(0)
พระกริ่งคชวัตร สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศฯ เนื้อนวโลหะ ปี 2546 จ.กรุงเทพฯ (หมายเลข 253) สภาพสวย กล่องเดิม







ชื่อพระเครื่องพระกริ่งคชวัตร สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศฯ เนื้อนวโลหะ ปี 2546 จ.กรุงเทพฯ (หมายเลข 253) สภาพสวย กล่องเดิม
รายละเอียดพระกริ่งคชวัตร สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศฯ เนื้อนวโลหะ ปี 2546 จ.กรุงเทพฯ (หมายเลข 253) สภาพสวย กล่องเดิม กริ่งดังดีไม่มีติดขัดครับ ราคาเบาๆ พร้อมบัตรรับรองพระแท้จากจีพระครับ

สุดยอดพระกริ่งสายวัดบวรฯครับ พระกริ่งคชวัตร สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช รุ่นคชวัตร ปี 2546 สร้างจำนวน 3,999 องค์ ตอกโค๊ตเลขทุกองค์ โดยมีรายละเอียดการจัดสร้างดังนี้

ในวโรกาสที่ เจ้าประคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ทรงเจริญพระชนมมายุ 90 พรรษา ประทานอนุญาตให้สำนักเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช สร้างวัตถุมงคล มีรายการดังนี้

1. พระพุทธชินสีห์บูชา ขนาดหน้าตักกว้าง 9 นิ้ว พระพุทธชินสีห์เป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศ
วิหาร พุทธศิลปสุโขทัยที่งดงามที่สุดองค์หนึ่งของไทย คู่กับพระพุทธชินราช ในการสร้างครั้งนี้ จัดสร้างจำนวน 99
องค์ น้อมถวายเจ้าประคุณสมเด็จฯ เพื่อประทานผู้มีอุปการคุณพระอัธยาศัย

2. พระกริ่งคชวัตร เจ้าประคุณสมเด็จฯ ประทานอนุญาตให้จำลองจากพระพุทธรูปศิลปะเนปาล ที่พุทธศาสนิก
ชนชาวเนปาลถวาย เมื่อครั้งที่เสด็จประเทศเนปาล เพื่อทรงบรรพชาชาวศากยบุตร ในปี พ.ศ. 2528 ซึ่งพระพุทธรูปดั่ง
กล่าวมีความเก่าแก่นับร้อยปี มีความงดงามเป็นเลิศ และได้ประทานอนุญาติให้อัญเชิญนามสกุลในพระองค์ท่าน คือ
" คชวัตร" ถวายเป็นนามพระกริ่ง เพื่อเป็นเกียรติประวัติแก่วงศ์สกุลในพระองค์สืบไป นับว่าทรงให้ความสำคัญกับพระ
กริ่งคชวัตรมาก

3. พระชัยวัฒน์คชวัตร พุทธศิลป์เหมือนกับพระกริ่งคชวัตร พระชัยวัฒน์ นิยมสร้างคู่กับพระกริ่ง แต่มีขนาด
เล็กกว่ามาก มีความหมายถึงชัยชนะ สมัยโบราณในการไปศึกสงคราม จะมีการนำพระชัยวัฒน์ติดตัวไปด้วยเสมอ ที่รู้จัก
กันโดยทั่วไป ได้แก่ พระชัยหลังช้างสำหรับพระมหากษัตริย์ อัญเชิญไว้บนหลังช้างในขณะเสด็จออกศึก

4. ครอบน้ำมนต์คชวัตร เป็นครอบน้ำมนต์ที่มีศิลปะงดงามสร้างตามอย่างครอบน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์ โบราณ ของ
วัดบวรนิเวศวิหาร ภายในครอบน้ำมนต์ที่ฝามียันต์เทพชุมนุม มีความศักดิ์สิทธิ์คือเทพผู้ให้ความคุ้มครอง ยันต์ที่ก้น
ครอบน้ำมนต์คือยันต์มหาพิชัยสมบัติ มีความศักดิ์ด้านโชคลาภ ในสมัยโบราณเขียนยันต์นี้ใส่ไว้ที่ก้นบ่อน้ำ นำน้ำรดนา
เจริญงอกงาม นำไปอาบมีโชคลาภมหาศาล ในครอบน้ำมนต์มีพระกริ่งคชวัตรเนื้อนวโลหะใส่ไว้หนึ่งองค์ ใต้ก้นพระกริ่ง
มียันต์มหาพิชัยสมบัติ ในทางความศักดิ์สิทธิ์นั้น นิยมว่าถ้านำพระกริ่งนี้แช่น้ำจะเกิดเป็นน้ำพระพุทธมนต์ เนื่องจากยันต์
มหาพิชัยสมบัติเป็นยันต์ที่ศักดิ์สิทธิ์ เกิดโชคลาภมหาศาลป้องกันภยันตรายนานา

