(0)
เริ่ม.200.. ตะกรุดโทน ธงชาติ 3.k หลวงพ่อทบ







ชื่อพระเครื่องเริ่ม.200.. ตะกรุดโทน ธงชาติ 3.k หลวงพ่อทบ
รายละเอียด{ ขอท่านที่พร้อมนะครับ}ขนาดยาว 5”โตประมาณ 1.8.ชม อ้วนโต สวยสุด1.เดียวในเว็บ ประกวดติดที่1..แน่นอน ไม่ผ่านการใช้ ตามบัตรไม่ระบุสภาพ ตะกรุดสร้างประมาณปี 2500-2516.ครับ ตะกรุดโทนแบบนี้ ตะกรุดธงชาติถือเป็นตะกรุดได้รับความนิยมอันดับหนึ่งหรืออันดับต้นต้นของตะกรุดท่านและมีราคาเล่นหาที่แพงที่สุดและหายากที่สุดที่จะเจอตัวจริงถ้าเจอก็จัดสภาพใช้ซะส่วนมากเพราะตะกรุดท่านเป็นตะกรุดที่มีประสบการณ์เป็นตะกรุดสายเหนียวส่วนมากจะผ่านการใช้มาครับ สวยเดิมสมบูรณ์มากๆๆๆ ไม่โดน ถือว่าแบ่งปันกันชม การทุบหัว ตะกั่วไขน้ำนม ครบ ครับผม





ตะกรุดโทนธงชาติราคาไม่ถูกนะครับ ยุคต้น ราคาใกล้ๆแสนเมื่อก่อนแสนกว่า ยุคกลางแบบนี้ก็ประมาณ 30000-45000.฿ครับผม

วันนี้จะมาแนะนำ ตะกรุดธงชาติตะกรุดที่ได้รับความนิยมอันดับต้นๆของหลวงพ่อทบ ปัจบันตะกรุดธงชาติ หายากมากๆ ตะกรุดสายเหนียวเมืองมะขามหวานและเผยแพร่ตำนานตะกรุดหลวงพ่อทบแห่งวัดพระพุทธบาทชนแดนที่มีชื่อเสียงกล่าวขานกล่าวถึงไม้อย่างยาวนาน และ เป็นที่รู้จักดีในกลุ่มสายนักเลงสายเหนียวสายตำรวจสายทหารและข้าราชการในสมัยยุค 2500 บวกลบทุกคนต้องเข้าหาท่าน ลองศึกษาและอ่านประวัติท่านดูรวมถึงประสบการณ์ต่างๆที่ได้กล่าวขวาน กล่าวถึง กันมาอย่างยาวนาน
ตะกรุด หลวงพ่อทบ หรือตะกรุดธงชาติ หลวงพ่อทบ ตะกรุดธงชาติหลวงพ่อทบถือเป็น เอกลักษณ์เฉพาะ ของหลวงพ่อทบ จริงๆตะกรุดธงชาติต้องหลวงพ่อทบ การสร้างตะกรุดธงชาติ ของหลวงพ่อทบ นั้นสร้างครั้งแรกประมาณ ปี พ.ศ.2482 ช่วงสงครามโลก ครั้งที่2 สร้างแจกทหารโดยเฉพาะ ยันต์ภายในจารยันต์ มหาอุตม์ตะกรุด ธงชาติในยุคแรกนั้น จะเป็นทองแดงล้วนพันหนา หลายรอบยาว 5 นิ้วมีขนาดเดียว

ตะกรุด หลวงพ่อทบ จุดสังเกตุตะกรุดธงชาติ ยุคต้นก็คือเชือก ที่พันจะเป็นเชือกแท้ และทาด้วยสี น้ำมันที่ผสมน้ำมัน สนค่อนข้างข้นเพราะว่าผิวของตะกรุดธงชาติ ยุคต้นจะมีลักษณ์ เหนอะๆเพราะสีที่ใช้ทา จะข้นมากตะกรุดยุคต้นปัจจุบันหา ไม่ได้แล้วในยุคต้นๆนั้น หลวงพ่อทบ ท่านจะเน้นแจกทหารลูกหลานชาวเพชรบูรณ์ ที่ออกรบและทหาร ที่เข้ามาประจำการในพื้นที่จังหวัด เพชรบูรณ์

