(0)
*** วัดใจเท่าไรเท่านั้น*** เหรียญรุ่น 3 "งามเอก" พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ วัดภูทอก จ.บึงกาฬ (หนองคายเดิม) ปี 2515 เนื้อทองแดงรมดำ คุณเกษมและคุณปิยะ งามเอก สร้างถวาย พร้อมบัตรรับรองพระเเท้จากทางสถาบันการ







ชื่อพระเครื่อง*** วัดใจเท่าไรเท่านั้น*** เหรียญรุ่น 3 "งามเอก" พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ วัดภูทอก จ.บึงกาฬ (หนองคายเดิม) ปี 2515 เนื้อทองแดงรมดำ คุณเกษมและคุณปิยะ งามเอก สร้างถวาย พร้อมบัตรรับรองพระเเท้จากทางสถาบันการ
รายละเอียดเหรียญรุ่น 3 "งามเอก" พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ วัดภูทอก จ.บึงกาฬ (หนองคายเดิม) ปี 2515 เนื้อทองแดงรมดำ คุณเกษมและคุณปิยะ งามเอก สร้างถวาย สภาพสวย ผิวเดิมๆ ขึ้นพรายเงิน แท้และหายากครับ พร้อมบัตรรับรองพระเเท้จากทางสถาบันการันตรีพระ

พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ มีชาติกำเนิดในสกุล “นรมาส” เกิดเมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๓ ตรงกับวันเสาร์ แรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๘ ปีวอก ณ บ้านเหล่ามันแกว บ้านเลขที่ ๒๘ หมู่ที่ ๑๒ ตำบลดงมะยาง อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี บิดาท่านชื่อ ลา มารดาชื่อ แหวะ สกุลเดิม วงศ์จันทร์ บรรพบุรุษของท่านอพยพมาจากเวียงจันทน์ เป็นอุปฮาดของเมืองเวียงจันทน์ เมื่อมีภัยสงครามเกิดขึ้น เวียงจันทน์แตก อุปฮาดผู้เป็นต้นตระกูลก็พาครอบครัวอพยพมา ครั้งแรกตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตำบลหนองวัวลำภู ต่อมาย้ายถิ่นฐานบ้านช่อง กระทั่งท้ายที่สุดมาอยู่ที่จังหวัดอุบลราชธานี บิดามีอาชีพทำนา และมีความรู้ทางด้านสมุนไพรมาก เพื่อนบ้านในละแวกใกล้เคียงได้อาศัยเวลาเจ็บไข้ได้ป่วย คือเป็นหมอประจำหมู่บ้าน เป็นที่รักใคร่นับถือ และได้รับเลือกให้เป็นผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งบิดาของท่านก็ดำรงตำแหน่งนี้มาตลอดจนถึงแก่กรรม ขณะนั้นท่านอายุได้ 16 ปี ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดา ๗ คน ด้วยกัน มีชื่อตามลำดับดังนี้
๑. นายเหีย นรมาส /ถึงแก่กรรม
๒. นายแดง นรมาส
๓. นายโลน นรมาส/ ถึงแก่กรรม
๔. นางน้อยแสง หมายสิน
๕. นายอ่อนจันทร์ นรมาส.
๖. พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ
๗. นายนวล นรมาส
ตามชนบทในสมัยนั้นโรงเรียนมีน้อยมาก ตั้งอยู่ห่างไกลกัน ในตำบลหนึ่ง ๆ มิได้มีโรงเรียนครบทุกหมู่บ้าน หมู่บ้านใดไม่มีโรงเรียน เด็กก็ต้องมาเรียนรวมกันที่โรงเรียนในหมู่บ้านใกล้เคียง ซึ่งต้องเดินนับเป็นสิบ ๆ กิโลเมตร ผู้ปกครองจะยอมให้บุตรหลานไปเรียนหนังสือจึงต้องให้โตพอประมาณ คือ อายุ ๙-๑๐ ปี ท่านอาจารย์ก็เช่นเดียวกัน เริ่มเข้าเรียนหนังสือเมื่ออายุครบ ๙ ขวบเต็ม ต้องเดินไปโรงเรียนที่อีกหมู่บ้าน คือที่บ้านดงมะยาง จนขึ้นชั้นประถมปีที่ ๓ โรงเรียนจึงย้ายมาอยู่ที่วัดเจริญจิต บ้านโคกกลาง ติดกับบ้านเหล่ามันแกว อันเป็นบ้านเกิด ท่านได้เรียนรู้ที่โรงเรียนนี้ จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดของตำบลชนบทละแวกนั้น ระหว่างเรียน เป็นผู้เรียนดี ฉลาดและขยันหมั่นเพียรอย่างยิ่ง สอบไล่ได้ที่ ๑ โดยตลอด ตั้งแต่ชั้นประถมปีที่ ๑ จนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ได้รับคำชมเชยยกย่องจากครูบาอาจารย์ ทั้งในด้านการเรียน และในด้านความประพฤติ จนครูเชื่อถือรักใคร่ ให้ช่วยสอนเพื่อนนักเรียนแทนครูตลอด เป็นประจำทุกชั้นเรียน หลังจากจบการศึกษาแล้ว อายุย่างเข้า ๑๘ ปี ท่านได้เข้าทำราชการกรมทางหลวงแผ่นดิน อยู่เป็นเวลา ๔ ปี จึงได้ลาออกเพื่อเตรียมอุปสมบท กล่าวได้ว่าท่านเป็นผู้มีนิสัยฝักใฝ่ในทางธรรมะมาแต่เด็ก นอกจากการวิ่งเล่นซุกซน สนุกสนานตามวิสัยเด็กน้อยแล้ว สำหรับนิสัยทางสร้างบาปสร้างกรรมไม่มีเลย ท่านเล่าเสมอว่า ท่านไม่ชอบฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ส่วนการหยิบฉวยลักขโมยนั้น แม้แต่เข็มสักเล่มเดียว ก็ไม่เคยหยิบฉวยของใครเลย
