(0)(-0-)
สวย /// เหรียญชนะศึก พระยันต์นเรศวรปราบหงสา หลวงพ่อนพวรรณ วัดเสนานิมิต อ.อุทัย จ.อยุธยา เนื้อทองแดง ปี48






รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต





ชื่อพระเครื่อง สวย /// เหรียญชนะศึก พระยันต์นเรศวรปราบหงสา หลวงพ่อนพวรรณ วัดเสนานิมิต อ.อุทัย จ.อยุธยา เนื้อทองแดง ปี48
รายละเอียด สุดๆของความหายากครับ เหรียญนี้ ต้องมีครับและต้อ
ใช้เองครับ
พระครูสังฆรักษ์ คุณสาโร อายุ 51 ปี 25 พรรษา เจ้าอาวาสวัดเสนานิมิต ต.บ้านหีบ อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า เป็นชาวอยุธยาโดยกำเนิด เกิดที่ ต.บ้านหนี อ.อุทัย เดิมทีนี่เป็นวัดเก่าชื่อวัดคลองชนะ เป็นวัดร้างสร้างสมัยกรุงศรีอยุธยา ตั้งแต่ปีพ.ศ.2310 เคยเป็นที่พักทัพพระยาตาก จึงได้มาตั้งเป็นสำนักสงฆ์

ต่อมาได้ขอตั้งเป็นวัด ชื่อว่า "วัดเสนานิมิต" ในปัจจุบัน ได้ศึกษาหาความรู้และความเป็นมาของ "พระยันต์ค่าควรเมือง เหรียญพระนเรศวรปราบหงสา (รุ่นชนะศึก)" จึงได้สร้าง "เหรียญและตะกรุด" ขึ้นมา เพื่อเป็นอนุสสติรำลึกสมเด็จพระนเรศวร และสมเด็จพระนพรัตน์

ประวัติศาสตร์ย่อๆ ในสมัยเด็กสมเด็จพระนเรศวร กรุงศรีอยุธยาแตก ชาวพม่าได้กวาดต้อนคนไทยไปเป็นเชลยศึกรวมทั้งสมเด็จพระนเรศวรและนางสุพรรณกัลยาไปประเทศพม่า พระมหาเถรคันฉ่อง ซึ่งเป็นพระมอญ ถูกกษัตริย์พม่าเรียกให้ดูว่าฤกษ์ยามหาโอกาสที่จะฆ่าพระนเรศวร ซึ่งพระมหาเถรคันฉ่องดูดวงพระนเรศวรแล้วรู้ทันทีว่าฆ่าไม่ได้ คนๆ นี้มีบุญ ต่อไปจะกอบกู้เอกราชชาติบ้านเมือง มีเทวดารักษา จึงเกิดสงสารพระนเรศวร

และได้บอกพระนเรศวรว่าให้หนีออกไป เขาจะฆ่า ขืนอยู่ตายแน่นอน จึงได้พาทหารหนีออกมาโดยมีพระมหาเถรคันฉ่องหนีมาด้วย หากข่าวนี้ได้รั่วไหลรู้ถึงหูกษัตริย์แห่งกรุงหงสาวดี พระมหาเถรคันฉ่องต้องถูกฆ่าตายด้วย จึงหนีกลับมายังกรุงศรีอยุธยา ซึ่งขณะนั้นเป็นเมืองขึ้นของพม่า โดยให้พระมหาเถรคันฉ่องจำวัดอยู่ที่วัดป่าแก้ว หรือวัดใหญ่ชัยมงคลในปัจจุบัน

พระมหาเถรคันฉ่องเป็นพระปฏิบัติวิปัสสนา และเป็นที่เลื่อมใสของข้าราชการจะมีการปราบศึกกันแต่ละครั้งจะเป็นผู้ที่ดูฤกษ์ผานาทีให้กับสมเด็จพระนเรศวรชนะทุกครั้งแคล้วคลาดมาตลอด โดยทำเลขยันต์เครื่องรางแจกทหารลงเสื้อลงตะกรุดแจกให้เป็นขวัญและกำลังใจ