และประสบการณ์ ของตะกรุดธงชาติ โด่งดังมากมีการ ทำต่อเนื่องมาจนถึงช่วงสงครามเกาหลี หลวงพ่อท่าน ก็แจกให้ทหารติดตัว ไปรบโดยเฉพาะลูกหลานชาว เพชรบูรณ์ และตะกรุดธงชาติ ก็ไปสร้างประสบการณให้ประจักษ์แก่สาย ตาทหาร ต่างชาติหลาย ต่อหลายครั้ง การสร้างตะกรุดธงชาติยุคที่ 2 ปี พ.ศ. 2500 การสร้างในครั้งนี้ เชือกที่ใช้พันจะเป็นป่านและไนลอนทาสีน้ำมัน ค่อนข้างข้น และเหนอะ เหมือนยุคต้น

เนื้อโลหะก็จะเป็น ทองแดงล้วน ตะกรุดยุคนี้เอง ที่ประสร้างความอัศจรรย์ให้ประจัก แก่สายตา คนเลือน หมื่นในงานพุทธาพิเศกพระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษ ปี 2500 ตะกรุดของ หลวงพ่อทบ ไม่ละลายขนาด หย่อนลงในเตาหลอม ซึ่งเป็นที่โจษขาร กันมาจน ทุกวันนี้

ตะกรุดธงชาติจึงเป็นเอกลักษณ์ของ หลวงพ่อทบ ตะกรุดธงชาติ ของหลวงพ่อทบมักจะเกี่ยวข้องกับทหารเสมอ และในปี พ.ศ. 2511 ถึง ปี พ.ศ.2512 หลวงพ่อท่านก็ได้จัดสร้างตะกรุดธงชาติ ขึ้นมาอีกเป็นยุคที่ 3 เพื่อแจกทหารในสมรภูมิ

ภูหินร่องกล้า สมรภูมิเข้าค้อ และตะกรุดธงชาติ ยุคนี้ก็โด่งดังจากประสบการณ์ ของทหารที่ ใช้ตะกรุดหลวงพ่อติดต้ว แล้วรอดปลอดภัย กลับมาแล้วกลับไปบวช กับหลวงพ่อ ก็หลายคน ตะกรุดยุคนี้จะเปลี่ยนรูปแบบใหม่โดย จะใช้เชือกป่าน ทาสีน้ำมัน

แต่สีที่ใช้ทา ยุคนี้จะไม่ข้น สังเกตุจากผิวของตะกรุดจะไม่เห็น เหมือนยุคกลาง และยุคต้น และโลหะที่ใช้จะเป็น 3 กษัตริย์ ทองแดง ทองเหลือง ตะกั่ว ทุกแผ่นจะจารยัน มหาอุตม์ล้วนๆ และตะกรุด ธงชาติยุคนี้จะมี 3 ขนาด 5 นิ้ว 3 นิ้ว และ 1 นิ้ว ตอนนี้ทางทีมงาน กำลังหารูป ตะกรุดธงชาติยุคแรกๆ
ประสบการณ์เกี่ยวกับ ตะกรุด หลวงพ่อทบ

คนจากนั้นท่าน ก็มอบ ตะกรุดโทน ให้กับผู้ใหญ่ และลูกชาย ส่วนภรรยาและลูกสาวท่านได้ มอบเหรียญ รูปท่าน กับสีผึ้งให้ไป ก่อนกลับผู้ใหญ่ได้ถวายเงินจำนวน 500 บาทให้ หลวงพ่อทบ แต่ท่านไม่รับ ท่านบอกผู้ใหญ่ว่า “เก็บเอาไว้เถอะยังมีความจำเป็น ต้องใช้อีกมาก วันๆ ข้าไม่ใช้เงินอยู่แล้ว จากนั้นท่านก็ให้พร ผู้ใหญ่ และกำชับว่า กลางค่ำ กลางคืนไม่มีธุระจำเป็นจริงๆ แล้ว อย่าออกไปไหน เป็นอันขาด

