(0)
พระกริ่ง ปวเรศ สวยแชมป์ประกวด + พระชัยวัฒน์ ปวเรศ วัดบวรนิเวศวิหาร เนื้อนวะ ปี 2530 วัดบวรนิเวศวิหาร ปี 2530 เนื้อนวะ เต็มสูตร มีหน้าตาสวยงาม ผิวน้ำทองสวยๆ แชมป์ประกวด ยกกล่องเดิมๆ + บัตรรับรอง GPRA







ชื่อพระเครื่องพระกริ่ง ปวเรศ สวยแชมป์ประกวด + พระชัยวัฒน์ ปวเรศ วัดบวรนิเวศวิหาร เนื้อนวะ ปี 2530 วัดบวรนิเวศวิหาร ปี 2530 เนื้อนวะ เต็มสูตร มีหน้าตาสวยงาม ผิวน้ำทองสวยๆ แชมป์ประกวด ยกกล่องเดิมๆ + บัตรรับรอง GPRA
รายละเอียดพระกริ่ง ปวเรศ สวยแชมป์ประกวด + พระชัยวัฒน์ ปวเรศ วัดบวรนิเวศวิหาร เนื้อนวะ ปี 2530 วัดบวรนิเวศวิหาร ปี 2530 เนื้อนวะ เต็มสูตร มีหน้าตาสวยงาม ผิวน้ำทองสวยๆ แชมป์ประกวด ยกกล่องเดิมๆ + บัตรรับรอง GPRA

ชุดนี้คัดสวยมีหน้าตา ผิวเดิมๆ เนื้อนวะโลหะออกแก่ทอง โค๊ตตอกลึกและชัด เริ่มกลับดำตามธรรมชาติ สีจำปาเทศชัดเจน... ใบประกาศประมาณ 30วัน จัดส่งให้ตามหลังเมื่อได้รับครับ

ประวัติคร่าวๆในการจัดสร้าง
พระกริ่งใหญ่ ปวเรศ และ พระชัยวัฒน์ ปวเรศ ปี 2530 วัดบวรนิเวศวิหาร
เนื้อนวะโลหะผสมแก่ทองคำ
แบบพิมพ์ นายช่าง สำเนา จากองค์พระกริ่งปวเรศ องค์เดิมที่ประดิษฐานในวัดบวรฯ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน เททองชนวน ณ. วัดบวรฯ ในวันศุกร์ ที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๒๘ ด้วยพระองค์เอง
พระกริ่ง ปวเรศ พ.ศ. ๒๕๓๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่9 ทรงพระชนม์ครบ ๕ รอบ ทางวัดบวรฯ ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จำลองแบบพระกริ่งปวเรศและสร้างพระชัยวัฒน์ เพื่อเฉลิมฉลองศุภมงคลสมัยและเทิดพระเกียรติในวโรกาสนี้ การสร้างนั้นเททองภายในวัด และตกแต่งพระก็ทำภายในวัด การอุดผงพระและแต่งพระทำโดยช่างถนอม ช่างประสิทธิ์ ช่างหมู ทุกคนต้องรักษาศีลอุโบสถ และทำด้วยใจจงรักภักดี อุดพระนั้นทำสองชั้น โดยคราวแรกนำผงจิตลดาที่พระราชทานมาบรรจุไปก่อนกับเส้นพระเจ้า(เส้นผม) ของพระองค์ท่าน ทำอย่างนี้ทุกองค์ โดยมีเจ้าพนักงานในวังดูแลอย่างใกล้ชิด จากนั้นเมื่อบรรจุผงจิตลดาและเส้นพระเจ้าแล้วจึงปิดด้วยโลหะชั้นหนึ่งแล้วบรรจุเม็ดกริ่ง แล้วจึงปิดก้นพระ ตอกโค๊ต ๕ ไทยและอุณาโลมข้างบัวหลัง เป็นพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ ที่เปี่ยมด้วยการสร้างดี มีผงจิตรลดาบรรจุทุกองค์ พร้อมเส้นพระเจ้า

