(0)
รูปหล่อครูบาวัง วัดบ้านเด่น ตอกโค๊ดใต้ฐาน ปี15 สภาพสวยเดิม








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต





ชื่อพระเครื่อง รูปหล่อครูบาวัง วัดบ้านเด่น ตอกโค๊ดใต้ฐาน ปี15 สภาพสวยเดิม
รายละเอียด รูปหล่อครูบาวัง วัดบ้านเด่น ตอกโค๊ดใต้ฐาน ปี15 สภาพสวยเดิม

ประวัติ ครูบาวัง วัดบ้านเด่น จ.ตาก
ครูบาวัง พรหมเสโน วัดบ้านเด่น จ.ตาก
ครูบาวัง พรหมเสโน พื้นเพเดิมท่านเป็นชาวจังหวัดลำพูน นามสกุลเดิมของท่านคือ ณ ลำพูน สืบเชื้อสายมาจากเจ้าหลวงเศรษฐีคำฟั้น เป็นเจ้าผู้ครองนครลำพูน และเป็นต้นสกุล ณ ลำพูน สืบสายมาจากเชื้อเจ้าเจ็ดตน เพราะเป็นบุตรของเจ้าฟ้าชายแก้ว ซึ่งเป็นพระโอรสของเจ้าพระยาสุลวฤไชย ( พ่อเจ้าทิพย์ช้าง ) แห่งสกุลทิพยจักร์.ครูบาวัง เกิดเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2434 ท่านเป็นเพศพรหมจรรย์ คือ บวชตั้งแต่เป็นสามเณรจนกระทั่งมรณภาพ.
ท่านบรรพชาเป็นสามเณรตอนอายุ 12 ปี ในปี พ.ศ. 2445 และ อุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่ออายุ 21 ปี ในปี พ.ศ. 2455 ในขณะที่ท่านดำรงอยู่ในสมณเพศ ได้จาริกเดินธุดงค์ควบคู่กันไปกับการศึกษาตำราโหราศาสตร์ และ ไสยศาสตร์ , ตำราพระเวทมนต์คาถา ทั้งตำราที่เป็นอักษรธรรมของล้านนาและของเมืองพม่าจนแตกฉาน ดังนั้นท่านจึงพูดได้ทั้งสองภาษา รวมทั้งได้เรียนรู้เกี่ยวกับศาสนพิธีต่างๆ ตามตำรับโบราณดั้งเดิมของล้านนา และ พม่า เป็นระยะเวลา 16 ปี เมื่อท่านชราภาพจึงกลับมาอยู่ที่วัดบ้านเด่น.ครูบาวัง ท่านเชี่ยวชาญในเรื่องของโหราศาสตร์ และ ไสยเวทมนต์คาถา รวมทั้งศาสนพิธีตามแบบประเพณีของล้านนา ในระหว่างการถือธุดงค์วัตร ท่านได้ประจักษ์ในสัจธรรมแห่งการเวียนว่ายตายเกิด จึงเป็นแรงบันดาลใจให้ท่านสร้างวัตถุมงคลเครื่องรางของขลังฯ เพื่อเป็นการช่วยเหลือประชาชนผู้ตกทุกข์ได้ยาก โดยส่งเสริมและมุ่งเน้นให้ผู้คนเหล่านั้นทำความดีและรักษาศีลห้าไปพร้อมกันในขณะที่ถือครองวัตถุมงคลของท่านอยู่ในมือ ท่านมีความรู้แตกฉานในการสร้างเครื่องรางของขลัง โดยมุ่งเน้นสงเคราะห์และให้ความช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ในยาม เจ็บ ป่วย ท่านทำงานในหลายบทบาทหน้าที่มาก.นขณะที่ท่านยังดำรงชีวิตอยู่ในสมณเพศ ท่านไม่เคยที่จะหยุดกิจวัตรของสงฆ์เลย เช่น การสร้างศาสนสถานและทำนุบำรุงวัดบ้านเด่น จ.ตาก ส่งเสริมสนับสนุนช่วยเหลือให้บุตรหลานได้มีการศึกษา บวชเรียนเป็นเณรในวัดและเป็นนักเรียนที่ดีในโรงเรียน ( เพื่อติดอาวุธทางปัญญาในการประกอบสัมมาอาชีพซึ่งเรียกว่าเป็นทรัพย์ภายในที่แท้จริง ) นี่คือปรัชญาและวิสัยทัศน์ของหลวงพ่อครูบาวัง ท่านมีลูกศิษย์ลูกหามากมายทั้งชายและหญิง ส่วนมากทุกคนชอบเรียกท่านว่า ” พ่อตุ๊ ” มีความหมายว่า ” พ่อพระ ” ที่เรียกเช่นนี้ เป็นการแสดงถึงความเคารพนับถือเทิดทูนอย่างเต็มเปี่ยมในตัวท่านนั่นเอง .