(0)
พระพิมพ์เชียงแสนสองหน้า(พบน้อย) เนื้อดิน กรุวัดบางยี่หน จ.สุพรรณบุรี-F-02-พร้อมบัตรรัยรองพระแท้ครับ







ชื่อพระเครื่องพระพิมพ์เชียงแสนสองหน้า(พบน้อย) เนื้อดิน กรุวัดบางยี่หน จ.สุพรรณบุรี-F-02-พร้อมบัตรรัยรองพระแท้ครับ
รายละเอียดพระกรุบางยี่หน พิมพ์เชียงแสน จ.สุพรรณบุรี เนื้อดิน ปี ๒๔๔๕ พระดีมีพุทธคุูณสูง
เมื่อหลายสิบปีก่อน พระกรุบางยี่หน สำแดงปรฏิหารย์ สยบอานุภาพอาวุธปืนสงคราม ที่เมืองขุนแผน ในคราวท้าลอง ชิงเงินเดิมพัน จนเป็นที่โด่งดังเกรียวกราวไปทั่วแวดวงการฯ

พระกรุบางยี่หน...ยิงไม่ออก
ใช่! ซึ่งเรื่องนี้ ชาวเมืองขุนแผนต่างทราบกันเป็นอย่างดี และด้วยเหตุนี้เอง นักเล่นพระแถบเมืองสุพรรณ อ่างทอง อยุธยา จึงซุ่มเก็บสะสม พระกรุบางยี่หน ไม่ยอมแพร่งพรายเกี่ยวกับประสบการณ์อภินิหารให้คนต่างถิ่นทราบ
เพราะกลัวคนอื่นจะแย่งกันเก็บ พลอยทำให้พระหายาก และมีราคาแพงขึ้นนั้นเอง!
พระ กรุบางยี่หน เป็นพระเก่าเคียงคู่วงการพระเครื่องมาโดยตลอดระยะเวลา ๓๐ ปี ถึงแม้ว่าราคาเล่นหาจะไม่สูงเท่าใดนักก็ตาม แต่นับว่าเป็นพระกรุเก่าที่หายากยิ่งและไม่ค่อยได้พบเห็นบ่อยนัก
เซียน พระรุ่นเก่า ๆ ต่างทราบกันดีว่า...พระกรุบางยี่หน ราคาเบาสบายก็จริงอยู่ แต่เปี่ยมล้นไปด้วยพุทธคุณในด้านมหาอุด และคงกระพันชาตรี สมแล้วกับเป็นพระเก่า ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเน้นพุทธคุณในด้านนี้อย่างแลเห็นได้ชัด
ปัจจุบัน สันนิษฐานกันว่า พระกรุยี่หน มีอายุการสร้าง เกือบ ๑๐๐ ปี ฉะนั้นท่านผู้อ่านไม่ควรมองข้าม ความสำคัญ ของพระกรุนี้เป็นอันขาดและที่สำคัญราคาเช่าหาก็ยังไม่แพง จนเกินขอบเขตมากนั้น ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบถึงคุณค่ากับราคา นับว่ายังห่างกันราวฟ้ากับดิน
วัดบางยี่หน อันเป็นสถานที่แตกกรุของพระกรุบางยี่หน อันเลื่องลือนั้น อยู่ที่ปากคลองบางยี่หน ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี คลองบางยี่หนเป็นคลองขุดสมัยโบราณ มีประตูระบายน้ำของกรมชลประทาน ชาวบ้านแถวนั้นเรีบกว่า “ประตูน้ำบางยี่หน”
เมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๕๐๔ ได้มีชาวมอญตระเวณค้าขายสินค้าทางเรือ มาจอดเทียบท่าใกล้วัดบางยี่หน เพื่อพักอาศัยค้างแรมก่อนที่จะเดินทางต่อไป พอตกกลางคืนชาวมอญพ่อค้าผู้นั้นได้เข้าไปลักขุดพระในองค์เจดีย์ ได้พระไปจำนวนหนึ่ง
เผอิญขณะที่ชาวมอญหัวขโมยในคราบพ่อค้ากำลังขนถ่าย พระออกจากองค์เจดีย์ สุนัขภายในวัดส่งเสียงเห่าหอนไปทั่ว ทำให้พระอาจารย์พ่วง สุวัณโณ เจ้าอาวาสวัดบางยี่หน ในสมัยนั้น พร้อมพระลูกวัด ตื่นคว้าไฟฉายตรงดิ่งมายังเจดีย์ เพื่อตรวจดูว่าเกิดอะไรขึ้น ?
