(0)
วัดใจ...พระเม็ดบัว หลวงพ่อชื่น วัดป่ามุนี ปี2460 (ลงกรุ)






รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต





ชื่อพระเครื่อง วัดใจ...พระเม็ดบัว หลวงพ่อชื่น วัดป่ามุนี ปี2460 (ลงกรุ)
รายละเอียด พระเม็ดบัว หลวงพ่อชื่น วัดป่ามุนี ปี2460 (ลงกรุ)
ดูง่ายสบายตา
สุดยอดพระเกจิอาจารย์ผู้มีวิชา ‘กระสุนคด’ พระเครื่อง ‘ว่านยา’ ของท่านรักษาพิษงูได้
พระว่านยาหลวงพ่อชื่น วัดป่ามุนี ต.อินทรประมูล อ.โพธิ์ทอง อ่างทอง สร้างขึ้นประมาณ ปี๒๔๘๒ ในช่วงสงครามอินโดจีน โดยหลวงพ่อชื่นซึ่งเป็นพระหมอ ใช้ว่านยาและสมุนไพรต่างๆ ช่วยชาวบ้านมาโดยตลอด ได้ใช้ว่านยาต่างๆ มาสร้างพระพิมพ์ขึ้น โดยสร้างไปแจกไป และเมื่อเหลือแจกท่านก็นำไปบรรจุกรุไว้ในบริเวณวัด ทั้งบนเพดานวิหาร ใส่ตุ่มดินแล้วฝังไว้ หรือเก็บไว้ตามที่ต่างๆ บริเวณวัด ..เมื่อแตกกรุออกมาไม่มากนัก
พระที่ท่านสร้างไว้ มีมากมายหลายพิมพ์ เช่น พิมพ์ปรกโพธิ์ (ถอดพิมพ์จาก พระวัดระฆังหลังฆ้อน ) พิมพ์ปิดตา พิมพ์ผ้าทิพย์ฐานสูง ฯลฯ.
นอกจากหลวงพ่อจะเก่งทางคาถาอาคมแล้วท่านยังรอบรู้ทางด้านว่านยาสมุนไพร ท่านจึงคัดเลือกเอาว่านและสมุนไพรที่มีฤทธิ์ต่างๆผสมสร้างพระเครื่อง จึงเด่นทางด้านเมตตามหานิยมแคล้วคลาด
...พระเนื้อว่านยา ของหลวงพ่อชื่น เป็นที่นิยมแสวงหาในท้องถิ่นเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากมีประสบการณ์ทางด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาดภัยอันตราย เนื้อยามีคุณวิเศษ เป็นยาถอนพิษตะขาบ แมงป่อง ผึ้ง และอสรพิษต่างๆ
...องค์นี้พิมพ์เม็ดบัว สมาธิฐานเตี้ย เนื้อว่านยาเข้มข้น สภาพพอสวย หลังอูมเบี้ย เนื้อจัด มีคราบไขว่านธรรมชาติดูง่ายมากครับ
วัดป่ามุนี มีพระเครื่องเนื้อผงผสมว่านยาที่หลวงพ่อชื่น อดีตเจ้าอาวาสวัดได้สร้างขึ้นมาตั้งแต่ราวปี พ.ศ. ๒๔๖๐ โดยประมาณ แล้วบรรจุเก็บไว้บนเพดานกุฏิหลวงพ่อเพชร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปหินเขียว เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๙๓ เหตุที่พบพระผงว่านยาของหลวงพ่อชื่นเพราะการรื้อกุฏิหลวงพ่อเพชรออกเพื่อสร้างกำแพงแก้ว และอัญเชิญหลวงพ่อเพชรไปประดิษฐานหน้าหลวงพ่อโต พระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ ซึ่งเป็นพระปูนปั้นสมัยอยุธยา
วัดป่ามุนีแห่งนี้มีชื่อเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า ‘วัดป่าโพธิ์ทอง’ เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งของจังหวัดอ่างทอง หากแต่ไม่มีปรากฏหลักฐานความเป็นมาแต่เดิม ผู้เฒ่าผู้แก่บอกเล่าว่าครั้งปู่ย่าตาทวดก็เห็นวัดนี้มาแล้ว ซึ่งสังเกตจากถวรวัตถุและเสนาสนะของวัดสันนิษฐานได้ว่าได้สร้างขึ้นมาแต่ครั้งสมัยอยุธยา
