(0)
พระกริ่ง หลวงพ่อพระใหญ่ รุ่น 1 เมตตาจิตโดย หลวงพ่อทองพูล สิริกาโม จ.บึงกาฬ กริ่งดัง กล่องเดิม








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต





ชื่อพระเครื่อง พระกริ่ง หลวงพ่อพระใหญ่ รุ่น 1 เมตตาจิตโดย หลวงพ่อทองพูล สิริกาโม จ.บึงกาฬ กริ่งดัง กล่องเดิม
รายละเอียด พระกริ่ง หลวงพ่อพระใหญ่ รุ่น 1 เมตตาจิตโดย หลวงพ่อทองพูล สิริกาโม จ.บึงกาฬ กริ่งดัง กล่องเดิม

“หลวงพ่อพระใหญ่” หรือ “หลวงพ่อใหญ่” เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองศูนย์รวมจิตใจของชาวบึงกาฬ และชาวจังหวัดใกล้เคียงรวมไปถึงในสปป.ลาว ที่อยู่ในลุ่มน้ำโขงแถบนี้ ประดิษฐาน ณ อุโบสถ วัดโพธาราม บ้านท่าไคร้ ต.บึงกาฬ หลวงพ่อพระใหญ่ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยศิลปะสมัยล้านช้าง หน้าตักกว้าง ๒ ศอก ๑ คืบ ๔ นิ้ว ดั้งเดิมเป็นพระพุทธรูปทองสำริดที่มีความงดงาม แต่ต่อมามีการพอกปูนฉาบไว้ ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นการอำพรางจากเหตุการณ์สงคราม

นายประเสริฐ อดุลสุทธานนท์ ประธานหอการค้าจังหวัดบึงกาฬ หรือเจ้าของฉายา "ซ้ง บึงกาฬ" บอกว่า ตามประวัติไม่มีหลักฐานระบุชัดว่าหลวงพ่อพระใหญ่สร้างขึ้นในสมัยใด มีเพียงคำบอกเล่าของชาวบ้านระบุว่า ได้มีการพบองค์หลวงพ่อพระใหญ่ในบริเวณป่าทึบเมื่อประมาณกว่า ๒๐๐ ปีที่แล้ว ในขณะที่บางความเชื่อก็ว่าท่านลอยน้ำมาติดที่ริมน้ำโขง

ทั้งนี้ทุกๆ ปี จะมีการจัดงานประเพณีทำบุญหลวงพ่อพระใหญ่ขึ้น ปีละ ๒ ครั้ง ครั้งแรกเป็นงานประเพณีบุญเดือน ๓ หรือบุญข้าวจี่ ที่จะมีการถวายปราสาทผึ้งด้วย ครั้งที่สองเป็นประเพณีสรงน้ำหลวงพ่อพระใหญ่ จัดขึ้นหลังช่วงเทศกาลสงกรานต์

"เรื่องเล่าเกี่ยวกับอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ของหลวงพ่อพระใหญ่นั้นมีมากหลาย โดยผู้ที่มากราบไหว้องค์หลวงพ่อพระใหญ่ มีความเชื่อว่าจะทำให้มีความเจริญรุ่งเรือง มีตำแหน่งการงานที่ใหญ่ขึ้น มีโชคลาภแคล้วคลาดปลอดภัย ซึ่งชาวบ้านที่นี่หลังบนบานสมหวังแล้ว มักนิยมแก้บนด้วยการจุดบั้งไฟน้อย(บั้งไฟลูกเล็ก) ๙ ลูก ยิงข้ามไปยังฝั่งโขง นับเป็นการแก้บนที่มีความเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นอีกแห่งหนึ่ง" ซ้ง บึงกาฬกล่าว

