(0)
แหวนยันต์มงคล วัดมงคลบพิตร ปี 2485








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องแหวนยันต์มงคล วัดมงคลบพิตร ปี 2485
รายละเอียดแหวนยันต์มงคล วัดมงคลบพิตร ปี 2485
ในปี พ.ศ. 2485 ไ้ด้มีการจัดสร้างเหรียญพระมงคลบพิตรและแหวนยันต์มงคล เหรียญที่จัดสร้างขึ้นเป็น เหรียญปั๊ม 5 เหลี่ยม มีหูในตัว มีทั้งเนื้อทองแดง เนื้อเงิน และเนื้อทองแดงพระเกศเป็นทองคำ ซึ่งเป็นพระคะแนน พิธีกรรมยิ่งใหญ่ไม่แพ้การจัดสร้างพระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษ เปิดโอกาสให้ประชาชนได้เช่าบูชา ดังนี้

- บริจาค 1 บาท ได้รับเหรียญพระมงคลบพิตร เนื้อทองแดง หรือแหวนยันต์มงคล อย่างใดอย่างหนึ่ง
- บริจาค 2 บาท ได้รับแหวนยันต์มงคลเนื้อเงินขัดเงา 1 วง
- บริจาค 3 บาท ได้รับเหรียญพระมงคลบพิตร เนื้อเงิน 1 เหรียญ
- บริจาค 4 บาท ได้รับแหวนยันต์มงคลเนื้อเงินกะไหล่ทอง 1 วง
- บริจาค 100 บาท ได้รับเหรียญพระมงคลบพิตรเนื้อทองแดง หรือแหวนยันต์มงคลเนื้อทองแดง อย่างใดอย่างหนึ่ง 110 ชิ้น และแถมพระมงคลบพิตรเนื้อทองแดง พระเกศทองคำ (เหรียญคะแนน)
พิธีการสร้างเหรียญพระมงคลบพิตรและแหวนยันต์มงคล ปี พ.ศ. 2485 แบ่งเป็น 2 วาระ วาระแรกคือพิธีกรรมหลอมทอง กระทำ ณ วิหารพระมงคลบพิตร เริ่มตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ ต่อเนื่องถึงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2485 พระญาณไตรโลกาจารย์ (ฉาย) วัดพนัญเชิงวรวิหาร เป็นประธานจุดเทียนชัย ไฟที่ใช้จุดเทียนชัยนี้ ไม่ใช่ไฟธรรมดา แต่ใช้ล่อจากแสงอาทิตย์ ซึ่งนับว่าเป็นไฟฟ้าอย่างแท้จริง
ในระหว่างพิธี ได้นำแม่พิมพ์ที่ใช้สร้างเหรียญพระมงคลบพิตรและแหวนยันต์มงคลไปถวายพระเถรา จารย์ ลงเลขยันต์ปลุกเสก และยังได้อาราธนาประชุมปลุกเสกพร้อมกัน ทั้งแม่พิมพ์และโลหะทั้งหมดที่จะนำไปหลอม ณ ที่เฉพาะพระพักตร์พระมงคลบพิตรอีกครั้งหนึ่ง

โลหะที่นำไปหลอมจัดสร้างวัตถุมงคลใน ครั้งนั้น ประกอบด้วยแ่ผ่นทองจากพระอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคมในจังหวัดต่าง ๆ ลงอักขระปลุกเสกและส่งมาร่วมในพิธี จำนวน 121 รูป โลหะเครื่องรางโบราณที่พบในบริเวณพระราชวังโบราณ คราวปรับปรุงเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยาอีกมากชนิด เช่น ชินสังขวานรบนวิหารพระมงคลบพิตร ชินสังขวานรจากวัดพระศรีสรรเพชญ์ ชินสังขวานรจากวัดป่าพาย ทองคำจากองค์พระมงคลบพิตร เนื้อสำริดกะเทาะจากองค์พระมงคลบพิตร พระชินขุนแผนจากวัดป่าพาย วัดสะพานเงินสะพานทอง พระชินกำแพงพันจากวัดพระศรีสรรเพชญ์ วัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ พระปรุหนังวัดพระศรีสรรเพชญ์ พระชินวัดขุนหลวงต่างใจ พระปิดทวารในเจดีย์พระราชวังโบราณ ลูกอมทองแดง วัดพระราม แผ่นทองกะเทาะจากองค์พระธาตุเชียงใหม่ ฯลฯ

นอกจากนี้ ยังมีทองชนวนจากพิธีสำคัญของพระอารามต่าง ๆ เช่น ทองชนวนพิธี วัดอนงคาราม ทองชนวนพิธี วัดหิรัญรูจี ทองชนวนรุ่นพระอาจารย์ 108 ของพิธีวัดราชบพิธ พ.ศ. 2481 ทองชนวนนวโลหะ พิธีหล่อพระชัยของสมเด็จพระสังฆราชเจ้า วัดราชบพิธ ทองชนวนพระกริ่งวัฒนะ วัดกัลยาณมิตร ทองชนวนพระกริ่ง วัดชนะสงคราม ทองชนวนพระกริ่ง วัดสุทัศน์ ทองชนวนนวโลหะจากพิธีสำคัญต่าง ๆ ฯลฯ