มิฉะนั้นอาจเป็นอันตรายได้ เมื่อกลับจากวัดแล้ว ทุกคนต่างก็มีกำลังใจที่จะต่อสู้ป้องกันชีวิต และทรัพย์สิน ของตนเอง ผู้ใหญ่ได้บอกกับลูกเมียให้ทำที่กำลังให้มั่นคง กลางคืนหากมีใคร มาเรียกอย่าขานรับโดยเด็ดขาด ผู้ใหญ่กับลูกชายมีอาวุธครบมือ เพื่อรับกับเหตุร้าย ที่จะเกิดขึ้น เวลาที่ผ่านมานานนับเดือนก็ ไม่มีเหตุร้ายใดๆ

อยู่มาวันหนึ่งแกรู้สึก ตัวในตอนดึก และหิวน้ำจึงลุกขึ้นไปดื่มน้ำ สายตาของผู้ใหญ่ก็เห็น คนกำลังเดิมจะมาเปิด ประตูขึ้นบ้าน ผู้ใหญ่จึงหยิบปืนลูกซองที่เตรียม ไว้ยิงทันที เสียงปืนดังแชะ ผู้ใหญ่ยังไม่ละความพยายาม ขึ้นนกยิงอีกนัด เสียงปืนดังแชะ เหมือนเดิม และแล้วบุรุษผู้มาในยามวิกาลได้ร้องขึ้นว่า “พ่อทำอะไรนะ ฉันเอง

เหตุการณ์ที่มีผู้ประสบเกี่ยวกับตะกรุดหลวงพ่อทบ วัดชนแดน ส่วนมากจะถูกยิงแต่กระสุนด้านเป็นส่วนมากครับ พวกทหารที่ไปรบที่เขาคล้อ ภูหินร่องกล้าต่างก็มีประสบการณ์เกี่ยวกับตะกรุดของหลวงพ่อทบกันมาก ชาวเพชรบูรณ์ต่างก็ห่วงแหนตะกรุดของหลวงพ่อทบมากครับ คาถาบูชาตะกรุดหลวงพ่อทบ วัดชนแดน…….พระคาถาบทนี้เหมาะสำหรับใช้บูชาตะกรุดของหลวงพ่อทบก่อนออกจากบ้านครับอมมะปลุกลุกลุกมิมิ อมมะปลุกลุกลุกมิมิ อมมะปลุกลุกลุกมิมิ นะในปิด

โมร่วมมิตร พุธปิดเบื้องบน ทาปิดซ้ายขวา ยะอุดเป็นมะหาอุด อุดด้วยนะโมพุทธายะ นะอุดโมอัด ยะปัด โมปิด พระเจ้าแผลงฤทธิ์ปิดทวารทั้งเก้า ปิดทั้งข้างนอก ปิดทั้งข้างใน ปิดทั้งไม้แอ่แลร่วมมิตรปิดทั้งหน้าปิดทั้งตัว ปิดทั้งธาตุ ปิดทั้งธนูและเกาทัน อยู่ยงคงกระพัน กันปืนอันมีลูก
เท่านั้นเองปืนลูกซอง แทบหล่นจากมือ แกรีบเดินไปเปิดประตูและสวมกอดลูกชาย แล้วถามว่า เอ็งหรอกหรือไอ้ทิด แล้วเอ็งออกไปทำไมตอนดึกดื่มเที่ยงคืนอย่างนี้ ลูกชายก็ตอบว่า ฉันปวดท้องเบาจึงลุกไปฉี่ข้างนอก ผู้ใหญ่ยกมือท่วม หัวแล้วพูดว่า เป็นเพราะบารมีหลวงพ่อ แท้ๆ ที่ช่วยไม่ให้พ่อต้องฆ่า ลูกในไส้ ในตัวของลูกชาย ผู้ใหญ่มีตะกรุดโทนของหลวงพ่อทบ เพียงดอกเดียวเท่านั้น

ประวัติหลวงพ่อแบบสั้้นๆ

อ.ชนแดน จ.เพชรบูรณ์ หลวงพ่อทบท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ.2424 ณ บ้านหัวลม ตำบลนายม เพชรบูรณ์ โยมบิดาชื่อเผือก โยมมารดาชื่ออินทร์ หลวงพ่อทบท่าน บวชเณรตั้งแต่ พ.ศ.2440 ที่วัดช้างเผือก และอุปสมบท เมื่อปี พ.ศ.2445 ที่วัดเกาะแก้ว บ้านนายม เพชรบูรณ์ โดยมีพระครูเมืองเป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ปานเป็น พระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์สีเป็นพระอนุสาว นาจารย์ อุปนิสัยของ