ส่วนการสะสมพระเครื่องนั้น นายประเสริฐ บอกว่า เล่นพระมาเมื่อ ๓๐ ปี ก่อน ขณะนั้น จ.บึงกาฬ ขึ้นกับ จ.หนองคาย เริ่มจากเหรียญพระเกจิในท้องถิ่นก่อน มีหลวงพ่อพระใส จ.หนองคาย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี พระเครื่องในดวงใจ เป็นพระหลวงปู่ทวด เนื้อว่าน พ.ศ. ๒๔๙๗ พิมพ์กลาง ซึ่งมีประสบการณ์และปาฏิหาริย์มาหลายครั้ง

พร้อมกันนี้ ซ้ง บึงกาฬ ยังบอกด้วยว่า ด้วยเหตุที่มีพระเครื่องจำนวนมาก การห้อยพระจึงขึ้นกับโอกาสด้วย แต่ละวันจะไม่เหมือนกัน ถ้าอยู่บ้านไม่เดินทางไกลจะใช้ พระหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า เพราะมีความเชื่อว่า นามอันเป็นมงลของท่านที่ว่า "ศุข" พ้องเสียงกับคำว่า "สุข" จึงคิดว่าแขวนแล้วจะมีความสุข ก่อนจะออกจากบ้านก็จะอาราธนาขึ้นคอ

