(0)
๑๑๑ พระผงรัตนเกษม (ฟ้าลั่น) หลวงพ่อเกษม ปีพ.ศ. 2517 - สร้างพระอุโบสถวัดพลับพลา ฟ้าลั่นเป็นอัศจรรย์เมื่อหลวงพ่อถึงปะรำพิธีปลุกเสก ๑๑๑








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่อง๑๑๑ พระผงรัตนเกษม (ฟ้าลั่น) หลวงพ่อเกษม ปีพ.ศ. 2517 - สร้างพระอุโบสถวัดพลับพลา ฟ้าลั่นเป็นอัศจรรย์เมื่อหลวงพ่อถึงปะรำพิธีปลุกเสก ๑๑๑
รายละเอียดพระผงรัตนเกษม (ฟ้าลั่น) ออกวัดพลับพลา จ.นนทบุรี ปี 2517
หลวงพ่อเกษม เขมโก
สุสานไตรลักษณ์ จ.ลำปาง


หลวงพ่อเกษม เขมโก (นามเดิม เจ้าเกษม ณ ลำปาง) เป็นพระเถระและเกจิอาจารย์ ผู้เคร่งครัดในธุดงควัตร ปลีกวิเวก พุทธศาสนิกชนในจังหวัดลำปางและชาวไทยเคารพนับถือยิ่งนักว่าท่านเป็นพระมหาเถราจารย์ปูชนียบุคคลรูปหนึ่งของประเทศไทย และมีผู้ให้ความเคารพศรัทธาเป็นจำนวนมากในปัจจุบัน อีกทั้งท่านยังเป็นเจ้านายในราชวงศ์ทิพย์จักร ที่ออกผนวชอีกด้วย

หลวงพ่อเกษม เขมโก เดิมมีนามว่า เจ้าเกษม ณ ลำปาง เกิดเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455 ตรงกับวันพุธ เดือนยี่ (เหนือ) ปีชวด ร.ศ. 131 เป็นบุตรใน เจ้าน้อยหนู ณ ลำปาง (ภายหลังเปลี่ยนนามสกุลใหม่เป็น มณีอรุณ) รับราชการเป็นปลัดอำเภอ กับ เจ้าแม่บัวจ้อน ณ ลำปาง และเป็นราชปนัดดาในเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต เจ้าหลวงผู้ครองนครลำปางองค์สุดท้าย

สมัยตอนเด็กๆมีคนเล่าว่าท่านซนมากมีอยู่ครั้งหนึ่งท่านปีนต้นบ่ามั่น(ต้นฝรั่ง)เกิดพลัดตกจนมีแผลเป็นที่ศีรษะ เมื่อท่านอายุได้ 13 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ซึ่งเป็นการบรรพชาหน้าศพ (บวชหน้าไฟ) ของเจ้าอาวาสวัดป่าดั๊ว 7 วันได้ลาสิกขาและท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรอีกครั้งเมื่ออายุ 15 ปีและจำวัดอยู่ที่วัดบุญยืน จังหวัดลำปาง ท่านได้ศึกษาด้านพระปรัยัติธรรมจนสามารถสอบนักธรรมชั้นโทได้ในปี พ.ศ. 2474 และได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในปีถัดมา โดยมีพระธรรมจินดานายก (ฝ่าย) เจ้าอาวาสวัดบุญวาทย์วิหาร อดีตเจ้าคณะจังหวัดลำปาง เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านได้รับฉายาว่า "เขมโก" แปลว่า ผู้มีธรรมอันเกษม โดยพระภิกษุ เจ้าเกษม เขมโก ได้ศึกษาภาษาบาลีที่สำนักวัดศรีล้อม ต่อมาได้ย้ายมาศึกษาแผนกนักธรรมที่สำนักวัดเชียงราย

