(0)
ตะกรุดยันต์ตรี หลวงปู่หลุย วัดท่าเกวียน จ.นนทบุรี ยาว2.5นิ้ว ปี2512 พร้อมบัตรสมาคม








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องตะกรุดยันต์ตรี หลวงปู่หลุย วัดท่าเกวียน จ.นนทบุรี ยาว2.5นิ้ว ปี2512 พร้อมบัตรสมาคม
รายละเอียดหลวงปู่หลุย วัดท่าเกวียน เป็นศิษย์สายตรงหลวงปู่กลิ่น วัดสะพานสูง ได้วิชาการทำตะกรุดโสฬสและตะกรุดยันต์ตรีท่านได้มาเต็มๆครับ ลงรักถักเชือก จึงเป็นอีก1ตะกรุดสายสะพานสูงที่ไม่ควรมองข้าม ของท่านดีจริงประสบการณ์เยี่ยมครับ
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน1,950 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 20 ก.ค. 2565 - 19:16:42 น.
วันปิดประมูล - 21 ก.ค. 2565 - 19:25:34 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลtum087 (945)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 20 ก.ค. 2565 - 19:17:23 น.



ประวัติหลวงปู่หลุย อดีตเจ้าอาวาสวัดท่าเกวียน ตำบลคลองข่อย อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี พระครูพุฒินนทคุณ (หลวงปู่หลุย) นามเดิมชื่อ หลุย นามสกุล ปานสุข (ปั้นสุข) ฉายา พุทธฺญาโณ นามโยมบิดา นายสุข ปานสุข นามโยมมารดา นางยิ้ม ปานสุข ชาติกาล 6 ฯ 1 ปีชวด วันศุกร์ แรม 8 ค่ำ เดือนอ้าย วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2443 ณ บ้านแหลมฝั่งเหนือ คลองข่อย ปากเกร็ด นนทบุรี อาชีพทำนา มีพี่น้องร่วมบิดา 5 คน คือ 1. นางปุ่น ปั้นสุข ถึงแก่กรรม 2. นางนาก ปั้นสุข ถึงแก่กรรม 3. นางเจ๊ก ปั้นสุข ถึงแก่กรรม 4. นางไท ปั้นสุข ถึงแก่กรรม 5. นางอิน ปั้นสุข ถึงแก่กรรม พี่น้องร่วม มารดา ไม่มี ท่านเป็นลูกคนเดียวของแม่ เมื่อวัยเด็ก บิดามารดาย้ายไปอยู่บ้านแหลมเหนือ ตำบลบางตะไนย์ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี บิดาได้ไปฝากให้ศึกษาเล่าเรียนเป็นเด็กวัดที่วัดอินทาราม อยู่กับอาจารย์กล่อม จนอายุได้ 18-19 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรอยู่ที่วัดอินทาราม โดยมีท่านเจ้าคุณพระสุเมธาจารย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ อายุได้ 21 ปี ได้อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดอินทาราม มี ท่านเจ้าคุณพระสุเมธาจารย์ เจ้าคณะจังหวัดนนทบุรี วัดปรมัยยิกาวาส เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูวิโรจน์ วัดเตย เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระปลัด วัดบ่อ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ จำพรรษา อยู่ที่วัดอินทาราม ได้ศึกษาพระธรรมวินัยที่วัดนี้ 2 พรรษา แล้วย้ายมาจำพรรษาที่วัดท่...


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 20 ก.ค. 2565 - 19:18:49 น.

