(0)
พระอุปคุต พิมพ์อุ้มบาตร หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา ปี 2470 พร้อมบัตรสมาคม








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพระอุปคุต พิมพ์อุ้มบาตร หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา ปี 2470 พร้อมบัตรสมาคม
รายละเอียดพระอุปคุต พิมพ์อุ้มบาตร หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา สุพรรณบุรี เนื้อทองผสม ปี 2470 สภาพสวยสมบูรณ์ ผิวเดิม พร้อมบัตรสมาคม
รายละเอียด ประวัติของหลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา เลือนรางมาก ทราบแต่เพียงว่าท่านเกิดเมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๗ ปีจอ พ.ศ. ๒๔๐๖ ปลายสมัยรัชกาลที่ ๔ ตรงกับวันที่ ๑ มิถุนายน อุปสมบทเมื่อประมาณ พ.ศ.๒๔๒๖ สันนิษฐานว่าคงเป็นพระธุดงค์มาจากเมืองอื่น แล้วเดินทางไปปักกลดปฏิบัติธุดงควัตรอยู่บริเวณวัดหัวเขา ซึ่งแต่เดิมเป็นป่ารกทึบ

จากคำบอกเล่าของญาติโยม ที่เป็นคนเก่าแก่ ปลายสมัยของหลวงพ่ออิ่ม สมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ (หลวงพ่ออิ่ม มรณภาพ พ.ศ.๒๔๘๐) เล่าว่า ท่านเป็นผู้สร้างวัดหัวเขา และเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก แม้ว่าประวัติของหลวงพ่ออิ่มค่อนข้างเลือนราง แต่ก็มีเกร็ดเรื่องราวของท่านบางตอนน่าแปลกใจ เพราะปรากฏว่ามีอยู่ในหนังสือประวัติของ หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ จ.สุพรรณบุรี ว่าในการอุปสมบทครั้งแรกของหลวงพ่อมุ่ยนั้น หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา เป็นพระคู่สวดให้ ประมาณ พ.ศ.๒๔๕๑ แต่ไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัด

หลักฐานในเหรียญที่ระลึกของ หลวงพ่อกฤษ วัดท่าช้าง ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ให้หลวงพ่อมุ่ย คราวเดียวกันกับที่หลวงพ่ออิ่ม เป็นพระคู่สวด (หลวงพ่อมุ่ย อุปสมบท ๒ ครั้ง) เหรียญที่ระลึกของหลวงพ่อกฤษ ระบุปีที่สร้าง ทำให้ทราบว่าหลวงพ่อกฤษอายุอ่อนกว่าหลวงพ่ออิ่ม ๑๕ ปี แต่แก่กว่าหลวงพ่อมุ่ย ๑๒ ปี หลังจากการอุปสมบทครั้งที่ ๒ ของหลวงพ่อมุ่ย วงการพระเครื่องสันนิษฐานกันว่าหลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ อาจจะเป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่ออิ่ม เนื่องจากประวัติกล่าวว่าท่านแวะเวียนไปมาหาสู่กับหลวงพ่ออิ่มเป็นประจำ อีกทั้งยังเคยไปจำพรรษาที่วัดหัวเขาเป็นเวลา ๑ พรรษา เพื่อเรียนวิชากับหลวงพ่ออิ่ม หลังจากนั้นก็ยังไปมาหาสู่หลวงพ่ออิ่ม จนกระทั่งท่านมรณภาพเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๐

ในยุคแรกๆ ที่หลวงพ่ออิ่ม ครองวัดหัวเขา มีการสร้างเครื่องรางของขลังโบราณหลายชนิด เช่น ตะกรุดแบบต่างๆ รวมทั้งผ้ายันต์ นอกจากที่กล่าวแล้ว ก็ยังมีเหรียญปั๊ม เกี่ยวกับเหรียญ และรูปหล่อโลหะ พอมีหลักฐานจากรูปแบบใบเสมาบ่งบอกว่าน่าจะสร้างในยุคหลัง เร็วที่สุดในสมัยรัชกาลที่ ๕ ช่วงใดช่วงหนึ่ง เพราะเหรียญใบเสมานั้นตั้งต้นสร้างรุ่นแรกของประเทศไทยในสมัยรัชกาลที่ ๕ อาจจะเป็นตอนกลางหรือตอนปลายในสมัยของพระองค์ หรือไม่ก็อาจจะเป็นการสร้างในสมัยหลังจากนั้น ช่วงใดช่วงหนึ่งก่อนท่านมรณภาพเมื่อปี ๒๔๘๐