ต่อมากษัตริย์แห่งกรุงหงสาวดีเห็นว่าเอาไว้ไม่ได้แล้วพระนเรศวรซึ่งเป็นกบฏ จึงให้สมเด็จพระมหาอุปราชายกทัพเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์ สมเด็จพระนเรศวรทราบข่าวข้าศึกเข้ามาก็ยกทัพออกจากกรุงศรีอยุธยา พระมหาเถรคันฉ่องได้ดูฤกษ์ยาม พร้อมกับบอกว่าศึกนี้ใหญ่หลวงนัก จึงได้บวงสรวงลั่นฆ้องศึกยกทัพไปตีกับพม่า โดยให้ตราทัพเข้าไปตีเฉียงตามตำราพิชัยสงครามให้ตีเป็นปีกนกอินทรีโอบเข้าล้อมข้าศึก แล้วก็ลงเครื่องรางมอบตะกรุดโทนรวมทั้งเลขยันต์ให้พระนเรศวรติดตัวไปตลอดจะได้ชนะข้าศึก เมื่อยกทัพไปถึงตำบลมหาพราหมณ์ อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ก็ให้หยุดทัพ โดยให้แม่ทัพนายกองทำพิธีตัดไม้ข่มนามตามตำรับพิชัยสงครามให้หยุดพักทัพก่อน ต่อจากนั้นก็ยกทัพไปปะทะกับพม่าที่ตำบลตระพังตรุ อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี ก็มีการรบพุ่งกันขึ้นมา ช้างของสมเด็จพระนเรศวรชื่อไชยยานุภาพเกิดตกมันควาญช้างเอาไม่อยู่เมื่อเสียงกลองดังกระหึ่มในสนามรบเพื่อย้อมใจนักรบ ช้างของสมเด็จพระนเรศวรเกิดตกมันก็ตื่นตั้งหลักไม่อยู่วิ่งเข้าใส่ช้างของสมเด็จพระมหาอุปราชา ซึ่งตั้งรับอยู่แล้วใช้งากระแทกเสยไชยยานุภาพเสียหลัก สมเด็จพระมหาอุปราชาได้จังหวะใช้ของ้าวฟันสมเด็จพระนเรศวรเข้าที่พระมาลาเบี่ยง

จังหวะเดียวกันที่ไชยยานุภาพตกมันอยู่แล้วมีกำลังมากกว่ากดช้างของสมเด็จพระมหาอุปราชาเบี่ยงออก สมเด็จพระนเรศวรได้ใช้พระแสงของ้าวฟันสมเด็จพระมหาอุปราชาขาดสะพายแล่งเสียชีวิตบนหลังช้าง เมื่อทหารพม่าเห็นว่าแม่ทัพเสียชีวิตต่างก็วิ่งหนีถอยทัพกลับไป

หลังจากที่ชนะข้าศึกก็ฉลองกรุงศรีอยุธยา 7 วัน 7 คืน ซึ่งสมเด็จพระนเรศวรเวลาไปปราบศึกที่ไหนก็จะเอาพระเอกาทศรถไปด้วย และก็ได้สร้างวัดเชษฐารามขึ้นซึ่งเป็นวัดของพระเอกาทศรถ และก็ได้สถาปนาพระมหาเถรคันฉ่องเป็นพระผู้ใหญ่ตั้งให้เป็นสมเด็จพระนพรัตน์ ฝ่ายอรัญญาวาสีพระอยู่นอกพระนครโดยให้มีชื่อในพระทินนามว่าสมเด็จพระนพรัตน์แห่งวัดป่าแก้วในสมัยนั้น



"พระยันต์" นี้ได้บันทึกอยู่ในสมุดข่อยวัดประดู่ทรงธรรม อาตมาไม่ทราบว่าในชาติอดีตเกิดมากรุงศรีอยุธยา กรุงสยาม เพราะเป็นลูกที่นี่ อาจะมีเชื้อสายหรือจะไปเทกระโถนให้กับสมเด็จพระนพรัตน์อดีตชาติก็ไม่รู้ถึงจะต้องมาสร้างตรงนี้ขึ้น ทำไมจึงเรียกว่า "ยันต์ปราบหงสา" เพราะยันต์มีเป็นร้อยๆ แต่ทำไมมาเอาตรงนี้

สมเด็จพระนพรัตน์คิดว่าดีมันสมควรที่จะคู่ควรกับพระยามหากษัตริย์ถึงเอายันต์อันนี้ลง เกิดชนะศึกขึ้นมาชาวบ้านชาวเมืองจึงตั้งยันต์อันนี้ตามตำรับวัดประดูทรงธรรมว่ายันต์ปราบหงสา ยันต์มหาปราบ หรือปราบหงสาวดี ครั้งนั้นตำราอันนี้ก็เผยแพร่ออกไปคนก็มาเรียนกัน สมัยก่อนวัดประดู่ทรงธรรมเป็นเมืองกตักศิลาใครก็มาเรียนวิชาอาคม หลวงพ่อทวดวัดช้างให้ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า เป็นต้น ซึ่งตำรับตำราเก่าๆ อยู่ที่นี่ก็มีการเผยแพร่กันไป