ท่านเป็นพระพรหมจรรย ( ศึกษาปรมัตถ์และพระเวท ) ที่ถือศีลบริสุทธิ์เพราะท่านหมดกิเลส นั้นเป็นเหตุผลว่าทำไม พระพุทธคุณณัง , ธัมมะคุณณัง , และสังฆะคุณณัง ในวัตถุมงคลของท่านจึงเข้มขลัง ศักดิ์สิทธิ์มีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ และ สร้างประสบการณ์มาแล้วมากมาย.
วัตรปฏิบัติของท่านมุ่งเน้นในการช่วยเหลือและสงเคราะห์เพื่อนมนุษย์ที่มีความทุกข์ กับวลีคำพูดที่ไม่มีวันตายของท่านที่ทุกคนฟังอย่างตั้งใจในคำกล่าวต้อนรับที่ทำให้รู้สึกอบอุ่นเหมือนไม่เคยพบพานที่ไหนมาก่อน ในประโยคที่เหมือนกันคือ ” ขอให้บอกพ่อมาเถิดลูก ไม่ต้องเกรงใจ ลูกจะเอาอะไร ต้องการอะไรจากพ่อ ขอให้ลูกบอกพ่อมาเลย ”นั่นคือคำพูดที่เปี่ยมด้วยเมตตาในมาตรฐานเดียวกันหมดทุกคน ไม่เคยเลือกที่จะปฏิบัติ ไม่ว่าลูกศิษย์ และ ศรัทธาประชาชนทุกชนชั้น ตั้งแต่ระดับเจ้าใหญ่นายคน ไปจนถึงระดับคนรากหญ้า ในอดีตมีชาวบ้านที่ป่วยเป็นโรคภัยไข้เจ็บ เดินทางมาพบกับหลวงปู่เพื่อให้ท่านช่วยรักษาตัวให้หายจากอาการป่วย หลังจากหายดีแล้ว แต่ไม่มีเงินเดินทางกลับบ้าน ท่านยังให้ความเมตตาด้วยการช่วยสงเคราะห์ค่ารถให้กลับบ้านไป.ท่านสร้างวัตถุมงคลและเครื่องรางของขลัง มุ่งเน้นช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์อย่างแท้จริง ท่านเป็นพระสงฆ์อันเป็นที่รักยิ่งของทุกคน คุณงามความดีของหลวงพ่อท่านไม่เคยตายจากใจ และ เป็นอมตะในความทรงจำของผู้คนจากอดีตถึงปัจจุบันเสมอมา ท่านจึงได้รับฉายา ” เทพเจ้าแห่งความเมตตา ” แห่งแดนล้านนา.เครื่องรางของท่านที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากในภาคเหนือ เคยสร้างประสบการณ์ความศักดิ์สิทธิ์เข้มขลังเป็นที่ประจักมาแล้วนั่นคือ “ตะกรุด” ซึ่งมีหลายชนิด เช่น ตะกรุด 5 ดอก , 9 ดอก , 108 ดอก , ตะกรุดใบลาน , ตะกรุดจำปาสี่ต้น , ตะกรุดคลอดลูกง่าย , ตะกรุดแหนบใบพลู และ ผ้ายันต์ , สีผึ้ง , ม้าเสพนาง , ชานหมาก เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก ปี 2506 นอกจากนี้ ท่านยังมีความเชี่ยวชาญในเรื่องรักษาไข้และโหราศาสตร์ รวมทั้งมีพรสวรรค์อีกประการหนึ่งคือ ท่านสามารถนั่งเทียนสะเดาะเคราะห์ เทียนให้โชคลาภ หรือ นั่งเทียนเพื่อให้ชนะคดีความยามขึ้นโรงขึ้นศาล และในเรื่องอื่นๆ…
การมรณภาพ