อย่างไรก็ตามวัดป่ามุนีมีอดีตเจ้าอาวาสรูปหนึ่งชื่อ หลวงพ่อชื่น อินฺทชิต ที่มีชื่อเสียงกระเดื่องนามในอดีต เป็นพระเถระที่ถือสันโดษและเคร่งครัดในวิปัสสนากรรมฐาน ชื่อเสียงของท่านนั้นโด่งดังมาจาก ‘ยาปีป’ ซึ่งเป็นยาสำรวมใช้รักษาได้สารพัดโรค เพราะหลวงพ่อชื่นไม่เพียงเป็นพระเกจิอาจารย์ผู้เรืองวิทยาคมเท่านั้น ในด้านวิชาแพทย์แผนโบราณท่านก็มีความรอบรู้เป็นอย่างดี จึงมีชื่อในด้านการรักษาโรคภัยไข้เจ็บของชาวบ้านด้วยยาสมุนไพร
ที่วัดป่ามุนีแห่งนี้ หลวงพ่อชื่นได้ปลูกว่านยาสมุนไพรไว้เป็นจำนวนมาก และว่านยาเหล่านี้ที่หลวงพ่อชื่นนำมาผสมเข้ากับผงวิเศษสร้างเป็นพระเครื่องจำนวนไม่มากนักกล่าวสำหรับหลวงพ่อชื่นน่าเสียดายอยู่ว่า ไม่มีการบันทึกข้อมูลหลักฐานถึงประวัติความเป็นมาแต่กำเนิดจนเติบโตเข้าอุปสมบทตราบจนวาระสุดท้ายแห่งชีวิตเอาไว้เลย อันเป็นธรรมดาสำหรับประวัติพระเกจิอาจารย์โดยทั่วไปที่บางรูปยากจะสืบสาวราวเรื่องได้
แต่ยังพอมีรายละเอียดปลีกย่อยในชีวิตของหลวงพ่อชื่นที่ยังพอมีบอกเล่ากัน คือ พระครูวิจารณ์โสภณ (นาม มณิโชโต) อดีตเจ้าอาวาสวัดเกาะ อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง ท่านเคยเล่าไว้ว่า ท่านอาจารย์ชื่นรูปนี้นั้นเป็นพระอาจารย์ซึ่งมีความรอบรู้ และแตกฉานในเรื่องคาถาอาคมอักขระเลขยันต์เป็นอย่างยิ่งรูปหนึ่ง พิจารณาได้จากตำรับตำราของท่านที่ตกทอดมาอยู่กับท่าน (พระครูวิจารณ์โสภณ)
พระครูวิจารณ์โสภณ (นาม มณิโชโต) ยังได้เล่าถึงเรื่องราวที่ท่านเคยพบเห็นประจักษ์แก่สายตามาแล้ว คือ หลวงพ่อชื่น หรือพระอาจารย์ชื่นท่านสำเร็จวิชายิงกระสุนโค้ง สามารถที่จะใช้อำนาจจิตบังคบให้ลูกกระสุนไปถูกเป้าตามความปรารถนา เช่า เฝ้าอยู่ทางด้านหลังแต่ยิงกระสุนไปทางด้านหน้าแต่ลูกกระสุนกลับวิ่งโค้งไปถูกเป้าอย่างนี้เป็นต้น
พระครูวิจารณ์โสภณ (นาม มณิโชโต) ท่านว่า มีอยู่ครั้งหนึ่งขณะที่ลูกศิษย์นั่งล้อมวงกันอยู่นั้น ท่านได้ถามขึ้นมาว่า “เอ็งเห็นมะม่วงช่อนั้นไหม ถ้าเอ็งอยากจะได้ลูกสุกเหลืองนั้นเดี๋ยวข้าจะปลิดเอาลงมา” ลูกศิษย์ต่างสนใจที่จะเห็นฝีมือหลวงพ่อที่เขาเล่าลือกันนักเหมือนกัน
ท่านพูดพลางก็เดินเข้าไปในกุฏิสักพักหนึ่งก็ออกมาพร้อมด้วยคันกระสุนและลูก เห็นท่านง้างเล่นๆ อยู่สองสามครั้งแล้วก็ปล่อยลูกกระสุนออกไปอย่างไม่ต้องเล็งแลเท่าใดนัก ความแปลกมหัศจรรย์ได้ปรากฏแก่สายตาทันที นั่นคือมะม่วงลูกสุกเหลืองอร่ามลูกนั้นขั้วได้ขาดเหมือนถูกปลิด มะม่วงทั้งช่อถูกเฉพาะขั้วลูกที่หมายตาไว้เท่านั้น