ความก้าวหน้าในการหล่อหลอมโลหะในสมัยนั้น ส่งผลให้วงการพระเกจิอาจารย์สร้างวัตถุมงคลเนื้อโลหะแบบต่างๆ ไว้มาก และกว้างขวางออกไปรอบนอกเขตสังฆปริมณฑล แม้ว่าพระของหลวงพ่ออิ่มจะใช้วิธีการหล่อแบบโบราณ ก็ไม่ใช่เรื่องล้าสมัย น่าจะเป็นเจตนามากกว่า ส่วนเหรียญปั๊มของท่านก็พอมี ไม่นับพระเนื้อผง พระเครื่อง เนื้อโลหะ รวมทั้งเครื่องรางของขลัง อันเป็นวัตถุมงคลของหลวงพ่ออิ่ม เชื่อกันในหมู่นักเลงพระว่าประสบการณ์ยอดเยี่ยม เหรียญหล่อโบราณใบเสมาเชื่อถือกันว่ามีคุณวิเศษในด้านบันดาลความมั่งมีศรีสุข ไปมาค้าขายดีมาก

ถ้าใครมีเหรียญใบเสมา หล่อโบราณ พิมพ์นางกวัก กับนางกวัก รูปหล่อลอยองค์ไว้บูชา พญาเต่าเรือน ไม่มีผิดหวัง แต่ถ้าได้เหรียญหล่อโบราณ พิมพ์พระพุทธ กับพระปิดตามหาอุดลอยองค์ วัตถุประสงค์ที่หลวงพ่ออิ่มสร้างไว้ ในแง่อยู่ยงคงกระพัน แมลงวันไม่มีได้กินเลือด กล่าวขวัญกันอย่างนี้มานาน ตั้งแต่เมื่อครั้งเหล่าทหารเข้าร่วมรบเมื่อปี ๒๔๘๕ ส่วนแหวนพิรอดก็เช่นกัน แบบหัวพระปิดตา ใช้ในทางแคล้วคลาด และคงกระพันชาตรี แต่หัวพระพุทธนั้นมีประสบการณ์ด้านเมตตาบารมี เสน่ห์ของวัตถุมงคล เนื้อทองเหลือง ทุกแบบของหลวงพ่ออิ่ม อยู่ที่ความเข้มขลัง ประกอบกับการหล่อแบบโบราณ ทำให้เนื้อโลหะขรุขระเหมือนของเก่า ยิ่งดูยิ่งเข้าตา บางท่านถือว่าเป็นการหล่อที่ต้องตำรับการสร้างอย่างพราหมณาจารย์โบราณ ที่จะต้องมีพิธีปลุกเสกตามหลักอาถรรพเวท จากคัมภีร์พราหมณ์ เมื่อผ่านการปลุกเสกแล้ว เทพยดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายจะได้มาสถิตประสิทธิ์ผลแก่ผู้บูชาในอิทธิวัตถุดังกล่าว การสร้างพระเครื่องรางและวัตถุมงคล ด้วยเนื้อโลหะ เป็นที่นิยมในเหล่าพระเกจิอาจารย์ร่วมสมัยหลายท่าน ซึ่งต่างก็มีชื่อเสียงโด่งดัง เช่น หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ แต่ของ หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา แม้ว่าวัตถุมงคลเนื้อทองเหลืองของท่าน จะสร้างไว้น้อยกว่าพระเกจิอาจารย์ท่านอื่นๆ แต่กิตติศัพท์ในคุณวิเศษหาได้ยิ่งหย่อนเลยแม้แต่น้อย