เมื่อท่านอายุได้ ๑๔-๑๕ ปี ได้พบพระธุดงค์ มาปักกลดอยู่ใกล้บ้านก็บังเกิดความเลื่อมใสตั้งปณิธานว่าต่อไปจะบวชอย่างท่านบ้าง พระธุดงค์ได้มอบหนังสือ “ไตรสรณาคมน์” ของ ท่านพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม แห่งวัดป่าสาลวัน นครราชสีมา มาให้ หนังสือนี้นอกจากสอนให้พุทธศาสนิกชน รู้จักการเข้าถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อย่างแท้จริงแล้ว ได้สอนวิธีปฏิบัติภาวนาด้วย ท่านบังเกิดความคิดเลื่อมใสศรัทธา จึงจะลองปฏิบัติตามหนังสือนั้น เริ่มสวดมนต์ไหว้พระ ทำวัตรต่อ แล้วนั่งสมาธิหัดบริกรรม “พุทโธ ...พุทโธ...พุทโธ” จนกระทั่งปรากฏว่าจิตรวม จิตกับกายแยกกัน ไม่เหมือนกัน จิตอยู่เฉพาะจิต กายอยู่เฉพาะกาย เวทนาใดก็ไม่มีปรากฏเลย
ท่านเล่าว่า เวลานั้นก็ไม่รู้จักอะไรลึกซึ้ง ด้วยหัดเอง ทำเอง ทำตามลำพังคนเดียว ไม่มีผู้รู้มาสอนให้ก้าวหน้าขึ้น ได้แต่รู้สึกว่า นั่งสมาธิแล้วก็สบายดี กายเบา จิตขาวนิ่มนวลผ่องใส เหมือนนั่งนอนอยู่อากาศอันนิ่มนวล ทำให้จิตใจดูดดื่มมาก นึกอยากจะภาวนาเสมอ ๆ ถ้าวันไหนใจไม่สบาย ก็ต้องเข้าที่นั่งภาวนา สงบใจเสมอ ภายหลังระหว่างทำงานได้รับหนังสือ “จตุราลักษณ์” ของ ท่านพระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล มาอ่านเพิ่มเติมสติปัญญาอีก เมื่อท่านอ่านไปถึง มรณานุสติ จิตก็สลดสังเวชว่า เราก็ต้องมีตายอยู่นั่นเอง และในหนังสือนั้น ท่านพระอาจารย์เสาร์ฯ ก็ได้ย้ำถึงเรื่องกรรมว่า คนเราต่างมีกรรมเป็นของของตน มีกรรมเป็นผู้ให้ผล มีกรรมเป็นแดนเกิด มีกรรมเป็นผู้ติดตาม มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย เราทำกรรมอันใดไว้ เป็นบุญหรือเป็นบาป เมื่อยังมีชีวิตอยู่ กรรมนั้นจักเป็นทายาทให้เราได้รับผลกรรมนั้นต่อ ๆ ไป คือ หมายความว่า กรรมต่างจำแนกสัตว์ให้เป็นไปต่างๆ นานา ให้เลว ให้ดี ให้ชั่ว ให้ประเสริฐ เมื่ออ่านกันถึงตอนนี้ ท่านก็บังเกิดความสลดสังเวชใจอย่างยิ่ง นึกว่า คนเราที่เกิดมา ถ้าไม่ประกอบคุณงามความดี ก็ไม่มีประโยชน์แก่ชีวิตของตน และไม่มีโอกาส ที่จะได้รับความสุขต่อไปในชาติหน้าอีก ศรัทธาในพระศาสนาก็เพิ่มพูนขึ้น
เมื่ออายุเพียง ๒๐ ปีถึงกับสละเงินที่เก็บหอมรอมริบระหว่างทำงานอยู่กรมทางหลวงทั้งหมด เป็นเจ้าภาพสร้างมหากฐินคนเดียว สร้างพระประธาน สร้างส้วม ในวัดจนหมดเงิน เมื่อท่านอาจารย์อายุ ๒๑ ปีบริบูรณ์ ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ฝ่ายมหานิกาย ที่วัดเจริญจิต บ้านโคกกลาง ตำบลดงมะยาง อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี พระอุปัชฌายะชื่อ บุ พระกรรมวาจาจารย์ชื่อ พระมหาแจ้ง ได้ฉายาว่า “จวน กลฺยาณธมฺโม” ได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรม และสอบได้นักธรรมตรีในพรรษานั้น...

