(0)
พระสังกัจจายน์หล่อโบราณ เนื้อทองผสม รุ่นแรก ปี2495 วัดสังข์กระจายฯ กรุงเทพฯ บัตรรับประกันการันตีพระ เคาะแรก







ชื่อพระเครื่องพระสังกัจจายน์หล่อโบราณ เนื้อทองผสม รุ่นแรก ปี2495 วัดสังข์กระจายฯ กรุงเทพฯ บัตรรับประกันการันตีพระ เคาะแรก
รายละเอียด(องค์จริงตามรูป)
รูปหล่อพระสังกัจจายน์ หล่อดินไทยโบราณ รุ่นแรก วัดสังข์กระจายวรวิหาร กรุงเทพฯ สร้างราวปี พ.ศ.๒๔๙๕ พระหล่อสวยชนวนเก่าวัดสุทัศน์มากมาย เนื้อโลหะทองผสมเก่าแห้งก้นกลวงแบบพระบูชา เนื้อในเหลืองอมเขียว ผิวน้ำตาลอมแดงเข้ม มีคราบฝุ่นความเก่าจับติดผิว เป็นพระที่มีอายุความเก่ามากกว่า ๖๐ปี บูชาท่านแล้วมีแต่โชคลาภ เงินทองไหลมาเทมา ค้าขายคล่อง ไม่มีอดตาย
••รายละเอียด••
สร้างราวปี พ.ศ.๒๔๙๕ ลักษณะขององค์พระ มีขนาดประมาณ ๒ x ๒.๕ ซม. เป็นเนื้อโลหะทองผสม มีแผ่นยันต์ต่างๆเป็นมวลสาร ท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์) วัดสุทัศน์ฯเป็นเจ้าพิธี มหาพุทธาภิเษกยิ่งใหญ่ โดยมีพระเกจิอาจารย์ที่โด่งดังในยุคนั้นมาร่วมพิธีหลายรูป เช่น
-หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี,
-หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยาณมิตร,
-หลวงพ่อฑูรย์ วัดโพธินิมิต ฯลฯ
ประวัติวัดสังข์กระจาย
เรื่องราวของวัดสังข์กระจาย ที่กล่าวถึงมูลเหตุของการสร้างวัดนี้ เท่าที่พบในตำนานปรากฏไม่ค่อยละเอียดย่นย่อเกินไป เคราะห์ดีที่มีบันทึกเกี่ยวกับประวัติของวัดบางตอนของท่านเจ้าคุณพระอริยศี ลาจารย์ (วรรณ ป.3) อดีตเจ้าอาวาส ประกอบกับได้อาศัยคำชี้แจงของผู้สูงอายุบางท่านที่น่าเชื่อถือได้ มากลั่นกรองใคร่ครวญประกอบเป็นตำนานโดยยึดข้อเท็จจริงที่น่าจะเป็นหลัก ก็ทำให้รู้เรื่องราวได้พิสดารออกไปกว่าเดิม
ตามบันทึก ท่านเจ้าคุณพระอริยศีลาจารย์เผยว่า ได้ฟังมาจากท่านเจ้าคุณพระสังฆวรานุวงศ์เถระ (เอี่ยม) พระอุปัชฌาย์ของท่านเองอีกต่อหนึ่ง ท่านบอกว่า ตำแหน่งที่วัดตั้งอยู่นี้แต่เดิมเป็นที่ลุ่มราบผู้เฒ่าผู้แก่ก่อน ๆ ท่านก็รับสมอ้างว่าจริง น่าจะเป็นด้วยอยู่ริมคลองน้ำขึ้นท่วมถึงได้ บริเวณก็รกร้างทึบ มีต้นไม้ขนาดคนสามคนโอบ เช่น ต้นไทร ต้นตะเคียน ต้นยาง ยืนต้นเคียงแข่งกันแลดูครึ้มทะมึนวังเวง ไม้เครือเถาต่าง ๆ ก็ขึ้นไต่ต้นไม้สูง ๆ ระโยงรยางค์ยั้วเยี้ยไม่ผิดกับป่าลึกดงร้าง นี่น่าจะเป็นมาตั้งแต่ครั้งที่ยังไม่ได้สร้างวัดเสียอีก ต้นไม้เหล่านี้ส่วนมากได้ตัดเสียครั้งท่านเจ้าคุณพระอริยศีลาจารย์ (เอี่ยม) ในรัชกาลที่ 5 ในสมัยท่านเจ้าคุณวรรณก็ยังเป็นดงอยู่มาก แต่ละต้นสูงใหญ่เงื้อมฟ้าทั้งนั้น กล่าวกันว่า เคยมีนกแร้งมาอาศัยออกไข่ทำรัง ปัจจุบันยังมีเหลืออยู่บ้าง แต่ไม่ค่อยสูงเหมือนก่อน เพราะได้โค่นลงเสียมากต่อมากนัก
ในทำเนียบพระอารามหลวง แจ้งว่า ก่อนสร้างวัดขึ้นใหม่ครั้งกรุงรัตนโกสินทร์นี้ วัดสังข์กระจายเป็นวัดโบราณมาก่อน เห็นจะราว ๆ ยุคปลายกรุงศรีอยุธยาคาบเกี่ยวกับยุคต้นกรุงธนบุรี ได้สอบถามผู้หลักผู้ใหญ่ที่อยู่ใกล้เคียงวัดนี้ และเคยพบเห็นการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในสมัยเจ้าคุณวรรณ ชี้แจงให้ฟังน่าจะมีเค้าสมจริง เพราะได้เคยขุดพบลูกนิมิตหลายลูกฝังอยู่ทางด้านนอกกำแพงแถบเหนือพระอุโบสถ เดี๋ยวนี้อยู่ถัดหลังวัดวิหารออกมา แต่ก็คงจะเป็นวัดเล็ก ๆ ภายหลังที่บ้านเมืองอยู่ในยุคทมิฬติดพันด้วยศึกพม่า ไร้ผู้คนและพระสงฆ์จะอยู่จึงร้างโรยราไป ทั้งนี้เนื่องจากเป็นวัดที่ไม่ใหญ่โตอะไร จึงไม่ทิ้งร่องรอยไว้ให้จับหลักฐานได้มากนัก อีกประการหนึ่งก็คงจะถูกถอนเสียในคราวเริ่มสร้างใหม่ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ นี่เอง
ตำนานของวัดสังข์กระจายมีหลักฐานทราบได้แน่นอน ก็ตกสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งมีเรื่องเล่ากันมาว่า
ในปลายสมัยกรุงธนบุรี มีสัปบุรุษผู้หนึ่ง เป็นสัมมาจารีบุคคล เคร่งครัดในการให้ทานบำเพ็ญกุศลและสดับธรรม สมาทานศีลอุโบสถอยู่เป็นนิจ เป็นสัปบุรุษที่มีจริยาวัตรน่าเลื่อมใสของวัดราชสิทธาราม สัปบุรุษผู้นี้เป็นข้าราชการตำแหน่งนายสารบบ (ในกรมพระสุรัสวดี) ชื่อนายสังข์ ตั้งบ้านเรือนอยู่บนฝั่งห่างจากปากคลองบางวัวทองลึกเข้าไปประมาณ 7 เส้นเศษ จำเนียรกาลมา นายสังข์ได้มีจิตศรัทธาดำริจะสร้างวัดขึ้นใหม่ในที่ดินแดนนี้ จึงได้ไปปรึกษากับนายพลับผู้ชอบพอคุ้นเคยกัน เพื่อขอไม้ซุงมาสักต้นหนึ่ง นายพลับเมื่อได้ทราบดังนี้ ก็อนุโมทนาพลอยยินดีด้วย และอนุญาตให้ซุงต้นหนึ่งตามความประสงค์