ท่านเป็นพระที่มีเมตตา สุขุมเยือกเย็น พูดน้อย หลวงพ่อทบท่านได้สร้างวัดและบูรณะวัดวาอารามไว้หลายวัด ด้วยกันในแถบ เพชรบูรณ์ หลวงพ่อทบท่านออกธุดงค์ไปใน สถานที่ต่างๆ มากมาย หลังจากนั้นท่านก็มาจำพรรษาอยู่ที่วัดศิลาโมง วัดเสาธงทองเจริญธรรม วัดเกาะแก้ว วัดสว่างอรุณ วัดพระพุทธบาทเขาน้อย และวัดช้างเผือก เป็นต้น

และทุกวัดที่หลวงพ่อทบ ท่านจำพรรษา อยู่ท่านจะบูรณปฏิสังขรณ์ จนวัดมีความเจริญรุ่ง เรืองทุกวัด หลวงพ่อทบท่านมรณภาพ ในวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ.2519 ปัจจุบันสังขารของ หลวงพ่อทบยัง เก็บรักษาไว้ในโลงแก้วภายในมณฑปตาม เจตนาของ ท่าน มีประชาชนมามนัสการ เป็นประจำมิได้ขาด

การสร้างตะกรุดหลวงพ่อทบจะใช้ช่างชาวบ้านและพระเณรมาช่วยกันทำเริ่มจากการตัดโลหะก็จะตัดตามขนาดที่ต้องการแล้วก็นำไปม้วนช่วงแรกๆจะมีการม้วนด้วยมือแต่งานออกมาจะไม่ค่อยสวย
ต่อมาเลยดัดแปลงโดยใช้ไม้หีบมาคีบแล้วม้วนตะกรุดชุดนี้จึงม้วนได้แน่นและสวยงาม..แต่มีปัญหาเวลาม้วนเสร็จโลหะจะคลี่ออกทุกดอกจึงได้ลองทุบหัวตะกรุดดูปรากฏว่าตะกรุดำม่คลี่ออก
...ตั้งแต่นั้นมาตะกรุดหลวงพ่อทบจึงมีการเก็บหัวตะกรุดด้วยการทุบหัวทั้งสองข้างจนติดปากชาวบ้านว่าตะกรุดหลวงพ่อทบต้องทุบหัว... ในยุคต้นๆการเก็บหัวตะกรุดจะใช้การทุบหัวบนไม้เลียบๆทั้งสองด้านงานออกมาจึงบุบๆบี้ๆในตะกรุดยุคต้นๆตะกรุดยุคต้นนั้นหลวงพ่อทบท่านจารเองลงอักขระเองจนมายุคกลางหลวงพ่อทบจึงมอบหมายให้พระอาจารย์เพ็งลูกศิษย์ที่หลวงพ่อทบไว้ใจมากที่สุดในการจารแผ่นโลหะทุกแผ่นครับ

การพันตะกรุดหลวงพ่อทบหลวงพ่อไม่ได้กำหนดลายถักขึ้นอยู่กับจินตนาการของคนถักเองจะเห็นได้ว่าตะกรุดของหลวงพ่อทบจะมีหลายลายครับไม่ถือเป็นข้อยุติ ในยุคกลางเรื่มมีการทำเครื่องมือในการใช้เก็บและย้ำหัวตะกรุดขึ้นมา...คล้ายๆกับตะปูตีสังกะสี...มีแท่งเหล็กตรงกลางแล้วมีหมวก...ก็จะเอาแท่งเหล็กเสียบลงไปในรูของตะกรุดส่วนหมวกก็จะวางบนหัวตะกรุด จากนั้นก็ใช้ค้อนตอกไล่เบาๆ การเก็บกัวแบบนี้งานจะออกมาสวยงามเป็นระเบียบสวยกว่ายุคต้นๆ
และอีกอย่างตะกรุดของหลวงพ่อทบในยุคกลางเริ่มมีตะกรุด3 กษัตริย์เข้ามาทำให้การเก็บหัวตะกรุดแบบเดิมๆทำไม่ได้แล้ว เชือกที่ใช้พันตะกรุดของหลวงพ่อทบนั้นจะใช้เชือกแท้ เชือกป่านเชือกปอ และเชือกไนลอน การพันด้วยในลอนเป็นงานที่ยากมากๆเพราะเชือกจะลื่นส่วนใหญ่ตะกรุดที่ใช้เชือกไนลอนพันจะพบว่าจะพันแค่ 2 เส้นเท่านั้นเพราะจะทำให้พันง่ายสอดซ่อนเงื้อนได้ง่ายกว่าใช้เชือกเส้นใหญ่...นี้ก็เป็นเอกลักษ์อีกอย่างในการพิจารณาตะกรุดหลวงพ่อทบ

