(0)
เหรียญที่ระลึกครบ 50 ปี บรมราชาภิเษก (ทองแดงรมดำพ่นทรายพิเศษ) ปี 2543








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องเหรียญที่ระลึกครบ 50 ปี บรมราชาภิเษก (ทองแดงรมดำพ่นทรายพิเศษ) ปี 2543
รายละเอียดเหรียญที่ระลึกครบ 50 ปี บรมราชาภิเษก (ทองแดงรมดำพ่นทรายพิเศษ)พ.ศ.๒๕๔๓ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 30 มม.หนัก15กรัม
เนื่องจากเดือนเมษายน และเดือนพฤษภาคม เป็นช่วงระยะเวลาที่ในอดีตเคยได้มีเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์เกิดขึ้น ซึ่งเป็นมหามงคลสมัยที่ปวงพสกนิกรชาวไทยปลื้มปิติโสมนัสกันทั่วทั้งแผ่นดิน นั่นคือ ในเดือนเมษายน เมื่อวันที่ 28 เมษายน พุทธศักราช 2493 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้ประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสขึ้น และเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พุทธศักราช 2493 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกขึ้น
เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติและน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่ทั้งสองพระองค์ทรงปฏิบัติ พระกรณียกิจเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม จึงขอนำบทความเรื่องเหรียญที่ระลึกครบ 50 ปี ราชาภิเษกสมรสและเหรียญที่ระลึกครบ 50 ปี บรมราชาภิเษก ซึ่งเป็นเหรียญที่ระลึกที่กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ได้รับพระบรมราชานุญาตให้จัดขึ้นในปี พ.ศ. 2543 อันเป็นโอกาสครบรอบ 50 ปี แห่งการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และราชาภิเษกสมรสไว้ ณ โอกาสนี้
ในระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ประทับศึกษาอยู่ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทรงพบกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ธิดาในพระวรวงศ์เธอกรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ (พระนามเดิม หม่อมเจ้านักขัตรมงคลกิติยากร) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระอิสริยยศขึ้นเป็นพระองค์เจ้านักขัตรมงคล เมื่อพุทธศักราช 2493 และในพุทธศักราช 2495 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นเป็นพระองค์เจ้าต่างกรม มีพระนามว่า พระวรวงศ์เธอกรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ และหม่อมหลวงบัว (สนิทวงศ์) กิติยากร
ต่อมาในวันที่ 19 กรกฎาคม 2492 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงหมั้นกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จนิวัติพระนครในปีพุทธศักราช 2493 ในวันที่ 28 เมษายน ของปีนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสขึ้น ณ พระตำหนักสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ในวังสระปทุม ในการนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ขึ้นเป็นสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ด้วย
วันที่ 5 พฤษภาคม พุทธศักราช 2493 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามแบบอย่างโบราณราชประเพณีขึ้น ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณในพระบรมมหาราชวัง เฉลิมพระบรมนามาภิไธยตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช มหิตลาธิ เบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทรสยามมินทราธิราชบรมนาถบพิตร พร้อมทั้งพระราชทานพระปฐมบรมราชโองการว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” ในโอกาสนี้ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ ขึ้นเป็นสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี
หลังจากเสร็จการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแล้วได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงรักษาสุขภาพ และทรงศึกษาวิชาต่อ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ระหว่างประทับรักษาพระองค์อยู่นั้น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี มีพระสูติกาลพระราชธิดาพระองค์แรกคือ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าอุบลรัตน ราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี หลังจากพระเจ้าลูกเธอพระองค์แรกเจริญพระชันษาได้ 6 เดือน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี ได้เสด็จนิวัติกลับพระนคร ประทับ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต หลังจากนั้นทรงย้ายไปประทับ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ณ พระที่นั่งนี้ ทรงมีพระประสูติกาลพระราชโอรสพระราชธิดาอีกสามพระองค์ คือ
- สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ สยามมกุฎราชกุมาร
- สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี
- สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี
วันที่ 22 ตุลาคม พุทธศักราช 2499 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จออกทรงผนวช ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง ในการนี้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี ทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลาผนวช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในปีเดียวกันนั้นเอง ในปีพุทธศักราช 2500 ทรงย้ายที่ประทับจากพระที่นั่งอัมพรสถานพระราชวังดุสิต ไปประทับที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต ตราบจนปัจจุบัน
นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จดำรงสิริราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 9 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยามตามที่ทรงตั้งพระราชปณิธานไว้ ทรงอุทิศพระองค์เพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุขตลอดพระราชอาณาจักร ก่อให้เกิดโครงการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริมากมายเหลือคณานับ ทั้งนี้มีพระราชประสงค์เพื่อให้เกิดประโยชน์สุข และความเจริญรุ่งเรืองเป็นปึกแผ่นของพสกนิกรและประเทศชาติ เช่นเดียวกับสมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงประกอบพระราชกรณียกิจร่วมกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาโดยตลอด ทรงเป็นสมเด็จพระบรมราชินีนาถในระบอบประชาธิปไตยโดยแท้จริง ทรงเป็นคู่พระบารมี ทรงร่วมทุกข์ร่วมสุขร่วมแบ่งเบาพระราชภาระของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทั้งสองพระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์และพระบรมราชินีนาถผู้ทรงคุณธรรมอันประเสริฐ เปี่ยมล้นด้วยพระมหากรุณาธิคุณต่อปวงอาณาประชาราษฎร์อันหาที่สุดมิได้
ดังนั้นเพื่อการเทิดพระเกียรติ และน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของสองพระองค์ กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง จึงจัดทำเหรียญที่ระลึกครบ 50 ปี ราชาภิเษกสมรส
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน320 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ20 บาท
วันเปิดประมูล - 05 ต.ค. 2566 - 18:45:03 น.
วันปิดประมูล - 06 ต.ค. 2566 - 19:27:45 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลmars7783 (2.3K)(1)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     320 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     20 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    jarykira (581)(1)

 

Copyright ©G-PRA.COM