(0)
ลป.บุญ วัดกลางบางแก้ว พิมพ์ซุ้มรัศมี เนื้อผงว่าน พ.ศ.2459 เป็นพิมพ์รุ่นแรกๆที่ลป.สร้าง พุทธคุณเข้มขลัง สภาพสวย ซุ้มรัศมีติดชัดทุกเส้น เลี่ยมทองสั่งทำ79% พร้อมบัตรรับรอง







ชื่อพระเครื่องลป.บุญ วัดกลางบางแก้ว พิมพ์ซุ้มรัศมี เนื้อผงว่าน พ.ศ.2459 เป็นพิมพ์รุ่นแรกๆที่ลป.สร้าง พุทธคุณเข้มขลัง สภาพสวย ซุ้มรัศมีติดชัดทุกเส้น เลี่ยมทองสั่งทำ79% พร้อมบัตรรับรอง
รายละเอียดพระหลวงปู่บุญ พิมพ์รัศมี มีมวลสารประกอบด้วย
1. ผงปะถมัง เป็นผงวิเศษที่มีอานุภาพทางด้านอยู่ยงคงกระพัน จังงัง กำบัง ล่องหนหายตัว และเมตตามหานิยม โบราณกาลท่านว่า
ถ้าเอาผงนั้นไปโรยใส่เข้าที่ไหน เช่น โรยใส่ในใต้ถุนบ้านเรือน มิช้านานบ้านเรือนนั้นก็จะยุบหายกลายเป็นป่า ถึงแม้นว่าน้ำในบ่อเต็ม เมื่อเอาผงไปโรย
เข้าก็เป็นอันให้น้ำนั้นแห้งเหือดหายไป อานุภาพของผงปะถมังนั้นยิ่งใหญ่ไพศาลนัก
2. ผงอิทธเจ เป็นผงวิเศษที่มีอานุภาพทางด้านเมตตามหานิยมอย่างเยี่ยมยอด
3. ผงมหาราช เป็นผงวิเศษที่มีอานุภาพทางด้านเมตตามหานิยมอย่างเอกอุ และยังทรงคุณวิเศษทั้งด้านปัดเป่าทุกข์ภัยทั้งปวง ถอนแก้
กระทำย่ำยีต่างๆได้อีกด้วย
4. ผงตรีนิสิงเห เป็นผงวิเศษทางด้านป้องกันเขี้ยวเล็บ เขา และงา ของสัตว์ทุกชนิด กับทั้งกันภูตผีปีศาจ ป้องกันโจรภัย อัคคีภัย
โรคาพยาธิ และอุปัทวเหตุทั้งปวง
5. ผงพุทธคุณ เป็นผงวิเศษทางด้านเมตตามหานิยมอย่างสูง กำบัง สะเดาะ และล่องหนหายตัว
อานุภาพแห่งผงวิเศษของหลวงปู่บุญ ที่ท่านได้บบรจงสร้างผงวิเศษ 5 ประการ ขึ้นมานั้น ท่านได้เพียรพยายามสร้างเอาไว้ เพื่อนำ
มาประสมประสานกันสร้างเป็นรูปองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อให้มีคุณค่าในทางไพศาล ปกป้องคุ้มครอง เป็นที่พึ่งของผู้คนทั่วๆไปได้
จะเห็นได้ว่าการสร้างพระเครื่องของหลวงปู่บุญนั้น ท่านมิได้สร้างกันง่ายๆ หรือสักแต่เพียงว่าได้สร้างขึ้นมา แต่ท่านได้พพยายาม
สรรค์สร้างด้วยความประณีต บรรจง เพื่อให้มีพุทธานุภาพอันยิ่งใหญ่ เพื่อให้มีคุณค่าควรจะประกอบเป็นรูปองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า อันเป็นที่
พึ่งพาของประชาชน ได้อย่างครบถ้วน ผงวิเศษที่หลวงปู่บุญได้รวบรวมสร้างขึ้นตลอดมา จนกระทั่งอายุพรรษาได้ 46 ปี เมื่อครั้นที่หลวงปู่บุญได้
