(0)
**เคาะแดง**เหรียญนั่งพานเนื้อเงินพระครูกาชาด วัดดอนศาลา ปี37








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่อง**เคาะแดง**เหรียญนั่งพานเนื้อเงินพระครูกาชาด วัดดอนศาลา ปี37
รายละเอียดประวัติและพิธีการสร้าง พระชุดพระครูกาชาต(บุญทอง) ปี37ครบอายุ75ปี ตามประวัติดังนี้
......พระครูกาชาด วัดดอนศาลา ตำบล มะกอกเหนือ อำเภอ ควนขนนุน จังหวัด พัทลุง พระอาจารย์เรืองวิทยาคมขลังศิษย์เอกพ่อท่านเอียด

วัดดอนศาลา
พระครูกาชาด จึงมีความเชี่ยวชาญในพระเวทวิทยาคม "ตำหรับเขาอ้อ" ทุกแขนง ทั้งทางด้านพิธีแช่ว่านยา พิธีกินน้ำมันงา พิธีกินข้าวเหนียวดำ

และพิธีกินว่าน ฯลฯ ซึ่งเป็นวิชาที่ขึ้นชื่อลือชามาแต่ครั้งโบราณ. ซึ่งพระอาจารย์เอียดชื่นชมท่านมากว่า เก่งจริง รู้จริงด้าน

ไสยเวทย์ ยกย่องให้เป็นศิษย์เอกท่าน ในปี 2487 พระอาจารย์เอียด ก็ทำพิธีส่งมอบคัมภีร์วิชาการต่างๆของสายเขาอ้อ หรือ

พิธีมอบภาระการสืบสายวิชาสำนักเขาอ้อ อย่างเป็นทางการที่วัดดอนศาลาให้แก่พระครูกาชาด โดยมี อาจารย์นำ แก้วจันทร์

ในเวลานั้นยังอยู่เพศคฤหัสถ์ร่วมเป็นสักขีพยานพร้อมกับคณะศิษย์เขาอ้ออีกหลายคนในพิธีด้วย หลังจากพระอาจารย์เอียด

มรณภาพลง พระครูกาชาด ก็รับหน้าที่เป็นเจ้าอาวาสวัดดอนศาลาและเป็นผู้สืบทอดรักษาตำราเขาอ้อ

พระครูกาชาดได้ปฏิบัติหน้าที่เจ้าอาวาสวัดดอนศาลาอย่างดี ยังผลให้วัดดอนศาลามีความเจริญก้าวหน้ามาอย่างต่อเนื่อง

รวมทั้งมีกฏเกณฑ์ปฏิบัติต่างๆที่เคร่งครัด ตามพระวินัย ส่งผลให้วัดดอนศาลาเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาจากประชาชนโดยทั่วไป

แต่ด้านชื่อเสียงอาจจะไม่คุ้นหูมากนัก เนื่องจาก ท่านชอบความสันโดษ มักน้อย พูดน้อย เก่งในไสยเวทย์แบบคมในฝัก. จนดูเงียบๆ บางที