พระกริ่ง- พระชัยวัฒน์ ปวเรศ 30
พระกริ่งปวเรศ เป็นสมัญญานามของพระกริ่งที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงสร้างขึ้นทราบกันมาว่า ทรงสร้างขึ้นเพื่อประทานแก่เจ้านายที่ทรงค้นเคยสนินสนมและเจ้านายที่ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ มีจำนวนน้อยมาก ไม่เกิน 30 องค์ทรงสร้างด้วยเนื้อนวโลหะ พุทธลักษณะพระกริ่งปวเรศนั้นสันนิษฐานว่าทรงสร้างขึ้นโดยอาศัยเค้าจากพระกริ่งจีนที่นิยมเรียกกันว่า *** พระกริ่งใหญ่ *** ในปัจจุบัน พระองค์ท่านจะทรงสร้างขึ้นในปีใดนั้นปัจจุบันไม่มีผู้ใดทราบ ภายหลังหลวงชำนาญเลขา ( หุ่น ) สมุห์บุญชีในกรมของพระองค์ ได้ขอประทานอนุญาตนำแบบพิมพ์ไปสร้างขึ้นอีกเท่าไรไม่ปรากฏ โดยที่พระกริ่งนี้สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงสร้างขึ้นจึงนิยมเรียกว่า พระกริ่งปวเรศ ในอาณาจักรพระเครื่องนับว่าพระกริ่งปวเรสเป็นพระโลหะที่มีค่านิยมสูงและหายากยิ่งที่จะเสาะแสวงหาไว้สักการะบูชา จึงเป็ฯปูชนียวัตถุที่มีค่าทางพุทธศิลป์และทางจิตใจ กล่าวได้ว่า พระกริ่งปวเรศเป็นพระกริ่งรุ่นแรกที่สร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ อีกทั้งยังมีส่วนส่งเสริมให้เกิดความนิยมสร้างพระพุทธปฏิมาในลักษณะเดียวกันนี้ในเวลาต่อมาอย่างแพร่หลาย

พระกริ่ง - พระชัยวัฒน์ ปวเรศ
เนื่องในมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เจริญพระชนมพรรษา 5 รอบนักษัตร ในปี 2530 วัดบวรนิเวศวิหารทรงได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จำลองแบบ พระกริ่ง - พระชัยวัฒน์ ปวเรศ ขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองสุภมงคลสมัยและเทิดพระเกียรติในมหามงคลวโรกาสนี้ พร้อมทั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานผงจิตรลดา เพื่อบรรจุในองค์พระกริ่งปวเรศที่สร้างใหม่นี้ทุกองค์

มวลสาร ทองชนวน โลหะต่างๆ และแผ่นยันต์หล่อพระ
พระกริ่ง - พระชัยวัฒน์ ปวเรศ วัดบวรนิเวศวิหาร สร้างขึ้นด้วยเนื้อนวโลหะ ซึ่งประกอบด้วย ทองคำ เงิน ทองแดง สังกะสี ชิน เจ้าน้ำเงิน เหล็กละลายตัวบริสุทธิ์ และปรอทสะตุ ซึ่งนับเป็นโลหะธาตุต่างๆ ที่สำคัญและหายากตามตำรับวิธีการหล่อพระกริ่งแต่โบราณ เมื่อได้อายุตามควรแล้วผิวองค์พระกริ่งจะมีสีดำ ที่นิยมเรียกว่า *** เนื้อกลับดำ ***
ทองชนวนหล่อพระประกอบด้วย
- ทองชนวนพระกริ่งรุ่นเก่าที่สำคัญๆ ของวัดบวรนิเวศวิหาร
- ทองชนวนหล่อพระพุทธรูป ภปร. วัดบวรนิเวศ
- ทองชนวนหลวงพ่อมงคลบพิตร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ( ที่ยังคงเหลืออยู่ )
- ทองชนวนรุ่นเก่าของวัดสุทัศน์เทพวราราม
- ทองชนวนพระกริ่ง พระชัยวัฒน์ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
- ทองชนวนพระกริ่ง พระชัยวัฒน์ ภปร. ที่ระลึก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ทองชนวนอื่นๆ ที่ผู้มีจิตศรัทธาบริจาค
แผ่นยันต์พระอาจารย์จำนวนมาก ซึ่งกระทรวงมหาไทยและคณะศิษย์ในสมเด็จพระญาณสังวร รวบรวมจากวัดต่างๆ ของประเทศประกอบด้วยพระอาจารย์ในปี 2528 จำนวนมากกว่า 108 รูป และพระอาจารย์ที่มีชื่อเสียงที่มรณภาพไปก่อนแล้วอีกหลายสิบรูป