หรือแม้กระทั่งนกที่บินอยู่ในอากาศ หากท่านหมายตัวไหนไว้ แล้วง้างคันธนูปล่อยกระสุนไป นกตัวนั้นจะตกลงมาทันที แต่ก็แปลกมหัศจรรย์กว่านั้นอีก นกตัวนั้นเมื่อตกถึงพื้นก็ฟื้นคืนสติไม่เคยตายเลยสักตัว
และเพราะวิชายิงกระสุนคดนี้เอง บริเวณวัดป่ามุนีเต็มไปด้วยไม้ผลนานาชนิด ทั้งมะพร้าว พุทรา มะม่วง กล้วย ส้ม มีบรรดาหัวขโมยแอบมาขโมยอยู่บ่อยๆ แต่ถ้าหลวงพ่อชื่นเห็น ท่านจะหยิบคันธนูยิงกระสุนคด แม้ขโมยจะทันเห็นท่านแอบหลบหลังต้นไม้ใหญ่ก็ตาม กระสุนที่ยิงยังโค้งมาถูกทุกที จึงเป็นที่หวาดกลัวของพวกหัวขโมยทั้งหลาย
เล่ากันว่าคันธนูของหลวงพ่อชื่นนั้น คันแข็งมาก ขนาดคนแข็งแรง ๒ คนยังไม่สามารถง้างขึ้นได้เลย แต่กลับกันหลวงพ่อชื่นเพียงใช้แรงเบาๆ ก็ง้างคันใส่กระสุนลงไปก็ได้แล้ว ไม่เพียงเท่านั้นสำหรับคันธนูนั้นเหลาขึ้นจากไม้ไผ่สำหรับหามศพตายทั้งกลม เฉพาะที่ตายวันเสาร์เผาวันอังคาร เมื่อได้ไม่ไผ่แล้วต้องทำพิธีเหลาเซ่นวักผีตายทั้งกลมนั้น ส่วนลูกกระสุนใช้ดิน ๗ ป่าช้ามาปั้น ขณะปั้นต้องบริกรรมคาถาไปพร้อมด้วย และในขณะที่จะยิงต้องเพ่งจิตบริกรรมให้แน่วแน่ไปยังเป้าหมายที่หมายตาเอาไว้
ดังกล่าวได้ถึงพระเครื่องเนื้อผงว่านยาของหลวงพ่อชื่นไว้แต่ข้างต้นแล้ว และพบจากกรุ คือที่เก็บพระเครื่องทั้งหมดบนเพดานกุฏิหลวงพ่อเพชร มีเพียง ๔ พิมพ์ แม้ว่าภายหลังจะพบเห็นอีกหลายพิมพ์แต่ก็ไม่เป็นที่ยืนยัน แต่จากคำบอกเล่าของพระครูวิจารณ์โสภณ (นาม มณิโชโต) ท่านบอกว่า ในบั้นปลายชีวิตของหลวงพ่อชื่น ได้อาพาธเป็นโรคฝีในท้อง (วัณโรค) มีอาการทรุดหนักถึงขั้นอาเจียนออกมาเป็นเลือดและหนอง ร่างกายมีความอ่อนเพลียต้องการอาหารมาทำนุบำรุงเป็นอย่างมาก จนไม่อาจสามารถที่จะรักษาศีลให้บริสุทธิ์ จึงต้องลาสิกขาออกมาเพื่อรักษา
โดยได้ออกมาปลูกบ้านอยู่ในที่ของนายหยง สุขแสง ผู้เป็นบุตรบุญธรรม และได้ต้มยาสมุนไพรรักษาจนอาการไอเป็นเลือดและหนองออกมาหายไปดังปลิดทิ้ง และยังคงรักษาศีล นุ่งขาวห่มขาวไปตราบจนถึงแก่มรณกรรมเมื่ออายุได้ราว ๘๐ ปี
เมื่อท่านอาจารย์ชื่นถึงแก่มรณกรรม พระครูวิจารณ์โสภณ (นาม มณิโชโต) ซึ่งขณะนั้นเป็นเจ้าอาวาสวัดเกาะ ได้เป็นประธานในการจัดการศพ และได้เล่าว่า พระเครื่องของหลวงพ่อชื่นยังคงเหลือถึง ๖ ตุ่มมังกร ลูกหลานและท่านผู้เคารพนับถือได้แบ่งเอาไปคนละทิศคนละทาง เฉพาะรายใหญ่เอาขึ้นไปแจกแถวจังหวัดนครราชสีมา อีกสายหนึ่งเอาไปแจกที่วัดแถวอำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ และยังมีในที่อื่นอีกมาก ด้วยเหตุนี้จึงมีผู้ที่ได้รับจากวัดไหนอาจเข้าใจว่าเป็นของวัดที่ได้รับแจกมา ซึ่งเป็นความไขว้เข้วเข้าใจผิดที่เกิดขึ้นได้ หากไม่ทราบถึงที่มาอย่างแท้จริง
