(0)
“แบ่งปันเคาะเดียวแดง” เหรียญพุทธชินสิห์ ใบโพธิ์ใหญ่ ปี 2516 วัดบวรนิเวศ กทม พิธีใหญ่








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่อง“แบ่งปันเคาะเดียวแดง” เหรียญพุทธชินสิห์ ใบโพธิ์ใหญ่ ปี 2516 วัดบวรนิเวศ กทม พิธีใหญ่
รายละเอียดกราบสวัสดีครับ
ผมขออนุญาตแจ้งการจัดส่งครับ
1.จัดส่งวัสดุทุกวัน ยกเว้น เสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์
2.จัดส่งด้วย ขนส่งไปรษณีย์ไทยทุกรายการ
ถ้ายอดตั้งแต่ 500 ขึ้นไปจะจัดส่ง ems ให้ ถ้ายอดต่ำกว่า 500 จะส่งลงทะเบียน แต่ถ้าต้องการ ems ให้บวกค่าจัดส่งเพิ่ม 30 บาทครับ
3.เมื่อแจ้งโอนแล้ว กรุณาแจ้งด้วยว่า ที่อยู่ในการจัดส่ง มีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการจัดส่ง
ราคาเปิดประมูล130 บาท
ราคาปัจจุบัน150 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ20 บาท
วันเปิดประมูล - 23 ก.ค. 2566 - 20:30:02 น.
วันปิดประมูล - 24 ก.ค. 2566 - 21:40:04 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลBENZ6698 (1.1K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 23 ก.ค. 2566 - 20:30:54 น.



"พระพุทธชินสีห์" พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง นับเป็นพระพุทธรูปสำคัญองค์หนึ่งในหัวเมืองฝ่ายเหนือที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.๔) ทรงเคารพนับถือมาก

ตามประวัติศาสตร์กล่าวว่า สร้างขึ้นโดยพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก เจ้านครเชียงแสน ในคราวเดียวกับที่ทรงสร้าง "พระพุทธชินราช" และ "พระศาสดา" เมื่อคราวที่พระองค์เสด็จลงมาตั้งเมืองที่พิษณุโลก

สมัยรัตนโกสินทร์ ในราว พ.ศ.๒๓๗๒ ได้อัญเชิญลงมาประดิษฐาน ณ มุขหลังของพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร และเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงผนวชและครองวัดบวรฯ จึงทูลขอพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.๓) อัญเชิญ "พระพุทธชินสีห์" มาประดิษฐานยังมุขหน้า หน้าพระพุทธรูปองค์ใหญ่ ปัจจุบันประดิษฐานเป็นพระประธานอยู่ในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร

ประวัติการจัดสร้างเหรียญพระพุทธชินสีห์นั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นที่ระลึกและพระราชทานในงานสมโภชพระพุทธชินสีห์ ในวโรกาสที่เสด็จกลับจากยุโรป เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๐ เป็นเหรียญพระพุทธที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางทั้งในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องและเหรียญคณาจารย์และหมู่พุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป

สืบเนื่องด้วยเหรียญนี้สามารถรวบรวมความทรงคุณค่าอันเป็นที่เคารพรักและศรัทธาสูงสุดของคนไทยทั้งประเทศมารวมไว้ได้ถึง ๓ ประการ คือ

๑.เป็นเหรียญที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกสำหรับการสมโภชองค์ "พระพุทธชินสีห์" ที่เคารพรักของปวงชนชาวไทย

๒.โปรดเกล้าฯ ให้สร้างโดย "พระปิยมหาราช" กษัตริย์อันเป็นที่รักยิ่งของชาวไทย ซึ่งทรงเป็นพระมหากษัตริย์องค์แรกที่ได้เสด็จเยือนประเทศในทวีปยุโรป

และ ๓.สร้างเมื่อครั้งสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ผู้เป็นที่เคารพศรัทธาของพุทธศาสนิกชนและคนไทยทั่วทั้งประเทศ ครองวัดบวรนิเวศวิหารอยู่

เหรียญพระพุทธชินสีห์มีลักษณะเป็นเหรียญรูปทรงใบโพธิ์ ไม่มีก้าน ไม่มีรูคล้องเหรียญ ขอบข้างเลื่อย ด้านหน้าปรากฏลายเส้นใบของใบโพธิ์ กึ่งกลางเป็นรูปจำลองพระพุทธชินสีห์ ใต้ฐานมีอักษรไทยว่า "พระพุทธชินสีห์" ส่วนด้านหลังปรากฏลายเส้นใบ ปลายใบด้านบนเป็น "อุณาโลม" ถัดลงมาเป็นข้อความภาษาไทยว่า "งารสมโภชเมื่อเสดจกลับจากยุโรป ๒๔๔๐"

การจัดสร้างเหรียญรุ่นนี้ มี ๒ เนื้อ คือ เนื้อทองแดง และเนื้อทองแดงกะไหล่ทอง โดยมีการจัดสร้าง ๒ ลักษณะ คือ ๑.เหรียญกลมไม่ตัดปีก หูเชื่อม มีรูปใบโพธิ์อยู่ตรงกลาง ถ้าเป็นเนื้อทองแดงกะไหล่ทอง ค่านิยมอยูในหลัก ๒-๓ แสนบาท ส่วนเนื้อทองแดงทั่วไปค่านิยมอยู่ในหลักแสนบาท