ทำให้เราหลงลืมท่านไป
ในวันที่สร้างพระปิดตามหาอุตม์ พระครูกาชาด มีสิริอายุครบ 75 ปี อุปสมบทที่วัดดอนศาลามาตั้งแต่อายุ 21 ปี โดยไม่เคยลาสิกขาเลย จึงดำหริการก่อตั้งมูลนิธิ วัดดอนศาลา และได้สร้างปิดตามหาอุตม์ และ พระปิดตามหาลาภ ขึ้นเจริญรอยตามพ่อท่านเอียด ที่เคยสร้างพระปิดตาอันลือลั่น มาแล้วในสมัยสงครามอินโดจีน และยังได้สร้างเพิ่ม เหรียญนั่งพาน ขึ้นในโอกาสที่หายจากการอาพาธ เพื่อมอบเป็นที่ระลึกแด่ผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคทรัพย์ก่อตั้งมูลนิธิวัด ดอนศาลา
พิธีการสร้าง
พระครูกาชาด วัดดอนศาลา เริ่มอธิษฐานจิตปลุกเสกพระปิดตาและเหรียญนั่งพาน แบบเดี่ยว ตั้งแต่วันมหามงคล "วันวิสาขบูชา" ที่ 24 พฤษภาคม 2537 จนถึงวันที่ 7 กรกฎาคม 2537 รวมเป็นเวลาปลุกเสกเดี่ยวนานถึง 45 วัน
หลังจากนั้นพระครูกาชาดได้จัดพิธีมหาพุทธาภิเษกขึ้นอีกครั้ง ในวันที่ 8 กรกฎาคม 2537 ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น 1 ค่ำ ตามตำรา "ยามอัฎฐกาล"ตำหรับเขาอ้อ ซึ่งตำรากล่าวไว้ว่า เป็นวัน"อำมฤคชัย" (ฤกษ์แห่ง ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ ที่ให้ผลในการต่อสู้ได้รับชัยชนะเสมอ) และ "ราชาโชค" (ฤกษ์แห่ง ความราบรื่น ความนิยมชมชอบ ความสะดวกสบาย ความมีเกียรติ มีชื่อเสียง) ซึ่งเป็นฤกษ์ที่ดีที่สุดของปีนั้น
โดยพระครูกาชาดจุดเทียนชัย ในเวลา 19.19 น. ซี่งเป็นยาม "ที่นำทางให้บังเกิดลาภผล เป็นเงิน เป็นทอง ดียิ่งนัก
พระคณาจารย์เรืองวิทยาคมสาย "เขาอ้อ" อันเกรียงไกรผนึกพลังร่วมอธิฐานจิตปลุกเสกอย่างเข็มขลังถึง 12 รูป ได้แก่
1. พระราชปริยัติมุนี เจ้าคณะจังหวัดพัทลุง วัดคูหาสวรรค์
2. หลวงพ่อกลั่น วัดเขาอ้อ
3. หลวงพ่อศรีเงิน วัดดอนศาลา
4. หลวงพ่อคล้อย วัดภูเขาทอง
5. หลวงพ่อแพ วัดประดู่เรียง
6. หลวงพ่อพรหม วัดบ้านสวน
7. หลวงพ่อชวน วัดโคกเนียน
8. หลวงพ่อช่วง วัดคอนปันตาราม
9. หลวงพ่อบุญให้ วัดสุนทราวาส
และยังมีพระคณาจารย์ผู้มีพระราชทินนาม"พระครู 4 กา" หมายถึง "ท้าวจตุมหาราช" ผู้รักษาโลกทั้ง 4 องค์ ทรงแปลงกายเป็นกา 4 ตัว เฝ้าดูแลรักษา"พระบรมธาตุเจดีย์"ทั้ง 4 ทิศ คือ
10. พระครูกาเดิม วัดตะเขียนบางแก้ว
11. พระครูการาม วัดชายคลอง
12. พระครูกาแก้ว วัดอินทราวาส
ร่วมกับพระครูกาชาด วัดดอนศาลา นั่งปรกตลอดพิธี
พระคณาจาย์เรืองวิทยาคมสาย"เขาอ้อ"อันเกรียงไกร ผนึกพลังปลุกเสกอย่างเข้มขลังตลอด 3 ชั่วโมงเต็มๆ เมื่อถึงเวลาดี 4 ทุ่ม 19 นาที "ยังอยู่ในยามที่นำทาง ให้บังเกิดลาภผล เป็นเงินเป็นทองดี่ยิ่งนัก
และหลวงพ่อศรีเงิน รองเจ้าอาวาสวัดดอนศาลา ได้ดับเทียนชัย(ท่านพระครูกาชาด เป็นเจ้าอาวาสนามเดิม "บุญทอง" ซึ่งเป็นผู้จุดเทียนชัย นับเป็นมหามงคลนามคู่ที่ถูกโฉลกอย่างยิ่ง) พระคณาจารย์โปรยปรายข้าวตอกดอกไม้ และประพรมน้ำพระพุทธมนต์ทั่วอิทธิมงคลเป็นเสร็จพิธีโดย

ถูกต้องสมบูรณ์ แบบทุกประการ
นิมิตรอัศจรรย์วันพิธีพุทธาภิเษก
โดยทราบกันดีว่าภาคใต้ของเรามีฝนตกชุกมาก บางครั้งตกทั้งวันทั้งคืน ในเช้าวันที่ 8 กรกฎาคม 2537 เวลา 10.39 น. พระครูกาชาด วัดดอนศาลา จัดเครื่องบูชาในพิธีเพื่อสักการะบูชาเทพเทวดา และปรมาจารย์เขาอ้อ อันเกรียงไกร รวมทั้ง"หลวงพ่อเหลือ"พระพุทธรูปเก่าแก่และศักดิ์สิทธิ์ประจำวัดดอนศาลามา เป็นเวลานาน "เล่ากันว่าหลวงพ่อเหลือ สามารถเรียกฝนให้ตกตามฤดูกาลได้ และถ้ามีงานสำคัญๆ ก็บันดาลให้ฝนไม่ตกได้เช่นกัน"
ด้วยอนุภาพความศักดิ์สิทธิ์ของ หลวงพ่อเหลือ รวมทั้งหมู่เทพยาดาทั้งหลายและปรมาจารย์เขาอ้อ ทั้งปวงปรากฏ "ตั้งแต่เช้าฝนจนเสร็จสิ้นพิธี ฝนไม่ตกเลย" คงมีแต่เสียง"ฟ้าร้องคำราม" ตลอดเวลาที่พระคณาจารย์ แผ่พลังกระแสจิตปลุกเสกเท่านั้น
พระครูกาชาด กล่าวว่า "ปกติฝนจะตกและตกทุกวัน ตกห่าใหญ่ หรือตกเล็กน้อย แต่วันทำพิธีฝนกลับไม่ตกเลย มีแต่เสียงฟ้าร้องคำรามเท่านั้น ก็น่าจะเป็นนิมิตรที่ดีและเป็นที่น่าอัศจรรย์เหมือนกัน
ดังนั้นพระปิดตาทั้ง 2 รุ่น ทั้งปิดตามหาอุตม์ และปิดตามหาลาภ รุ่นนี้จึงได้มีผู้ขนานนามว่า "พระปิดตาฟ้าร้อง"
เหนียวคงมาทางซ้าย.👈👉 เงินทองมากมายมาทางขวา