การพันตะกรุดหลวงพ่อทบโดยจะเริ่มพันรอบแรกแล้วจะเก็บซ่อนเงื้อน1เส้นแล้วเหลือหัวเชือกไว้ประมาณ 1-2 นิ้วเพื่อใช้ดึงเชือกรัดตะกรุดให้แน่นในขั้นตอนสุดท้าย เมื่อพันไปจนเสร็จแล้วก็จะเก็บหัวเชือกโดยการพันยึดกับเชือกเส้นสุดท้ายแล้วสอดเชือกกลับไปที่เริ่มต้นจนปลายเชือกโพล่จากนั้นก็จะใช้มือกำตะกรุดแล้วหมุนเชือกรอบๆตะกรุดจนแน่นแล้วก็ดึงปลายเชือกที่โพล่ออกมาให้ตึงเชือกจะรัดตะกรุดจนแน่นแล้วก็ตัดปลายเชือกที่เกินออก

....จากนั้นก็จะนำตะกรุดไปทุบหัวให้ปลายตะกรุดทั้งสองข้างบานออกเพื่อล็อคเชือกที่พันไว้ไม่ให้หลุด...ตรงนี้ก็เป็นเอกลักษณ์อีกอย่างครับของการพิจารณาตะกรุดหลวงพ่อทบ....ในยุคกลางลงมาการเก็บเชือกจะไม่สวยงามเหมือนยุคต้นๆเพราะเวลาในการสร้างน้อยความต้องการตะกรุดของหลวงพ่อมีมาก ท่านอาจารย์เพ็งเคยเล่าให้อาจาร์วีรวัฒน์ฟังว่าตะกรุดบางรุ่นของหลวงพ่อทบไม่พันเชือกก็มีเป็นตะกรุดเปลือยๆช่วงนั้นตะกรุดชุดนี้จะเอาไปแจกที่จังหวัดจันทบุรีและตราด ปัจจุบันเล่นเป็นพระเกจิในพื้นที่ไปแล้ว การเก็บปลายเชือกยุคกลางปมจะใหญ่มากหรือไม่ก็เอาไฟจี้เอาเลยจะสังเกตุได้ว่าตะกรุดยุคปลายและยุคปลายจะเห็นมีการใช้ไฟจี้เอาเลย...

การพิจารณายุคของตะกรุดหลวงพ่อทบ

1.นอกจากพิจารณาจากความเก่าของโลหะแล้วยังพิจารณาจาก การเก็บหัวตะกรุด ยุคต้นการเก็บหัวจะไม่เรียบร้อย ส่วนยุคกลางและยุคปลายจะมีการเก็บหัวที่สวยงามเป็นระเบียบ

2. พิจารณาจากการเก็บปลายเชือกในยุคต้นๆการเก็บปลายเชือกจะมองแทบไม่รู้เลยเพราะการเก็บปลายเชือกไว้ใต้เชือกที่พัน ส่วนยุคกลางจะผูกปมค่อนข้างใหญ่หรือไม่ก็มัดเอาดื้อๆ และมีการใช้ไฟจี้เพื่อให้เชือกติดกันเป็นข้อสังเกตุอีกอย่าง

3. ขนาดของตะกรุดใยยุคต้นตะกรุดจะดอกไม่ใหญ่มีทั้งดอกสั้นและดอกยาวใช้โลหะ1-2 ชนิด ในยุคกลางตะกรุดจะเริ่มใหญ่ขึ้นมีทั้งดอกสั้นและดอกยาวและการม้วนโลหะจะหนากว่าทุกรุ่นส่วนยุคปลายดอกจะไม่ใหญ่มากแต่จะมีโลหะตั้งแต่ 2 อย่างขึ้นไป

