ชื่อพระเครื่อง | พระสมเด็จเผ่า วัดอินทร์ กรุงเทพฯ พ.ศ 2495 พิมพ์สามเหลี่ยมนางพญา พิมพ์ใหญ่..เคาะเดียว |
รายละเอียด | (0)
พระสมเด็จเผ่า วัดอินทร์ กรุงเทพฯ พ.ศ 2495 พิมพ์สามเหลี่ยมนางพญา พิมพ์ใหญ่ รองแชมป์งานประกวด พร้อมบัตรรับรองและใบประกาศ
ชื่อพระเครื่อง พระสมเด็จเผ่า วัดอินทร์ กรุงเทพฯ พ.ศ 2495 พิมพ์สามเหลี่ยมนางพญา พิมพ์ใหญ่ รองแชมป์งานประกวด พร้อมบัตรรับรองและใบประกาศ
รายละเอียด พระสมเด็จเผ่า วัดอินทร์ กรุงเทพฯ พ.ศ 2495 พิมพ์สามเหลี่ยมนางพญา พิมพ์ใหญ่ รองแชมป์งานประกวด พร้อมบัตรรับรองและใบประกาศ องค์พระสภาพสมบูรณ์เดิมๆ ไม่มีหักซ่อม พระมาพร้อมบัตรรับรองพระแท้จากเวปจีพระ
*ประวัติการสร้างพระสมเด็จเผ่า วัดอินทร์ กรุงเทพ พ.ศ.2495*
.........เมื่อ พ.ศ. 2495 พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ (อธิบดีกรมตำรวจสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ) ในฐานะเป็นประธานจัดงานนมัสการประจำปีหลวงพ่อโตวัดอินทรวิหาร ได้มอบหมายให้พล ต.ต.เนื่อง อาขุบุตร เป็นหัวหน้าดำเนินการสร้างพระพิมพ์สมเด็จฯ เป็นจำนวนถึง 84,000 องค์ เพื่อจะได้จัดจำหน่ายเป็นทุนสร้างศาลาการเปรียญวัดอินทรวิหารต่อไป
*มวลสารประกอบเป็นพระสมเด็จเผ่า
ผงวิเศษดั้งเดิมของสมเด็จพระพุฒาจารย์ ที่ท่านนำมาจากเศษพระพิมพ์สมเด็จที่ชำรุด
ผงตะไบพระกริ่งวัดสุทัศน์ ครั้งหล่อพระกริ่ง เมื่อพุทธศักราช พ.ศ.2485
ผงสมเด็จที่มอบให้แก่หลวงปุ่ภูวัดอินทรวิหารรักษาไว้
ผงของหลวงพ่อเดิม จังหวัดนครสวรรค์
ผงวิเศษจากสำนักของพระอาจารย์ต่างๆ ที่ได้รับนิมนต์เข้าร่วมบริกรรมปลุกเศก
*รายนามพระเกจิ ที่ร่วมพิธีปลุกเศก ชนวนมวลสาร ใน วันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ.2495
พระเทพเวที วัดสามพระยา
พระภาวนาโกศลเถระ วัดปากน้ำ
พระราชโมฬี วัดระฆัง
พระภาวนาวิกรม วัดระฆัง
พระศรีสมโภช วัดสุทัศน์ฯ
พระอาจารย์ แฉ่ง วัดบางพัง
พระครุวินัยธร วัดสัมพันธวงศ์
พระครูสรภัญญประกาศ วัดโปรดเกศ
พระอาจารย์พลี วัดสวนพลู
พระครูอาคมสุนทร วัดสุทัศน์ฯ
พระปลัดเปล่ง วัดกัลยานิมิตร
พระอาจารยืใบฎีกาบัญญัติ วัดสุทัสน์ฯ
พระครุอินทรสมจารย์ วัดอินทรวิหาร
พระครุมงคลวิจิตร วัดอนงคาราม (มาแทน สมเด็จพระพุฒาจารย์ นวม)
*ในพิธีมีการจัดธรรมาสน์มุกตั้งเป็นสำคัญในการอัญเชิญให้พระวิญญานสมเด็จฯมาเป็นประธาน*
*รายนามพระเกจิที่ร่วมพิธี พุทธาภิเศก หลังจาก พิมพ์ผงมวลสารให้เป็นองค์พระสมเด็จแล้ว ในวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ.2495 มี
พลวงพ่อสด วัดปากน้ำ
หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว
หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว กาณจนบุรี
หลวงพ่อช่วง วัดบางแพรกใต้ นนทบุรี
หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ
หลวงพ่อฮะ วัดดอนไก่ดี สมุทรสาคร
พระปลัด ตังกวย วัดประดู่ฉิมพลี กทม
หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก
หลวง่อนอ วัดกลางท่าเรือ
หลวงพ่อสำเนียง วัดเวฬุวนาราม นครปฐม
หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง
หลวงปู่นาค วัดระฆัง
พระภิกษุทุกองค์บรรดาที่ได้รับนิมนต์มาในมหามงคลพิธี ล้วนแต่ทรงไว้ซึ่ง ศีลาจารวัตรอันงดงาม นุ่งห่มเป็นปริมณฑลได้สมณสารูป สมเป็นสมณะผู้ศิษย์พระตถาคต นั่งรอกาลเวลาอันงามอยู่อย่างสงบ
เบื้องหน้าพระประธาน แบบพระมารวิชัยภายใต้เศวตรฉัตร 9 ชั้นนั้น ภายในวงสายสิญจน์ มีสรรพวัตถุวิเศษ ที่จะประมวลเข้าในพิธีกรรมสร้างพระพิมพ์หลายหลาก มี
ผงเกษรดอกไม้
ผงเกษรบุนนาค
ผงเกษรบัวหลวง
ผงเกษรสาภี
ผงเกษตรพิกุล
ผลซิงอ๊อกไซด์
ปูนขาว
กระดาษฟาง
น้ำมันมะพร้าว
ดินสอพอง
น้ำมันก๊าส
น้ำอ้อย
เครื่องตำมี ครก สากหิน แผ่นกระเบื้อเคลือบสำหรับกดแม่พิมพ์ มีดทองเหลือสำหรับตัดพระพิมพ์ 84000 องค์ และถาดสำหรับรองพระพิมพ์เพื่อผึ่งในร่ม (ไม่ใช่ผึ่งแดด )ให้แห้ง
บนพานแว่นฟ้า มีผงวิเศษดั้งเดิมของสมเด็จพระพุฒาจารย์ ที่ท่านนำมาจากเศษพระพิมพ์สมเด็จที่ชำรุดบดให้เป็นผงผสมให้เข้ากันแล้วใส่ ผอบ รออยู่ และมีผงตะไบพระกริ่งวัดสุทัศน์ ครั้งหล่อพระกริ่ง เมื่อพุทธศักราช 2485
ผงสมเด็จที่มอบให้แก่หลวงปุ่ภูวัดอินทรวิหารรักษาไว้ ก็ได้นำมาใส่ ผอบ เป็นพิเศษเพื่อคุลีการเข้าด้วยกัน และยังมีผงของหลวงพ่อเดิม จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งนายพลจัตวาเนื่อง อาขุบุตร นำมารวมเข้าไว้อีกด้วย
นอกนั้นบรรดาพระอาจารย์ต่างๆ ที่ได้รับนิมนต์เข้าร่วมบริกรรมปลุกเศกด้วยพระกฤตยาคม ยังได้ให้ผงวิเศษจากสำนักของท่าน เพื่อรวมเข้ากับการสร้างพระพิมพ์ครั้งนี้อีกเล่า
จึงนับว่าการสร้างพระพิมพ์สมเด็จครั้งนี้ พรั่งพร้อม ด้วยผงวิเศษและสมบรูณ์ตามศาสตร์ครบถ้วนตามหลักการสร้างเช่นปางบรรพ์ทุกประการ
(ประสบการณ์ในพุทธคุณของพระเครื่องชุดนี้เน้นหนักในด้านป้องกันอันตรายสูงครับพุทธคุณเล่านี้ผู้บูชาพระชุดนี้ต่างประสพพบเจอกันอยู่บ่อยๆครับ) |
ราคาเปิดประมูล | 450 บาท |
ราคาปัจจุบัน | 500 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!) |
เพิ่มขึ้นครั้งละ | 50 บาท |
วันเปิดประมูล | - 07 ก.ย. 2567 - 17:20:34 น. |
วันปิดประมูล | - 10 ก.ย. 2567 - 20:06:26 น. (ปิดประมูลแล้ว) |
ผู้ตั้งประมูล | พิศรุษ (6.7K)
|