ดำรงสมณศักดิ์ที่ " พระครูอุตรการบดี " นั้น หลวงปู่บุญได้นำมาเป็นส่วนผสมของการสร้างพระเครื่องเนื้อว่านผสมผงพุทธคุณในครั้งนั้นด้วย
นอกจากผงวิเศษดังที่ได้กล่าวมาแล้ว หลวงปู่บุญได้นำมวลสารอันทรงคุณค่าทางธรรมชาติ เข้ามาประกอบด้วยนั่นก็คือ ว่านมงคล
นานาชนิด เช่น ว่านพญาไม้ผุ ซึ่งมีสรรพคุณทางด้านคงกระพันชาตรี เป็นต้น เพราะหลวงปู่บุญเป็นผู้ที่มีความรู้และท่านเองก็ได้เล่าเรียนมาเจนจบ
ทางด้านแพทย์แผนโบราณ อีกทางหนึ่งด้วย ในครั้งนั้นจะเห็นได้ว่า วัดกลางบางแก้วเป็นแหล่งที่พึ่งพิงของชาวบ้าน เมื่อยามที่เป็นเจ็บไข้ได้ป่วย
นอกจากนี้หลวงปู่บุญได้ใช้เครื่องสมุนไพรที่มีคุณค่าสำคัญบางอย่างมาเป็นส่วนผสมลงในเนื้อพระชนิดนี้ด้วย
ในสมัยนั้นตัวที่ทำประสานเนื้อพระโดยส่วนใหญ่ ก็จะใช้กระดาษสา นำมาแช่น้ำให้เปื่อยยุ่ย แล้วนำมาโขลกผสมกับผงพุทธคุณ หรือว่าน
แล้วจึงทำการโขลกจนเหนียวดีแล้วจึงทำการพิมพ์พระขึ้นมา หลวงปู่บุญก็ใช้กระดาษสาดังที่ได้กล่าวมาแล้ว แต่ท่านได้สร้างพระขึ้นมาเป็นจำนวนมาก
จึงทำให้กระดาษสาที่มีอยู่และที่พอหาได้นั้นทำให้เกิดมีความไม่เพียงพอต่อความต้องการที่จะใช้ และพอดีที่ เจ้าสัวชม เจ้าของโรงสีเซ่งเฮงหลี มาพบ
หลวงปู่บุญเมื่อครั้นที่ท่านได้สร้างพระและพอดีที่ขาดกระดาษสาที่จะใช้เป็นตัวประสานเนื้อพระ แกจึงเสนอหลวงปู่บุญว่า มีไพ่กระดาษสี และไพ่กระดาษสี
ซึ่งมีใช้ในสมัยนั้นไพ่กระดาษสีจะพิมพ์ด้วยกระดาษนอกอย่างดี และก็มีไพ่กระดาษสีอยู่เป็นจำนวนมากด้วย เพราะพอเล่นไพ่กระดาษสียับขึ้นมาแล้ว ก็
เก็บไพ่กระดาษสีเอาไว้ แล้วจึงนำไพ่กระดาษสีชุดใหม่ออกมาเล่นต่อ จึงทำให้แกมีไพ่กกระดาษสีที่เป็นของเก่ามีอยู่เป็นจำนวนหลายลัง และตัวแกเองก็
จะนำไพ่กระดาษสีมาถวายหลวงปู่บุญ เผื่อท่านจะนำเอาออกมาไว้ใช้โขลกผสมรวมกับพระ พอหลวงปุ่บุญเห็นว่า ถึงเป็นไพ่ แต่เมื่อนำมาใช้ในทางกุศล
แล้วก็ไม่เป็นไร หลวงปู่บุญจึงตกลงให้นำไพ่กระดาษสีมาใส่ในตุ่มแล้วแช่น้าไว้จนเปื่อยดีแล้ว จึงให้นำไพ่กระดาษสีเอาออกมาใช้เป็นตัวประสานเนื้อพระ
แทนกระดาษสา หลังจากที่นำออกมาใช้เป็นตัวประสานเนื้อพระแล้วก็ปรากฏว่ามีความเหนียวแน่นเช่นเดียวกับกระดาษสา ( เรื่องนี้ได้นำมาจาการบันทึก
ของคุณสุธน ศรีหิรัญ เมื่อครั้นที่คุณกาญจน์ สายกัลยา เป็นผู้เล่าให้ฟัง )
พระเครื่องเนื้อผงพุทธคุณผสมว่าน หากจะจำแนกของเนื้อพระแล้ว จะเห็นได้ว่าพระชนิดนี้จะมีเนื้อพระที่มีความแตกต่างกันเป็น 3