ดังนั้น พระเครื่องเนื้อผงยาผสมว่านของหลวงพ่อชื่น จึงแบ่งได้ ๒ ประเภท คือ ประเภทไม่ได้บรรจุกรุ คือ พระที่เหลืออยู่ในตุ่มมังกร และที่บรรจุกรุคือ พระที่เก็บไว้บนเพดานกุฏิหลวงพ่อเพชร
จึงเห็นความแตกต่างของทั้ง ๒ แบบนี้ได้ คือพระส่วนที่ไม่ได้บรรจุกรุนี้ วรรณะออกไปทางเขียวขี้ม้า มีความอ่อนแก่ลดหลั่นกัน ส่วนที่บรรจุกรุบนเพดานกุฏิหลวงพ่อเพชร ซึ่งเป็นกุฏิก่ออิฐถือปูน พระส่วนนี้มีวรรณะส่วนนอกขาวนวล เข้าใจว่าผิวส่วนนอกถูกคลุกเคล้าอยู่กับปูนขาว แต่ถ้านำเอาไปล้างเอาคราบปูนออกสีของเนื้อในจะอมเขียวเล็กน้อย ไม่เขียวคล้ำเหมือนกับพระส่วนใหญ่ที่อยู่ในตุ่มมังกร
- พระเนื้อผงว่านยา พิมพ์เม็ดบัว มีลักษณะสัณฐานเหมือนเม็ดบัว ด้านหลังส่วนมากจะนูนโค้งหรือเกือบจะกลม ยอดแหลมมน ด้านหน้าเป็นรูปองค์พระพุทธปฏิมากรปางสมาธิ ประทับอยู่ภายในซุ้มครอบแก้ว เป็นพิมพ์ที่มีความคมชัดมากกว่าพิมพ์อื่น
มี ๓ ขนาด คือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็ก
- พระเนื้อผงว่านยา พิมพ์ปรกโพธิ์เม็ด มีลักษณะสัณฐานรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดเล็ก ดูลักษณะผิวเผินแล้วอาจเข้าใจว่าถอดพิมพ์มาจากพระระฆังหลังค้อน วัดระฆังโฆสิตาราม แต่ความจริงแล้วการแกะพิมพ์ทรงที่ดูละม้ายใกล้เคียงกัน มี ๒ พิมพ์ด้วยกัน คือ พิมพ์ใหญ่ และพิมพ์จิ๋ว
พุทธลักษณะของพระพิมพ์ปรกโพธิ์นี้ ขอบโดยรอบยกเป็นเส้นซุ้มครอบแก้ว องค์พระปางสมาธิประทับนั่งบนอาสนะฐานบัวลูกแก้ว ๒ ชั้น ภายในพื้นผนังด้านหลังประดับด้วยบัวเม้ดอยู่เรียงราย การแกะแม่พิมพ์มีลักษณะนูนต่ำ ดูลางเลือนและปราศจากส่วนรายละเอียดของพระพักตร์ เช่น พระเนตร พระนาสิก พระโอษฐ์
- พระเนื้อผงว่านยา พิมพ์ฐานผ้าทิพย์ เป็นพระเครื่องที่มีขนาดใหญ่สุดของ มีลักษณะสัณฐานรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ลบมุมด้านบนทั้งสอง ด้านหน้าเป็นรูปองค์พระพุทธปฏิมากรประทับนั่งปางสมาธิบนอาสนะฐานแบบชุกชี ด้านหน้ามีผ้าทิพย์ การแกะพิมพ์เป็นแบบนูนต่ำ ความชัดเจนมักไม่ค่อยจะมีปรากฎให้เห็น