ปรากฎว่า...
พบพระเครื่ององค์เล็กขนาดปลายนิ้วก้อย เนื้อดินเผากระจัดกระจายตกเรี่ยราดตามพื้นและภายในองค์เจดีย์จำนวนหนึ่ง
พระอาจารย์พ่วง จึงสั่งให้พระลูกวัดช่วยกันเก็บพระดังกล่าวขึ้นไปไว้บนกุฏิของท่าน
จน กระทั่งข่าว พระกรุแตก ที่วัดบางยี่หนแพร่สะพัดไปทั่วบาง ชาวบ้านทั้วใกล้ไกล จึงแห่มาขอพระจากพระอาจารย์พ่วง จนพระใกล้หมด ท่านจึงงดแจก เพื่อเก็บไว้ให้เป็นที่ระลึกแก่คณะผ้าป่าและกฐินซึ่งเดินทางมาทอดที่วัด
ประวัติการสร้างพระกรุบางยี่หน
พระ กรุบางยี่หน ทางวัดได้สืบความเป็นมาจนได้หลักฐานแน่ชัดว่า หลวงพ่อหยัด อดีตเจ้าอาวาสวัดบางยี่หน เป็นผู้สร้างขึ้นในราวปี พ.ศ. ๒๔๔๕ แล้วบรรจุลงไว้ภายในเจดีย์ เพื่อสืบต่อพุทธศาสนาตามคตินิยมโบราณ
หลวง พ่อหยัด องค์นี้เป็นพระเกจิอาจารย์ดังแห่งเมืองขุนแผนอีกท่านหนึ่ง รุ่นราวคราวเดียวกันกับ หลวงพ่อเนียม วัดน้อย ว่ากันว่า...หลวงพ่อหยัด ท่านเป็นพระที่คงแก่เรียน เชี่ยวชาญพระเวทอาคม และวิปัสสนากรรมฐาน และเป็นสหธรรมิก (สหาย) กับหลวงพ่อเนียม วัดน้อย ซึ่งท่านทั้งสองมักไปมาหาสู่แลกเปลี่ยนวิชาอาคมกันและกันเสมอ
ในราวปี พ.ศ.๒๔๔๕ หลวงพ่อหยัดได้สร้างพระเครื่อง เนื้อดินเผา โดยท่านได้แกะแม่พิมพ์ด้วยตนเอง หลังจากนั้นก็ให้บรรดาพระเณรนำดินภายในวัดช่วยกันกรองกรวดหินทรายแล้วนวดจน ได้ที่แล้วนำมากดเป็นพิมพ์พระ
หลังจากนั้นก็ทำการสุมไป เพื่อเผาพระให้สุกโดย หลวงพ่อหยัด ทำสมาธิเดินวนเวียนอยู่รอบ ๆ เตาเผา เพ่งกสิน เป็นการปลุกเสกไปในตัว แบบเดียวกันกับการปลุกเสกพระเครื่องของหลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน และหลวงพ่อแดง วัดทุงคอก
เมื่อพระสุมไปจนได้ที่ หลวงพ่อหยัดจึงนำพระทั้งหมดปลุกเสกอีกครั้ง เผอิญขณะนั้น หลวงพ่อแก้ววัดสวนหงษ์ อำเภอบางปลาม้า พระเกจิอาจารย์ยุดเดียวกันกับท่านมาเยี่ยมเยียนท่านที่วัดบางยี่หน หลวงพ่อหยัดจึงนิมนต์หลวงพ่อแก้วปลุกเสกพระเครื่องอีกครั้ง
ก่อนที่จะนำพระดังกล่าวทั้งมดบรรจุเจดีย์
พระ กรุบางยี่หน เป็นพระเนื้อดินเผา มี ๒ พิมพ์ คือ พิมพ์เชียงแสน และ พิมพ์ชินราช ขนาดองค์พระทั้งสองพิมพ์ไล่เลี่ยกัน คือกว้างประมาณ ๑.๕ ซ.ม. และสูงประมาณ ๓ ซ.ม.