ท่านเริ่มมาอยู่ภูทอกนี้ ตั้งแต่เดือนมกราคม ๒๕๑๒ มาอยู่ครั้งแรก กับท่านพระครูสิริธรรมวัฒน์ (ทองพูน สิริกาโม) เจ้าอาวาสวัดสามัคคีอุปถัมภ์ อำเภอบึงกาฬในปัจจุบัน กับผ้าขาวน้อยองค์หนึ่ง ตอนแรกก็อาศัยอยู่ตีนเขาที่เป็นโรงฉันต่อกับโรงครัวปัจจุบันนี้ บริเวณรอบ ๆ เป็นป่าทึบ รกชัฏ มีสัตว์ป่าอุดมสมบูรณ์ เบื้องต้นภูทอกยังไม่มีแอ่งเก็บน้ำ สมัยนั้นต้องอดน้ำ อาศัยฝนที่ค้างอยู่ตามแอ่งหิน อาหารการขบฉัน อาศัยบิณฑบาตจากชาวบ้านนาคำแคน ซึ่งได้อพยพไปอยู่ใหม่ ๆ ประมาณ ๑๐ หลังคาเรือน การบิณฑบาตขาดแคลนมาก ตามมีตามได้ พอเข้าหน้าแล้ง ท่านได้ขอให้ชาวบ้านช่วยกันสร้างทำนบกั้นน้ำ เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ และขึ้นมาปลูกกระต๊อบอยู่ชั่วคราวที่โขดหินตีนเขาชั้น ๒
ปีแรกที่จำพรรษาอยู่ที่ภูทอก มีพระ ๓ องค์ ผ้าขาวน้อย ๑ องค์ ปลูกกระต๊อบชั่วคราวพออาศัยได้ ๔ หลัง ทุกองค์ต่างทำความเพียรอย่างเต็มที่ เวลาพลบค่ำ ท่านอาจารย์ขึ้นไปนอนบนชั้น ๕ โดยปีนขึ้นตามเครือเขาเถาวัลย์ ตามรากไม้ ซึ่งปัจจุบันนี้เป็นถ้ำวิหารพระ สมัยนั้นยังเป็นป่าทึบ มีต้นไม้ขึ้นอย่างหนาแน่นในระหว่างกลางพรรษาที่ ๒๗ ได้ชักชวนญาติโยมทำบันไดขึ้นเขาชั้นที่ ๕ และชั้นที่ ๖ จนสำเร็จ ทำอยู่ประมาณ ๒ เดือนกับ ๑๐ วัน จึงเสร็จเรียบร้อย การสร้างบันไดนี้สำเร็จในกลางพรรษา ได้อาศัยศรัทธาญาติโยมและชาวบ้านใกล้เคียงช่วยกันคนละเล็กละน้อย ช่วยกำลังแรง ส่วนกำลังทรัพย์ไม่มี เพราะต่างเป็นคนยากจน มีแต่ศรัทธาเท่านั้น