จำนวนพระ พระกริ่ง - พระชัยวัฒน์ ปวเรศ 30 ที่จัดสร้าง
ตามโครงารสร้างพระกริ่ง - พระชัยวัฒน์ ปวเรศ 30 วัดบวรนิเวศวิหาร กำหนดให้สร้างพระกริ่ง - พระชัยวัฒน์ ปวเรศ จำนวน 25000 ชุด แต่ เนื่องจากำหนดให้ช่างเททองหล่อพระกริ่งทุกองค์ในพิธี ณ วัดบวรนิเวศวิหาร จึงทำการเททองหล่อพระตามกรรมวิธีแบบโบราณของไทย ซึ่งเป้นวิธีที่เหมาะสมที่สุดต่อการเททองหล่อพระในกำหนดพิธี ดังนั้น ช่างจึงต้องทำหุ่นองค์พระเพิ่มขึ้นเผื่อเสียไว้ตั้งแต่แรกเริ่ม เพื่อจะได้ทำการเททองหล่อพระทั้งหมดอย่างต่อเนื่องในพิธี การเททองหล่อพระครั้งนี้ได้พระกริ่ง - พระชัยวัฒน์ เป็นองค์พระครบทุกองค์ตามจำนวนหุ่นพระที่เตรียมไว้ปรากฏเป็นอัศจรรย์ประการหนึ่งที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ พระที่เห็นสมควรคงไว้เป็นช่อ มีดังนี้
พระกริ่งปวเรศ จำนวน 15 ช่อ
พระชัยวัฒน์ปวเรศ จำนวน 32 ช่อ

พิธีเททองหล่อพระกริ่ง - พระชัยวัฒน์ ปวเรศ 30
พระบาทสมเด็๗พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเป็นพ้นล้นหาที่สุดมืได้ โปรดเกล้าฯ ทรงรับเชิญเสด็จพระราชดำเนินเททองหล่อพระกริ่ง - พระชัยวัฒน์ ปวเรศ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันศุกร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ .2528 เป็นปฐมมหามงคลฤกษ์ของพิธีเททองหล่อพระ ทองชนวนจากปฐมพิธีนี้จักเป็นชนวนในการหล่อพระสืบต่อไป ซึ่งสมเด็จพระญาณสังวรเป็นประธานพิธีการเททองหล่อพระ ณ วัดบวรนิเวศวิหารทั้งหมดก่อนประกอบพิธีพุทธาภิเษก

พิธีพุทธาภิเษก
การประกอบพิธีพุทธาภิเษกพระกริ่ง- พระชัยวัฒน์ ปวเรศ วัดบวรนิเวศวิหาร ได้ประกอบพิธีรวม 3 ครั้ง ดังนี้
ครั้งที่ 1 พิธีพุทธาภิเษกในคืนวันเสาร์ที่ 12 เมษายน 2529 ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร
มเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมาร ทรงเป็นองค์ประธานประกอบพิธี
สมเด็จพระญาณสังวร ประธานพิธีอธิฐานจิต
ครั้งที่ 2 พิธีวันวิสาขบูชา วันพุธ - พฤหัสบดีที่ 21-22 พฤษภาคม 2529 ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร
สมเด็จพระญาณสังวร ประธานประกอบพิธี
ครั้งที่ 3 พิธีพุทธาภิเษก พระกริ่ง- พรัชัยวัฒน์ ปวเรศ วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน 2530 ณ พระอุโบสวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธี
สมเด็จพระสังฆราช ทรงจุดเทียนชัย
สมเด็จพระญาณสังวร ประกอบพิธีอธิษฐานจิต
พิธีครั้งนี้นับเป็นพิธีพุทธาภิเษก พระกริ่ง - พระชัยวัฒน์ ปวเรศ 30 ที่เป็นทางการครั้งแรก ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ราคาเปิดประมูล900 บาท
ราคาปัจจุบัน35,000 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 20 ก.ย. 2565 - 01:07:43 น.
วันปิดประมูล - 22 ก.ย. 2565 - 08:03:02 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลmidori (5.7K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 20 ก.ย. 2565 - 01:08:10 น.