ประวัติหลวงปู่หลุย อดีตเจ้าอาวาสวัดท่าเกวียน ตำบลคลองข่อย อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี พระครูพุฒินนทคุณ (หลวงปู่หลุย) นามเดิมชื่อ หลุย นามสกุล ปานสุข (ปั้นสุข) ฉายา พุทธฺญาโณ นามโยมบิดา นายสุข ปานสุข นามโยมมารดา นางยิ้ม ปานสุข ชาติกาล 6 ฯ 1 ปีชวด วันศุกร์ แรม 8 ค่ำ เดือนอ้าย วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2443 ณ บ้านแหลมฝั่งเหนือ คลองข่อย ปากเกร็ด นนทบุรี อาชีพทำนา มีพี่น้องร่วมบิดา 5 คน คือ 1. นางปุ่น ปั้นสุข ถึงแก่กรรม 2. นางนาก ปั้นสุข ถึงแก่กรรม 3. นางเจ๊ก ปั้นสุข ถึงแก่กรรม 4. นางไท ปั้นสุข ถึงแก่กรรม 5. นางอิน ปั้นสุข ถึงแก่กรรม พี่น้องร่วม มารดา ไม่มี ท่านเป็นลูกคนเดียวของแม่ เมื่อวัยเด็ก บิดามารดาย้ายไปอยู่บ้านแหลมเหนือ ตำบลบางตะไนย์ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี บิดาได้ไปฝากให้ศึกษาเล่าเรียนเป็นเด็กวัดที่วัดอินทาราม อยู่กับอาจารย์กล่อม จนอายุได้ 18-19 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรอยู่ที่วัดอินทาราม โดยมีท่านเจ้าคุณพระสุเมธาจารย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ อายุได้ 21 ปี ได้อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดอินทาราม มี ท่านเจ้าคุณพระสุเมธาจารย์ เจ้าคณะจังหวัดนนทบุรี วัดปรมัยยิกาวาส เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูวิโรจน์ วัดเตย เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระปลัด วัดบ่อ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ จำพรรษา อยู่ที่วัดอินทาราม ได้ศึกษาพระธรรมวินัยที่วัดนี้ 2 พรรษา แล้วย้ายมาจำพรรษาที่วัดท่าเกวียน ในสมัยอาจารย์เพชร เป็นเจ้าอาวาส บวชอยู่ได้ 3 พรรษา ก็ลาสิกขาบทเป็นฆารวาส มีครอบครัว ประกอบอาชีพทำนาอยู่ประมาณ 2-3 ปี ก็ได้มีจิตศรัทธากลับมาอุปสมบทใหม่ ได้อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดอินทาราม ตำบลบางตะไนย์ ในปี พ.ศ.2470 มี พระครูวิโรจน์ วัดตำหนักเหนือ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูวินัยธร (ฟัก) วัดเตย เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ชื่น วัดเตย เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อบวชแล้ว ได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดท่าเกวียน ในสมัยพระอธิการทองใบเป็นเจ้าอาวาส ได้ศึกษาอักษรขอมและพระธรรมวินัย แต่ท่านไม่ได้เข้าสอบธรรมสนามหลวง ได้เรียนให้เกิดความรู้ความเข้าใจในทางพระธรรมวินัยจึงไม่มีใบประกาศนียบัตร ในทางธรรมเช่นพระองค์อื่นๆ ท่านประพฤติปฏิบัติธรรมวินัยเป็นที่เรียบร้อย มีศีลวัตเป็นที่พอใจของพระอุปัชฌายาจารย์และพระเถระผู้ใหญ่ ในปี พ.ศ. 2482 จึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดท่าเกวียน พ.ศ. 2506 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระครูชั้นประทวน พ.