(แยกเสกระหว่างชาตรีมหาอุตย์🎯 กับเมตราโชคลาภ)

📯(#ปิดตามหาอุตย์) ↩ ↪ (#ปิดตามหาลาภ)📯

เสกเดี่ยว โดยอ.บุญทอง.ก่อนเข้าพิธีใหญ่ เป็นเวลานาน ด้วยท่านหวังให้เป็นของที่ระลึกตอบแทนน้ำใจของสาธุชนที่ร่วมบุญอย่างดีที่สุด เข้มขลังที่สุด เกิดผลสูงสุด และเป็นความรับผิดของอาจารย์ผู้สร้างสายเขาอ้อโดยแท้ ทำต้องให้ดี ไม่ดีจะไม่ทำ ให้เสียชื่อของสำนักและบูรพาจารย์ #โดยท่านได้แยกเสกออกจากกันระหว่างปิดตาทั้งสองแบบ. กล่าวคือ ท่านอาจารย์เสกปิดตามหาอุตย์ก่อนเน้นไปในทางแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี มหาอุตย์ คลอบคลุมทางฤทธิ์. เป็นเวลานานหลายเดือน และส่วนปิดตามหาลาภเสกแยกเช่นกัน มุ่งเน้นไปในทางเมตรา อำนวยความร่มเย็นคลอบคลุมทางเมตราโชคลาภ. อีกเป็นเวลาหลายเดือน และนามของพระปิดตาชุดนี้ก็คือพระปิดตาฟ้าร้องอีกชื่อนึง ด้วยความอัศจรรย์ในพิธีในวันนั้นด้วย. และหลังจากนั้นได้นำพระชุดนี้ทั้งสองพิมพ์ รวมกับเหรียญนั่งพานนำเข้าพิธีใหญ่ตามฤกษ์ ในวันที่ 8. กรกฎาคม 2537 อันเป็นเวลายามอัฐกาล ที่ส่งผลทางความสำเร็จ เป็นอันปิดพิธีก่อนส่งมอบให้สาธุชนได้บูชาหาเงินรายได้พัฒนาวัดและจัดตั้งกองทุนมูลนิธิทางการกุศลต่อไป...ถือว่าเป็นวัตถุมงคลสายเข้าอ้ออย่างแท้จริง ที่น่าใช้น่าบูชาอย่างยิ่งอีกชุดนึง ของท่านพระครูกาชาด(บุญทอง) 🙇‍♂️🙏🙏🙏🙇‍♂️
วัตถุมงคลที่จัดสร้างและจำนวนการสร้างในครั้งนี้
1. พระปิดตามหาอุตม์
1.1 เนื้อเงิน สร้าง 800 องค์
1.2 เนื้อสัมฤทธิ์ สร้าง 800 องค์
1.3 เนื้อทองฝาบาตร สร้าง 2,000 องค์
1.4 เนื้อทองแดง สร้าง 3,000 องค์
2.ปิดตามหาลาภ
2.1 เนื้อเงิน สร้าง 800 องค์
2.2 เนื้อสัมฤทธิ์ สร้าง 800 องค์
2.3 เนื้อทองฝาบาตร สร้าง 2,000 องค์
2.4 เนื้อทองแดง สร้าง 3,000 องค์
3.เหรียญนั่งพาน
3.1. เนื้อทองคำ. 76. เหรียญ
3.2 เนื้อเงิน 1000 เหรียญ
3.3 เนื้อสัมฤทธิ์. 2000 เหรียญ
3.4 เนื้อทองแดง 5000เหรียญ
**ประกันแท้**
ราคาเปิดประมูล450 บาท
ราคาปัจจุบัน650 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 26 พ.ย. 2566 - 21:56:13 น.
วันปิดประมูล - 28 พ.ย. 2566 - 00:14:13 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลKenPabon (109)(1)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     650 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Theiceman23 (92)(2)

 

Copyright ©G-PRA.COM