เมื่อตอนล่องซุงในคลองบางวัวทอง นายสังข์ได้ตั้งสัตยาธิษฐานว่า “ เดชะ ด้วยอำนาจบุญญปณิธาน หากซุงที่ข้าพเจ้าปล่อยให้กระแสน้ำพัดล่องไปตามลำคลองนี้ลอยไปติด ณ ที่ใด ข้าพเจ้าก็จักจัดการสร้างวัดขึ้นตรงนั้น” ซึ่งเป็นธรรมดาของคนโบราณย่อมถือในเรื่องอำนาจบุญดลบันดาลและเทพาบันดาลหนุน ด้วยอำนาจเสี่ยงสัตยาธิษฐานซุงก็ได้ลอยมาติดตรงหน้าวิหารปัจจุบันนี้เป็น อัศจรรย์ มีทำเลพอเหมาะพอดีควรแก่การสร้างวัดนัก นายสังข์จึงเลยตกลงสร้างวัดตรงนี้ แต่การสร้างวัดนั้นเป็นเรื่องใหญ่โต ต้องค่อยทำค่อยไปตามกำลังทรัพย์และเวลาจะเกื้อหนุนให้ หนแรกนายสังข์ได้คิดสร้างกุฏิวิปัสสนาขึ้นก่อน จึงได้เลื่อยซุงท่อนนั้นออกเป็นเครื่องบน กุฏิวิปัสสนานี้ ก่ออิฐถือปูนขาว กว้าง 2 วา ยาว 3 วา 1 คืบ สูง 2 วา 1 คืบ เท่านั้น ไม่มีช่อฟ้าใบระกาหางหงส์ มีประตูหน้าต่างอย่างละหนึ่งบาน ซ้ำทำไว้เล็ก ๆ อีกด้วย ข้างในทำเป็นแท่นก่อปูนสำหรับนั่งนอนหรือใช้เป็นที่บำเพ็ญวิปัสสนาเหมาะ เฉพาะเพียงคนเดียว
ต่อมาเจ้าจอมแว่น หรือที่เรียกขานกันว่าคุณเสือ เป็นชาวเมืองเวียงจันทร์ พระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ส่งข้าหลวงสนิทคนหนึ่งเป็นหญิงมดชื่อจ่ายให้ไปเฝ้าสวนของตนซึ่งมี เนื้อที่ติดกับที่ของนายสังข์ นางจ่ายคนนี้น่าจะมีอะไรแปลก ๆ เป็นแน่จึงเรียกกันว่าแม่มด และเจ้าจอมแว่นคงจะเห็นเหมาะที่จะเฝ้าสวนจึงได้ส่งมา ภายหลังไม่นานนางจ่ายกับนายสังข์มีความสนิทชอบพอกันมาก จึงดำริร่วมใจกันที่จะสร้างวัดนี้ต่อไป นางจ่ายถึงกับขันอาสาไปขอความช่วยเหลือจากเจ้าจอมแว่น ในที่สุดความปรารถนาของทั้งสองก็สมประสงค์ เจ้าจอมแว่นได้มอบทุนให้มาจำนวนหนึ่ง ครั้งหลังก็ได้สร้างเพิ่มเติมขึ้นอีกหลายอย่าง คือ สร้างกุฏิขึ้น 4 คณะ ทางมุมด้านใต้เป็นกุฏิตึกถือปูนทั้งหมด แต่ละคณะก็มีกุฏิ 4 หลัง หลังหนึ่ง ๆ มี 2 ห้อง กุฏิเจ้าอาวาสปลูกอยู่ทางทิศตะวันออกของคณะ ได้สร้างถนนผ่านระหว่างช่องกุฏิ แล้วก่อกำแพงอิฐล้อมรอบสูง 1 วา มีประตูเข้าออกทั้ง 4 ทิศ บริเวณที่หมู่กุฏินี้ตั้งอยู่ บัดนี้กลายเป็นเขตบ้านเช่าไปหมดแล้ว