ครูบาวังได้ละสังขารลงด้วยอาการสงบเมื่อวันที่ 18 ม.ค. 2516 เวลา 24 : 00 น. ณ โรงพยาบาลกำแพงเพชร ด้วยวัย 82 ปี พรรษาที่ 62 ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบ้านเด่น 56 พรรษา.
**วัตถุมงคลบางส่วนที่หลวงพ่อได้จัดสร้างไว้ร่วมกับศิษย์เอก คือ อาจารย์เพชรซึ่งได้นำออกมาแจกจ่ายและให้บูชา มีดังต่อไปนี้
1. ตระกรุด 9 ดอก สามกษัตริย์ นาก ทอง เงิน (ใช้ในทางแคล้วคลาดทางอุบัติเหตุ สมัยจอมพลถนอมขึ้นเครื่องบินอยู่เหนือฟ้า เครื่องขัดข้องไม่เป็นอันตราย)
2. ตระกรุด 9 ดอก ธรรมดา (ต.ช.ด. จ.ตาก ถูกพม่ายิงไม่ตาย)
3. ตระกรุด 108 ดอก
4. ตระกรุดจำปา 4 ต้น
5. ตระกรุดคลอดลูกง่าย – เสียบท้อง (ปวดท้อง)
6. ตระกรุด 5 ดอก
7. ตระกรุดแหนบใบพลู
8. ผ้ายันต์ปลาตะเพียนทอง (มีรูปหลวงพ่ออยู่ตรงกลาง) และแบบเขียนด้วยมือก็มี
9. ผ้ายันต์นางกวัก
10. ผ้ายันต์ม้าเสพนาง
11. ผ้ายันต์อิ่นแก้ว
12. สีผึ้ง พร้อมทั้งสาริกาลิ้นทอง อยู่ในสีผึ้งคู่กัน
13. รูปหล่อหลวงพ่อครูบาวัง หน้าตัก 5 นิ้ว นวโลหะ ขัดเงา และรมดำ
14. พระกริ่งรูปหลวงพ่อครูบาวัง รมดำ เนื้อโลหะผสม (โจรจี้ลูกศิษย์ขับแทกซี่ ยิงด้วยปืนไม่ดัง)
15. เหรียญรูปไข่หลวงพ่อครูบาวังรมดำ (ต.ช.ด. จ.ตาก ถูกพม่ายิงไม่ตาย)
16. เหรียญเสมารูปหลวงพ่อครูบาวัง
17. เหรียญรูปใบโพธิ์ รูปหลวงพ่อครูบาวัง
18. ล็อกเก็ตหิน รูปหลวงพ่อครูบาวัง
19. ล็อกเก็ตธรรมดา รูปหลวงพ่อครูบาวัง
20. แหวนรูปหลวงพ่อครูบาวัง
21. เหรียญครบรอบ 100 วัน ข้างหน้าหลวงพ่อครูบาวัง ข้างหลังรูปอาจารย์เพชร
22. เหรียญครบรอบ 81 ปี
23. เหรียญพญาพิชัยดาบหัก
24. เหรียญสุโขทัย
25. พระสมเด็จเนื้อดินเผาข้าวตอกพระร่วง พิมพ์เล็ก ด้านหลังมีรูปหลวงพ่อครูบาวัง
26. พระสมเด็จเนื้อดินเผาและตระใคร่เจดีย์ 108 องค์ ด้านหลังมีรูปหลวงพ่อครูบาวัง ด้านหลังพญาพิชัยดาบหัก
ราคาเปิดประมูล 100 บาท
ราคาปัจจุบัน 950 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ 50 บาท
วันเปิดประมูล อา. - 05 พ.ค. 2567 - 21:21:16 น.
วันปิดประมูล จ. - 06 พ.ค. 2567 - 22:18:15 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูล sak15 (1.9K)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     950 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Art_50 (190)

 
(0)
  ประวัติการเสนอราคา
 ผู้เสนอราคาราคาเวลา
  Lina123 (266) 250 บาท อา. - 05 พ.ค. 2567 - 21:35:11 น.
  naiok (118) 400 บาท อา. - 05 พ.ค. 2567 - 21:40:09 น.
  Art_50 (190) 550 บาท อา. - 05 พ.ค. 2567 - 22:17:32 น.
  Art_50 (190) 950 บาท อา. - 05 พ.ค. 2567 - 22:18:15 น. (ถึงราคาขั้นต่ำแล้ว)

Copyright ©G-PRA.COM
www1