• พิมพ์เชียงแสน
เป็นพระพิมพ์ ๒ หน้า ลักษณะรูปทรงห้าเหลี่ยมเว้ามุมตามซุ้มองค์พระ ตรงกลางเป็นรูปองค์พระพุทธปวงสมาธิ ขัดสมาธิเพชร ส่วนมากพระพักตร์เลือน ไรพระศกโค้งเล็กน้อย พระโมลีใหญ่ เกศบัวตูม พระกรรณสั้น องค์ปฏิมากรล่ำสัน แบบพระ ศิลปเชียงแสน
นักเลงพระจึงขนานนาม พระพิมพ์นี้ว่า... “พิมพ์เชียงแสน”
องค์พระประทับเหนืออาสนะบัวหงาย ๙ กลีบมีซุ้มโดยรอบเป็รัศมี พุทธลักษณะตลอดจนรายละเอียดต่างๆ เหมือนกันทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
• พิมพ์ชินราช
เป็น พระพิมพ์ ๒ หน้า ด้านหน้าเป็นองค์พระพุทฑปางสมาธิ ขัดสมาธิเพชร ประทับอยู่บนอาสนฐานบัวคว่ำบัวหงาย ๗ กลีบ ภายในซุ้มเรือนแก้วแบบเดียวกันกับพระพุทธชินราช วัดใหญ่พิษณุโลก ด้านหลังเป็นพระ ๒ ปาง คือ พระปางมารวิชัยองค์หนึ่ง และ พระปางประทับยืนองค์หนึ่ง อยู่ภายในซุ้มเรือนแก้วและซุ้มเส้นลวด
จากการที่ซุ้มองค์พระด้านหน้า ลักษณะคล้ายคลึงกับ พระพุทธชินราช วัดใหญ่พิษณุโลก นักเลงพระจึงขนานนามพระพิมพ์นี้ว่า “พิมพ์ชินราช”
ส่วน เนื้อพระทั้งสองพิมพ์นั้นเหมือนกัน คือ เป็นพระ เนื้อดินเผา มีความละเอียดและแกร่งมาก แสดงว่าการคัดเนื้อดิน ตลอดจนการกรองกรวดทรายและนวดดินให้เข้ากันทำอย่างประณีต
บางองค์จะปราก ฎก้อนขาว ๆ คล้ายกับพระหลวงพ่อโหน่ง แต่ไม่ปรากฎให้เห็นทุกองค์บางองค์ไม่มีก้อนขาวดังกล่าวก็มาก และในบางองค์เมื่อส่องด้วยกล้องขยายจะพบแร่ทรายเงินทรายทองระยิบระยับงดงาม ยิ่งนัก
ส่วนสีของเนื้อพระนั้น เป็นธรรมดาสำหรับพระเนื้อดินเผาจะต้องมีหลายสี คือ แดง, เทา, น้ำตาล, ดำ และขาวแกมเหลือง
ส่วน คราบกรุ ของพระกรุบางยี่หนนี้คราบ เกาะติดบาง มาก จะปรากฏให้เห็นเฉพาะองค์ที่ยังไม่ผ่านการใช้เท่านั้น หากเป็นพระที่ถูกสัมผัสจับต้องบ่อย ๆ คราบนี้ก็จะหลุดไป เพราะพระกรุนี้บรรจุอยู่ที่สูงไม่จมน้ำ ฉะนั้น คราบกรุจึงไม่หนาแน่นเป็นเพียงฝ้าจับโดยผิวเผือนเท่านั้น
ราคาเปิดประมูล2,950 บาท
ราคาปัจจุบัน-- ยังไม่มีผู้เสนอราคา -- (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 10 ส.ค. 2565 - 21:07:19 น.
วันปิดประมูล - 20 ส.ค. 2565 - 21:07:19 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลwarayu (2.4K)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     2,950 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ท่านต้อง login เข้าสู่ระบบก่อน จึงจะสามารถร่วมประมูลได้ !!!


 

Copyright ©G-PRA.COM