานกันมาแต่ยุคโบราณว่า พระมหาเจดีย์องค์นี้นั้นเจ้าพระยาศรีธรรมโศกราชได้สร้างขึ้นเป็นพุทธบูชา ซึ่งคณะผู้สร้างประกอบไปด้วย พระฤๅษี สมณชีพราหมณ์ พราหมณาจารย์ มาประชุมพร้อมกันจักสร้างพระพิมพ์เพื่อทำการบรรจุเข้าไว้ในองค์พระมหาเจดีย์เพื่อเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนา

จำนวนกรุต่างๆในจังหวัดกำแพงเพชรตามประวัติรวบรวมได้ประมาณ 53 กรุ จะมีกรุทุ่งเศรษฐีรวมอยู่ด้วยมีจำนวน 9 กรุ วิธีการแบ่งกรุโดยทั่วไปอาศัยเส้นลำน้ำแม่ปิงเป็นหลัก แนวลำน้ำแม่ปิงไหลจากเหนือลงใต้ ให้นับทางฝั่งขวาของลำน้ำซึ่งเป็นทุ่งกว้างอยู่ตรงข้ามตัวเมืองกำแพงเพชร เรียกว่าทุ่งเศรษฐี

กรุทุ่งเศรษฐี ( 9 กรุ)ประกอบด้วย
1)วัดพระบรมธาตุ
2)วัดหนองพิกุล (นิยมเรียกสั้นๆว่า วัดพิกุล)
3)วัดซุ้มกอ หรือ นาตาคำ
4)บ้านเศรษฐี
5)วัดฤาษี
6)วัดน้อย หรือ ซุ้มกอดำ
7)วัดหนองลังกา
8)วัดเจดีย์กลางทุ่ง
และ 9)วัดหัวยาง

ทำไมคนทั่วไปจึงนิยมพระกรุทุ่งเศรษฐีมากกว่ากรุอื่น
เหตุผลหนึ่งที่ทำให้พระกรุทุ่งเศรษฐีได้รับความนิยมมากกว่ากรุอื่นๆก็คือเรื่องประวัติการสร้างพระ คนส่วนใหญ่เคยได้ยินเรื่องราวของแผ่นลานเงินที่จารึกประวัติการสร้างพระซุ้มกอกรุบรมธาตุ ที่มีบทความตอนหนึ่งว่า " ใครมีกูไว้ไม่จน "
จากประสบการณ์ของผู้บูชาเล่าลือกันว่า มีพุทธคุณดีทางแคล้วคลาด เมตตาสูง และอำนวยโชคลาภโภคทรัพย์มิได้ขาดมือ

พระเครื่องในสกุลกำแพงเพชรนั้น มีตำนานปรากฏชัดเจนจากการพบจารึกบนแผ่นลานเงิน ในกรุขณะรื้อพระเจดีย์องค์ใหญ่ของวัดพระบรมธาตุ เมืองนครชุม และเมื่อ พ.ศ.๒๓๙๒ สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี แห่งวัดระฆังฯ ซึ่งขึ้นมาเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชร ก็ได้อ่านศิลาจารึกอักษรไทยโบราณ
ที่วัดเสด็จ ฝั่งเมืองกำแพงเพชรมีอยู่ในจารึกได้กล่าวถึงพิธีการสร้างพระและอุปเท่ห์การอาราธนาพร ะ รวมถึงพุทธานุภาพที่มหัศจรรย์อย่างยิ่งของพระเครื่องสกุลกำแพงเพชรทั้งหลาย จากหลักฐานการศึกษา เทียบเคียงทั้งหลายมีข้อสันนิษฐาน ที่น่าเชื่อถือได้โดยสรุปว่า พระกำแพงเพชรนั้นสร้างโดยพระมหาธรรมราชาลิไท
เมื่อครั้งดำรงพระยศผู้ครองเมืองชากังราว ในฐานะเมืองหน้าด่านสำคัญของอาณาจักรสุโขทัย ก่อนที่จะได้ทรงรับสถาปนาเป็นกษัตริย์องค์ที่ ๕ แห่งราชวงศ์สุโขทัยและ ปลุกเสกโดยพระฤๅษี ดังนั้นอายุการสร้างของพระกำแพงเพชรจนถึงปัจจุบันจึงมีประมาณ ๗๐๐-๘๐๐ ปี พระกรุเมืองกำแพงเพชรกำเนิดที่พระบรมธาตุนครชุม
จังหวัดกำแพงเพชร เป็นพระเครื่องอันดับหนึ่ง ของเมืองกำแพงเพชรมาช้านาน พระที่พบในบริเวณทุ่งเศรษฐีนี้ถ้าเป็นพระเนื้อดินเผาแล้วจะมีเนื้อที่ละเอียดอ่อน พุทธลักษณะเป็นพระเนื้อดินผสมว่านและเกสรดอกไม้ พระเครื่องเมืองกำแพงเพชร เริ่มเป็นที่รู้จักและนิยมกันขึ้นมา ในสมัยของพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ ๕
"พุทธคุณของพระกรุเมืองกำแพงเพชร เน้นหนักทางโภคทรัพย์และ มหานิยม" ผู้ใดมีไว้ในครอบครองจะส่งผลความเจริญก้าวหน้าให้กับชีวิต มีครบเครื่องไม่ว่าเรื่องเมตตามหานิยม แคล้วคลาด ตลอดจนเรื่องโชคลาภ จนมีคำพูดที่พูดติดปากกันมาแต่โบราณกาลว่า “มีกูแล้วไม่จน” ถ้าไปในที่ต่างๆ อยากกินน้ำ หาน้ำไม่ได้
ท่านให้อาราธนาพระใส่ไว้ในปาก หายอยากน้ำแล ถ้าเอาพระไว้บนศีรษะแล้ว ปืนแลหน้าไม้ยิงมาเป็นห่าฝนก็ไม่ถูกตัวเรา เป็นต้น มีเรื่องเล่าขานต่อๆ กันมาว่า แม้องค์พระจะชำรุดเหลือเพียงครึ่งองค์ หรือแค่เพียงส่วนพระบาทหายไป พุทธคุณพระกำแพง เหล่านี้เชื่อถือกันมาช้านานแล้วตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ฯลฯ