- พระเนื้อผงว่านยา พิมพ์ปิดตา ซึ่งเป็นพิมพ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด องค์พระมีขนาดจิ๋ว ทรวดทรงอยู่ในกรอบรูปสามเหลี่ยมชะลูด ด้านหลังมีส่วนโค้งเล็กน้อย ด้านหน้าเป็นรูปองค์พระปิดตาประทับนั่งบนอาสนะ ถึงแม้ว่าพิมพ์ทรงจะเล็กแต่การแกะพิมพ์ให้รายละเอียดพอสมควรทีเดียว
อย่างไรก็ตามพระเครื่องเนื้อว่านผงยาของหลวงพ่อชื่น อาจจะเป็นพระเครื่องที่เล่นหากันในแวดวงจำกัดด้วยไม่ทราบถึงประวัติความเป็นมา อีกส่วนหนึ่งถูกยักย้ายถ่ายเทไปให้เป็นของหลวงพ่ออื่นเสีย ด้วยความโลภหวังราคาที่สูงกว่า พระปิดตาของหลวงพ่อชื่นจึงถูกแหกตาหลอกว่าเป็นพระปิดตาของหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่าไปก็มี
จ่าเปี๊ยก ‘ปรีชา เอี่ยมธรรม’ เขียนถึง ‘พระว่านยา วัดป่ามุนี ของดีที่ยังหาได้’ ในนิตยสาร ‘อาณาจักรพระเครื่อง’ กล่าวถึงพุทธคุณของพระผงว่านยาหลลวงพ่อชื่นไว้อย่างละเอียดว่า
“ดังเป็นที่ทราบแต่ต้นแล้วว่า เนื้อพระส่วนใหญ่ของท่านอาจารย์ชื่น วัดป่ามุนี นั้น เป็นเนื้อว่าน ๑๐๘ ผสมผสานด้วยผงวิเศษและมีน้ำมันตั้งอิ้วเป็นตัวประสาน เฉพาะเนื้อว่านยาของท่านนี้เป็นของวิเศษสุด คือสามารถรักษาแก้พิษของงูกัด ตะขาบ แมงป่อง และแมลงมีพิษนั้นประจักษ์ผลชะงัดนักแล เรื่องแก้พิษงูนี้เป็นเรื่องที่เล่าขานกล่าวกันมามาก ท่านพระครูวิจารณ์โสภณ เจ้าอาวาสวัดเกาะ อำเภอโพธิ์ทอง ท่านได้เมตตาเล่าให้ฟังว่า เฉพาะที่วัดของท่านนี้มีพระภิกษุบวชใหม่ชื่อ พระหวล ขณะที่ท่านช่วยงานก่อสร้างอยู่ภายในวัด ขณะที่ใกล้เวลาจะค่ำ พระหวลได้ช่วยยกไม้กระดานอยู่นั้น เป็นคราวเคราะห์ท่านยกตรงที่เจ้างูเห่าหม้อมันหลบซ่อนอยู่พอดี ขณะที่ยกไม้กระดานขึ้นนั้นมันก็ฉกกัดเข้าที่มือ ท่านก็ร้องเรียกหาไฟฉาย พอยกไม้กระดานขึ้นเอาไฟฉายส่องพอท่านเห็นว่าเจ้าวายร้ายที่กัดท่านนั้นเป็นงูเห่าหม้อตัวดำมะเมื่อม ปรากฎว่าท่านตกใจเป็นลมล้มฟุบทันที
ขณะนั้นท่านพระครูวิจารณ์โสภณท่านกำลังอยู่บนกุฏิได้ยินเสียงเอะอะดังลั่นและทราบว่าพระหวลถูกงูเห่ากัด ท่านได้นึกถึงพระพิมพ์เนื้อว่านของท่านอาจารย์ชื่นทันทีว่า ของท่านเรื่องอสรพิษละก้อวิเศษนัก จึงหยิบพระมาได้ ๑ องค์ เดินลงกุฏิไปและบอกให้พระช่วยกันหามพระหวลขึ้นไปบนศาลา เห็นนอนสลบนิ่งจึงเอาพระบดละเอียดกรอกเข้าปากไปหนึ่งองค์ และฝนกับน้ำเอาปิดไว้ตรงแผลสักครู่หนึ่งท่านก็ลืมตาขึ้น ปรากฏว่าไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด”
‘จ่าเปี๊ยก’ ยังบอกถึงวิธีใช้พระเครื่องเนื้อผงว่านยาของหลวงพ่อชื่นไว้ว่า
“วิธีใช้พระหลวงพ่อชื่นรักษาอสรพิษนั้น ถ้าเป็นงูพิษกัดให้เคี้ยวกินเข้าไปทั้งองค์เลย ที่เหลือหรือพอมีอยู่อีกให้ฝนกับน้ำหรือถ้าได้น้ำมะนาวยิ่งวิ่งได้ทันใจดี ถ้าเป็นตะขาบ แมงป่องให้ฝนทา การเคี้ยวกินพระว่านยานี้บางท่านจะอาเจียนออกมา แต่บางท่านก้ไม่อาเจียน เรื่องนี้เอาแน่ไม่ได้”