4. ตะกรุดของหลวงพ่อทบส่วนใหญ่...ตรงนี้สังเกตุให้ดีครับ ขอบทั้ง 4 ด้านของแผ่นโลหะจะตัดมุนออกทั้ง 4 มุม สังเกตุให้ดีครับจะเห็นได้ทั้งด้านในและด้านนอกครับ...ตรงนีเชื่อว่ายังไม่มีใครเคยสังเกตุลองดูครับส่วนใหญ่จะมี...ขอบคุณข้อมูลจากทีมงานเปิดตำนานหลวงพ่อทบการสร้างตะกรุดหลวงพ่อทบจะใช้ช่างชาวบ้านและพระเณรมาช่วยกันทำเริ่มจากการตัดโลหะก็จะตัดตามขนาดที่ต้องการแล้วก็นำไปม้วนช่วงแรกๆจะมีการม้วนด้วยมือแต่งานออกมาจะไม่ค่อยสวย
ต่อมาเลยดัดแปลงโดยใช้ไม้หีบมาคีบแล้วม้วนตะกรุดชุดนี้จึงม้วนได้แน่นและสวยงาม..แต่มีปัญหาเวลาม้วนเสร็จโลหะจะคลี่ออกทุกดอกจึงได้ลองทุบหัวตะกรุดดูปรากฏว่าตะกรุดำม่คลี่ออก
...ตั้งแต่นั้นมาตะกรุดหลวงพ่อทบจึงมีการเก็บหัวตะกรุดด้วยการทุบหัวทั้งสองข้างจนติดปากชาวบ้านว่าตะกรุดหลวงพ่อทบต้องทุบหัว... ในยุคต้นๆการเก็บหัวตะกรุดจะใช้การทุบหัวบนไม้เลียบๆทั้งสองด้านงานออกมาจึงบุบๆบี้ๆในตะกรุดยุคต้นๆตะกรุดยุคต้นนั้นหลวงพ่อทบท่านจารเองลงอักขระเองจนมายุคกลางหลวงพ่อทบจึงมอบหมายให้พระอาจารย์เพ็งลูกศิษย์ที่หลวงพ่อทบไว้ใจมากที่สุดในการจารแผ่นโลหะทุกแผ่นครับ

การพันตะกรุดหลวงพ่อทบหลวงพ่อไม่ได้กำหนดลายถักขึ้นอยู่กับจินตนาการของคนถักเองจะเห็นได้ว่าตะกรุดของหลวงพ่อทบจะมีหลายลายครับไม่ถือเป็นข้อยุติ ในยุคกลางเรื่มมีการทำเครื่องมือในการใช้เก็บและย้ำหัวตะกรุดขึ้นมา...คล้ายๆกับตะปูตีสังกะสี...มีแท่งเหล็กตรงกลางแล้วมีหมวก...ก็จะเอาแท่งเหล็กเสียบลงไปในรูของตะกรุดส่วนหมวกก็จะวางบนหัวตะกรุด จากนั้นก็ใช้ค้อนตอกไล่เบาๆ การเก็บกัวแบบนี้งานจะออกมาสวยงามเป็นระเบียบสวยกว่า
ราคาเปิดประมูล180 บาท
ราคาปัจจุบัน11,020 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ20 บาท
วันเปิดประมูล - 16 ธ.ค. 2565 - 21:44:49 น.
วันปิดประมูล - 17 ธ.ค. 2565 - 22:00:31 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลsakbangbon (2.3K)(1)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 16 ธ.ค. 2565 - 21:45:26 น.



ภาพ


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 16 ธ.ค. 2565 - 21:45:45 น.



ภาพ


ข้อมูลเพิ่มเติม 3 - 16 ธ.ค. 2565 - 21:46:03 น.



ภาพ


ข้อมูลเพิ่มเติม 4 - 16 ธ.ค. 2565 - 21:47:24 น.



พระมีบัตรรับรองให้แล้ว ขอท่านที่พร้อมชื้อจริง ไม่พร้อมผ่านก่อนนะครับ


 
ราคาปัจจุบัน :     11,020 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     20 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Wanitcha (1.4K)

 

Copyright ©G-PRA.COM