ปฏิหารย์ของหลวงพ่อพระใหญ่ จ.บึงกาฬ

1. เมื่อครั้งสงครามอินโดจีน ปรากฏว่ามีแสงสว่างจ้ากว่าแสงตะเกียงเจ้าพายุที่ลอยจากโบสถ์วัดบ้านท่าไคร้ ข้ามไปยังปากบึง ฝั่งลาว แล้วข้ามกลับมาที่เดิมแล้วดับลงที่โบสถ์
2. เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2490 ได้รื้อซากโบสถ์เก่าเพื่อสร้างใหม่ ช่างและคนงานล้วนเป็นคนญวนพากันขุดเพื่อลงรากเสาเข็ม พอขุดลงไปพบพระพุทธรูปองค์เล็กจำนวนมากหลายพันองค์ พวกคนงานเหล่านั้นเห็นว่าเป็นของเก่าก็พากันเอาไป โดยมิได้บอกใครหลังจากนำเอาพระพุทธรูปเหล่านั้นไปยังไม่ทันข้ามคืนเกิดเป็นบ้าบ้างเกิดท้องร่วงอย่างรุนแรงบ้าง เป็นไข้อย่างฉับพลันบ้าง จนต้องนำเอาพระพุทธรูปกลับคืนมาไว้ที่เดิมในตอนกลางคืน และอาการที่ป่วยต่าง ๆ หายไปเหมือนกับไม่มีอะไรเกิดขึ้น
3. เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2496 – 2497 เด็กหญิงชาวบ้านท่าไคร้ไปอยู่กับญาติที่ชลบุรีได้ขี่จักรยานไปซื้อของ ถูกรถสิบล้อชนจนจักรยานหักป่นปี้ ส่วนเด็กหญิงคนนั้นตกกระเด็นไปตกฟากถนนอีกฝั่งหนึ่งลุกขึ้นได้ปัดฝุ่นแล้วก็เดินได้สบายไม่มีบาดเจ็บแม้แต่น้อยรถ แต่สิบล้อคันที่ชนกลับมีไฟลุกใหม้ท่วมเสียหายทั้งคันที่หนูน้อยคนนี้รอดตายอย่างปาฏิหาริย์ เพราะมีรูปถ่ายของหลวงพ่ออัดกรอบพลาสสติกห้อยคอ
4. เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2511 เด็กสาวบ้านท่าไคร้กับน้องสาวไปธุระที่บ้านดงหมากยางขากลับจวนค่ำถูกคนร้ายจี้เอาสร้อยคอมทองคำหนัก 3 บาทไป จึงต้องครึ่งวิ่งครึ่งเดินกลับบ้านบอกเล่าเหตุการให้พ่อ – แม่ฟังแล้วรีบไปบอกหลวงพ่อขอให้ติดตามเอาสร้อยกลับคืนมา เวลาล่วงมา 3 วัน คนในบ้านหลังนั้นแทบจะไม่เชื่อสายตา เพราะสร้อยคอเส้นที่ถูกจี้เอาไปทิ้งอยู่ระเบียงหน้าบ้าน โดยสร้อยอยู่ในสภาพเดิมทุกประการ
5. เมื่อประมาณปีพ.ศ. 2512 – 2513 ก่อนสร้างโบสถ์หลังปัจจุบัน ก็มีแสงสว่างออกมาจากต้นโพธิ์ข้างโบสถ์แล้วข้ามไปบ้านปากบึงประเทศลาวอีก แสงสว่างเช่นนี้จะปรากฏในวันพระ 2 – 3 เดือนต่อครั้ง และมักจะมีผู้พบเห็นเหตุการณ์เช่นนี้บ่อยครั้ง
6. ร.อคำม้าว จันทวงศ์ เป็นคนบ้านปากบึงฝั่งประเทศลาว ซึ่งอยู่ตรงข้ามหมู่บ้านท่าไคร้ ก่อนที่จะไปราชการสงครามก็ได้มาบนหลวงพ่อไว้ทุกครั้ง ซึ่ง ร.อคำม้าวได้เกิดอุบัติเหตุทางเครื่องบินถึง 3 ครั้ง แต่ก็รอดชีวิตมาทุกครั้ง เขาจึงศรัทธาต่อองค์หลวงพ่อและได้บริจาคเงินจำนวน 2 หมื่นบาทสร้างโบสถ์หลังปัจจุบัน
7. เมื่อปีพ.ศ. 2528 ผู้เขียนประสบด้วยตนเอง ชาวบ้านประชุมตกลงกันเอาช่างมาถ่ายรูปหลวงพ่อเพื่ออัดกรอบพลาสติกเพื่อให้ผู้ศรัทธาบูชาไปสักการะประจำตัว ก่อนช่างถ่ายภาพจะได้ตกแต่งขันธ์ข้าวดอกไม้เพื่อสักการะและขอขมาแล้วจึงลงมือ ช่างภาพถ่ายรูปหลวงพ่อประมาณ 10 กว่ารูป เมื่อนำเอาไปล้างแล้วไม่มีรูปหลวงพ่อติดเลยแม้แต่น้อย ฟิล์มมืดดำไปชัตเตอร์ไม่ลั่นกดก็ไม่ลงเหมือนมีอะไรมาขัดไว้
8. มีผู้ถือพระเครื่องหลวงพ่อพระใหญ่จำนวนไม่น้อยที่ต้องประสบอุบัติเหตุ แต่ก็ปลอดภัยทุกคน
ราคาเปิดประมูล 100 บาท
ราคาปัจจุบัน 200 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ 25 บาท
วันเปิดประมูล ศ. - 01 พ.ย. 2567 - 17:02:49 น.
วันปิดประมูล ส. - 02 พ.ย. 2567 - 18:50:49 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูล shibulaken (3.1K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 ศ. - 01 พ.ย. 2567 - 17:03:06 น.



เพิ่มเติม1


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 ศ. - 01 พ.ย. 2567 - 17:03:18 น.



เพิ่มเติม2


 
ราคาปัจจุบัน :     200 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     25 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    สืบตระกูล (886)(1)

 
(0)
  ประวัติการเสนอราคา
 ผู้เสนอราคาราคาเวลา
  มะกาทายกเล็ก (686) 125 บาท ศ. - 01 พ.ย. 2567 - 18:50:49 น. (ถึงราคาขั้นต่ำแล้ว)
  มะกาทายกเล็ก (686) 150 บาท ส. - 02 พ.ย. 2567 - 16:39:10 น. (Auto bid)
  กล้าพระเครื่อง (5.5K) 175 บาท ส. - 02 พ.ย. 2567 - 16:39:10 น.
  สืบตระกูล (886)(1) 200 บาท ส. - 02 พ.ย. 2567 - 18:45:29 น.

Copyright ©G-PRA.COM
www1