โดยหลวงพ่อปาน เรียกหลวงพ่ออิ่มว่า “พระเจดีย์” ซึ่งหมายถึงว่า เป็นพระภิกษุสงฆ์ที่น่าเคารพยกย่องเหมือนกับเป็นพระสถูป หรือพระเจดีย์ ที่ควรค่าแก่การสักการะบูชา และก็ต้องบอกว่า คำที่หลวงพ่อปานกล่าวยกย่อง ไม่เกินเลยความจริงแต่ประการใด เพราะพระเกจิอาจารย์แห่งเมืองสุพรรณรูปนี้ เก่งอย่าง “ของจริง ของแท้” แบบเล่าขานปากต่อปาก ไม่ต้องโหมโฆษณาตามสื่อมวลชนแขนงต่างๆ กันแต่ประการใด มิหนำซ้ำ หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา ยังมีข้อวัตรปฏิบัติตรงตามพระธรรมวินัยสมเป็นพุทธบุตรอีกต่างหาก

ถึงขนาดที่ว่า สามารถกำหนดอิริยาบถการมรณภาพได้อีกด้วย คือ ท่านกำหนดนั่งสมาธิมรณภาพ จนถือว่า เป็นพระเกจิฯ ในยุคแรกๆ ของเมืองสุพรรณฯ ที่นั่งสมาธิมรณภาพ ซึ่งนั่นเป็นสิ่งบ่งบอกถึงภูมิจิต ภูมิธรรมขั้นสูงตามหลักพระพุทธศาสนาได้เป็นอย่างดีว่า หลวงพ่ออิ่ม ก็เป็นพระอริยบุคคลรูปหนึ่ง

เรื่องพระพุทธคุณนั้น พระเครื่องฯ ตลอดจนวัตถุมงคลอื่นๆ ของหลวงพ่ออิ่มนั้น มีประสบการณ์อย่างโชกโชน ตั้งแต่สมัยท่านยังมีชีวิตอยู่แล้ว ทั้งคงกระพันชาตรี กันเขี้ยวงา แคล้วคลาด มหาอุตม์ เมตตามหานิยม ค้าขายดี มีเงินทองไม่ขาดมือ ถึงขนาดยกย่องกันว่า ใครพระเครื่องฯ หรือวัตถุมงคลของหลวงพ่ออิ่มแล้ว “อิ่ม” สมชื่อจริงๆ ไม่มีคำว่า “อด” นอกจากนี้ ประสบการณ์เรื่องคุ้มครองป้องกันภยันตรายต่างๆ ก็ดีเยี่ยม เล่าขานไม่รู้จบ ถึงขนาดที่ว่า เหล่าบรรดาเสือปล้นเมืองสุพรรณฯ รุ่นเก่าทั้งหลาย ที่เลื่องชื่อว่า หนังเหนียว อยู่มีดอยู่ปืน ส่วนใหญ่ใช้พระเครื่องฯ วัตถุมงคลของท่าน หรือไม่ก็ไปสักยันต์กับท่าน ไม่เว้นแม้กระทั่งวัตถุมงคลรูปแม่นางกวักของท่าน ก็มีอานุภาพเรื่องคงกระพันมหาอุตม์ หยุดปืนได้ด้วยเหมือนกัน ทั้งๆ ที่เป็นเครื่องรางของขลังที่สร้างขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์เรื่องเมตตาค้าขาย โดยล่าสุด ที่ จ.สุพรรณบุรี ก็ได้เกิดเหตุการณ์ผู้คล้องแม่นางกวักหลวงพ่ออิ่มรายหนึ่ง ถูกอาวุธปืนพกสั้นจ่อยิง แต่ไม่สามารถทำอันตรายให้ระคายผิวได้ เรียกว่า อานุภาพในวัตถุมงคลนั้นเชื่อถือได้สนิทใจทีเดียวเชียวครับ สำหรับหลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา ยอดเกจิฯ แห่งเมืองสุพรรณบุรี
(66-201)
ราคาเปิดประมูล800 บาท
ราคาปัจจุบัน2,200 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 12 ก.พ. 2567 - 13:40:22 น.
วันปิดประมูล - 13 ก.พ. 2567 - 17:08:48 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลDraft999 (604)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 12 ก.พ. 2567 - 13:41:02 น.



เก่าถึงยุคตัวจริงหายากครับ


 
ราคาปัจจุบัน :     2,200 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    kritsana21 (1.1K)

 

Copyright ©G-PRA.COM
www1