ครั้นแล้วเสร็จ เมื่อจะขอพระราชทานวิสุงคามสีมาต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นตอนที่จะเชิดหน้าชูตาผู้สร้าง ก็เกิดทะเลาะเบาะแว้งเป็นปากเสียงเกี่ยงแย่งกันจะเอาชื่อ นางจ่ายก็อยากจะขอพระราชทานในนามของตนเพราะตัวอุตส่าห์วิ่งหาเงินหาทองมาส ร้าง ฝ่ายนายสังข์ก็ไม่ยอม ปรารถนาจะขอในนามของตนเหมือนกัน เพราะตนก็สละหยาดเหงื่อและแรงกายทุ่มเทมาตั้งแต่แรกเริ่มแทบล้มแทบตาย จึงเมื่อต่างมาเกิดแตกคอกันขึ้นในเรื่องนี้ นางจ่ายจึงวิ่งเข้าหาเจ้าจอมแว่นนายตน เล่าความเป็นมาให้ทราบ โดยฐานะที่เจ้าจอมแว่นเป็นที่พระสนมเอก พระเจ้าอยู่หัวโปรดปรานมาก จะทูลอะไรก็ทูลได้ ครั้นเมื่อได้นำความกราบบังคมทูลเพื่อขอให้พระราชทานวิสุงคามสีมา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมีพระราชดำรัสว่า วัดที่นายสังข์นางจ่ายสร้างขึ้นนั้น ไม่สวยสมเกียรติกับพระสนมเอกเช่นเจ้าจอมแว่น ทรงรับจะสร้างพระราชทานใหม่ จึงโปรดเกล้าให้กรมหมื่นไกสรวิชิตมาเป็นนายงานควบคุมสร้างพระอุโบสถขึ้น ให้หันหน้าไปทางคลองบางวัวทองอยู่เคียงกับกุฏิสงฆ์ของเดิม พร้อมกับได้สร้างกุฏิขึ้นใหม่อีกหมู่หนึ่งตรงมุมพระอุโบสถด้านใต้อีกด้วย
เล่ากันว่า แรกขุดพระอุโบสถนั้น พบพระกัจจายน์องค์หนึ่ง กับสังข์ตัวหนึ่ง เฉพาะสังข์ชำรุดเพราะแรงจอบเสียมที่ขุด ส่วนพระกัจจายน์ที่ขุดได้ครั้งนั้นให้เก็บรักษาไว้เป็นพระคู่อาราม พอสร้างสำเร็จเรียบร้อย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จึงทรงถือเอานิมิตเหตุอันนี้พระราชทานนามว่า “ วัดสังข์กระจาย” นึกคิดดูแล้วก็น่าแปลก วัดนี้นายสังข์กับนางจ่ายเป็นผู้ริเริ่มสร้าง เมื่อนำเอาชื่อของคนทั้งสองมาเข้าคู่กันเป็น “ สังข์- จ่าย” ก็รู้สึกว่าฟังใกล้เคียงกับคำว่า “ สังข์กระจายน์” นามที่พระราชทานเป็นที่สุด.
#อ้างอิงจาก หนังสือประวัติวัดสังข์กระจาย พ.ศ.2533
ราคาเปิดประมูล3,400 บาท
ราคาปัจจุบัน-- ยังไม่มีผู้เสนอราคา -- (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 05 ธ.ค. 2565 - 09:16:15 น.
วันปิดประมูล - 12 ธ.ค. 2565 - 09:16:15 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลthriphop09 (11K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 05 ธ.ค. 2565 - 09:16:59 น.



ใต้ฐานดินเบ้าเดิมๆ


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 05 ธ.ค. 2565 - 09:18:03 น.



เนื้อจัด ตำราวัดสุทัศน์


 
ราคาปัจจุบัน :     3,400 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ท่านต้อง login เข้าสู่ระบบก่อน จึงจะสามารถร่วมประมูลได้ !!!


 

Copyright ©G-PRA.COM