(0)
เขือกปะกำช้าง หลวงพ่อพัฒน์ ปุญญ์กาโม วัดห้วยด้วน








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องเขือกปะกำช้าง หลวงพ่อพัฒน์ ปุญญ์กาโม วัดห้วยด้วน
รายละเอียด#ความศักดิ์สิทธิ์ #ความเข้มขลัง
ของ 🐘((#เชือกปะกำคล้องช้าง))🐘
🙏🙏🙏วัตถุมงคล ที่ควรมีไว้ติดตัว🙏🙏🙏
ที่สร้างไว้ได้หมดไปแล้ว ใครมีเก็บให้ดีเชียว

#เชือกปะกำช้าง ถือเป็นทนสิทธิ์เครื่องรางชนิดหนึ่งที่มีฤทธิ์ในตัวบวกกับการนำเข้าพิธีมงคลคล้องช้าง และพิธีของพราหมณ์ เพราะการคล้องช้างสมัยโบราณนั้นจะใช้หนังควายเป็นปะกำคล้องช้าง เพราะมีความเหนียว ความทน วัตถุประสงค์ ก็เพื่อนำช้างนั้นมาใช้ในการออกศึกหรือนำมาใช้ในราชพิธี และงานวัตถุประสงค์ที่จำเป็นตามคติความเชื่อ ช้างนั้นถือเป็นสัตว์มงคล มาตั้งแต่โบราณกาลจวบจนปัจจุบัน เพราะมีความเกี่ยวพันกับวิถีการเป็นอยู่ของมนุษย์
เพราะเหตุนี้ปะกำช้างจึงกลายมาเป็นเครื่องรางที่มีคุณวิเศษในตัว ทั้งทางด้านการข่มคุณไสย คุณผีคุณคน ป้องกันอาถรรพ์ เป็นเมตตามหานิยมต่อผู้ที่ได้ครอบครอง ”เชือกปะกำและพระเทวกรรม “ ในวัฒนธรรม และประเพณีการเลี้ยงช้างของชาวช้างเมืองสุรินทร์
คำว่า #ปะกำ ชาวช้างจะให้ความสำคัญมาก เพราะว่า รวมถึงพิธีเซ่นสรวงเชือกปะกำ และเซ่นสรวงศาลผีปะกำ พิธีเซ่น เชือกปะกำ เป็นการอัญเชิญดวงวิญญาณ ผีบรรพบุรุษที่เคยเป็น ครูบา หมอช้าง ฯ ให้มาสิงสถิตอยู่ในเชือกปะกำเส้นนี้ เชือกปะกำจึงเป็นสิ่งสำคัญมากเป็นอุปกรณ์มงคลชั้นสูงที่ใช้ในการคล้องช้างป่า จึงมีการเก็บรักษาไว้อย่างดีที่ศาลปะกำ เชือกปะกำส่วนใหญ่ทำมาจากหนังควายสามเส้นมาพันเกลียวกัน คนที่จะทำเชือกปะกำได้ จะต้องเป็นครูบาหรือหมอช้างเท่านั้น เชือกปะกำมีความสำคัญมากถ้าเซ่นไหว้ไม่ดี ก็จะทำให้เกิดความอัปมงคล เหตุร้าย กับทั้งคนและช้างของตัวเอง
พิธีเซ่นศาลปะกำ ศาลปะกำจะมีลักษณะคล้ายๆบ้านหลังเล็กๆเป็นที่เก็บเชือกปะกำ ส่วนใหญ่จะหันหน้าไปทางทิศตะวันออก พิธีเซ่นศาลปะกำจะกระทำกันทุกปี หรือว่า มีเหตุต้องเคลื่อนย้ายเชือกปะกำ( เช่นการแสดง การคล้องช้างประจำปี ต้องใช้เชือกปะกำประกอบการคล้องช้างแสดง จึงต้องทำพิธีกรรมก่อนจะเรียกว่าสมัยใหม่ ว่า ศาลปะกำ สัญจร เช่นงานบวช งานแต่ง ฯ )ศาลปะกำเป็นที่เก็บรักษาเชือกปะกำ จึงเป็นจารีตประเพณีของช้างที่ต้องเคร่งครัดต่อศาล เชือกปะกำ เรียกว่า ศาลปะกำประจำตระกูล การเซ่นสรวงศาลปะกำ จะทำปีละครั้งเหมือนการทำบุญประจำปี
#ศาลปะกำและหมอปะกำช้าง
แล้วคำว่า ปะกำ มากจากไหน ปะกำ ของชาวช้างมาจากคำว่า พระเทวกรรม เป็นความเชื่อของชาวเอเชีย มีบันทึก พระเทวกรรมที่เมืองกำแพงเพชรสมัยอยุธยา พระเทวกรรม ถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ระดับขาใหญ่ ในพิธีกรรมการคล้องช้างในสมัยโบราณ
ในเรื่องเล่าพระนารายณ์๑๐ปาง พระนารายณ์ลงมาจากสวรรค์เพื่อปราบช้างเอกทันต์โดยมีพระคเณศ ประทับอยู่ด้านขวาพระเทวกรรมประทับด้านซ้ายและได้ให้พระมเหศวรเป็นคนไล่ต้อนโขลงช้างของช้างเอกทันต์ พระนารายณ์ได้เอาตรีปักลงดินเกิดเป็นต้นมะตูม เอาเถาวัลย์ที่ต้นมะตูมเป็นเชือกสำหรับคล้องช้างส่วนพระมเหศวร เมือคล้องช้างเอกทันต์ได้นำไปผูกไว้ที่ใต้ต้นคูณ พระนารายณ์จึงให้ตำราพฤฒิบาศเพื่อไว้ทำพิธีปัดเสนียดจัญไรของช้าง ขณะนั้นพระนารายณ์ทรงประทับใต้ต้นยอ ตั้งแต่นั้นมาไม้มะตูม ไม้คูณ ไม้ยอ เป็นไม้มงคล เป็นไม้ต้องห้ามของชาวช้าง ต้องรักษาไว้เพื่อวิชาคชศาสตร์และวิชาคชกรรม
ชาวช้างเมืองสุรินทร์ไม่ว่า กูย เขมร ลาว ต่างเชื่อกันว่า เชือกปะกำมีผีปะกำคอยดูแลช่วยเหลือป้องคุ้มครองชาวช้าง การไม่ดูแลช้าง ทุบตีช้าง ดูถูกช้าง เชื่อกันว่า ชาวช้างคนนั้น
........................
เนื้อหาบทความจากเพจ นักเลง โบราณ
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน120 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ20 บาท
วันเปิดประมูล - 01 ก.พ. 2566 - 23:18:44 น.
วันปิดประมูล - 03 ก.พ. 2566 - 13:13:40 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลสุขใจ123 (146)(1)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     120 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     20 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    surasit1961 (663)

 

Copyright ©G-PRA.COM
www1