ผู้มีวาสนาได้ครอบครองพระเครื่องเมืองกำแพงฯ มีตำนานเล่าขานกัน มาดังนี้แล ฯ

๑) ก่อนคล้องพระ ให้อาราธนาว่า .. พุทธ สัง มัง คะลัง โล เก ฯ .. พุทธัง อาราธนานัง ธัมมัง อาราธนานัง สังฆัง อาราธนานัง ฯ .. พุทธัง ประสิทธิ เม ธัมมัง ประสิทธิ เม สังฆัง ประสิทธิ เม ฯ แล้ว บริกรรมว่า " อิ ติ ปิ โส ภะ กู รา ติ ฯ " 3 จบ หรือ 7 จบ แล้วตามด้วย " อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ ภะ ฯ " 3 จบ หรือ 7 จบ จะศักดิ์สิทธิ์ทุกประการแล ฯ

๒.) จะออกผจญข้าศึก ศัตรู หรือ ออกสงคราม ให้ เอาพระใส่น้ำมันหอม หรือน้ำมันงา เสกด้วย นวหรคุณ " อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ ภะ ฯ " แล้วเอาน้ำมันหอมทาผม จะศักดิ์สิทธิ์ ตามปรารถนาทุกประการแล ฯ

๓) จะให้คงกระพันชาตรี ให้เอาพระสรงน้ำมันหอม แล้วเสกด้วย " อิ ติ ปิ โส ภะ กู รา ติ ฯ " เสก ๓ จบ หรือ ๗ จบ แล้วใส่ในขันสำริด อธิษฐานตามปรารถนาเถิด จะเกิดผลทุกประการ แล ฯ

๔) จะให้เป็นเมตตามหานิยม ใคร่มาตุคาม ให้เอาพระสรงน้ำมันหอมใส่ใบพลูทาตัว จะประสิทธิ์แก่ชนทั้งหลาย แล ฯ

๕) จะให้สง่า เจรจาเป็นที่น่าเกรงขาม เป็นมหาอำนาจ ให้เอาพระใส่น้ำมันหอม แล้วนำน้ำมันหอม ไปหุงขี้ผึ้ง เสกด้วย " อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ ภะ ฯ " ๗ จบ แล้วใช้ขี้ผึ้งทาปาก

๖) จะให้ค้าขายดี มหานิยม เดินทางไกล ขึ้นรถลงเรือ ให้นมัสการด้วย หัวใจพาหุง " พา มา นา อุ กะ สะ นะ ทุ ฯ " แล้ว เอาพระสรงน้ำมันหอม แล้วเสกด้วยพระพุทธคุณ " อิ ติ ปิ โส ภะ กู รา ติ ฯ "๗ จบ จะ ประสิทธิ์ แก่คนทั้งหลายแล ฯ

๗) จะให้สวัสดี สถาพรทุกวัน ให้เอาดอกบัว หรือ ดอกไม้บูชาทุกวัน ปรารถนาสิ่งใดจะสมปรารถนาทุกประการแล ฯ

๘) จะให้ความสูญ ให้เอาพระสรงน้ำมันหอม แล้วเอาด้าย ๑๑ เส้นชุบน้ำมันหอมแล้วนำไปทำไส้เทียนถวายพระ แล้วอธิษฐานตามปรารถนาแล ฯ

๙) ถ้าจะสระหัว ให้เขียนยันต์ไส้เทียนใส่ไส้เทียน ยันต์ตามนี้ ขณะเขียนยันต์ใส่น้ำสระผม ให้บริกรรมคาถาดังนี้
" ทะ ธิ วิ ผะมะ อะ มะ พะ ปะติ พะ มง คุ ฯ อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ ภะ ฯ "แล้ง เสกด้วยคาถาว่า " นะ โม ฯ ๓ จบ …. แล้วว่า พาหุง " พา มา นา อุ กะ สะ นะ ทุ ฯ" แล้วว่า " อิ ติปิโส ภะคะวา มหาเชยยังมังคะลัง " แล้วตามด้วย " นะ มะ นะ อะ นอกอ นะ กะ กอ ออ นอ อะ นะอะกะอัง อุมิ อะมิ มะหิสุตัง สุนะพุทธัง อะสุนะอะ ฯ แล้วว่า " กิริมิทิ กุรุมุทุ กะระมะทะ เกเรเมเท ฯ " เสกแต่ละบทว่า ๓ จบ หรือ ๗ จบ แล ฯ จากนั้นจึงลงมือสระผม แล
ราคาเปิดประมูล550 บาท
ราคาปัจจุบัน10,750 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 10 ก.ค. 2565 - 21:11:39 น.
วันปิดประมูล - 11 ก.ค. 2565 - 21:30:53 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลaomm35 (408)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 10 ก.ค. 2565 - 21:11:59 น.



ยังมีพระที่น่าสนใจอีกนะค่ะ คลิกที่ฆ้อนได้เลยค่า.. เผื่อเป็นพระที่ท่านสมาชิกตามหา และ สะสมค่ะ.


 
ราคาปัจจุบัน :     10,750 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    บุญพา (993)(3)

 

Copyright ©G-PRA.COM