พระกริ่ง ปวเรศ สวยแชมป์ประกวด + พระชัยวัฒน์ ปวเรศ วัดบวรนิเวศวิหาร เนื้อนวะ ปี 2530 วัดบวรนิเวศวิหาร ปี 2530 เนื้อนวะ เต็มสูตร มีหน้าตาสวยงาม ผิวน้ำทองสวยๆ แชมป์ประกวด ยกกล่องเดิมๆ + บัตรรับรอง GPRA


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 20 ก.ย. 2565 - 01:09:25 น.



คัดสวยมีหน้าตา ผิวเดิมๆ เนื้อนวะโลหะออกแก่ทอง โค๊ตตอกลึกและชัด เริ่มกลับดำตามธรรมชาติ สีจำปาเทศชัดเจน... ใบประกาศประมาณ 30วัน จัดส่งให้ตามหลังเมื่อได้รับครับ


ข้อมูลเพิ่มเติม 3 - 20 ก.ย. 2565 - 01:10:39 น.



พระกริ่ง ปวเรศ ๓๐ ซึ่งเป็นคำเรียกสั้นๆ ง่ายๆ ของ พระกริ่งปวเรศ รุ่น ๒ ที่จัดสร้างขึ้นโดย วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อปี ๒๕๓๐
กระแสความศรัทธาเลื่อมใสใน พระกริ่งปวเรศ ๓๐ มาจากพิธีเฉลิมฉลองในโอกาสมหามงคลทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙ พสกนิกรชาวไทยต่างพากันสะสมของที่ระลึกทุกอย่างอันเกี่ยวเนื่องกับพระองค์ รวมทั้ง พระกริ่งปวเรศ ๓๐ รุ่นนี้ด้วย เพราะเป็นพระกริ่งที่ วัดบวรนิเวศวิหาร ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างขึ้น เนื่องในโอกาสมหามงคลสมัยที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๕ รอบ (๖๐ พรรษา) เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๐

นอกจากนี้ ล้นเกล้าฯ ยังได้เสด็จฯ ทรงประกอบพิธีเททองหล่อปฐมมหามงคลฤกษ์ ณ บริเวณพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันศุกร์ที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๒๘ จึงนับได้ว่า พระกริ่งปวเรศ 30 รุ่นนี้มีส่วนเกี่ยวเนื่องกับ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยตรง

พระกริ่งปวเรศ ที่ทรงประกอบพิธีเททองหล่อในวันนั้น มีจำนวน ๑๐ ช่อ ใน ๑ ช่อมีพระกริ่ง ๒๑ องค์ นอกจากนี้ยังมี พระชัยวัฒน์ปวเรศ อีก ๑๐ ช่อ ใน ๑ ช่อมีพระชัยวัฒน์ ๓๑ องค์ หลังจากนั้น ทางวัดนำก้านชนวนของพระกริ่งและพระชัยวัฒน์ทั้ง ๒๐ ช่อนี้ไปเป็น ชนวน หล่อหลอมกับเนื้อนวโลหะมงคลอีกจำนวนมาก เพื่อใช้ในการเททองหล่อพระกริ่งและพระชัยวัฒน์ต่อไป จนครบตามจำนวนที่กำหนดไว้
พระกริ่งพระชัยวัฒน์ที่หล่อในเวลาต่อมานั้น เจ้าประคุณสมเด็จพระญาณสังวร (สมณศักดิ์ในขณะนั้น) เป็นผู้ประกอบพิธีเททองหล่อติดต่อกันถึง ๙ วัน คือตั้งแต่วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์-๗ มีนาคม ๒๕๒๙ โดยมี พระอมรโมลี (เจ้าคุณอมรฯ สมณศักดิ์ในขณะนั้น ปัจจุบันคือ พระพรหมมุนี) เป็นผู้ควบคุมดูแลการหล่อพระ อาจารย์กิจจา วาจาสัจ เป็นผู้ดำเนินงาน และ ช่างประสิทธิ์ พรหมรักษ์ เป็นหัวหน้าคณะทำงานหล่อพระทั้งหมด

พระกริ่งพระชัยวัฒน์รุ่นนี้เป็นการเททองหล่อแบบดินไทย ซึ่งเป็นกรรมวิธีแบบโบราณ จึงมีความยุ่งยากสลับซับซ้อนมาก และเสียเวลากว่าการสร้างพระกริ่งสมัยใหม่ ที่สร้างด้วยวิธีฉีดเนื้อโลหะเหลวใส่แม่พิมพ์ ซึ่งต้องทำกันที่โรงงาน พระกริ่งพระชัยวัฒน์ ที่สร้างด้วยวิธีหล่อแบบโบราณ จะได้องค์พระที่ไม่สวยคมชัดไปทั่วทั้งหมด ผิวพระบางองค์จะมีรูพรุนมากบ้างน้อยบ้าง จึงต้องมีการตกแต่งด้วยตะไบ ซึ่งทางวัดได้กำหนดให้คณะช่างที่ตกแต่งองค์พระ รวมทั้งการบรรจุ เส้นพระเจ้า ผงจิตรลดา ที่ได้รับพระราชทาน และ เม็ดกริ่ง ภายในวัดทั้งหมด โดยได้จัดห้องทำงานไว้ต่างหาก ห้ามไม่ให้ช่างนำองค์พระกลับไปตกแต่งที่บ้านโดยเด็ดขาด และเมื่อมีการเข้าออกห้องทำงาน จะมีการตรวจตราเป็นพิเศษอีกด้วย เมื่องานตกแต่งองค์พระเสร็จเรียบร้อยแล้ว ทางวัดได้ประกอบพิธีพุทธาภิเษกพระกริ่งปวเรศขึ้นถึง ๓ ครั้งด้วยกัน คือ

ครั้งที่ ๑ วันเสาร์ที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๒๙ ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร โดยมี สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธานในพิธี และสมเด็จพระญาณสังวร เป็นประธานพิธีอธิษฐานจิต มีพระคณาจารย์หลายท่านร่วมนั่งปรกอธิษฐานจิต

ครั้งที่ ๒ พิธีวันวิสาขบูชา วันพุธที่ ๒๑ และวันพฤหัสบดีที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๒๙ ณ พระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร สมเด็จพระญาณสังวร เป็นประธานในพิธี

ครั้งที่ ๓ พิธีพุทธาภิเษกอย่างเป็นทางการ ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วันอาทิตย์ที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๓๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ทรงเป็นองค์ประธานในพิธี สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์) วัดราชบพิธฯ ทรงจุดเทียนชัย สมเด็จพระญาณสังวร เป็นประธานพิธีอธิษฐานจิต ร่วมกับพระภาวนาจารย์อีก ๓๖ รูป จากภาคต่างๆ ร่วมนั่งปรกอธิษฐานจิต

หลังจากทราบพระบรมราชวินิจฉัยของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงมีพระราชกระ แสรับสั่งว่า “พระกริ่งปวเรศที่จำลองขึ้นมาในครั้งนี้ ขอให้ทำให้แม้นแต่อย่าให้เหมือน” ที่ท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ ได้อัญเชิญมาแล้ว อาจารย์กิจจา พร้อมคณะกรรมการฯ จึงรับด้วยเกล้าฯ ด้วยการนำ “องค์ต้นแบบ” มาแก้ไขและตกแต่งรายละเอียดให้ “แตกต่างจากองค์ดั้งเดิม” โดยเฉพาะบริเวณ “พระพักตร์และข้อพระบาทขวา” ที่มีขนาด “เล็กกว่าองค์ดั้งเดิม” อยู่แล้วเนื่องจากการนำพิมพ์ต้นแบบไป “ถอดพิมพ์ด้วยยาง” ขนาดจึงเล็กลงไปตามแบบอย่างของการ “ถอดพิมพ์ทั่ว ๆ ไป” โดยการแก้ไขและตกแต่งใหม่สำเร็จบริบูรณ์ในเดือน กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ นับเป็นการดำเนินการที่รวดเร็วแต่ประณีตทางด้าน “พระชัยวัฒน์” นั้น อาจารย์กิจจา ได้มอบหมายให้ปฏิมากรรม มนตรี (นายช่างมาลี) พัฒนางกูร แห่ง “พัฒนช่าง” ผู้เคยฝากฝีมืออันเลื่องลือในด้านปั้นพิมพ์พระได้อย่างสวยงามมามากมายหลาย รุ่นแล้ว และ นายช่างมนตรี ก็มิได้ทิ้งฝีมือเชิงช่างผู้ชำนาญเลยได้ทำการ “ขึ้นต้นแบบ” จากภาพถ่ายของ “พระกริ่งปวเรศองค์ดั้งเดิม” และสามารถย่อส่วนพระกริ่งปวเรศองค์ดั้งเดิมให้มี “ขนาดเล็ก” ที่หน้าตักกว้างเพียง ๑ ซม. พร้อมถ่ายทอดรายละเอียดจากองค์จริงได้ครบถ้วนเช่นกัน