หลวงพ่อเกษม เขมโก เป็นพระสายวิปัสสนาธุระ ไม่ยึดติดแม้แต่สถานที่ ท่านได้ปฏิบัติธรรม ณ สุสานไตรลักษณ์ตลอดชนชีพ ท่านปฏิบัติศีลบริสุทธิ์ตามพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยไม่ติดยึดในกิเลสทั้งปวง ท่านเป็นพระที่เป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนในจังหวัดลำปางและพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศ หรือแม้กระทั่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ก็ทรงมีความเคารพศรัทธาในความที่ท่านเป็นพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ได้เคยเสด็จพระราชดำเนินไปทรงนมัสการท่านหลายครัง และเสด็จพระราชดำเนินไปทรงนมัสการครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2536 หลวงพ่อเกษม เขมโก มรณภาพ ณ ห้องไอซียู โรงพยาบาลลำปาง จังหวัดลำปาง เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2539 เวลา 19:40 น. ซึ่งตรงกับวันจันทร์ แรม 11 ค่ำ เดือน 2 ปีกุน ยังความอาลัยเศร้าโศกเสียใจมายังหมู่สานุศิษย์ทั่วประเทศ ส่วนสรีระของท่านนั้นก็ยังความอัศจรรย์ด้วยเนื่องจากไม่เน่าเปื่อยเหมือนอย่างสังขารทั่วไป ทั้งยังเขียนป้ายบอกผู้ที่มาเคารพสรีระ ท่านด้วยว่าให้พนมมือไหว้ที่หน้าอกเพียงครั้งเดียวแล้วไม่ต้องกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์อย่างศพของพระเถระทั่วไปนับว่าท่าน นั้นถือสมถะเป็นอย่างมาก

--------------------------------------------------------

เมื่อปี พ.ศ.2517 วัดพลับพลา จังหวัดนนทบุรี กำลังดำเนินการสร้างพระอุโบสถแต่ขาดทุนทรัพย์ จึงไปขอพึ่งบารมีหลวงพ่อเกษม ขอสร้างเหรียญและพระผงรุ่นสร้างโบสถ์วัดพลับพลา และหลวงพ่อเกษมได้อนุญาตให้สร้างตามประสงค์เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ.2517 ทางวัดพลับพลาโดยหลวงพ่อพระครูสิรินนทคุณ เจ้าอาวาส จึงได้ดำเนินการจัดสร้างวัตถุมงคลขึ้น 3 รายการ คือ
1.เหรียญรูปเหมือน หลวงพ่อเกษม เนื้อทองคำ เงิน นวโลหะ และทองแดง
2.พระผงรูปเหมือนหลวงพ่อเกษม
3.พระปิดตาเขมโก

เมื่อสร้างเสร็จแล้วได้นำขึ้นไปให้หลวงพ่อเกษมปลุกเสก เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ.2517 เวลา 19.39. น. ณ สุสานไตรลักษณ์ จังหวัดลำปาง ในการพิธีมนต์นี้ได้มีเหตุอัศจรรย์เกิดขึ้นซึ่งท่านพระครูสิรินนทคุณได้บันทึกไวัดังนี้ ในวันปลุกเสกนั้นเป็นเวลากลางคืนทางเหนือหมดฝนแล้วได้ เวลาหลวงพ่อเกษมเดินออกจากกุฏิที่พักของท่าน พอมาถึงศาลามุงแฝก (หญ้าคา) ปะรำพิธีปลุกเสก ข้าพเจ้ากับคณะกรรมการและทุกคนในที่นั้นได้ยินเสียงฟ้าผ่าเปรี้ยง ชาวลำปางจึงตั้งชื่อพระรุ่นนี้ว่า “รุ่นฟ้าลั่น” ปัจจุบันนี้ชาวลำปางเก่าๆยังจำชื่อรุ่นฟ้าลั่นได้ พระชุดนี้เริ่มออกจำหน่ายจ่ายแจก ในวันที่ 9 ตุลาคม 2517 ที่วัดพลับพลา จังหวัดนนทบุรี ได้เงินสมทบจากพระชุดนี้จนสร้างพระอุโบสถวัดพลับพลาสำเร็จ

(ขอขอบคุณ แหล่งข้อมูลต่าง ๆ และขออนุญาติเผยแพร่เกียรติคุณของครูบาอาจารย์ ด้วยความเคารพ)
ราคาเปิดประมูล800 บาท
ราคาปัจจุบัน850 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 09 พ.ค. 2567 - 13:05:17 น.
วันปิดประมูล - 12 พ.ค. 2567 - 10:19:28 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลsudjarit (4.2K)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     850 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    ภาณุวัฒน์เขียว (453)

 

Copyright ©G-PRA.COM
www1