(0)
วัดคู้สลอด พิมพ์ขี่ไก่หางพวง นิยมสุดหายาก บัตรรับรองครบ







ชื่อพระเครื่องวัดคู้สลอด พิมพ์ขี่ไก่หางพวง นิยมสุดหายาก บัตรรับรองครบ
รายละเอียดประวัติพระกรุวัดคู้สลอดที่ผมรวบรวมไว้ครับ
@@@ #ประวัติพระหลวงพ่อปานกรุวัดคู้สลอด #พระนครศรีอยุธยา @@@
ปัจจุบันพระกรุวัดคู้สลอดได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และเริ่มมีผู้นำประวัติมาลงโดยคัดลอกต่อๆกันมาแบบผิดๆถูกๆ ซึ่งอาจทำให้เกิดความสับสนได้ จึงขอนำประวัติที่เคยมีการบันทึกไว้เมื่อเกือบ30ปีที่แล้วในหนังสือมหาโพธิ์ฉบับที่179 นำมารวบรวมไว้อีกครั้งหนึ่ง โดยส่วนหนึ่งผมได้สรุปเนื้อหาสาระสั้นๆและเพิ่มเติมวิธีการพิจารณาพระกรุนี้ เพื่อให้ผู้สนใจได้ศึกษาเป็นแนวทางที่ถูกต้องต่อไป
** ตามประวัติกล่าวว่า พระกรุวัดคู้สลอดวุฒิโสภณ อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา สร้างขึ้นเมื่อประมาณปี 2465 โดยท่านพระอาจารย์สมพงษ์ อดีตเจ้าอาวาสวัดคู้สลอด ได้ขอให้หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค มอบผงวิเศษมาผสมใส่ในเนื้อพระพร้อมกับนิมนต์หลวงพ่อปานมาเป็นประธานปลุกเสกด้วย เสร็จแล้วนำพระที่สร้างขึ้นบรรจุไว้ในองค์พระโมคคัลลาน์และพระสารีบุตร ที่ประดิษฐานอยู่ในโบสถ์หลังเก่าจนหมดสิ้นเพื่อสืบทอดอายุพระพุทธศาสนา
ต่อมามีการรื้อถอนโบสถ์หลังเก่าเพื่อสร้างโบสถ์หลังใหม่ จึงได้นำพระที่บรรจุไว้ในองค์พระโมคคัลลาน์และพระสารีบุตรออกมา แล้วนำไปบรรจุรวมไว้ในเจดีย์ด้านหลังโบสถ์หลังใหม่ ซึ่งชาวบ้านที่มาช่วยงานในครั้งนั้นต่างทราบดีว่าพระดังกล่าวเป็นของดี จึงได้มีการขอนำพระดังกล่าวไปบูชากันบ้าง
ปัจจุบันเรียกกันว่า “พระแบบไม่ลงกรุ”
(แต่ความจริงมีการถูกบรรจุกรุมาแล้วครั้งหนึ่งในองค์พระโมคคัลลาน์และพระสารีบุตร แต่เนื่องจากพระอยู่ในที่แห้งสูง ไม่ชื้นแฉะ จึงมีคราบกรุเพียงบางๆจนถึงแทบจะไม่มีเลย)
ต่อมาประมาณปี 2506 ในฤดูน้ำหลาก ได้มีคนร้ายลักลอบลงเรือไปขุดเจาะพระเจดีย์ ซึ่งถูกน้ำท่วม และสามารถนำพระออกไปได้จำนวนหนึ่ง เมื่อทางวัดทราบเรื่องจึงได้ไปแจ้งความและตัดสินใจเปิดกรุเพื่อนำออกให้บูชาอย่างเป็นทางการ และเนื่องจากพระเจดีย์นี้ถูกน้ำท่วม ทำให้น้ำท่วมซึมถึงส่วนล่าง พระบางส่วนที่กองอยู่ก้นกรุถูกแช่น้ำ จึงมีคราบกรุเป็นเปลือกหนา ผิวพระมีรอยระเบิดลั่นร้าว ผุกร่อน ส่วนพระที่อยู่ส่วนบนๆ ผิวพระจะดีและมีคราบกรุที่สวยงามมาก
พระส่วนนี้ปัจจุบันเรียกกันว่า “พระแบบลงกรุ”
- "พระแบบไม่ลงกรุ" เนื้อจะจัดและแห้งแน่นแบบเนื้อเทียน สีออกอมเหลือง แลดูมีความซึ้ง มีความหนึกนุ่มมันฉ่ำใสในเนื้อพระ แต่แฝงไว้ซึ่งความแห้งเก่า
- "พระแบบลงกรุ" เนื้อจะมีลักษณะแห้งจัด เนื้อพระจะแยกส่วนเป็น 2 ชั้น ผิวชั้นนอกจะเป็นเปลือกปกคลุมสีน้ำตาลแห้งๆแบบฟองเต้าหู้ เข้าใจว่าน่าจะเป็นส่วนของน้ำมันตั้งอิ้วที่เป็นตัวประสานเนื้อพระ ทำปฏิกริยากับความร้อนความชื้นในกรุ ลอยแยกส่วนออกมา ส่วนเนื้อในจะเป็นผงสีขาวแห้งๆ มีรอยปริลั่นอยู่ทั่วไป
คู้สลอดทั้งลงกรุและไม่ลงกรุทั้งหมดต่างก็เคยถูกบรรจุไว้ใต้ฐานพระโมคคัลลาน์และพระสารีบุตรในโบสถ์มาก่อนแล้ว ซึ่งพระทั้งหมดผ่านการปลุกเสกและมีส่วนผสมของผงวิเศษจากหลวงพ่อปานมาแล้วทั้งสิ้น
สำหรับความนิยมพระแบบไม่ลงกรุจะได้รับความนิยมมากกว่าเนื่องจากมีเนื้อหาที่สวยงามสมบูรณ์ ส่วนพระแบบลงกรุมักจะระเบิดชำรุดแตกหักเนื่องจากแช่อยู่ในกรุที่น้ำท่วมถึงเป็นเวลานาน
(Cr.หนังสือมหาโพธิ์ฉบับที่179 วางจำหน่าย 30 ต.ค. 2531)
เรียบเรียง By:นักรบพระเครื่อง(Tewin Narin) 17 มี.ค. 2559
ปล. ยินดีให้เผยแพร่ข้อมูลได้ โปรดอ้างอิงแหล่งที่มาของบทความนี้ด้วยครับ
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน20,100 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 26 ก.ค. 2567 - 14:00:46 น.
วันปิดประมูล - 30 ก.ค. 2567 - 17:39:32 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลkorn88 (5.7K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 26 ก.ค. 2567 - 14:01:27 น.



0


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 26 ก.ค. 2567 - 14:01:41 น.



00


ข้อมูลเพิ่มเติม 3 - 26 ก.ค. 2567 - 14:02:05 น.



000


 
ราคาปัจจุบัน :     20,100 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Kamol111 (1.1K)(1)

 

Copyright ©G-PRA.COM
www1