เมื่อทำการ “ถอดแบบพิมพ์” เป็นที่พอใจของทุกฝ่ายแล้วขั้นตอนต่อไปก็คือการ “เข้าหุ่นเทียนด้วยดินไทย” ซึ่งเป็นกรรมวิธีที่สืบทอดมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาลโดย อาจารย์กิจจา ก็มีความเชี่ยวชาญในด้านนี้โดยเฉพาะเช่นกันดังนั้นการทำงานจึงใช้ “บริเวณบ้าน” ของ อาจารย์กิจจา ที่ เจริญพาศน์ เริ่มตั้งแต่การฉีดขี้ผึ้งเข้าแม่พิมพ์ยางทั้ง “พระกริ่งและพระชัยวัฒน์” แล้วนำหุ่นขี้ผึ้งมาคัด “คุณภาพ” หากไม่สวยงามก็นำไปฉีดใหม่แล้วทำการตกแต่งเอา “ฉลาบตามตะเข็บพิมพ์ออก” ก่อนติดหุ่นเทียนเข้ากับก้านชนวนที่เป็นเทียนหรือขี้ผึ้ง เสร็จแล้วนำ “มูลโคมานวดผสมกับดินนวล” แล้วกรองด้วยผ้าขาวบางเพื่อสำหรับ “ทาหุ่นเทียน” ลองคิดดูก็แล้วกันว่าพระจำนวนมากถึง ๖๐,๐๐๐ กว่าองค์ (รวมเผื่อเสีย) กลิ่นมูลโคจะส่งกลิ่นเพียงใดดังนั้นงานระดับนี้จะทำกันแค่คนสองคนย่อมไม่ ทันการ จึงต้องว่าจ้างคนงานนับร้อยคนมาช่วยกันทำงานเพื่อให้เสร็จทันกำหนดโดย อาจารย์กิจจา เล่าเหตุการณ์ในตอนนั้นในเชิงตลกว่า “สรรพากรเขต” และ “แรงงานเขต” ต้องแวะมาเยี่ยมเยือนถึงที่บ้านเจริญพาศน์ในชุด “เครื่องแบบเต็มยศ” กันเลยแต่พอทราบความจริงว่าคนงานเหล่านี้มาช่วยกันทำงาน “เพื่อสิ่งใดแล้ว” บรรดาข้าราชการผู้รักหน้าที่ดังกล่าวก็เข้าใจเพราะขั้นตอนการทำงานช่วงนี้ ต้องให้ “ความสำคัญ” ไม่น้อยไปกว่าขั้นตอนการประกอบพิธี “เททองหล่อพระ” เช่นกันคือนับตั้งแต่การหา “ดินนวลมาผสมมูลโค” ก็ต้องใช้ทั้ง “ดินละเอียดและดินหยาบ” พร้อมการ “ปั้นปากจอกผูกลวด ฯลฯ” โดยขั้นตอนเรื่องนี้ “ผู้เขียน” เคยไปขอเรียนเพื่อเป็นความรู้จากท่านอาจารย์มาก่อน จึงพอจะเข้าใจขั้นตอนการทำงานว่า “ยากลำบากเอาการ” ต้องใช้ความละเอียดถี่ถ้วนจึงจะทำให้การ “เททองหล่อแบบโบราณ” สำเร็จลุล่วงด้วยดี

สำหรับ “ช่างหล่อพระ” ก็เช่นกันท่านอาจารย์กิจจามีหน้าที่รับผิดชอบในการหาช่างที่มีความเชี่ยวชาญ แม้ว่าช่วงนั้นในยุทธจักรช่างหล่อพระจะมีช่างอยู่หลายสำนัก แต่สำหรับงานใหญ่ระดับชาติที่มีความเกี่ยวข้องกับ “พระมหากษัตริย์” ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐยิ่งของปวงชนชาวไทยท่านอาจารย์กิจจาจึงได้กำหนด “คุณสมบัติของช่าง” ที่จะมาร่วมประกอบพิธีเททองในโอกาสพิเศษดังนี้ ๑.ต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต (เป็นประการสำคัญที่สุด) ๒.มีผลงานในอดีตเป็นที่ยอมรับ ๓.มีความเข้าใจในพิธีกรรมและขั้นตอนการเททองหล่อพระ ๔.มีใจรักงานศิลปะและมีความขยันขันแข็งและอดทน