ลักษณะ ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าสัดส่วนของการผสมเนื้อพระ ในแต่ละครั้งนั้น ว่ามีการผสมว่าน สมุนไพรหรือผงพุทธคุณ มากกว่ากัน เพราะจะต้องนำ
ผงพุทธคุณ ว่าน และสมุนไพร มาโขลกผสมรวมกันให้เนื้อเดียวกันก่อนที่จะทำการพิมพ์พระขึ้นมานั้นเอง พอจะจำแนกเนื้อพระออกได้ดังนี้
1. เนื้ออกสีขาวจัด คงเป็นด้วยที่ผสมผงพุทธคุณอยู่เป็นจำนวนมาก และใช้กระดาษสาเป็นตัวประสานเนื้อพระ เช่นเดียวกับพระ
ของหลวงปู่ภู วัดอินทรวิหาร กรุงเทพ ซึ่งหลวงปู่ภูเองก็ใช้กระดาษสาเช่นเดียวกัน ลักษณะของเนื้อชนิดนี้คงแก่ผงพุทธคุณมากกว่าว่าน จึงทำให้มีจำนวนพระที่ได้
สร้างขึ้นมามีจำนวนพระไม่มากนัก
2. เนื้อออกสีเขียว เนื้อชนิดนี้มีพระจำนวนมากเป็นส่วนใหญ่ เพราะคงจะมีสัดส่วนการผสมระหว่างผงพุทธคุณ และว่าน ซึ่งได้
อัตราส่วนที่ได้เท่าๆกัน และคงจะมีการใช้ไพ่กระดาษสีเป็นตัวประสานเนื้อพระ
3. เนื้ออกสีเขียวเข้ม ชนิดนี้ด้วยคงเป็นด้วยการผสมว่านและสมุนไพรมากกว่าผงพุทธคุณ และคงจะมีไพ่กระดาษสีเป็นตัวประสาน
เนื้อพระเช่นเดียวกัน
จำนวนพระของเนื้อผงพุทธคุณผสมว่าน ปรากฏว่ามีจำนวนน้อยกว่าพพระเครื่องเนื้อดิน คงเป็นด้วยว่า มวลสารที่นำมาจัดสร้างนั้น
มีปริมาณไม่มากนัก ซึ่งไม่เหมือนกับพระเนื้อดินตรงที่ว่า พระเนื้อดินนั้นก็มี ดิน เป็นมวลสารหลัก และดินเองก็หาได้ง่ายและพบเห็นได้ทั่วๆไป
จึงส่งผลทำให้การสร้างจำนวนพระได้มากกว่านั่นเอง
รับประกันตามกฎของเวป
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน42,000 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 29 ก.ย. 2565 - 20:05:24 น.
วันปิดประมูล - 03 ต.ค. 2565 - 20:29:41 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลPHLOI (3.5K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 29 ก.ย. 2565 - 20:05:43 น.



1


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 29 ก.ย. 2565 - 20:06:09 น.



2


ข้อมูลเพิ่มเติม 3 - 29 ก.ย. 2565 - 20:06:33 น.



3


ข้อมูลเพิ่มเติม 4 - 29 ก.ย. 2565 - 20:06:52 น.



4


ข้อมูลเพิ่มเติม 5 - 29 ก.ย. 2565 - 20:07:20 น.



5


 
ราคาปัจจุบัน :     42,000 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Panitgang (3.4K)

 

Copyright ©G-PRA.COM