พระยันต์ที่ทำนี้เป็นพระยันต์ค่าคนเมืองมาก มันมีความเป็นมากับพระมหากษัตริย์กับการกู้ชาติบ้านเมือง มียันต์มากมาย ทำไมต้องเอายันต์นี้ลงมันมีความหมาย ซึ่งก็ได้อ่านดูแล้วเป็นยันต์ของสูง จึงนำยันต์ตรงนี้มาลงให้เจ้าฟ้ามหากษัตริย์ ยันต์นี้ก็เป็นยันต์ค่าคนเมือง มีความหมายว่า ค่าคนเมืองคือหาค่าไม่ได้ จะเอาอะไรมาแลกตรงนี้คงไม่ได้เพราะยันต์นี้เป็นมิ่งขวัญกำลังใจให้กับสมเด็จพระนเรศวรทรงชนะศึก ให้เหล่าแม่ทัพนายกองทั้งหลายที่คาดตะกรุดหรือมียันต์ เพื่อมีกำลังใจหึกเหิมแคล้วคลาดด้วยความศรัทธาเชื่อมั่น อุกฆะมโนนิธิเกิดขึ้น ก็เป็นยันต์ที่เจ้าฟ้ามหากษัตริย์เชื่อมั่น ถ้าไม่มีตรงนี้แล้วทหารก็อ่อนท้อเข้าไปก็ตายอย่างเดียว

เมื่อมีตรงนี้ขึ้นมามันยิ่งกว่าเมือง จึงเขียนว่า "พระยันต์ค่าควรเมือง หรือชื่อว่าพระนเรศวรปราบหงสา" จึงมีความเป็นไปเป็นมาของพระยันต์ ซึ่งเป็นตำรับตำราของวัดประดู่ทรงธรรมเป็นกรุวิชาของกรุงศรีอยุธยา จึงได้ร่ำเรียนศึกษาจากครูบาอาจารย์และเก็บรักษาตำรานี้ไว้ เห็นว่าเป็นยันต์ค่าควรเมือง ถ้าปล่อยนิ่งเฉยก็คงจะสาบสูญหายไป และเทิดทูนคุณของสมเด็จพระนเรศวรเป็นค่าควรเมืองเป็นยันต์สำคัญอย่างยิ่ง มีความสำคัญไปมาจึงเอาพระยันต์อันนี้มาสร้างเป็นเหรียญขึ้นมา เพื่อให้ทุกคนเป็น อนุสสติ เป็นกฤษดานุภาพรำลึกถึงพระนเรศวรทรงกู้ชาติ และให้รำลึกถึงสมเด็จพระนพรัตน์ แห่งวัดป่าแก้ว ทุกคนที่ถูกลืม บางคนรู้จักสมเด็จพระนเรศวรแต่ไม่รู้จักสมเด็จพระนพรัตน์

สมเด็จพระนพรัตน์ มีส่วนสำคัญในการดูดวงฤกษ์ยามให้กับสมเด็จพระนเรศวรในการปราบข้าศึก ทำไมคนสมัยก่อนจึงเชื่อเรื่องเครื่องรางของขลังเพราะมีมาตั้งแต่สมัยขอม เรื่องอย่างนี้มีความเชื่อตั้งแต่สมัยพุทธกาลมาแล้ว แม้แต่กลองไพรีในสนามรบก็ต้องลงยันต์ ธงชัยเฉลิมพลก็ต้องลงยันต์ ตะกรุดคอช้าง คอม้า ก็ต้องมี คนที่จะเป็นแม่ทัพนายกองได้ต้องเรียนตำรับตำราพิชัยสงคราม

พระครูสังฆรักษ์ เล่าต่ออีกว่า มูลเหตุที่สร้างพระยันต์นี้ไม่ได้มีไว้ให้คนร่ำรวยกันหรือมีไว้ให้ป้องกันปืน ป้องกันระเบิด แต่พระยันต์นี้เป็นอนุสสติรำลึกถึงคุณพระธรรมคำสั่งสอนพระพุทธองค์จะคุ้มครองได้ต่อผู้มีธรรมอยู่ในใจเท่านั้น ไม่ได้ไปย่อย้อมคนให้ไปเช่าไม่ได้ไปย่อย้อมให้คนหลงงมงาย แต่ให้เป็นอนุสสติ รำลึก ให้นึกถึงบุญคุณแผ่นดิน นึกถึงสมเด็จพระนเรศวรมหาราชผู้ยิ่งใหญ่ผู้กล้าหาญ ที่ได้กอบกู้เอกราชกรุงศรีอยุธยาไว้ไม่ให้เป็นเมืองขึ้นประเทศพม่า
ราคาเปิดประมูล 180 บาท
ราคาปัจจุบัน -- ยังไม่มีผู้เสนอราคา --
เพิ่มขึ้นครั้งละ 20 บาท
วันเปิดประมูล พฤ. - 21 พ.ย. 2567 - 01:47:14 น.
วันปิดประมูล อา. - 01 ธ.ค. 2567 - 01:47:14 น. (เหลือเวลา 6 วัน 21 ชั่วโมง 30 นาที)
ผู้ตั้งประมูล Thanwa777 (7.9K)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     180 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     20 บาท

!!! ท่านต้อง login เข้าสู่ระบบก่อน จึงจะสามารถร่วมประมูลได้ !!!


 
(0)
  ประวัติการเสนอราคา
 
-- ยังไม่มีผู้เสนอราคา --


Copyright ©G-PRA.COM
www1