ท่านอาจารย์กิจจา ได้นำรายชื่อช่างหล่อแต่ละสำนักเสนอต่อที่ประชุมโดยใช้หลักเกณฑ์ดังกล่าว ข้างต้น ซึ่งคณะกรรมการได้ใช้ระยะเวลาพอสมควรในการ “คัดเลือกช่าง” ที่จะมา “ทำงานใหญ่และสำคัญ” นี้เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์อันสำคัญยิ่งโดยท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระญาณสังวรฯ ในฐานะองค์ประธานคณะกรรมการได้ทรงคัดเลือกทีมงานช่างที่ดำเนินการหล่อ “พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ ภ.ป.ร. ๕๐ ปีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๒๗” ที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯทรงเป็นที่ปรึกษาฝ่ายบรรพชิตในการจัดสร้าง “วัตถุมงคล ภ.ป.ร” ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกแห่งการสถาปนา “มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ครบ ๕๐ ปี” เนื่องจากทรงเคยเห็นผลงานของช่างกลุ่มนี้มาก่อนแล้วว่าฝีมือเป็นที่เชื่อ ถือได้เพราะนำทีมโดย นายช่างประสิทธิ์ พรหมรักษ์-นายช่างถนอม ทองอินทร์-นายช่างเรืองศักดิ์ โดยได้เรียกช่างกลุ่มนี้มาชี้แจงทำความเข้าใจและลงมือสัญญารับงานตั้งแต่ เดือน สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ และท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระญาณสังวรฯ ได้ทรงให้ อาจารย์กิจจา ช่วยควบคุมดูแลอย่าให้มีขั้นตอนรั่วไหลเรื่องนี้ อาจารย์กิจจา ยอมรับว่าหนักใจไม่น้อยเลยแต่ก็เต็มใจปฏิบัติตามที่ได้รับมอบหมาย แม้จะเป็นงานบุญงานกุศลที่หนักที่สุดในชีวิตแต่เมื่องานสำเร็จลุล่วงแล้ว อาจารย์กิจจาฯ ก็อดที่จะภาคภูมิใจไม่ได้เพราะงานครั้งนั้นถือเป็นงานที่เหน็ดเหนื่อยที่ สุดในชีวิตการหล่อพระ

พระกริ่งปวเรศ ปี 30 ดังได้กล่าวไว้ในตอนต้นว่าการ “เข้าหุ่นดินไทย” สำหรับการเทหล่อ “พระกริ่งและพระชัยวัฒน์ปวเรศปี ๒๕๓๐ เฉลิมพระชนมพรรษา ครบ ๕ รอบนักษัตรฯ” ครั้งนั้นต้องใช้สถานที่บ้านของ อาจารย์กิจจา ที่ เจริญพาศน์ธนบุรี เพื่อสะดวกในการควบคุมดูแลเนื่องจากจำนวนการสร้าง “พระกริ่งพระชัยวัฒน์ฯ” ครั้งนี้มีจำนวนมากคือ “พระกริ่งปวเรศฯ” และ “พระชัยวัฒน์ปวเรศฯ” จำนวนเท่ากันคืออย่างละ “๒๕,๐๐๐ องค์” แต่การหล่อพระด้วยพิธีแบบ โบราณนั้นก็จะต้องมีการ “เผื่อชำรุด” จึงเทหล่อเพิ่มอย่างละ “๕,๐๐๐ องค์”

เมื่อเสร็จพิธีทั้งหมดแล้ว ทางวัดได้นำพระกริ่งพระชัยวัฒน์ ออกให้ศรัทธาสาธุชนทำบุญเช่าบูชาเป็นการกุศล ชุดละ ๕,๐๐๐ บาท ใน ๑ ชุดจะมีพระกริ่ง ๑ องค์ และพระชัยวัฒน์ ๑ องค์
ที่มาข่าวพระเครื่อง หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ‘อดุลย์นันท์ทัต กิจไชยพร’ ขอขอบพระคุณไว้ ณ ที่นี้ครับ