๒. เหรียญรูปใบโพธิ์ ค่านิยมอยู่ในหลัก ๒-๓ แสนบาท ส่วนการทำปลอมนั้นเหรียญที่ฉลุตามรูปใบโพธิ์มีการปลอมเยอะมาก ส่วนเหรียญกลมยังไม่ปรากฏของปลอม เข้าใจว่าเนื่องจากมีจำนวนการสร้างค่อนข้างน้อย จึงไม่มีของแท้ไปถอดพิมพ์

ส่วนเหรียญพระพุทธอีกเหรียญที่ขึ้นชื่อว่าเก่ารองลงมา คือ เหรียญพระพุทธชินราช หลังแสดงกสิกรรม วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ (วัดใหญ่) จ.พิษณุโลก สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๗ ค่านิยมอยู่ในหลักแสนต้นๆ เป็นเหรียญที่สร้างสมัย พระวรญาณมุณี (พร้อม พุทธสรโณ นิลพงศ์ ป.ท.๗) เป็นเจ้าอาวาส (พ.ศ.๒๔๕๓-๒๔๙๑) จัดสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึก ในวาระที่จังหวัดจัดงานแสดงกสิกรรมในสมัยรัชกาลที่ ๖ ตอนต้น

ด้านเหรียญพระสงฆ์ที่ขึ้นชื่อว่าเก่าแก่ที่สุด คือ เหรียญหลวงพ่อแก้ว พรหมสโร หรือพระครูวินัยธรรม เจ้าอาวาสรูปแรก วัดพวงมาลัย ต.บ้านปรก อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม หลวงพ่อแก้ว เป็นพระธุดงค์ที่มีความเชี่ยวชาญหลักสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน มีคนนับถือมาก เชื่อกันว่าท่านสำเร็จญาณวิเศษ สามารถล่วงรู้เหตุการณ์ต่างๆ ได้ ชื่อเสียงของท่านเป็นที่เลื่องลือมากในสมัยนั้น ทั้งนี้ใน พ.ศ. ๒๔๙๕ ได้จัดสร้างเหรียญเป็นรูปของท่านด้วยเนื้อทองแดงเพียงอย่างเดียว ค่านิยมของเหรียญในสภาพที่สวยสมบูรณ์อยู่ในหลักล้านบาท

อย่างไรก็ตาม ในปีเดียวกันนี้ ยังมีอีกวัดหนึ่งใน จ.สมุทรสงคราม จัดสร้างเหรียญเช่นกัน คือ หลวงพ่ออยู่ บุญยฆัง วัดบางน้อย อ.บางคณที จ.สมุทรสงคราม อดีตอมตเถระยุคเก่าผู้เข้มขลังแห่งลุ่มน้ำแม่กลอง เหรียญนี้สร้างในคราวที่ท่านมีอายุครบ ๗๐ ปี และถือเป็นเหรียญพระคณาจารย์เหรียญแรกที่มีการใช้ศิลปะโดยนำเอาอักขระตัวขอมมาชักยันต์เป็นเส้นสายประทับไว้ที่ด้านหลังเหรียญ
แม้จะเป็นเหรียญที่สร้างในปีเดียวกับเหรียญหลวงพ่อแก้ว แต่ค่านิยมต่างกันมาก กล่าวคือเหรียญหลวงพ่ออยู่ เนื้อเงินราคาหลักแสนบาทเท่านั้น ในขณะที่เหรียญหลวงพ่ออยู่เนื้อทองแดงค่านิยมอยู่ในหลัก ๓-๔ หมื่นบาทเท่านั้น

ประวัติแห่งการสร้างพระพุทธชินสีห์

พระพุทธชินสีห์ เป็นพระพุทธรูปสำคัญพระองค์หนึ่งของหัวเมืองฝ่ายเหนือ สร้างขึ้นคราวเดียวกันกับพระพุทธชินราช และพระศาสดา ได้ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารด้านเหนือของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก มาแต่ต้น

ต่อมาพระวิหารชำรุดทรุดโทรมลง ขาดการปฏิสังขรณ์ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ จึงโปรดให้อัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๒

การสร้างพระพุทธรูปทั้ง ๓ พระองค์ของเมืองพิษณุโลกนั้น มีตำนานกล่าวไว้ว่า เมื่อ พ.ศ.๑๕๐๐ พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกมหาราช แห่งเมืองเชียงแสน เสด็จมาตีเมืองสองแควได้ จึงทรงสร้างเมืองสองแควขึ้นใหม่ พระราชทานนามว่า เมืองพิษณุโลก ทำนองว่าเป็นเมืองอันพระวิษณุกรรมเสด็จลงมาสร้าง

ครั้นสร้างพระนครเสร็จแล้ว มีพระราชศรัทธาสร้างวัดวาอาราม มีวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเป็นพระอารามหลวง แล้วทรงหล่อพระพุทธรูป ๓ องค์ ได้แก่ พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา

พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกมหาราช โปรดให้ประดิษฐานพระพุทธชินราช ณ พระวิหารใหญ่ ทิศตะวันตกของพระมหาธาตุประดิษฐานพระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา ณ พระวิหารใหญ่ทิศตะวันออก ทางทิศเหนือองค์หนึ่ง ทิศใต้องค์หนึ่ง พระพุทธชินสีห์และพระศรีศาสดา จึงประดิษฐานอยู่ในวิหารเดียวกันตลอดมากว่า ๙๐๐ ปี จนกระทั่งมีการอัญเชิญลงมากรุงเทพฯ ทั้งสององค์ คือ พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา


 
ราคาปัจจุบัน :     150 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     20 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    worawut153 (771)

 

Copyright ©G-PRA.COM
www1