(0)
พระสมเด็จ หลัง ต. พิมพ์หน้าเทวดา หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม ปี2500 เลี่ยมกรอบเงิน








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพระสมเด็จ หลัง ต. พิมพ์หน้าเทวดา หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม ปี2500 เลี่ยมกรอบเงิน
รายละเอียดสมเด็จหลัง ต. พิมพ์หน้าเทวดา
หลวงพ่อเต๋ คงทอง – วัดสามง่าม นครปฐม สภาพสวย สมบูรณ์ ไม่หักไม่ซ่อม เลี่ยมกรอบเงินหนาๆทำมาเกือบ2พัน

หลวงพ่อเต๋ ท่านเกิดเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ.2434 ณ อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม บิดาชื่อนายจันทร์ มารดาชื่อนางบู่ ซึ่งมีนามสกุลว่า สามง่ามน้อย มีพี่น้องร่วมสกุลเดียวกัน 7 คน เป็นชาย 3 คน หญิง 4 คน หลวงพ่อเต๋เป็นบุตรคนที่ 5

หลวงพ่อเต๋ คงทอง ใช้ชีวิตอยู่ ณ สำนักวัดกาหลง จังหวัดสมุทรสาคร ได้ 3 ปี ด้วยหลวงลุงของท่าน (หลวงพ่อแดง) ได้มาเยี่ยมญาติโยม เมื่อจะกลับไปยังวัดกาหลง จึงถือโอกาสนำหลานชายของท่านไปอยู่ด้วย พอท่านมีอายุย่างได้ 10 ขวบ ก็กลับมาสู่บ้านเดิมที่ตำบลสามง่าม จังหวัดนครปฐม และเมื่ออายุได้ 15ปี บรรพชาเป็นสามเณร ศึกษาปริยัติธรรมกับหลวงลุงแดงซึ่งเป็นเถระที่เชี่ยวชาญคาถาอาคมทั้งทางเมตตามหานิยมและคงกระพันชาตรีรูปหนึ่ง และได้ร่วมสร้างวัดใหม่ขึ้นมาร่วมกับหลวงลุงแดง คือวัดสามง่ามในปัจจุบัน

ด้วยแต่เดิมวัดสามง่าม มีชื่อว่า “วัดดอนตูม” ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกห่างจากวัดสามง่ามในปัจจุบันประมาณ 3 กิโลเมตร ด้วยพื้นที่บริเวณวัดมีสภาพแห้งแล้งกันดารขาดแคลนน้ำ ชาวบ้านต่างทยอยอพยพครอบครัวไปอยู่ที่อื่น จึงย้ายวัดมาก่อสร้างวัดใหม่ที่ตำบลสามง่าม เมื่อประมาณปีพ.ศ. 2447 ตั้งชื่อว่า"วัดสามง่าม" ต่อมามีประกาศพระบรมราชโองการพระราชทานเขตวิสุงคามสีมา เมื่อวันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน ร.ศ.127 ว่า "วัดอรัญญิการาม”

เมื่อท่านอายุได้ 21 ปี หลวงลุงแดงก็กำหนดให้บวชเป็นพระภิกษุที่่วัดสามง่าม โดยถือเอาฤกษ์วันเดียวกับวันที่วัดสามง่ามฝังลูกนิมิตเป็นมงคลฤกษ์ บรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดยมี
• พระครูอุตตรการบดี (หลวงพ่อทา) วัดพะเนียงแตก เป็นพระอุปัชฌาย์
• พระสมุห์เทศ วัดทุ่งผักกูด เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ
• พระอธิการจอม วัดลำเหย เป็นพระอนุสาวนาจารย์
ได้รับฉายาทางธรรมว่า คงทอง (ภายหลังเปลี่ยนเป็น คงสุวัณโณ)

หลังจากบวชและงานฝังลูกนิมิตผ่านไป หลวงลุงแดงก็อาพาธลง วันหนึ่งท่านเรียกหลวงพ่อเต๋เข้าไปหาและสั่งว่า "อย่าทิ้งวัด ตัวท่านจะกลับไปตายที่วัดกาหลง" หลวงพ่อเต๋ก็รับคำสั่งจัดการเอาหลวงลุงแดงขึ้นเกวียน เดินทางไปยังวัดกาหลง พอถึงวัดกาหลงได้พาหลวงลุงแดงขึ้นกุฏิเก่าของท่าน ท่านก็สั่งเสียได้ครู่เดียวเท่านั้น หลวงลุงแดงก็ละสังขาร เมื่อจัดการเผาศพหลวงลุงแดงเรียบร้อยแล้ว ก็เก็บอัฐิส่วนหนึ่งไว้ในย่าม แล้วเดินทางกลับวัดสามง่าม