กลางพรรษาปี ๒๕๑๒ ท่านได้เกิดสุบินนิมิตว่า ได้ออกไปบิณฑบาตที่ภูทอกใหญ่ ตามหน้าผา อุ้มบาตรเดินเลียบไปตามหน้าผา อ้อมไปเรื่อย ๆ เห็นหน้าต่างปิดอยู่ตามหน้าผา มองไม่เห็นคนเลย ท่านจึงเดินอ้อมไป ท่านจึงหยุดยืนรำพึงว่า .... ทำไมมีแต่หน้าต่างปิด ไม่เห็นคนออกมาใส่บาตรเลย สักครู่หนึ่งก็เห็นคนเปิดหน้าต่างออกมาใส่บาตร ท่านจึงตั้งจิตถามขึ้นว่า เขาเป็นใคร เขาก็ประกาศขึ้นมาเองว่า “พวกผมนี้เป็นพวกบังบดขอรับ อยู่กันที่ภูทอกใหญ่ ภูแจ่มจำรัส” พวกบังบด คือพวกภุมมเทวดา ที่เขามีศีล ๕ ประจำ เขาอธิบายให้ฟังต่อว่า “ชื่อเดิมของภูทอกใหญ่นี้ เรียกกันว่า ภูแจ่มจำรัส แต่ก่อนนี้มีพวกฤๅษีชีไพรมาบำเพ็ญพรตภาวนากันอยู่ที่ภูแจ่มจำรัสนี้มาก”
เมื่อเขาใส่บาตรเรียบร้อยแล้ว ท่านจึงภามเขาว่า “ทำไมจึงรู้ว่าอาตมามาบิณฑบาต” เขาก็ตอบยิ้ม ๆ ว่า “รู้ครับ รู้ด้วยกลิ่น ถูกกลิ่นพระผู้เป็นเจ้า” “กลิ่นเป็นอย่างไร” ท่านซักต่อ“กลิ่นหอมขอรับ ถูกกลิ่นพระผู้เป็นเจ้า ก็เลยพากันเปิดหน้าต่างมาใส่บาตรพระผู้เป็นเจ้ากัน ท่านเป็นพระที่ปฏิบัติดี ควรแก่การบูชา พวกเราจึงพร้อมใจกันมาใส่บาตร”
พอพวกเขาใส่บาตรเสร็จ ท่านก็กลับ พอดีรู้สึกตัวตื่น พิจารณาดูนิมิตนั้นก็เห็นแปลก และเช้าวันนั้น อาหารที่บิณฑบาตได้ ขบฉันก็รู้สึกว่ารสเอร็ดอร่อยเป็นพิเศษ ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้มีใครอื่นมาใส่บาตรจริง ๆ มีแต่ชาวบ้านเท่านั้น และอาหารก็เป็นอาหารพื้น ๆ ต่อมาท่านได้นิมิตว่า ได้เดินทางไปสู่สำนักท่านพระอาจารย์มั่น เห็นท่านกำลังกวาดลานวัดอยู่ พอเห็นก็รู้ว่านี่คือท่านพระอาจารย์มั่น ท่านเหลือบมาเห็นเข้าก็ทักท่านอาจารย์จวนอย่างดีใจว่า
“อ้อ...ท่านจวนมาแล้ว ท่านจวนมาแล้ว” มีความรู้สึกคล้ายกับพ่อเห็นลูก ลูกเห็นพ่อ พอท่านตรงเข้าไปจะกราบนมัสการ ท่านพระอาจารย์มั่นก็โก่งหลัง บอกให้ท่านขึ้นขี่หลังท่านอาจารย์มั่นเหมือนขี่ม้า แล้วท่านจึงพาเหาะขึ้นบนอากาศจนลิบเมฆ แล้วพามาลงที่กลางภูเขาลูกหนึ่งแล้วบอกว่า “เอาละ ลงนี่แหละ พอดีพอควรแล้ว” เมื่อตื่นจากนิมิต ท่านมาพิจารณาดูก็เกิดปีติยินดีว่า คงจะมีวาสนาบารมีอยู่ในพรหมจรรย์ จึงเร่งทำความเพียรต่อไป
หลังออกพรรษาได้ ๕ วัน ท่านเจ้าคุณพระอริยคุณาธาร (มหาเส็ง ปุสโส) ซึ่งเป็นผู้ช่วยเจ้าคณะภาค มาตรวจงานคณะสงฆ์ทางภาคอีสาน ได้มาแวะเยี่ยมที่วัดป่าบ้านนาจิก นัยว่าท่านพระครูทัศนวิสุทธิ (มหาดุสิต เทวิโร) อุปัชฌาย์ของท่าน ได้ฝากท่านไว้กับท่านเจ้าคุณอริยคุณาธาร ขอให้ช่วยนำไปอยู่กับท่านพระอาจารย์มั่นด้วย ท่านอาจารย์จึงได้ติดตามท่านเจ้าคุณอริยคุณาธารไป เมื่อได้กราบนมัสการท่านพระอาจารย์มั่น ที่วัดป่าบ้านหนองผือ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ท่านก็ประหลาดใจอย่างยิ่งที่เมื่อได้เห็นตัวจริงของท่าน ลักษณะรูปร่าง กิริยาท่าทางต่าง ๆ มิได้แตกต่างจากในนิมิตเลย ท่านอาจารย์จวนได้มีโอกาสศึกษาอบรมอยู่กับท่านพระอาจารย์มั่น ตั้งแต่ออกพรรษาที่ ๓ ได้เพียง ๓ วัน และอยู่ตลอดมาจนตลอดฤดูแล้ง และได้อธิษฐานพรรษาอยู่กับท่านจนตลอดพรรษาที่ ๔ โอวาทของท่าน จะแนะนำให้ประพฤติปฏิบัติทางพระวินัยให้เคร่งครัด รวมทั้งการธุดงค์ นอกจากได้ก่อสร้างในวัดแล้ว ยังได้ทำประโยชน์ให้แก่ชาวบ้านใกล้เคียงอีกด้วย โดยได้สร้างทำนบกั้นน้ำให้แก่ชาวบ้าน ๖ ทำนบ และในปี ๒๕๒๓ ได้เริ่มทำถนนรอบภูเขา ๓ ลูก คือ ภูทอกน้อย ภูทอกใหญ่ และภูสิงห์น้อย ซึ่งต่างก็เป็นสำนักสงฆ์ของวัด เพื่อเป็นการกั้นเขตแดนวัด จะได้เป็นที่พึ่งพาอาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด และยังเป็นการสงวนป่าไม่อีกด้วย (เมื่อท่านอาจารย์จวนมรณภาพแล้ว งานนี้ยังค้างอยู่ ทางวัดได้ทำต่อจนแล้วเสร็จ รวมทั้งทำนบน้ำแห่งใหม่ในหมู่บ้านด้วย)

ท่านได้รับนิมนต์มากรุงเทพมหานคร ได้รับอุบัติเหตุเครื่องบินตก ถึงแก่มรณภาพ เมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๓ สิริรวมอายุ ๕๙ ปี ๙ เดือน ๑๘ วัน พรรษา ๓๘
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน1,300 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 10 ธ.ค. 2566 - 20:52:35 น.
วันปิดประมูล - 11 ธ.ค. 2566 - 20:59:18 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลKomsanK (1K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 10 ธ.ค. 2566 - 20:53:08 น.



ด้านหลังขวา


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 10 ธ.ค. 2566 - 20:53:31 น.



ด้านหลังซ้าย


ข้อมูลเพิ่มเติม 3 - 10 ธ.ค. 2566 - 20:53:54 น.



ด้านหน้าขวา


ข้อมูลเพิ่มเติม 4 - 10 ธ.ค. 2566 - 20:54:15 น.



ด้านหน้าซ้าย


 
ราคาปัจจุบัน :     1,300 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    mountaincat (1.5K)(1)

 

Copyright ©G-PRA.COM