พระกริ่งชุดนี้เป็นสกุลพระเครื่องชั้นสูงสำหรับเคารพบูชาและเหนืออื่นใดเป็นพระกริ่งที่สร้างในวาระ องค์พ่อหลวงรัชกาลที่ ๙ พระชนมพรรษา ครบ 5 รอบและเจ้าประคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสัฆราชเจ้า เป็นผู้ประกอบพิธีเททองหล่อ...ซึ่งทั้งสองพระองค์เป็นที่สักการะบูชาสูงสุดของปวงชนชาวไทย Cr.เพื่อนสมาชิก

พิจารณา ถ้าชอบเชิญครับ กระผม...


ข้อมูลเพิ่มเติม 4 - 20 ก.ย. 2565 - 01:11:22 น.



เป็นพระกริ่ง ที่เปี่ยมด้วยการสร้างดี มีผงจิตรลดาบรรจุทุกองค์ พร้อมเส้นพระเจ้า..(เส้นผม ในหลวง ร.9).

เจตนาสร้างดียิ่งใหญ่ มีพิธีชัดเจนครับ
พระกริ่ง - พระชัยวัฒน์ ปวเรศ
เนื่องในมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เจริญพระชนมพรรษา 5 รอบนักษัตร ในปี 2530 วัดบวรนิเวศวิหารทรงได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จำลองแบบ พระกริ่ง - พระชัยวัฒน์ ปวเรศ ขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองสุภมงคลสมัยและเทิดพระเกียรติในมหามงคลวโรกาสนี้ พร้อมทั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานผงจิตรลดา เพื่อบรรจุในองค์พระกริ่งปวเรศที่สร้างใหม่นี้ทุกองค์

มวลสาร ทองชนวน โลหะต่างๆ และแผ่นยันต์หล่อพระ
พระกริ่ง - พระชัยวัฒน์ ปวเรศ วัดบวรนิเวศวิหาร สร้างขึ้นด้วยเนื้อนวโลหะ ซึ่งประกอบด้วย ทองคำ เงิน ทองแดง สังกะสี ชิน เจ้าน้ำเงิน เหล็กละลายตัวบริสุทธิ์ และปรอทสะตุ ซึ่งนับเป็นโลหะธาตุต่างๆ ที่สำคัญและหายากตามตำรับวิธีการหล่อพระกริ่งแต่โบราณ เมื่อได้อายุตามควรแล้วผิวองค์พระกริ่งจะมีสีดำ ที่นิยมเรียกว่า *** เนื้อกลับดำ ***
ทองชนวนหล่อพระประกอบด้วย
- ทองชนวนพระกริ่งรุ่นเก่าที่สำคัญๆ ของวัดบวรนิเวศวิหาร
- ทองชนวนหล่อพระพุทธรูป ภปร. วัดบวรนิเวศ
- ทองชนวนหลวงพ่อมงคลบพิตร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ( ที่ยังคงเหลืออยู่ )
- ทองชนวนรุ่นเก่าของวัดสุทัศน์เทพวราราม
- ทองชนวนพระกริ่ง พระชัยวัฒน์ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
- ทองชนวนพระกริ่ง พระชัยวัฒน์ ภปร. ที่ระลึก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ทองชนวนอื่นๆ ที่ผู้มีจิตศรัทธาบริจาค
แผ่นยันต์พระอาจารย์จำนวนมาก ซึ่งกระทรวงมหาไทยและคณะศิษย์ในสมเด็จพระญาณสังวร รวบรวมจากวัดต่างๆ ของประเทศประกอบด้วยพระอาจารย์ในปี 2528 จำนวนมากกว่า 108 รูป และพระอาจารย์ที่มีชื่อเสียงที่มรณภาพไปก่อนแล้วอีกหลายสิบรูป


ข้อมูลเพิ่มเติม 5 - 20 ก.ย. 2565 - 01:11:35 น.



เป็นพระกริ่ง ที่เปี่ยมด้วยการสร้างดี มีผงจิตรลดาบรรจุทุกองค์ พร้อมเส้นพระเจ้า..(เส้นผม ในหลวง ร.9).


 
ราคาปัจจุบัน :     35,000 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    theman (492)

 

Copyright ©G-PRA.COM