เมื่อสิ้นบุญหลวงลุงแดงแล้ว หลวงพ่อเต๋ก็ได้มาปรณนิบัติรับใช้หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของท่านเพื่อเรียนวิชาคาถาอาคม และเรียนวิปัสสนากรรมฐานและคันถธุระ จวบจนกระทั่งหลวงพ่อทา มรณภาพในปีพ.ศ.2459

หลวงพ่อเต๋ เมื่อได้ศึกษาพระธรรมวินัยและปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานและคันถธุระ มานานพอสมควรก็ถึงเวลาที่จะทดสอบสมาธิ และการเจริญวิปัสสนากรรมฐานของท่านว่าเข้มแข็งเพียงใด และบททดสอบที่ดีที่สุด คือ การเดินธุดงค์ โดยเริ่มออกธุดงค์ระหว่างพศ.2455 - 2472 เป็นเวลา 17 ปี รวมทั้งเรียนวิชาอาคมเพิ่มเติมจากหลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง หลวงพ่อกอน วัดบ่อตะกั่ว และอีกหลายแห่ง อาทิเช่น เรียนอาคมกับฆราวาสชาวเขมร เมื่อศึกษาวิชาอาคมหลายแห่ง หลายที่จนสำเร็จ รวมถึงวิชาการปลุกกุมารทอง จนท่านไม่สามารถสรงน้ำได้มานานหลายสิบปี
จวบจนปี พ.ศ.2475 ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสามง่ามว่างลง คณะกรรมการสงฆ์อำเภอและคณะกรรมการสงฆ์จังหวัดได้พิจารณาแต่งตั้งให้ หลวงพ่อเต๋ คงสุวณโณ เป็นเจ้าอาวาสวัดสามง่าม

ปี พ.ศ.2476 ตำแหน่งเจ้าคณะตำบลว่างลงอีกตำแหน่งหนึ่ง คณะกรรมการสงฆ์อำเภอและคณะกรรมการสงฆ์จังหวัดได้พิจารณาเห็นความสามารถจึงแต่งตั้งให้หลวงพ่อเต๋ คงทอง รักษาการในตำแหน่งเจ้าคณะตำบลอีกตำแหน่งหนึ่ง

หลวงพ่อเต๋ คงทอง มรณภาพลง เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ.2524 รวมสิริอายุได้ 80 ปี 6 เดือน 10 วัน พรรษาที่ 59 ปัจจุบันทางวัดยังคงบรรจุสังขารของท่านไว้ให้ลูกศิษย์ลูกหารวมทั้งผู้ที่เคารพศรัทธาได้ไปกราบไหว้บูชา

------------------------------------------------------

"พระสมเด็จ (หลัง ต)" นับเป็นพิมพ์สมเด็จยุคตัน และมีที่นับเป็นรุ่นแรกของหลวงพ่อเต๋ด้วย การสร้างอยู่ในช่วงประมาณปีพ.ศ. 2500 มีทั้งหมด 2 แบบ 3 ขนาดคือ
1. พิมพ์ใหญ่ หลัง ต ขาโต๊ะ
2. พิมพ์ใหญ่ หลัง ต หน้าเทวดา
3. พิมพ์เล็ก หลัง ต

มวลสารมีผสมผงพระสมเด็จบางขุนพรหมลงไปด้วย โดยเนื้อหาของพระสมเด็จหลวงพ่อเต๋นั้น หากใช้กล้องส่องดูจะเห็นเป็นเกร็ดสีฟ้าอ่อนๆ รวมถึงเนื้อที่คล้ายสมเด็จบางขุนพรหมอย่างชัดเจน จึงทำให้พระสมเด็จนี้มีประสบการณ์อย่างมากมายจากผู้ที่ได้มีไว้บูชา

(ขอขอบคุณ แหล่งข้อมูลต่าง ๆ และขออนุญาติเผยแพร่เกียรติคุณของครูบาอาจารย์ ด้วยความเคารพ) รับประกันความแท้และตามกฏทุกประการครับ
ราคาเปิดประมูล4,450 บาท
ราคาปัจจุบัน6,100 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 16 มี.ค. 2567 - 18:14:11 น.
วันปิดประมูล - 17 มี.ค. 2567 - 19:14:15 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลponggta2068 (143)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 16 มี.ค. 2567 - 18:16:44 น.



มวลสารสมเด็จบางขุนพรหม


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 16 มี.ค. 2567 - 18:18:04 น.



กรอบเงินหนาๆสวยๆ ทำมาเกือบสองพัน


ข้อมูลเพิ่มเติม 3 - 16 มี.ค. 2567 - 18:21:12 น.



หน้าตาสวย มวลสารชัดเจน


ข้อมูลเพิ่มเติม 4 - 16 มี.ค. 2567 - 23:45:33 น.



องค์จริงสวยมากครับ


 
ราคาปัจจุบัน :     6,100 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Satchan48 (112)(2)

 

Copyright ©G-PRA.COM