อย่างไรก็ตามในเรื่องของ ‘พุทธคุณ’ แห่งองค์พระเนื้อผงว่านยาหลวงพ่อชื่นยังคงมี ดังที่ ‘จ่าเปี๊ยก’ กล่าวไว้ในนิตยสาร ‘อาณาจักรพระเครื่อง’ ว่า
“ลูกชายจ่าเอิญ ตำรวจอำเภอโพธิ์ทองไปรับราชการเป็นตำรวจอยู่ที่จังหวัดยะลา ผู้หญิงถูกงูกะปะกัดโรงพยาบาลไม่รับรักษา ลูกชายจ่าเอิญทราบเหตุเข้านึกถึงพระหลวงพ่อชื่นที่พ่อให้มาว่ามีอิทธิอภินิหารในทางรักษาพิษงูได้ผลชะงักนัก จึงเอาออกมาให้หญิงนั้นเคี้ยวกิน ผลปรากฏว่าแม้พิษงูกะปะที่ร้ายเหลือร้ายนั้น พระว่านยาของท่านอาจารย์ชื่นยังรักษาให้หายได้อย่างอัศจรรย์เท่ากับหญิงนั้นเก็บชีวิตตกได้ทีเดียวแหละ เมื่อรักษาหญิงนั้นหายแล้วแม่ผู้หญิงคนนั้นได้ยกให้เป็นเมียอยู่กินกันมาจนถึงบัดนี้...
นายแฉล้ม สุริยา คนหมู่ ๖ ในอำเภอโพธิ์ทอง มีอาชีพทำนา แต่เฉพาะตัวนายแฉล้มเองเป็นคนที่ทั้งเกลียดทั้งกลัวปลิงเกาะเป็นหนักหนา ได้อาราธนาพระว่านยาหลวงพ่อชื่นใส่ปกเสื้อ ปรากฎว่าไม่เคยถูกปิงเกาะอีกเลย สรรพคุณของท่านตรงนี้พอจะกระจายออกไป ปรากฎว่ามีนักเลงดีมาลักพระไปเสียฉิบจึงต้องมาหาผู้ใหญ่มรรคทายกวัดป่าเพื่อขอพระใหม่สักองค์ เรื่องจึงรู้กันว่า พระของท่าดีทางปิงไม่เกาะเหมือนกัน”
ซึ่งเรื่องราว ‘พุทธคุณ’ ที่ ‘จ่าเปี๊ยก’ เขียนถึงนั้น ได้ระบุไว้ว่า
“รายลูกชายจ่าเอิญนี้ทราบจากผู้ใหญ่มัคทายกวัดป่ามุนี ไปอำเภอโพธิ์ทองถึง ๒ ครั้ง แต่โชคร้ายหาตัวจ่าเอิญไม่พบสักที
เฉพาะในรายพระหวลนั้น ได้รับคำบอกเล่าจากท่านพระครูวิจารณ์โสภณ ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดเกาะ ซึ่งเป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่ที่เชื่อถือได้”
ราคาเปิดประมูล 100 บาท
ราคาปัจจุบัน 130 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ 30 บาท
วันเปิดประมูล ศ. - 25 ต.ค. 2567 - 18:45:10 น.
วันปิดประมูล อ. - 29 ต.ค. 2567 - 18:26:45 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูล นครเมืองเก่า (1.6K)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     130 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     30 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    ทนันชนก (157)

 
(0)
  ประวัติการเสนอราคา
 ผู้เสนอราคาราคาเวลา
  ทนันชนก (157) 130 บาท จ. - 28 ต.ค. 2567 - 18:26:45 น. (ถึงราคาขั้นต่ำแล้ว)

Copyright ©G-PRA.COM
www1