5. พระรูปเหมือนลอยองค์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก จัดสร้างขึ้นครั้ง
นี้มี 2 แบบ ได้แก่แบบบูชา มี 2 ขนาด คือ หน้าตักกว้าง 5.9 นิ้ว และ 4 นิ้ว เนื้อนวโลหะ เนื้อสัตตโลหะ และเนื้อทองเหลือง
รมดำ ซึ่งประทานอนุญาตให้จัดสร้างขึ้นเป็นครั้งแรก แบบวัตถุมงคล ได้แก่ พระรูปเหมือนลอยองค์ ขนาด 1.5 ซม. และ
1. ซม. เนื้อทองคำและเนื้อนวโลหะ


โลหะที่นำมาจัดสร้างและวัตถุมงคลที่บรรจุ

ในการจัดสร้างวัตถุมงคลครั้งนี้ ได้นำโลหะชนวนพระกริ่งที่มีพิธีเททอง ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ตั้งแต่โบราณเป็นต้นมา ซึ่งได้แก่ ชนวนพระกริ่งปวเรศ พระกริ่งไพรีพินาศ พระกริ่งสุจิตโต พระกริ่งบวรรังษี พระกริ่งสุวัฑฒโน ชนวนพระพุทธรูป ภ.ป.ร พระพุทธรูปพระชินสีห์ เป็นต้น

ภายในองค์พระกริ่ง พระรูปเหมือน ของสมเด็จฯ ทุกๆ องค์ บรรจุเส้นพระเกศาของเจ้าประคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก และมีหมายเลขพร้อมโคด (Code) กำกับ และสร้างจำนวนจำกัด

ส่วนผสมของนวโลหะ มีทองคำผสมตามสูตรของวัดบวรนิเวศวิหารที่มีมาแต่โบราณ ซึ่งผิวจะกลับดำเป็นมันขลับ

เจ้าประคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงลงอักขระในแผ่นทองคำ และคณาจารย์ทั่วประเทศจำนวน 108 รูป ลงอักขระในแผ่นทอง เพื่อนำมาเป็นส่วนผสมในโลหะที่จัดสร้าง

พิธีพุทธาภิเษกฯ วันที่ 26 กันยายน 2546 เวลา 15.19 น. สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เสด็จทางเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และทรงจุดเทียนชัย ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร

นามพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์

ชุดเดียวกับพระสงฆ์ที่เจริญชัยมงคลคาถาในพิธีเททองฯ

นามพระสงฆ์สวดพุทธาภิเษก

1. จากวัดสุทัศนเทพวราราม
2. จากวัดนครสวรรค์

นามพระสงฆ์นั่งบริกรรม เจริญจิตภาวนา

1. พระอุดมญาณโมลี วัดโพธิสมภรณ์ อุดรธานี
2. พระธรรมวิสุทธิกวี วัดโสมนัสวิหาร กรุงเทพฯ
3. พระเทพสุทธิมงคล (ลป. ศรี มหาวีโร) วัดประชาคมวนาราม ร้อยเอ็ด
4. พระเทพโมลี วัดราชผาติการาม กรุงเทพฯ
5. พระราชอุดมมงคล (ลพ. อุตตมะ) วัดวังวิเวการาม กาญจนบุรี
6. พระภาวนาวิศาลเถระ (หลวงปู่บุญมี) วัดสระประสานสุข อุบลราชธานี
7. พระสุธรรมคณาจารย์(ลป.เหรียญ วรลาโก) วัดอรัญบรรพต หนองคาย
8. พระมงคลสุนทร (หลวงปู่โถม) วัดธรรมปัญญาราม สุโขทัย
9. พระศรีมงคล (หลวงพ่อทอง) วัดสำเภาเชย ปัตตานี
10 พระมงคลวราจารย์ (หลวงปู่ธีร์) วัดมิ่งเมืองพัฒนาราม ขอนแก่น
11. พระครูปทุมชัยกิจ (หลวงปู่นะ) วัดหนองบัว ชัยนาท
12. พระครูธรรมรัตนวิสุทธิ์ (หลวงปู่ทอง) วัดจักรวรรดิราชาวาส กรุงเทพฯ
13. พระครูธรรมรังษี (หลวงปู่ธรรมรังษี) วัดเขาพนมดิน สุรินทร์
14. พระครูสุภัทร์ศีลคุณ (ครูบาดวงดี) วัดท่าจำปี เชียงใหม่
15. พระครูวิสุทธิบุญดิตถ์ (หลวงพ่อนวล) วัดประดิษฐาราม ปัตตานี
16. พระครูวิบูลธรรมกิจ (หลวงพ่อเกตุ) วัดแม่ปาง แม่ฮ่องสอน
17. พระครูประทีปธรรมสถิตยื (ลป.ชอบ) วัดเขารังเสือ ราชบุรี
18. พระครูนิพัทธ์ธรรมกิจ (ลพ.แคล้ว) วัดบางขุนเทียนนอก กรุงเทพฯ
19. พระครูวิจารณ์สมถกิจ (หลวงพ่อห้อย) วัดป่าประชารังสรรค์ ศรีสะเกษ
20. พระครูนิภาวิหารกิจ (หลวงพ่อดำ) วัดใหม่นภาราม นราธิวาส
21. พระครูปลัดประภักดิ์ วิสุทฺธสีโล วัดมหิงษสุวรรณนิมิต ปัตตานี
22. พระครูสถิตย์วีรธรรม (หลวงพ่อรอด) วัดสันติกาวาส พิษณุโลก
23. พระครูนิวิฐมณีวงศ์ (หลวงพ่อสอาด) วัดเขาแก้ว นครสวรรค์
24. พระครูพิพัฒน์วิทยาคม (หลวงพ่อเจริญ) วัดโนนสว่าง อุดรธานี
25. พระครูกัลยาณกิจ วัดสุขาวดี ปัตตานี
26. พระหลวงปู่สวน วัดนาทม อุบลราชธานี (ญาท่านสวน)
27. พระหลวงปู่จันทร์โสม วัดป่านาสีดา อุดรธานี
28. พระหลวงพ่อเอียด วัดโคกแย้ม พัทลุง
29.. พระหลวงปู่โทน วัดเขาน้อยคีรีวัน ชลบุรี
30. พระหลวงปู่สอ พนฺธุโล วัดเขาหนองแสง ยโสธร
31. พระหลวงพ่อเพี้ยน อคฺคธมฺโม วัดเกริ่นกฐิน ลพบุรี
32. พระหลวงพ่อประดับ ปริญฺญาโณ วัดป่าประดับทรงธรรม สกลนคร
33. พระหลวงพ่อโพธิ์ วัดคลองมอญ ชัยนาท
34. พระอาจารย์ธรรมนูญ วัดมณีชลขันธ์ ลพบุรี

นามพระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา พิธีเททองหล่อพระพุทธรูปประจำพระชนมวาร พระกริ่ง - ชัยวัฒน์ - ครอบน้ำมนต์ คชวัตร พระพุทธชินสีห์ พระรัศมีพระพุทธชินราช และพระรูปเหมือน 19 มิถุนายน 2548 ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร เวลา 17.19 น. ในวโรกาสสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ทรงเจริญพระชนมายุ 90 พรรษา

1. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) วัดสระเกศ
2. สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (นิยม ฐานิสฺสโร) วัดชนะสงคราม
3. สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) วัดปากน้ำ
4. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (พุฒ สุวฑฺฒโน) วัดสุวรรณาราม
5. สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (ประจวบ กนฺตาจาโร) วัดมกุฏกษัตริยาราม
6. สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวโร) วัดสัมพันธวงศาราม
7. พระญาณวโรดม (ประยูร สนฺตงฺกโร) วัดเทพศิรินทราวาส
8. พระธรรมวโรดม (บุญมา คุณสมฺปนฺโน) วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
9. พระวิสุทธาธิบดี (วีระ ภทฺทจารี) วัดสุทัศนเทพวราราม
10 พระวิสุทธิวงศาจารย์ (พลอย ญาณสํวโร) วัดเทพธิดาราม
11. พระสาสโสภณ (อัมพร อมฺพโร) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
12. พระธรรมปัญญาจารย์ (สุพจน์ ปภสฺสโร) วัดราชผาติการาม
13. พระธรรมเมธาจารย์ (คณิศร์ เขมวํโส) วัดบุณณศิริมาตยาราม
14. พระธรรมวิสุทธิกวี (พิจิตร ฐิตวณฺโณ) วัดโสมนัสวิหาร
15. พระธรรมกวี (ลือชัย คุณวุฑฺโฒ) วัดราชาธิวาส
16. พระธรรมสิทธิเวที (เสนาะ ปญฺญาวชิโร) วัดสระเกศ
17. พระธรรมกิตติเมธี (จำนง ธมฺมจารี) วัดสัมพันธวงศาราม
18. พระธรรมวรเมธี (สุชิน อคูคชิโน) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
19. พระเทพวิมลโมลี (เชิด จิตฺตคุตฺโต) วัดสุทัศนเทพวราราม

พิธีเททองฯ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เสด็จทรงประกอบ มีพระสงฆ์และพุทธศาสนิกชนชาวไต้หวัน จำนวน 60 ท่าน นำโดย พระอาจารย์ซินเต้า ต้าซือ แห่งวัดหลิงจิวซาน มาร่วมพิธีด้วย

ซึ่งจะเห็นว่าทั้งโลหะ ชนวนมวลสารสุดยอด และการปลุกเสกมีพระเกจิทั้งสายอีสานสุดยอดมาร่วมปลุกเสกมากมายอาทิเช่น หลวงปู่ญาท่านสวน หลวงพ่ออุตตมะ หลวงปู่เหรียญ และอีกมากมาย สุดยอดของสายสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชครับ

รับประกันตามกฎทุกประการครับ
ราคาเปิดประมูล5,900 บาท
ราคาปัจจุบัน6,100 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 21 ม.ค. 2567 - 05:07:18 น.
วันปิดประมูล - 22 ม.ค. 2567 - 21:06:13 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลmoo_tah (1.8K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 21 ม.ค. 2567 - 05:08:31 น.



...


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 21 ม.ค. 2567 - 05:10:12 น.



พร้อมกล่องเดิมๆครับ


 
ราคาปัจจุบัน :     6,100 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Tarkkyp (759)

 

Copyright ©G-PRA.COM