ศ. 2519 ได้รับพระราชทานเป็นพระครูชั้นสัญญาบัตร ที่ "พระครูพุฒิ นนทคุณ" มีนิยภัต เดือนละ 50 บาท เมื่อได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดท่าเกวียนแล้ว ท่านได้พัฒนาวัดให้เจริญรุ่งเรืองในด้านต่างๆมาเป็นลำดับ ประวัติวัดท่าเกวียน ประมาณปีพุทธศักราช 2400 หลวงปู่ธุดงค์ท่านหนึ่งได้เดินทางผ่านมาถึงท่า น้ำปลายคลองบ้านแหลมที่มีคนนำเกวียนขนของมาขาย เช่น ขายข้าวเปลือก และสิ่งของอื่นๆมาแลกเปลี่ยนและซื้อขายกับพ่อค้าที่มาจอดคอยซื้อที่ริมคลอง เป็นประจำ ซึ่งสมัยนั้นแถบนี้ไม่มีวัด เมื่อท่านได้โปรดญาติโยมทางระแหง หน้าไม้ จะเป็นเวลาใกล้เพลพอดี ท่านจึงหยุดพักและฉันเพลที่นี่เป็นประจำ ต่อมาท่านได้สร้างศาลาหลังเล็กๆหนึ่งหลังสำหรับเป็นที่พักและฉันเพล บริเวณนี้เป็นป่าต้นขนาก ต่อมามีชาวบ้าน มีนายทอง ใจเย็น นายบุญยักษ์ (ไม่ทราบนามสกุล) นายบุญโต้ง ปานเฟือง นายบุญปลูก เรืองฉาย นายอ่อง นายชุ่ม นายพุฒ นายแสน และนางน้อย ได้ร่วมกำลังกายและกำลังทรัพย์ สร้างกุฏิขึ้นหนึ่งหลัง เพื่อเป็นที่พักอาศัยของหลวงปู่ธุดงค์และพระที่ร่วมเดินทางมากับท่านด้วย ต่อมาได้สร้างเป็นศาลาหลังเล็กๆมุงด้วยสังกะสีขึ้นมาอีกหลังหนึ่งเอาไว้ สำหรับให้ชาวบ้านมาทำบุญ ที่ปลูกสร้างนี้เป็นที่ของนายบุญยักษ์ ประมาณ 18 ไร่ ประชาชนสมัยนั้น เรียกชื่อที่ที่หลวงปู่ธุดงค์มาพักแรมนั้นว่า "วัดท่าเกวียน" ต่อมาในสมัยอาจารย์คง เจ้าอาวาสวัดท่าเกวียน องค์ที่ 3 ขออนุญาตสร้างวัดอย่างเป็นทางการขอพระราชทานวิสุงคามสีมา (ใบตราตั้งวัดธราธรรมาราม) เมื่อ พ.ศ. 2441 พระราชทานตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน รัตนโกสินทร์ศก 119 ศาสนากาล 2443 เป็นวัดที่ 11618 แห่งรัชกาลปัจจุบัน ชื่อว่า "วัดธราธรรมาราม" แขวงเมืองนนทบุรี แต่ชาวบ้านยังเรียกชื่อตามนิมิตเดิมว่า "วัดท่าเกวียน" มาจนทุกวันนี้ ท่าน อาจารย์คง ได้ชักชวนชาวบ้าน ขุดสระถมที่สำหรับสร้างโบสถ์ โบสถ์เดิมใช้เสาไม้ มุงจาก พูนดินยกพื้นสูง พอถึงสมัยพระอธิการทองใบ (เจ้าอาวาสองค์ที่ 7) จึงได้ซ่อมแซมด้วยอิฐถือปูนเสาคอนกรีตไส้ไม้ หลังคามุงกระเบื้องดินเผา ต่อมาถึงสมัยพระครูพุฒินนทคุณ (หลวงปู่หลุย เจ้าอาวาสองค์ที่8) ได้ซ่อมแซมเพิ่มเติม ใช้กระเบื้องเคลือบ ทำช่อฟ้าใบระกา ปรับปรุงพื้นโบสถ์เป็นหินขัดมัน พร้อมทั้งซ่อมฝาผนังโบสถ์ใหม่ และร่วมกับพระอาจารย์ทองดี อาราธนาพระพุทธชัยมงคล หรือหลวงพ่อดำ มาจากวัดเลียบที่เป็นพระพุทธรูป 1 ใน 2 องค์ที่โบสถ์ถูกระเบิดจากสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดไฟไหม้เสียหายทั้งหลัง แต่พระพุทธรูปทั้ง 2 องค์ มีเพียงเขม่าควันดำทั้งองค์เท่านั้นมิได้ชำรุดเสียหายแม้แต่น้อย มาเป็นพระประธานในพระอุโบสถ และบูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถให้สวยงามมั่นคงสืบต่อไป ใน ปีพุทธศักราช 2549 สมัยพระครูใบฎีกาเตือน สัญญจิตโต ซ่อมแซมพระอุโบสถอีกครั้งเนื่องจากเสาด้านนอกชำรุดเสียหาย หลังคาบางส่วนชำรุด บูรณะแล้วเสร็จในปีนั้น


 
ราคาปัจจุบัน :     1,950 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    cedric888 (265)

 

Copyright ©G-PRA.COM