ในวันรุ่งขึ้น 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2485 ครั้นได้ปฐมฤกษ์ เวลา 10:21 น. หลวงปู่จาด วัดบางกระเบา เป็นประธานหย่อนแผ่นเงินจารึกดวงประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน กับดวงฤกษ์ลงเบ้า เพื่อหลอมรวมกับทองชนวนและโลหะมงคลต่าง ๆ ซึ่งสุมรวมอยู่ในเบ้าอยู่ก่อนแล้ว ต่อมา ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ ภริยา ฯพณฯ ปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ใส่ทองคำหนัก 1 บาท (ทองคำนี้ได้อาราธนาพระเถราจารย์ลงอักขระปลุกเสกโดยเฉพาะทุกรูป) ลงเบ้าจนละลายเข้ากันดี แล้วหลวงปู่จาด จึงเริ่มเททอง โหรลั่นฆ้องชัย พิณพาทย์บรรเลง พระเถราจารย์ทั้งหลายเจริญชัยมงคลคาถา เมื่อดับเทียนชัยแล้ว พระเถราจารย์ทั้งหมดได้มาบริกรรมปลุกเสกทองที่หลอมเสร็จกับแม่พิมพ์อีกครั้ง หนึ่ง เป็นอันเสร็จพิธีหลอมทอง

เหรียญพระมงคลบพิตรและแหวนยันต์มงคลทุกชิ้นที่สร้างขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเนื้อทองแดงหรือเนื้อเงิน ล้วนได้เจือทองในพิธีผสมทั่วกันหมด

หลังจากจัดสร้างเสร็จเป็นองค์พระเครื่องแล้ว ได้จัดให้มีพิธี พุทธาภิเษกอีกครั้งหนึ่ง ในวันเสาร์ ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 (วันเสาร์ห้า) ตรงกับวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2485 ณ พระอุโบสถ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพมหานคร
พระคณาจารย์ 121 รูป ที่เมตตาลงอักขระปลุกเสกแผ่นทอง ส่งมาร่วมพิธี ล้วนเป็นพระเถระผู้ทรงวิทยาคมแห่งยุค อาทิเช่น
สมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศน์
สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ (สมเด็จพระสังฆราช ชื่น) วัดบวรนิเวศวิหาร
สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) วัดมหาธาตุ
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ) วัดเทพศิรินทราวาส
พระญาณไตรโลกาจารย์ (ฉาย) วัดพนัญเชิง
หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้ กาญจนบุรี
หลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่นอก
หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก
หลวงปู่เฮี้ยง วัดป่า อรัญญิกาวาส ชลบุรี
หลวงปู่จันทร์ วัดบ้านยาง ราชบุรี
หลวงปู่กลิ่น วัดสะพานสูง
หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ชลบุรี
หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม นครปฐม
หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก ฉะเิชิงเทรา
หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว สมุทรปราการ
หลวงปู่จาด วัดบางกระเบา ปราจีนบุรี
พระครูอาคมสุนทร (มา) วัดราชบูรณะ กรุงเทพฯ
พระครูพิทักษ์ธรรมโสภิต วัดแหลมฟ้าผ่า สมุทรปราการ
หลวงปู่บ่าย วัดช่องลม สมุทรสงคราม
หลวงปู่เส่ง วัดกัลยาณมิตร
หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ สมุทรสาคร
หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม สมุทรสงคราม
หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ พระนครศรีอยุธยา
หลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ พระนครศรีอยุธยา
พระอธิการจันทร์ วัดคลองระนง นครสวรรค์
หลวงปู่จันทร์ วัดนางหนู ลพบุรี
หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง นครปฐม
หลวงพ่อปลื้ม วัดปากคลองมะขามเฒ่า ชัยนาท
หลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง นครปฐม
หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก พระนครศรีอยุธยา
หลวงพ่อเล็ก วัดบางนมโค พระนครศรีอยุธยา
พระอาจารย์แฉ่ง วัดบางพัง นนทบุรี
ฯ ล ฯ
นอกจากส่งแผ่นทองเข้าร่วมพิธีแล้ว พระเถระหลายท่านยังได้เมตตารับนิมนต์ร่วมทำพิธีหลอมทอง ณ วัดมงคลบพิตร และพิธีพุทธาภิเษก ณ วัดราชบพิธอีกด้วย กล่าว ได้ว่า เหรียญพระมงคลบพิตร พ.ศ. 2485 เป็นหนึ่งในสุดยอดเหรียญที่เต็มเปี่ยมด้วยพุทธคุณ มีขั้นตอนการสร้างอันพิถีพิถันและงดงามยิ่ง

- เพื่อป้องกัน ความสับสน หากเปลี่ยนที่อยู่จัดส่ง กรุณาส่งข้อความแจ้งพร้อม การแจ้งโอนเงิน
- หากโอนแล้ว กรุณา แจ้ง
- พระมูลค่าปิด ต่ำกว่า 500 ขออนุญาติส่งแบบลงทะเบียน (ได้รับพระ 5-10 วันหลังส่ง)
- หากต้องการให้ส่งแบบอีเอ็มเอสเพิ่ม 30 บาท
กรุณาแจ้ง การโอนเงินทุกรายการ กรุณาแจ้งด้วยว่าจำนวนเท่าไหร่ พระอะไรครับเพื่อให้การจัดส่งรวดเร็วยิ่งขึ้น / ไม่แจ้งรายละเอียดส่งช้าครับ ++++ ผ่านMail Box ของทางเวปเท่านั้น
* สำคัญที่สุด **** ทุกยอดโอนกรุณาแจ้งทาง Mail Box G -Pra เท่านั้น ** ไม่รับแจ้งทาง SmS หรือ โทรศัพท์ ทุกกรณี**** /+ จะเปลี่ยนที่อยู่แจ้งตอนโอนเสร็จแล้ว **อย่าแจ้งก่อนกันสับสน+
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน1,550 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 27 พ.ย. 2566 - 12:32:35 น.
วันปิดประมูล - 04 ธ.ค. 2566 - 01:31:31 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลnop168 (20.1K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 27 พ.ย. 2566 - 12:32:48 น.



1


 
ราคาปัจจุบัน :     1,550 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    apeleven (596)

 

Copyright ©G-PRA.COM
www1